xs
xsm
sm
md
lg

10 เรื่องน่าสนใจไอที-โทรคมฯ 54

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ปี 2554 ที่กำลังจะผ่านพ้นไป มีเรื่องร้ายแรงช็อกวงการไอที ทั้งที่เกิดในต่างประเทศและต้นเหตุในประเทศไทย จากมหาอุทกภัยที่ทำให้โรงงานฮาร์ดดิสก์ในประเทศไทยหยุดผลิต ส่งผลกระทบวงกว้างถึงอุตสาหกรรมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผลร้ายแรงไม่ต่างจากวิกฤตต้มยำกุ้งครั้งอดีต การจากไปของสตีฟ จ็อบส์ ผู้จุดกระแส สร้างความแตกต่าง กระตุ้นความอยากทำให้ผลไม้ธรรมดากลายเป็นแอปเปิลทองคำ

ทั้ง 2 เรื่องทำให้โลกไอทีหยุดหายใจไปชั่วขณะ แต่ชีวิตต้องเดินต่อไป ท่ามกลางข่าวร้าย คนไทยยังโชคดีที่ได้ใช้ 3G สักทีท่ามกลางการเติบดตและแข่งขันดุเดือดของสมาร์ทโฟน ขณะที่สวนดุสิตโพลสำรวจกระทรวงไอซีทีผลงานน่าผิดหวังที่สุด ทั้งหมดคือ 5 เรื่องร้อนๆวงการไอทีของปี 2554

***น้ำท่วมไทย พีซีโลกสำลัก

เป็นข่าวไปทั่วโลกว่าวิกฤตน้ำท่วมไทยปี 54 มีแววกระทบถึงอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์พีซีโลกแน่นอน เพราะฮาร์ดดิสก์จะเริ่มเข้าสู่ภาวะขาดตลาดเนื่องจากฐานการผลิตหลักในประเทศไทยจมบาดาล

วิกฤติน้ำท่วมไทยทำให้โรงงานผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟสำหรับเก็บข้อมูลดิจิตอลต้องหยุดสายพานการผลิตต่อเนื่องตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม 2011 ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟขาดตลาดในช่วงกลางเดือนพ.ย. เบื้องต้นเชื่อจำนวนการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟโลกในไตรมาส 4 ปี 2011 จะลดลงราว 50% และอาจส่งผลต่อเนื่องในช่วงต้นปี 2012 บนความเสียหายที่รุนแรงกว่าสึนามิที่ญี่ปุ่นเมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา

ทุกคนรู้ดีว่าคอมพิวเตอร์พีซีไม่สามารถจำหน่ายได้โดยไม่มีฮาร์ดดิสก์ เมื่อพีซีจำหน่ายไม่ได้ ยอดการสั่งซื้อชิปคอมพิวเตอร์ (อุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์) ก็ส่อแววฝืดเคืองตามไปด้วย ขณะเดียวกัน บริษัทผลิตซอฟต์แวร์ก็มีแนวโน้มได้รับผลกระทบแบบลูกโซ่ ท้ายที่สุด ยักษ์ใหญ่ตลาดพีซีอย่างเดลล์ เอชพี เลอโนโว เอเซอร์ และรายอื่นๆล้วนมีโอกาสธุรกิจชะงัก โอกาสที่ความเงียบเหงาจะเกิดในตลาดคอมพิวเตอร์พีซีโลกช่วงไตรมาส 1-2 ของปี 2012 จึงมีสูง

อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายเชื่อว่าวิกฤติที่เกิดขึ้นจะเป็นโอกาสดีที่ตลาดคอมพิวเตอร์พกพาขนาดบางพิเศษจะขยายตัว (อัลตราบุ๊ก) เพราะอัลตราบุ๊กไม่ได้ใช้ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟเป็นส่วนประกอบ แต่ใช้หน่วยความจำ SSD ซึ่งมีคุณภาพสูงกว่าบนราคาแพงที่กว่า ซึ่งการขาดตลาดของฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ อาจจะทำให้ผู้บริโภคยอมจ่ายเงินเพื่อให้มีโน้ตบุ๊กเครื่องใหม่ใช้งาน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
น้ำท่วมไทย พีซีโลกอ่วม
โตชิบา อ่วมน้ำท่วม! แต่ยังเติบโต 20%
เลอโนโว ชี้ตลาดคอมพ์อาเซียนหด 12% น้ำท่วมลดกำลังซื้อ-ฮาร์ดดิสก์ขาด

