หลายคนอาจคิดว่า วงจรกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่จะทำให้สามารถขายสินค้าออนไลน์ได้นั้นมีแค่ 4 ขั้น เริ่มต้นที่การใช้เทคนิกทำให้เสิร์ชเอนจิ้นแสดงลิงก์ของเราที่หน้าผลลัพท์สืบค้นช่วงต้นๆ พอลูกค้าสนใจซื้อสินค้าเมื่อใดก็ใส่คีย์เวิร์ดลงไปในเสิร์ชเอนจิ้น ภาวนาให้ลูกค้าเห็นลิงก์แล้วสนใจเข้าไปชมเว็บเรา สุดท้ายคือเสนอโปรโมชันดีๆให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อ ก็เป็นอันว่าบิงโก!
ใครคิดแบบนี้ขอให้ลองคิดใหม่ว่า จะดีแค่ไหนถ้าลูกค้ามีชื่อบริการของคุณอยู่ในความคิดอยู่แล้วก่อนที่จะลงมือเสิร์ช แน่นอนว่าเปอร์เซ็นต์ความสำเร็จย่อมมีสูงกว่า และมีโอกาสในการเติบโตระยะยาวที่ยั่งยืนกว่า
ถามว่าจะทำอย่างไรให้ลูกค้าคิดถึงชื่อเราก่อนคีย์เวิร์ด คำตอบคือคุณต้องสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำ “ทำเงินบนโลกไอที”สัปดาห์นี้ขอเสนอวิธีการสร้างแบรนด์ด้วยกูเกิล เครื่องมือยอดฮิตที่จะทำให้การสร้างแบรนด์ของคุณเป็นไปแบบประหยัดค่าใช้จ่าย เป็นที่จดจำ และทั่วถึง โดยนอกจากกูเกิล เราจะนำเสนอแนวทางการสร้างแบรนด์ด้วยเครื่องมืออื่นๆในสัปดาห์ต่อไป
***การสร้าง brand ด้วย Google
(บทความโดย ปภาดา อมรนุรัตน์กุล paphada@redrank.co.th)
“เดือนนี้เงินหมดแล้ว คืนนี้คงต้องกินมาม่าแล้วซิเรา” อ่านแล้วรู้สึกอย่างไรกันบ้างค่ะ? ไม่รู้สึกอะไร เพราะใครๆ ก็พูดกันอย่างนี้ทั้งนั้น แต่หากเรามามองและวิเคราะห์กันให้ดีๆ จะเห็นได้ว่า ในประโยคนี้ มีการใช้ชื่อยี่ห้อสินค้า มาแทนความหมายจริงๆ ของสิ่งที่ต้องสื่อ แทนที่เราจะใช้คำว่า “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” กับใช้เป็นคำว่า “มาม่า” แทน นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสร้างแบรนด์ ที่ทำให้สินค้า เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของความคิดลูกค้า คราวนี้ เมื่อไรก็ตามที่อยากจะกินบะหมี่สำเร็จรูป เราก็จะนึกถึง “มาม่า” ก่อนยี่ห้ออื่นๆ เสมอ
ถ้าเปรียบเป็นโลกอินเทอร์เน็ต ก็คงไม่ต่างอะไรกับเวลาที่เราจะค้นหาอะไรสักอย่าง เราก็บอกกับเพื่อนๆ ว่า “คิดไรไม่ออกถาม google” ซึ่งบางคนแทบจะไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่า จริงๆ แล้ว google เป็น Search Engine เจ้าหนึ่งเท่านั้น ยังมีผู้ให้บริการค้นหาอื่นๆ อีก เช่น Live.com, AOL หรือ Yahoo นี่เป็นเพราะการสร้างแบรนด์ เข้าไปติดหู ติดตา และฝังเข้าไปในระบบความคิดของผู้ซื้อโดยไม่รู้ตัว
แล้วเราจะสามารถสร้างแบรนด์ของเราให้เข้าไปอยู่ในระบบความคิดของผู้ซื้อเราได้อย่างไร? ถ้าเราไม่ใช่บริษัทยักษ์ใหญ่ ไม่ได้มีทุนหนามากมายที่จะสร้างแบรนด์ ขนาดนั้น ถ้าใช้สื่อ offline แบบเดิมๆ นั้น คงต้องใช้เงินมาก กว่าจะให้ลูกค้าซึบซับชื่อของเราลงไปในระบบความคิด แต่ในโลก online นั้น ไม่มีอะไรยากอีกต่อไป!!
