ในองค์กรธุรกิจคงเคยได้ยินคำว่า “Big Data” กันอยู่บ่อยๆ แล้ว Big Data คืออะไร??? Big Data แปลตรงตัวก็คือ ข้อมูลขนาดใหญ่ ใหญ่แค่ไหน??? ใหญ่เท่าที่องค์กรนั้นๆ ต้องการจะขายของให้กับใคร เมือง จังหวัด ประเทศ หรือทั้งโลก แล้วข้อมูลเหล่านี้มาจากไหน??? ข้อมูลเหล่านี้มาจากการสำรวจ สอบถาม ติดตามดูพฤติกรรมของผู้บริโภค ว่ามีความต้องการอะไรบ้าง อยากซื้อสินค้าแบบไหน อยากใช้บริการแบบใด ผ่านทางนวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น โซเชียลเน็ตเวิร์ก โมบายล์อินเทอร์เน็ต และคลาวด์คอมพิวติ้ง
2.5 ล้านล้านล้านไบต์ (เลขศูนย์ตามหลัง 18 ตัว) คือปริมาณข้อมูลที่ใหม่ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ข้อมูลเหล่านี้เป็น “ขุมทรัพย์ขนาดมหาศาล” สำหรับโลกเทคโนโลยี ใครที่มีข้อมูลอยู่ในมือย่อมได้เปรียบ แต่ถ้ามีเพียงข้อมูล ไม่สามารถวิเคราะห์และนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ไม่ต่างอะไรกับ “ลิงได้แก้ว” ที่มีของมีค่าอยู่ในมือ แต่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้
การวิเคราะห์ข้อมูล Big Data จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้องค์กรธุรกิจมองเห็นความต้องการเชิงลึก รู้และเข้าใจความต้องการของผู้บริโภค เป็นการเพิ่มโอกาสเพื่อก้าวสู่ความสำเร็จ ดังนั้นผู้บริหารองค์กรยุคใหม่ ทั้งภาครัฐ เอกชน หรือแม้แต่องค์กรสาธารณะ จึงควรให้ความสำคัญต่อ Big Data และการนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์กร
บทบาทใหม่ของผู้บริหาร
การพัฒนาที่รวดเร็วของเทคโนโลยีทำให้ความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนไปจนก่อให้เกิด Big Data และเพื่อให้องค์กรก้าวทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น สามารถรับรู้ข้อมูลต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นที่ผู้บริหารจะต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นภายในองค์กร โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญๆ มี 3 ด้าน คือ
1. Empowering employees through values – การดึงศักยภาพในตัวพนักงานออกมาใช้อย่างเต็มที่ ด้วยอาศัยนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นเครื่องมือ เช่น อุปกรณ์เคลื่อนที่ และระบบคลาวด์ โซเชียลเน็ตเวิร์ก ที่จะช่วยให้พนักงานรับรู้ข่าวสาร เข้าถึงข้อมูล แชร์ข้อมูล รวมไปถึงการตอบสนองกับลูกค้าได้ทันที ทุกที่ ทุกเวลา
2. Engaging customer as individual – การนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาวิเคราะห์ Big Data เพื่อให้ทราบพฤติกรรมและความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค เมื่อนั้นธุรกิจก็สามารถพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด ตัวอย่างเช่น เมื่อโซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของลูกค้ามากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับตัวลูกค้าเองก็อยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตมากขึ้นด้วยเช่นกัน และนั่นคือสิ่งที่ธุรกิจของคุณสามารถเก็บเกี่ยวเพื่อใช้ประโยชน์ต่อการทำการตลาดในแบบที่เรียกว่า Contextual Marketing ทำให้สามารถนำเสนอข้อมูลได้แบบจำเพาะเจาะจงกับตัวลูกค้าได้มากขึ้น
3. Amplifying innovation with partnership – การส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ภายในองค์กร ผสานความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ของคนในองค์กร เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและสร้างความแตกต่างให้องค์กรก้าวไปสู่ความสำเร็จ
เครื่องมือที่ใช่ สู่ผลลัพธ์ที่ทรงประสิทธิภาพ
ข้อมูลใหม่ที่เกิดขึ้นวันละ 2.5 ล้านล้านล้านไบต์ ทำให้องค์กรต้องหาเครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ๆ มาจัดการกับ Big Data เหล่านั้นอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด ไอบีเอ็มขอนำเสนอเครื่องมือต่างๆ ที่จะช่วยให้องค์กรของคุณสามารถจัดการกับ Big Data ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อพาองค์กรก้าวไปสู่ความสำเร็จในโลกธุรกิจ
Analytics
การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) ช่วยให้องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จาก Big Data ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มองเห็นแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมไปถึงช่วยกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม ทำให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการไปในทิศทางที่ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลา และทรัพยากรได้ นอกจากนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลยังช่วยขจัดปัญหาที่เคยเกิดขึ้นได้ เพราะข้อมูลมีความแม่นยำสูง สามารถระบุปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงานได้อย่างตรงจุด ลดความสูญเสียทางธุรกิจ
