xs
xsm
sm
md
lg

โบรเคดชู SDN หวังดันยอดโตตามเป้า 20%

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สุรศักดิ์ เหรียญประกายแสง ผู้จัดการ บริษัทโบรเคด คอมมิวนิเคชั่นส์ ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด
โบรเคดเผยทิศทางเทคโนโลยี SDN อนาคตสดใส ระบุชัดแนวทางการรวมเทคโนโลยีเพื่อให้ใช้งานง่ายขึ้นแบบไร้ข้อจำกัด ช่วยลดต้นทุนและทรัพยากรลงอย่างยั่งยืน เร่งทำเดโมเปิดตลาดองค์กรหลังซื้อกิจการ Vyatta เสริมความแข็งแกร่งด้าน Software Networking เป้าหมายเติบโตไม่น้อยกว่า 20% ในแต่ละปี เปรยตลาดซบจากเศรษฐกิจในประเทศหวังเม็ดเงินก้อนใหญ่จากรัฐกระตุ้นตลาด

สุรศักดิ์ เหรียญประกายแสง ผู้จัดการ บริษัทโบรเคด คอมมิวนิเคชั่นส์ ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยถึงทิศทางการทำตลาดของโบรเคตที่มุ่งเน้นการใช้งานง่ายและดูแลสะดวกมากยิ่งขึ้น ด้วยเทคโนโลยี SDN (Software Defined Networking)จะทำให้การควบคุมอุปกรณ์ภายในเครือข่ายสามารถทำได้อย่างสะดวก ช่วยให้การสร้างเงื่อนไขลำดับความสำคัญ (Priority) สามารถทำได้อย่างง่ายดาย ทั้งนี้เทคโนโลยีดังกล่าวอยู่ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมต่อ Open Flow ที่ได้รับการยอมรับจากผู้ผลิตทั่วโลก

พร้อมกันนี้โบรเคดได้เร่งทำเดโมให้กับองค์กรเพื่อสร้างการรับรู้ใหม่ของการดูแลด้านเน็ตเวิร์กที่ง่ายขึ้นสู่ผู้บริหารโครงข่าย ด้วยโซลูชัน Data Center Networking, Software Networking และOrchestration อันจะส่งผลให้ยอดขายของ โบรเคด บรรลุเป้าที่ปีละไม่น้อยกว่า 20% โดยจุดแข็งของโบรเคดอยู่ที่การมีระบบ Ethernet Fabric ที่แข็งแกร่งไม่มีข้อจำกัดด้านจำนวนอุปกรณ์ที่เข้ามาต่อพ่วงสามารถโอนถ่ายข้อมูลได้อย่างรวดเร็วในภาวะคับขัน รองรับการใช้รีโมทเพื่อสั่งการระยะไกลหากไม่สามารถเข้าถึงตัวอุปกรณ์ได้ยกตัวอย่างเช่นการเกิดกรณีน้ำท่วมเป็นต้น ทำให้กระบวนการทำงานที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กรไม่เกิดการสะดุด เมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กร

ก่อนหน้านี้ โบรเคดได้เข้าซื้อกิจการ Vyatta บริษัทผู้พัฒนาระบบความปลอดภัยด้านเน็ตเวิร์กด้วยโอเพ่นซอร์สด้วยมาตรฐานเครือข่าย X86 มาช่วยเสริมความแข็งแกร่งด้าน Software Networking ให้กับโบรเคดอีกทางหนึ่ง

โดยทิศทางใหม่ของการบริหารเน็ตเวิร์กสำหรับอนาคตคือทุกอุปกรณ์ต้องสามารถเข้าสู่ระบบเน็ตเวิร์กได้ (BYOD) เพื่อให้การทำงานเกิดข้อจำกัดน้อยที่สุด แน่นอนว่าการเฝ้าระวังและสั่งการผ่านซอฟต์แวร์ช่วยให้การทำงานง่ายขึ้นและส่งผลให้ต้นทุนของการดูแลลดต่ำลงทั้งในแง่ของผู้ดูและจำนวนอุปกรณ์ โดยการจัดการที่ง่ายขึ้นยังรวมถึงการสร้าง Virtual Machine ภายใต้อุปกรณ์เพียงไม่กี่ชิ้นแต่สามารถดูแลการจัดการเครือข่ายได้ทั้งระบบ ก็เป็นอีกแนวทางที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ในยุคของเวอร์ชวลไลเซชันที่ข้อมูลและแอปพลิเคชันทุกอย่างถูกเก็บอยู่บน คลาวด์ (Clouds) แนวทาง VM (Virtual Machine) จะช่วยลดต้นทุนด้านอุปกรณ์ได้เป็นอย่างมาก ผนวกกับความสามารถของหน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถรองรับการลงโปรแกรมและแยกการทำงานในแต่ละแกนประมวลผล (Core) ได้มากขึ้น โดยเครื่องเซิร์ฟเวอร์เพียงตัวเดียวสามารถลงโปรแกรมที่ใช้งานได้หลายโปรแกรม รองรับการใช้งานได้หลายยูสเซอร์ อีกทั้งช่วยลดต้นทุนด้านซอฟต์แวร์ที่ใช้ เนื่องจากมีจำนวนซอฟต์แวร์ที่ต้องซื้อน้อยลง ซึ่งส่งผลให้งบประมาณโดยรวมของการบริหารโครงข่ายลดต่ำลง

ล่าสุด IDC Server Economies Index เปิดเผยว่าตั้งแต่ปี 2546 ถึงปี 2563 องค์กรธุรกิจใน 8 ประเทศ(ออสเตรเลีย, อินเดีย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, จีน, สิงคโปร์, ไทยและญี่ปุ่น) ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะสามารถหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายได้ถึง 2,940,000 ล้านบาท อันเป็นผลมาจากการทำเซิร์ฟเวอร์ ระบบเวอร์ชวลไลเซชัน

ทั้งนี้ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในตลาดที่สำคัญของ โบรเคด ด้วยทิศทางการเติบโตอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 20 % ตลอดหลายปีที่ผ่านมา แม้ว่าช่วงนี้จะอยู่ในภาวะซบเซาเนื่องจากขาดเม็ดเงินเพื่อป้อนเข้าสู่ระบบ โดยเป็นที่รู้กันดีว่าเมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจ งบประมาณด้านเทคโนโลยีจะเป็นสิ่งแรกที่ถูกตัดและแช่แข็ง แต่กระนั้นการเติบโตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ยังเป็นที่สนใจของผู้ผลิตเป็นอย่างดี ดังที่เห็นจากการโหมตลาดของผู้ผลิตด้านเน็ตเวิร์กมากหน้าหลายตา เร่งป้อนสินค้าและบริการด้านเน็ตเวิร์กเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง

Company Related Link :
Brocade
กำลังโหลดความคิดเห็น