ทำให้คุ้นตาเข้าไว้
เคยเจอไหมค่ะ ที่ไปเว็บไซต์นี้ ก็เจอโฆษณาตัวนี้ ไปอีกเว็บก็เจอโฆษณาตัวนี้อีก คือ ไม่ว่าจะเป็นทางไหน ก็จะเจอแต่โฆษณาตัวนี้ เต็มไปหมด วิธีการนี้จะช่วยสร้างแบรนด์ได้ค่ะ
เช่น เราอาจจะเจอโฆษณาเกี่ยวกับร้านซ่อมเครื่องเสียงรถยนต์ ที่เว็บบอร์ดที่เราเข้าไปพูดคุยเรื่องรถอยู่เป็นประจำ แล้วเราก็เข้าเว็บไซต์ขายของแต่งรถเพื่อไปดูว่า มีอะไรใหม่ๆ มาทำให้รถของเราเจ๋งกว่านี้บ้าง หรือจะเข้าไปอ่านข่าวเกี่ยวกับรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่เพิ่งออกมา และถ้าในเว็บไซต์เหล่านี้ มีโฆษณาของร้านซ่อมเครื่องเสียงรถยนต์อยู่ ก็ต้องมีบ้าง ที่เราจะเหลือบไปมอง หรือเห็นโฆษณาของร้านค้านี้ และเมื่อวันดี คืนนี้ เครื่องเสียงรถยนต์ที่เราใช้อยู่ เกิดเสียขึ้นมา ในหัวของเราจะทบทวนเรื่องราวต่างๆ ที่เคยเห็น เคยพบมา หากเป็นชื่อของร้านซ่อมเครื่องเสียงที่เราเห็นมัน คุ้นหู คุ้นตาอยู่บ่อยๆ เราจะนำเครื่องเสียงรถยนต์ของเราไปให้ที่ร้านนั้นซ่อมแน่ๆ
เรื่องนี้ไม่ใช่แนวคิดโคมลอยที่ไม่มีหลักการ เพราะจากการศึกษาพบว่า วงจรการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเริ่มต้นที่ลูกค้าผ่านตา-ผ่านหูกับชื่อของสินค้าหรือชื่อ brand ต่างๆไว้ โดยขณะที่รับรู้นั้น อาจจะไม่มีความต้องการซื้อสินค้าชิ้นนั้นอยู่ก่อนเลย (Awareness)
แต่วันหนึ่ง มีความต้องการจะใช้สินค้าหรือบริการใดๆ ขึ้นมา พวกเขาจะเข้าไประลึกในความทรงจำ ว่าเขาเคยเห็น เคยได้ยินชื่ออะไรที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่พวกเขาต้องการบ้าง (Interest) จากนั้นจะนำชื่อหรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่ต้องการเข้าไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมทาง Search Engine เพื่อประกอบการตัดสินใจ (Consideration) สุดท้ายจึงลงท้ายด้วยการซื้อสินค้าหรือบริการนั้น (Purchase) จากนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่า สินค้าและบริการนั้นดีมากน้อยเพียงใด เพียงพอที่ลูกค้าจะบอกต่อหรือกลับมาซื้อซ้ำหรือไม่อย่างไรอีกครั้งหนึ่ง
จากวงจรดังกล่าวจะเห็นได้ว่า หากมีการลงโฆษณาเฉพาะในส่วนที่เป็นการค้นหา (Search) เพียงเท่านั้น จะไม่สามารถสร้าง brand ให้ลูกค้ารู้จักได้ดีเท่ากับการลงโฆษณาในลักษณะ Content Network ซึ่งการลงโฆษณาในลักษณะของ Content Network ทำให้ครอบคลุมวงจรการซื้อได้มากกว่า เพราะครอบคลุมได้ตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการวงจรการซื้อกันเลยทีเดียว เพราะลูกค้าได้เห็น ได้รู้จักชื่อหรือสินค้าของผู้ลงโฆษณาตั้งแต่การเข้าไปอ่านข้อมูลเฉยๆ ในเว็บไซต์ต่างๆ แล้ว โดยลูกค้าจะซื้อมีโอกาสซื้อหรือไม่ซื้อก็ตาม