ตัวอย่าง
โรงพยาบาลกรุงเทพได้มีการนำเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลมาใช้ในการดูแลลูกค้าและบริหารจัดการโรงพยาบาล ทำให้ลูกค้าและผู้ป่วยได้รับบริการที่ตรงตามความต้องการเฉพาะบุคคลมากขึ้น สามารถวิเคราะห์แนวโน้มของสุขภาพและวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม ตั้งแต่การป้องกันไปจนถึงการฟื้นฟูหลังการรักษา
ในส่วนของการบริหาร ทำให้สามารถวางแผนการบริหารจัดการในด้านต่างๆ เช่น การลงทุน หรือการเตรียมบุคลากรในด้านต่างๆ และสร้างสรรค์บริการใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับลูกค้ามากขึ้น โดยวิเคราะห์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นจากข้อมูลที่รับมา รวมไปถึงการรองรับทิศทางการขยายตัวและบริการของโรงพยาบาลได้อีกด้วย
Social Business
ระบบโซเชียลเน็ตเวิร์ก ช่วยให้พนักงานสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถสื่อสารถึงกันได้ทุกที่ ทุกเวลา ลดความยุ่งยากในการประสานงาน ทั้งยังช่วยกระชับความสัมพันธ์และได้ใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้นด้วย เช่น การรับฟังความคิดเห็นของลูกค้าผ่านระบบโซเชียล ซึ่งสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์เพื่อนำไปพัฒนาสินค้าและบริการให้มีความทันสมัย และตรงใจผู้บริโภคมากที่สุด
ตัวอย่าง
Amadori บริษัทจากอิตาลี ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีกชั้นนำ ใช้ระบบโซเชียลเน็ตเวิร์กในการสร้างระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถ “ฟัง” และเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ บริษัทได้รับรู้สิ่งที่ลูกค้าต้องการ และนำมาพัฒนาสินค้าให้ตรงตามความต้องการ เช่น แพกเกจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างมินิไซต์สำหรับให้ข้อมูลและรับฟังความคิดเห็นของลูกค้า ทำให้เข้าใจความต้องการของลูกค้าแต่ละคนได้ดีขึ้น
Mobile
การสื่อสารผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ ช่วยให้การทำงานเป็นไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ช่วยสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้แก่องค์กร ทั้งในด้านรายได้ ภาพลักษณ์ การประชาสัมพันธ์ การสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อแบรนด์ รวมไปถึงการเพิ่มศักยภาพและความสามารถของพนักงาน
ตัวอย่าง
แอร์แคนาดาเป็นตัวอย่างที่ดีในการนำเอาเครื่องมือและการสื่อสารแบบโมบิลิตีมาใช้ ทำให้ผู้โดยสารสามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารต่างๆ และเลือกใช้บริการจากมือถือ เว็บไซต์ หรือตู้คีออสก์ (KIOSK) ได้ รวมไปถึงการทำธุรกรรมได้อย่างปลอดภัย และรับข้อมูลแบบเรียลไทม์ เช่น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสถานะการจองผ่านทางอีเมลหรือโทรศัพท์มือถือ
นอกจากนี้ยังช่วยให้บริษัทบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้เวลาให้การพัฒนาบริการน้อยลง และลดค่าใช้จ่ายเรื่องเอกสาร เพื่อคุณภาพการบริการที่สูงขึ้น และความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า
Cloud Computing
คลาวด์ เป็นเทคโนโลยีที่ถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพื่อใช้จัดการกับ Big Data ช่วยสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาได้ตรงต่อความต้องการของลูกค้ามากที่สุด โดยอาศัยประโยชน์จากการวิเคราะห์ข้อมูล Big Data
นอกจากนี้ยังช่วยสนับสนุนการทำงาน สามารถแชร์ข้อมูลร่วมกันได้จากทุกที่ ทุกเวลา ระบบมีความยืดหยุ่นสูง ช่วยให้องค์กรสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการบริหารเทคโนโลยีลงได้ ทั้งในเรื่องอุปกรณ์ บริการ และการดูแลรักษา ที่สำคัญคือมีความปลอดภัย มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่อยู่ในระบบคลาวด์จะได้รับการปกป้องเป็นอย่างดี สามารถเรียกใช้ได้ตลอดเวลาเพื่อความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ
ตัวอย่าง
กสท. โทรคมนาคมได้นำเอาเทคโนโลยีคลาวด์ในการสร้างและให้บริการแก่ลูกค้าทั้งภาครัฐ และเอกชน ซึ่งเป็นการต่อยอดทางธุรกิจและใช้ประโยชน์สูงสุดจากโครงสร้างพื้นฐานของบริษัทที่มีศักยภาพอยู่แล้ว เช่น ดาต้าเซ็นเตอร์ โครงข่ายอินเทอร์เน็ต และโครงข่ายโทรศัพท์ ผลจากการให้บริการคลาวด์ช่วยให้บริษัทสามารถลดต้นทุน ค่าใช้จ่าย มีความปลอดภัยในการให้บริการ ประหยัดพลังงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชนได้เป็นอย่างดี
ข้อมูลเพิ่มเติม :
• New era of computing and Smarter Planet (http://www.ibm.com/smarterplanet/th/en/)
• Social business, analytics, mobility and cloud computing ( http://www.thinglink.com/ibmthailand)
• IBM Thailand Facebook (https://www.facebook.com/IBMThailand)
(พื้นที่ประชาสัมพันธ์)