***แอปเปิล-ซัมซุง คู่แข่งสมาร์ทโฟน

เหตุการณ์สำคัญๆที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับวงการโทรศัพท์มือถือในบ้านเราคงหนีไม่พ้นการมาของสุดยอดสมาร์ทโฟนหลายๆรุ่น ไม่ว่าจะเป็นกระแสของ iPhone 4 ที่ลากยาวมาตั้งแต่ปี 2553 เนื่องจากของขาดสต็อก

ส่วนในช่วงกลางปีก็เป็นทีของแอนดรอยด์ที่ทยอยเข้ามาทำตลาดหลากหลายรุ่น และชิงส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปิดท้ายปีด้วยการมาของไฮเอนด์สมาร์ทโฟนอย่าง iPhone 4S และ Galaxy Nexus ส่งผลให้ปี 2554 ยังคงเป็นอีกปีหนึ่งที่สมาร์ทโฟนยังครองใจผู้บริโภคหลายๆคน และอาจะลากยาวไปถึงปีหน้าก็เป็นได้

โดยในส่วนของแบรนด์โทรศัพท์มือถือ ก็มีการเปลี่ยนอันดับกันอย่างถาวรแล้ว หลังจากซัมซุงรุกหนักเพื่อให้ขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ของตลาด จากการรุกไล่ทำตลาดสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ในทุกช่วงราคา ที่โดดเด่นที่สุดคงหนีไม่พ้น Galaxy S2 แต่จากนโยบายล่าสุดจากบริษัทแม่ ส่งผลให้ทางผู้บริหารซัมซุงต้องปิดปากเงียบถึงตัวเลขความสำเร็จที่เกิดขึ้นในปีนี้ไปโดยปริยาย

ส่วนทางโนเกียเอง หลักจากเริ่มรุกไปในตลาดโทรศัพท์ 2 ซิม ก็ทำให้ปีนี้มีการล้มหายตายจากของเฮาส์แบรนด์ คงเหลืออยู่แต่เพียงรายใหญ่ๆอย่าง จีเน็ต เวลคอมม์ และไอ-โมบาย ที่เริ่มหันมาให้ความสนใจในตลาดสมาร์ทโฟนเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับบริษัท หลังส่วนแบ่งจากการขายฟีเจอร์โฟนทำกำไรให้ไม่มากพอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ซัมซุงวางเป้า Galaxy S2 เพิ่มเท่าตัว เคาะราคา 18,900-
“GalaxyS II” ขาย 10 ล้านเครื่อง
ซัมซุงยิ้มรับ ส่วนแบ่ง 50% ตลาดสมาร์ทโฟน
มวยถูกคู่ iPhone 4S ปะทะ Galaxy S II
iPhone 4S 3 วัน ทะลุ 4 ล้านเครื่อง
เทียบราคา iPhone 4S ค่ายไหนถูก ค่ายไหนแพง ?
คนไทยเห่อ iPhone4S ทรูเผยยอดจองแซงรุ่น 4 ราว 3 เท่าตัว
iPhone 4S เอไอเอส ไม่เน้นต่อคิว "ลูกค้าต้องได้เครื่องเร็ว"

***สิ้น "สตีฟ จ็อบส์" แอปเปิลยังต้องโตต่อไป

เพียง 1 วันหลังการเปิดตัว iPhone 4S โลกต้องตกตะลึงกับข่าวการเสียชีวิตของชายซึ่งได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางจิตวิญญาณและทุกสิ่งทุกอย่างของแอปเปิล โดยสตีฟ จ็อบส์เสียชีวิตอย่างสงบด้วยวัย 56 ปีที่บ้านพักในเมืองปาโลอัลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย เชื่อกันว่าสาเหตุการเสียชีวิตคือโรคมะเร็งตับอ่อนซึ่งคุกคามจ็อบส์มาตั้งแต่ปี 2004