นี่คือการสร้างแบรนด์อย่างง่ายๆ ที่สำคัญลงทุนต่ำมากเมื่อเทียบกับการใช้สื่อโฆษณาแบบ offline อื่นๆ เราสามารถทำกระบวนการต่างๆ เหล่านี้ได้โดย ไปซื้อ Banner ตามเว็บไซต์ต่างๆ แต่การไปซื้อพื้นที่โฆษณา Banner ต่างๆ ยิ่งในเว็บไซต์ใหญ่ๆ แล้วด้วยนั้น มีค่าใช้จ่าย เดือนละหลายหมี่นบาทกันเลยทีเดียว
แต่ปัจจุบัน เราสามารถนำโฆษณาของเราไปติดในเว็บไซต์ต่างๆ ได้ โดยคิดค่าใช้จ่ายเป็นแบบ Cost Per Impression (CPM) หรือ Cost Per Click (CPC) ก็ได้ ซึ่งเป็นราคาที่เราสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ด้วยตัวเราเอง ความสามารถนี้เราเรียกว่าการทำ Google Content Network
Google Content Network เป็น function ตัวหนึ่งซึ่งอยู่ภายในวิธีการลงโฆษณาของ Google AdWords โดยเราสามารถเลือกได้ว่า จะเปิดใช้งาน function ของ Google Content Network นี้หรือไม่? ซึ่งเราสามารถเลือกได้ว่า เราจะนำโฆษณาของเราไปปรากฏในเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาในเรื่องแบบใดบ้าง
ตัวอย่างเช่น ถ้าเราเปิดร้านซ่อมเครื่องเสียงรถยนต์ เราก็อยากจะให้โฆษณาของเรา ไปปรากฏในเว็บไซต์ที่มีพูดเรื่องเกี่ยวกับ “รถยนต์” “ของแต่งรถ” “รถมือสอง” “เครื่องเสียงรถยนต์” เป็นต้น ซึ่งตรงนี้เอง เป็นคุณสมบัติที่ทาง Google ให้เราสามารถเลือกได้ว่า โฆษณาของเราจะไปปรากฏในเว็บไซต์ที่พูดถึงเรื่องต่างๆ เหล่านี้ที่เรากำหนดไว้เท่านั้น ซึ่งเป็นลักษณะของ Niece Marketing หรือตรงกลุ่มเป้าหมายของเรามากที่สุด ทั้งนี้จะครอบคลุมไปถึงการใช้ระบบ gmail ของ google อีกด้วย เพราะหากเรามีการเมล์ติดต่อกับเพื่อนในเรื่องการนำรถยนต์ไปซ่อม โฆษณาของ ร้านซ่อมเครื่องเสียงรถยนต์ก็จะปรากฏขึ้น ซึ่งเราก็สามารถคลิกโฆษณาและเข้าไปซื้อสินค้าและบริการของร้านซ่อมเครื่องเสียงรถยนต์ได้ในทันที
คราวนี้ เรามาลองดูธุรกิจใกล้ๆ ตัวที่จริงๆ แล้ว เราอาจจะเห็นโฆษณาเหล่านี้ ผ่านหู ผ่านตากันบ้างแล้ว เช่น โครงการครบรอบ 1 ปีของ www.my1sthome.in.th สมัครสมาชิก รับบัตรส่วนลด 50,000 บาท ซึ่งทาง my1sthome นั้น ได้ทำการสร้าง Brand Awareness ด้วย Google ทำให้ ไม่ว่า คุณจะเข้าเว็บไซต์ไหนที่เกี่ยวข้อง ก็จะได้เห็นและซึบซับความอยากเป็นเจ้าของบ้านหลังแรก ใน my1sthome และนี่ก็เป็นตัวอย่างที่ใช้สร้าง brand awareness ได้เป็นอย่างดี เพราะขนาดเราเข้าไปอ่าน blog ใน oknation ก็ยังสามารถเห็นโฆษณาของ my1sthome ได้เลยค่ะ
การตลาดแบบการสร้าง brand awareness ด้วย google นั้นถูกมองว่าเป็นกลยุทธ์สุดยอดของการสร้าง brand ในเวลานี้ จะเรียกได้ว่าเป็นการทำ “eBranding” ในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
คุณล่ะคะ ลงมือสร้าง Brand Awareness บนโลกอินเทอร์เน็ตแล้วหรือยัง??
ใครคิดแบบนี้ขอให้ลองคิดใหม่ว่า จะดีแค่ไหนถ้าลูกค้ามีชื่อบริการของคุณอยู่ในความคิดอยู่แล้วก่อนที่จะลงมือเสิร์ช แน่นอนว่าเปอร์เซ็นต์ความสำเร็จย่อมมีสูงกว่า และมีโอกาสในการเติบโตระยะยาวที่ยั่งยืนกว่า
ถามว่าจะทำอย่างไรให้ลูกค้าคิดถึงชื่อเราก่อนคีย์เวิร์ด คำตอบคือคุณต้องสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำ “ทำเงินบนโลกไอที”สัปดาห์นี้ขอเสนอวิธีการสร้างแบรนด์ด้วยกูเกิล เครื่องมือยอดฮิตที่จะทำให้การสร้างแบรนด์ของคุณเป็นไปแบบประหยัดค่าใช้จ่าย เป็นที่จดจำ และทั่วถึง โดยนอกจากกูเกิล เราจะนำเสนอแนวทางการสร้างแบรนด์ด้วยเครื่องมืออื่นๆในสัปดาห์ต่อไป
***การสร้าง brand ด้วย Google
(บทความโดย ปภาดา อมรนุรัตน์กุล paphada@redrank.co.th)
“เดือนนี้เงินหมดแล้ว คืนนี้คงต้องกินมาม่าแล้วซิเรา” อ่านแล้วรู้สึกอย่างไรกันบ้างค่ะ? ไม่รู้สึกอะไร เพราะใครๆ ก็พูดกันอย่างนี้ทั้งนั้น แต่หากเรามามองและวิเคราะห์กันให้ดีๆ จะเห็นได้ว่า ในประโยคนี้ มีการใช้ชื่อยี่ห้อสินค้า มาแทนความหมายจริงๆ ของสิ่งที่ต้องสื่อ แทนที่เราจะใช้คำว่า “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” กับใช้เป็นคำว่า “มาม่า” แทน นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสร้างแบรนด์ ที่ทำให้สินค้า เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของความคิดลูกค้า คราวนี้ เมื่อไรก็ตามที่อยากจะกินบะหมี่สำเร็จรูป เราก็จะนึกถึง “มาม่า” ก่อนยี่ห้ออื่นๆ เสมอ
ถ้าเปรียบเป็นโลกอินเทอร์เน็ต ก็คงไม่ต่างอะไรกับเวลาที่เราจะค้นหาอะไรสักอย่าง เราก็บอกกับเพื่อนๆ ว่า “คิดไรไม่ออกถาม google” ซึ่งบางคนแทบจะไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่า จริงๆ แล้ว google เป็น Search Engine เจ้าหนึ่งเท่านั้น ยังมีผู้ให้บริการค้นหาอื่นๆ อีก เช่น Live.com, AOL หรือ Yahoo นี่เป็นเพราะการสร้างแบรนด์ เข้าไปติดหู ติดตา และฝังเข้าไปในระบบความคิดของผู้ซื้อโดยไม่รู้ตัว
แล้วเราจะสามารถสร้างแบรนด์ของเราให้เข้าไปอยู่ในระบบความคิดของผู้ซื้อเราได้อย่างไร? ถ้าเราไม่ใช่บริษัทยักษ์ใหญ่ ไม่ได้มีทุนหนามากมายที่จะสร้างแบรนด์ ขนาดนั้น ถ้าใช้สื่อ offline แบบเดิมๆ นั้น คงต้องใช้เงินมาก กว่าจะให้ลูกค้าซึบซับชื่อของเราลงไปในระบบความคิด แต่ในโลก online นั้น ไม่มีอะไรยากอีกต่อไป!!