สตีฟ จ็อบส์นั้นเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการพัฒนาสินค้ายอดนิยมของแอปเปิลทั้งไอโฟน ไอพ็อด ไอแพด และคอมพิวเตอร์แมคอินทอช หลังการเสียชีวิตในวันที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมา ชื่อสตีฟ จ็อบส์กลายเป็นข่าวเด่นที่สำนักข่าวทุกสำนักให้ความสำคัญ โดยหนังสือชีวประวัติของจ็อบส์กำลังถูกโซนี่เอนเตอร์เทนเมนต์นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ภายใต้คนเขียนบทคนเดียวกับเรื่อง The Social Network ซึ่งคาดว่าโลกจะได้รับชมในช่วงปี 2012

แม้ความสำเร็จของแอปเปิลในวันนี้ถูกยกให้เป็นความดีของจ็อบส์ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ทำงานละเอียดและใส่ใจกับเรื่องเล็กน้อยระดับตำนาน แต่นักสังเกตการณ์ทั่วโลกส่วนใหญ่ฟันธงว่า การจากไปของจ็อบส์จะมีผลเปลี่ยนแปลงต่อแอปเปิลเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในช่วง 2-3 ปีนับจากนี้ เนื่องจากแอปเปิลยังมีตัวแทนของจ็อบส์ที่สามารถเดินตามแผนและกำหนดการคลอดสินค้าช่วง 1-2 ปีซึ่งถูกวางแผนล่วงหน้าเรียบร้อยภายใต้การบริหารของจ็อบส์ แต่คำถามที่แท้จริงคือในช่วง 3 ปีข้างหน้าที่แอปเปิลไม่มีจ็อบส์เป็นผู้กำกับอีกต่อไป

แอปเปิลในวันนี้สามารถเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากอันดับ 2 ของโลกนับตั้งแต่จ็อบส์กลับมาบริหารงานในปี 1996 จุดยืนของแอปเปิลมีความแตกต่างจากบริษัทอื่นในซิลิกอนวัลเลย์เพราะแอปเปิลคือ"ผู้สร้างรสนิยม"ไม่ใช่ผู้สร้างซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ ทั้งหมดนี้ทำให้แอปเปิลถูกคาดหวังสูงมากในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใดๆสู่ตลาด ซึ่งแอปเปิลจะต้องยืนได้ด้วยตัวเองบนสังเวียนไอทีที่ไม่อาจพลาดได้แม้แต่ก้าวเดียว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ซีอีโอแอปเปิล : ไม่มีคำใดอธิบายความเสียใจต่อการจากไปของ "สตีฟ จ็อบส์" ได้พอ
สุนทรพจน์ 'สตีฟ จ็อบส์' ที่ทุกคนยกย่อง
56 ปี "สตีฟ จ็อบส์" ชายผู้เป็นมากกว่าตำนาน
ประมวลภาพอำลา 'สตีฟ จ็อบส์'
10 นวัตกรรมเปลี่ยนโลกของ "สตีฟ จ็อบส์"
ชีวประวัติสตีฟ จ็อบส์ ขึ้นแท่นหนังสือขายดีบนอเมซอนแล้ว
เปลือย(หัวใจ)ก่อนตาย "สตีฟ จ็อบส์" (Cyber Weekend)

***กสทช. รอสางปม 3G

หลังจากรอคอยกันมากว่า 10 ปี กับการเปิดใช้งานมาตรฐานโทรศัพท์มือถือยุคที่ 3 (3G) ของหลากหลายโอเปอเรเตอร์ในไทย ในปี 2554 ก็ถือเป็นปีแรกที่เริ่มมีการนำ 3G เข้ามาทำตลาดกันอย่างจริงกัน ช่วยให้ชาวไทยได้เขาถึงพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนสมาร์ทโฟนกันเสียที

รายที่โดดเด่นที่สุดคงหนีไม่พ้นแบรนด์ 'ทรูมูฟ เอช' ภายใต้ บริษัท เรียลมูฟ หลังจากที่เข้าทำสัญญาประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทการขายส่งและบริการขายต่อบริการ กับบริษัท กสท โทรคมนาคม ส่งผลให้สามารถเปิดให้บริการ 3G HSPA+ เชิงพาณิชย์ พร้อมการขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมทั่วประเทศ จึงกลายเป็นโอเปอเรเตอร์ที่ถือว่ามีพื้นที่ให้บริการ 3G มากที่สุด

ทั้งนี้ ในปี 2554 นี้ก็มีการเกิดใหม่ขององค์กรอิสระอย่าง กสทช. ที่เริ่มดำเนินการตรวจสอบสัญญาดังกล่าวอาจขัดต่อมาตรา 46 จึงได้มีการสั่งตั้งคณะอนุกรรมการมาตรา 46 เพื่อตรวจสอบสัญญาการตลาดรูปแบบใหม่ระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม กับกลุ่มทรู เพื่อให้ใช้เป็นบรรทัดฐานต่อไปในอนาคต ดังนั้นสัญญานี้จะหมู่หรือจ่า ยังคงต้องรอดูกันต่อไป

ส่วนดีแทค และ เอไอเอส ก็ยังรอคอยความหวังกับการเปิดประมูล 3G บนคลื่นความ 2.1 GHz ที่ กสทช. คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาส 3 ปี 2555 ทำให้ในระหว่างนี้ จึงทำการแบ่งช่วงคลื่นความถี่ 2G เดิมมาให้บริการ 3G ไปพลางๆ ส่งผลให้ความเร็วและพื้นที่ในการให้บริการยังไม่กว้างขวางและสเถียรเท่าที่ควร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ติดปีกทรูมูฟ หลังกสท. ประเคน 3G - ฮัทช์
ทรูเพิ่มทุนหมื่นล้านลุย 3G
ดีแทคแห้วต่ออดHSPAเชิงพาณิชย์
ดีแทคลุยอัปเกรด 3G 1.2 พันล.
ทรูประกาศจุดยืน ร่วมรบเคียงข้างกสท
ทีโอทีเซ็นสัญญา 3G แล้ว
'จิรายุทธ' ไม่หนักใจ 3G คาศาล ลั่นมติบอร์ด 14 ม.ค.เดินตามกม.
‘นที’ ปลดล็อกนำเข้าอุปกรณ์ 3G
'เอไอเอส' ลุย 3G 900MHz
เปิดแพกเกจ ทรูมูฟ เอช
ดีแทคไม่สนอินทร์พรหม เปิด “3G HSPA” สิงหาคมนี้
ล้วงลึก 3G !?! (Cyber Weekend)
เชื่อ"ปลดล็อก3G" ดันโทรคมฯไทยโต2.4แสนล้านบาท
กสท ยัน "ดีแทค 3G" ต้องรอความเห็นอัยการสูงสุดก่อน
ทรูมูฟเอชข่มคู่แข่ง 3G แรงทั่วประเทศ
'น.อ.อนุดิษฐ์' ยันรัฐบาลเร่ง 3G
ทีโอที ไม่หวั่น 3G เอกชน ยันมีของดีกว่า
3G แค่ประดาบก็เลือดสาด !!! (Cyber Weekend)
บิ๊ก โทรคมนาคม วอนรัฐ ยกเลิกระบบสัมปทาน
ประธานกสทช. ยันปีหน้าได้ประมูล 3G 2.1GHz
เอไอเอสมั่นใจฟ้าหลังฝน พร้อมลุย 3G ปีหน้า
'อนุดิษฐ์'แย้มพบข้อพิรุธสัญญา กสท-ทรู
"อนุดิษฐ์" เปรย 3G HSPA กสท-ทรู ไม่จบง่าย
กทค. ฟันธง 3 แผนแม่บทฯเสร็จ มี.ค. เดินหน้าเปิดประมูล 3G ทันทีไตรมาส 3