ทำให้คุ้นตาเข้าไว้
เคยเจอไหมค่ะ ที่ไปเว็บไซต์นี้ ก็เจอโฆษณาตัวนี้ ไปอีกเว็บก็เจอโฆษณาตัวนี้อีก คือ ไม่ว่าจะเป็นทางไหน ก็จะเจอแต่โฆษณาตัวนี้ เต็มไปหมด วิธีการนี้จะช่วยสร้างแบรนด์ได้ค่ะ
เช่น เราอาจจะเจอโฆษณาเกี่ยวกับร้านซ่อมเครื่องเสียงรถยนต์ ที่เว็บบอร์ดที่เราเข้าไปพูดคุยเรื่องรถอยู่เป็นประจำ แล้วเราก็เข้าเว็บไซต์ขายของแต่งรถเพื่อไปดูว่า มีอะไรใหม่ๆ มาทำให้รถของเราเจ๋งกว่านี้บ้าง หรือจะเข้าไปอ่านข่าวเกี่ยวกับรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่เพิ่งออกมา และถ้าในเว็บไซต์เหล่านี้ มีโฆษณาของร้านซ่อมเครื่องเสียงรถยนต์อยู่ ก็ต้องมีบ้าง ที่เราจะเหลือบไปมอง หรือเห็นโฆษณาของร้านค้านี้ และเมื่อวันดี คืนนี้ เครื่องเสียงรถยนต์ที่เราใช้อยู่ เกิดเสียขึ้นมา ในหัวของเราจะทบทวนเรื่องราวต่างๆ ที่เคยเห็น เคยพบมา หากเป็นชื่อของร้านซ่อมเครื่องเสียงที่เราเห็นมัน คุ้นหู คุ้นตาอยู่บ่อยๆ เราจะนำเครื่องเสียงรถยนต์ของเราไปให้ที่ร้านนั้นซ่อมแน่ๆ
เรื่องนี้ไม่ใช่แนวคิดโคมลอยที่ไม่มีหลักการ เพราะจากการศึกษาพบว่า วงจรการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเริ่มต้นที่ลูกค้าผ่านตา-ผ่านหูกับชื่อของสินค้าหรือชื่อ brand ต่างๆไว้ โดยขณะที่รับรู้นั้น อาจจะไม่มีความต้องการซื้อสินค้าชิ้นนั้นอยู่ก่อนเลย (Awareness)
แต่วันหนึ่ง มีความต้องการจะใช้สินค้าหรือบริการใดๆ ขึ้นมา พวกเขาจะเข้าไประลึกในความทรงจำ ว่าเขาเคยเห็น เคยได้ยินชื่ออะไรที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่พวกเขาต้องการบ้าง (Interest) จากนั้นจะนำชื่อหรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่ต้องการเข้าไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมทาง Search Engine เพื่อประกอบการตัดสินใจ (Consideration) สุดท้ายจึงลงท้ายด้วยการซื้อสินค้าหรือบริการนั้น (Purchase) จากนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่า สินค้าและบริการนั้นดีมากน้อยเพียงใด เพียงพอที่ลูกค้าจะบอกต่อหรือกลับมาซื้อซ้ำหรือไม่อย่างไรอีกครั้งหนึ่ง
จากวงจรดังกล่าวจะเห็นได้ว่า หากมีการลงโฆษณาเฉพาะในส่วนที่เป็นการค้นหา (Search) เพียงเท่านั้น จะไม่สามารถสร้าง brand ให้ลูกค้ารู้จักได้ดีเท่ากับการลงโฆษณาในลักษณะ Content Network ซึ่งการลงโฆษณาในลักษณะของ Content Network ทำให้ครอบคลุมวงจรการซื้อได้มากกว่า เพราะครอบคลุมได้ตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการวงจรการซื้อกันเลยทีเดียว เพราะลูกค้าได้เห็น ได้รู้จักชื่อหรือสินค้าของผู้ลงโฆษณาตั้งแต่การเข้าไปอ่านข้อมูลเฉยๆ ในเว็บไซต์ต่างๆ แล้ว โดยลูกค้าจะซื้อมีโอกาสซื้อหรือไม่ซื้อก็ตาม