***ตลาดแท็บเล็ต ไอแพด 2 ยังครองแชมป์

แม้ว่าปีนี้จะมีแท็บเล็ตออกมาวางจำหน่ายในตลาดมากมาย ซึ่งที่ยังคงได้รับความนิยมมากที่สุดคงหนีไม่พ้นไอแพด แม้ว่าส่วนแบ่งในตลาดโลกช่วงที่ผ่านมาจะอยู่ที่ราว 65-70% แต่ในประเทศไทยส่วนแบ่งตลาดของไอแพดกลับสูงถึงเกือบ 90% โดยปัจจัยหลักที่ทำให้ไอแพด 2 ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง คือการเข้ามาร่วมทำตลาดกับโอเปอเรเตอร์ในประเทศไทย หลังจากเดิมที่ขายแต่ในไอสตูดิโออย่างเดียว

ส่วนการเข้ามาของแอนดรอยด์แท็บเล็ต อย่าง Galaxy Tab จากซัมซุง ที่ขนไลน์สินค้ามาไล่กันตั้งแต่ 7 นิ้ว 8.9 นิ้ว และ 10.1 นิ้ว รวมกับการทำตลาดของค่ายคอมพ์อย่างเอเซอร์ และเอซุส ก็ช่วยเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดให้แอนดรอยด์ได้ไม่น้อย แต่การแข่งขันในตลาดนี้ยังเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น เพราะปีหน้ายังมีกองทัพแท็บเล็ตจากอีกหลากหลายเวนเดอร์เข้ามาสร้างความนิยมในตลาด พร้อมกับการเกิดของดิจิตอล คอนเทนต์ท้องถิ่นด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เก็บตกวาทะ"จ็อบส์"บนเวทีโชว์ตัว iPad 2
iPad 2 เครื่องหิ้วไม่หวั่น ยังตรึงราคาที่ 17,000.-
3 เดือน iPhone ขายได้ 20 ล้านเครื่อง iPad 9 ล้านเครื่อง
ตรวจทัพ 10 แท็บเล็ตชนช้าง iPad
ดีแทคแถมแหลกกระตุ้นยอด iPad 2
iPad แชร์หด จาก 96% เหลือ 67%
เอไอเอสเคาะวันจำหน่าย iPad 2 18 พ.ย.นี้
iPad2 ขายไทยดีกว่า iPad1 "เท่าตัว"

***กระทรวงไอซีที ไร้ผลงาน

อาจจะเพราะเห็น น.อ. อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที ผลุบๆโผล่ๆที่ ศปภ. ในช่วงเหตุการณ์น้ำท่วมจนลืมงานประจำที่กระทรวง ประกอบกับวาทะเด็ดในการปราบเว็บหมิ่นฯด้วยการรณรงค์ "ถ้าพบเห็นการโพสต์ข้อมูล และข้อความหมิ่นสถาบัน กรุณาอย่ากด Like หรือคอมเมนต์ เพราะจะเป็นการสร้างกระแส และเผยแพร่ทางอ้อม"

ส่งผลให้การสำรวจของ "สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ที่สำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อการทำงานของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ในรอบ 4 เดือน พบว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กลับได้คะแนนบ๊วยสุดที่ 5.84 คะแนน

แต่ก็ยังมีข่าวดีในเรื่องของการให้บริการฟรีไว-ไฟ ตามแผนงานในเฟสที่ 1 จะให้บริการทั้งหมด 20,000 จุด โดยจะเริ่มทยอยเปิดบริการในแต่ละพื้นที่ และคาดว่าจะเปิดบริการได้ทั้งหมดภายในต้นเดือนม.ค.ปี 2555 ที่พอจะให้จับต้องได้บ้าง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“สวนดุสิตโพล” เผย 4 เดือน “รบ.ปู” ความซื่อสัตย์รั้งท้าย ไอซีทีผลงานห่วยสุด
ไอซีที วาดฝันผุด Wi-Fi ฟรี 2.5 แสนจุดใน5ปี
“อนุดิษฐ์” ยอมรับจับ มือโพสต์เฟซบุ๊กหมิ่นฯยาก

***โซเชียลเน็ตเวิร์ก สื่อกลางภาคประชาชนบนโลกออนไลน์

ต้องยอมรับกันว่าการเติบโตของโซเชียลเน็ตเวิร์กในปีนี้ ช่วยผลักดันให้เกิดการรวมตัวกันของภาคประชน ในการเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่ที่รัฐไม่สามารถเข้าถึง แถมยังเป็นศูนย์รวบรวมข้อมูล และกระจายข่าวสารได้เร็วที่สุดอีกด้วย

การเกิดขึ้นของกลุ่ม 'Thaiflood' ถือเป็นปรากฏการณ์รวมตัวกันของกลุ่มคนบนโซเชียลเน็ตเวิร์กที่ ร่วมกันแจ้งข้อมูล ข่าวสาร จนก่อให้เกิดการรวมกลุ่มกันเข้าไปเป็นจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย

ยังไม่นับรวมกับการเผยแพร่ข้อมูลของกลุ่ม 'รู้ สู้! Flood' ที่ให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในภาวะน้ำท่วม ไล่ไปจนถึงสิ่งที่ควรทำหลังน้ำลด จากยอดเข้าชมในยูทูบกว่า 3 ล้านครั้ง และหน้าแฟนเฟจในเฟซบุ๊กอย่าง 'อาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย' 'Thonburi Flood Report' 'น้ำขึ้น ให้รีบบอก และอื่นๆอีกมากมาย'

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กูเกิล ออกแผนที่แสดงจุดวิกฤตน้ำท่วม
"ปรเมศวร์ มินศิริ" ผู้ตบหน้า ศปภ. คือใคร? : Cyber Talk

***หมดยุค Flash บนมือถือ

โลกต้องบันทึกว่า ปี 2011 คือปีที่รูปแบบไฟล์ภาพเคลื่อนไหวนามสกุลแฟลช (flash) ถูกตัดสินว่าจะไม่มีการพัฒนาเพื่อเปิดชมบนอุปกรณ์พกพาอีกต่อไป โดยอโดบี (Adobe) ประกาศหยุดพัฒนาโปรแกรมเล่นไฟล์ภาพเคลื่อนไหว "แฟลชเพลเยอร์ (Flash Player)" สำหรับทำงานบนเว็บเบราว์เซอร์ในอุปกรณ์พกพาอย่างเป็นทางการ แล้วหันมารองรับมาตรฐาน HTML5 แทน

แฟลชเป็นหนึ่งในรูปแบบไฟล์ภาพเคลื่อนไหวที่สำคัญมากที่สุดในโลกเว็บไซต์มานาน โดยเฉพาะในวงการวิดีโอและเกมออนไลน์ เพราะรองรับอุปกรณ์พกพาหลากหลาย แต่จุดจบของแฟลชบนอุปกรณ์พกพาส่อเค้าลางมาตั้งแต่แอปเปิล (Apple) และสตีฟ จ็อบส์ (Steve Jobs) ปฏิเสธที่จะสนับสนุนแฟลชในอุปกรณ์พกพาตระกูลไอทั้งไอโฟน ไอแพด และไอพ็อดทัชช่วงหลายปีก่อนหน้านี้ กระทั่งไมโครซอฟท์ที่ขานรับเลิกสนับสนุนแฟลชเพราะปัญหาเรื่องความไม่ปลอดภัยต่อระบบ

เทคโนโลยีที่จะมาแทนแฟลชคือ HTML5 แพลตฟอร์มที่นักโปรแกรมเมอร์และนักพัฒนาแอปพลิเคชันให้ความสนใจมากกว่า เพราะเหมาะสมกับการใช้งานบนอุปกรณ์พกพา ปลอดภัย และเสรี ทั้งหมดนี้อโดบีระบุว่าจะให้ความสำคัญกับการพัฒนา HTML5 ด้วยเทคโนโลยีและทรัพยากรที่อโดบีมี ขณะเดียวกันก็จะพัฒนาแฟลชต่อไปในอุตสาหกรรมที่แฟลชยังมีอิทธิพลอยู่ ทั้งอุตสาหกรรมเกมและวิดีโอออนไลน์ โดยแฟลชจะยังถูกพัฒนาอยู่ต่อไปในรูปแอปพลิเคชันและยังรองรับการใช้งานบนคอมพิวเตอร์พีซีที่ใช้เบราว์เซอร์มาตรฐาน

ผู้ใช้อุปกรณ์พกพาทั่วโลกจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆจากอวสานของแฟลชในครั้งนี้ เพราะนักพัฒนาที่ยังยึดมั่นกับแพลตฟอร์มแฟลชจะได้รับเครื่องมือเพื่อแปลงชุดคำสั่งให้ทำงานบนแพลตฟอร์ม Adobe AIR ซึ่งผู้บริโภคจะสามารถเปิดชมและใช้งานแฟลชได้ตามปกติ ขณะที่โปรแกรมแพลตฟอร์ม HTML5 ก็จะสามารถเปิดใช้งานได้ตามปกติ และจะแพร่หลายต่อเนื่องไปไม่รู้จบ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไมโครซอฟท์ร่วมวงแอปเปิลคว่ำบาตร "Flash"
อโดบีปิดฉาก "Flash" บนอุปกรณ์พกพา หันหนุน HTML5
ริมยังคงหนุนแฟลชต่อไป แม้ไร้เงาอะโดบี
ผจก.ผลิตภัณฑ์อะโดบีชี้แอปเปิลทำแฟลช 'ตาย'
HTML5 บนโลกทุนนิยม
ยูทิวบ์โฉมใหม่ ปรับหน้าตา พร้อมรองรับ HTML5 และภาษาไทย

***โนเกีย-ไมโครซอฟท์ / โมโตฯ-กูเกิล กับดีลประวัติศาสตร์

การประกาศจับมือกันระหว่างโนเกีย และไมโครซอฟท์ ในวันที่ 11 ก.พ. 2554 กลายเป็นข่าวช็อคไปทั้งวงการโทรคมนาคม เมื่อพี่ใหญ่ด้านโทรศัพท์มือถือ และเจ้าพ่อธุรกิจซอฟต์แวร์ จับมือกันเพื่อรวมกัน หวังเป็นแรงช่วยขับเคลื่อนทั้ง 2 บริษัท ออกจากช่วงขาลงในธุรกิจสมาร์ทโฟน

สิ่งที่โนเกียต้องการจากไมโครซอฟท์คงหนีไม่พ้นระบบปฏิบัติการวินโดวส์ โฟน ที่ทำท่าว่าจะไปได้สวยในตลาดยุโรป ประกอบกับการที่ MeeGo ซึ่งโนเกียเคยวางไว้เป็นโอเอสสมาร์ทโฟนของตนเอง ได้รับการตอบรับไม่ดีเท่าที่ควร ส่วนไมโครซอฟท์เองก็ต้องการฐานลูกค้าของโนเกีย

ดังนั้นการประกาศจับมือกันระหว่าง สตีเฟ่น อีล็อป ซีอีโอโนเกีย อดีตลูกหม้อไมโครซอฟท์ และสตีฟ บอลเมอร์ ซีอีโอไมโครซอฟท์ จึงกลายเป็นข่าวที่กระตุ้นการแข่งขันในวงการได้ไม่น้อย

ในส่วนของโมโตโรล่าหลักจากที่มีการแยกส่วนธุรกิจออกมาเป็นกลุ่มธุรกิจโมบิลิตี้ กูเกิลซึ่งกำลังตกอยู่ในปัญหาการฟ้องร้องสิทธิบัตรแอนดรอยด์ จึงจำเป็นต้องการหาบริษัทที่มีสิทธิบัตรในการคิดค้นและพัฒนาแอนดรอยด์ให้แข็งแกร่งขึ้น ทางออกจึงมาตกอยู่ที่การทุ่มซื้อหน่วยธุรกิจของโมโตโรล่าด้วยมูลค่าเงินกว่า 1.25 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

ซึ่งเมื่อขั้นตอนการเข้าซื้อแล้วเสร็จ จะทำให้กูเกิลในฐานะผู้คิดค้นระบบปฏิบัติการสมาร์ทโฟน สามารถเข้าถึงสิทธิบัตรจำนวนมากของโมโตโรล่าแล้ว ยังถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้กูเกิลสามารถเข้าไปทำตลาดสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์รับสัญญาณโทรทัศน์ ที่เริ่มได้รับความนิยมในสหรัฐฯอีกด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โนเกียยันไม่ทิ้งซิมเบียนปีนี้ คาดสิ้นปีเห็นวินโดวส์โฟน7
โนเกีย-ไมโครซอฟท์ คู่รักที่ไม่มีใครเชียร์?
แยกกันตายเดี่ยว!! โนเกีย-ไมโครซอฟท์กอดคอสู้
เปิดโผ 9 ความร่วมมือพิสูจน์พลังโนเกีย-ไมโครซอฟท์
15 คำถามคาใจกรณีโนเกียร่วมมือไมโครซอฟท์
"ดีลประวัติศาสตร์" กับความเห็นของ CEO Nokia และความเป็นไปที่อาจจะเกิดขึ้น : Cyber Talk
กูเกิลฮุบโมโตโรลา 1.25 หมื่นล.ดอลล์
กูเกิลฮุบโมโตฯ ใครได้ใครเสีย?
ผู้ถือหุ้นโมโตฯ รับข้อเสนอจากกูเกิลแล้ว
***ฟ้องร้องสิทธิบัตร

แน่นอนว่าจากการที่ยอดขายทั้งสมาร์ทโฟน-แท็บเล็ตได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการฟ้องร้องในแง่การที่แบรนด์อื่นทำสิทธิบัตรที่เจ้าของแบรนด์จดไว้ไปใช้ รวมถึงในแง่ของการออกแบบตัวเครื่อง ส่งผลให้ในบางประเทศเกิดการสั่งห้ามวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์บางชนิดไป

โดยการฟ้องร้องหลักๆยังคงเกิดขึ้นกับแอปเปิล ที่ไล่ฟ้องผู้ผลิตแอนดรอยด์หลายราย รวมทั้งซัมซุง และ เอชทีซี ที่มีการละเมิดสิทธิบัตรของแอปเปิล ทั้งที่ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินคดี และตัดสินเสร็จแล้วอย่างล่าสุด เอชทีซีถูกสั่งห้ามจำหน่ายสมาร์ทโฟนในสหรัฐฯ ถ้าไม่นำส่วนติดต่อผู้ใช้ที่ละเมิดสิทธิบัตรของแอปเปิลออก ดังนั้น มหากาฬการฟ้องร้องระหว่าง 3 ยักษ์ใหญ่ไอที แอปเปิล-กูเกิล-ไมโครซอฟท์ ยังมีให้ติดตามต่อไปแน่นอน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มือถือ"ซัมซุง-เอชทีซี"อ่วมโดนฟ้อง ติดแอปฯสอดแนมหลายล้านเครื่อง
ซัมซุงหวัง ห้ามแอปเปิลขายไอโฟนในมะกัน
โนเกียชนะ แอปเปิลยอมควักกระเป๋าจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้
เอชทีซี"แพ้คดีสิทธิบัตร"แอปเปิล มีผลอย่างไร (ในสหรัฐฯ) ?
แอปเปิลฟ้องซัมซุงข้อหา"ลอก iPad"
ซัมซุงเซ็ง ศาลออสซี่สั่งห้ามจำหน่าย Galaxy Tab 10.1
ซัมซุงยิ้มร่าศาลออสซี่อนุญาตให้จำหน่าย Galaxy Tab 10.1 ได้แล้ว
เอชทีซีหุ้นร่วงหลังส่อแววแพ้คดีสิทธิบัตร
"แอนดรอยด์"โดนรุม!!
กำลังโหลดความคิดเห็น