นี่คือการสร้างแบรนด์อย่างง่ายๆ ที่สำคัญลงทุนต่ำมากเมื่อเทียบกับการใช้สื่อโฆษณาแบบ offline อื่นๆ เราสามารถทำกระบวนการต่างๆ เหล่านี้ได้โดย ไปซื้อ Banner ตามเว็บไซต์ต่างๆ แต่การไปซื้อพื้นที่โฆษณา Banner ต่างๆ ยิ่งในเว็บไซต์ใหญ่ๆ แล้วด้วยนั้น มีค่าใช้จ่าย เดือนละหลายหมี่นบาทกันเลยทีเดียว
แต่ปัจจุบัน เราสามารถนำโฆษณาของเราไปติดในเว็บไซต์ต่างๆ ได้ โดยคิดค่าใช้จ่ายเป็นแบบ Cost Per Impression (CPM) หรือ Cost Per Click (CPC) ก็ได้ ซึ่งเป็นราคาที่เราสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ด้วยตัวเราเอง ความสามารถนี้เราเรียกว่าการทำ Google Content Network
Google Content Network เป็น function ตัวหนึ่งซึ่งอยู่ภายในวิธีการลงโฆษณาของ Google AdWords โดยเราสามารถเลือกได้ว่า จะเปิดใช้งาน function ของ Google Content Network นี้หรือไม่? ซึ่งเราสามารถเลือกได้ว่า เราจะนำโฆษณาของเราไปปรากฏในเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาในเรื่องแบบใดบ้าง
ตัวอย่างเช่น ถ้าเราเปิดร้านซ่อมเครื่องเสียงรถยนต์ เราก็อยากจะให้โฆษณาของเรา ไปปรากฏในเว็บไซต์ที่มีพูดเรื่องเกี่ยวกับ “รถยนต์” “ของแต่งรถ” “รถมือสอง” “เครื่องเสียงรถยนต์” เป็นต้น ซึ่งตรงนี้เอง เป็นคุณสมบัติที่ทาง Google ให้เราสามารถเลือกได้ว่า โฆษณาของเราจะไปปรากฏในเว็บไซต์ที่พูดถึงเรื่องต่างๆ เหล่านี้ที่เรากำหนดไว้เท่านั้น ซึ่งเป็นลักษณะของ Niece Marketing หรือตรงกลุ่มเป้าหมายของเรามากที่สุด ทั้งนี้จะครอบคลุมไปถึงการใช้ระบบ gmail ของ google อีกด้วย เพราะหากเรามีการเมล์ติดต่อกับเพื่อนในเรื่องการนำรถยนต์ไปซ่อม โฆษณาของ ร้านซ่อมเครื่องเสียงรถยนต์ก็จะปรากฏขึ้น ซึ่งเราก็สามารถคลิกโฆษณาและเข้าไปซื้อสินค้าและบริการของร้านซ่อมเครื่องเสียงรถยนต์ได้ในทันที
คราวนี้ เรามาลองดูธุรกิจใกล้ๆ ตัวที่จริงๆ แล้ว เราอาจจะเห็นโฆษณาเหล่านี้ ผ่านหู ผ่านตากันบ้างแล้ว เช่น โครงการครบรอบ 1 ปีของ www.my1sthome.in.th สมัครสมาชิก รับบัตรส่วนลด 50,000 บาท ซึ่งทาง my1sthome นั้น ได้ทำการสร้าง Brand Awareness ด้วย Google ทำให้ ไม่ว่า คุณจะเข้าเว็บไซต์ไหนที่เกี่ยวข้อง ก็จะได้เห็นและซึบซับความอยากเป็นเจ้าของบ้านหลังแรก ใน my1sthome และนี่ก็เป็นตัวอย่างที่ใช้สร้าง brand awareness ได้เป็นอย่างดี เพราะขนาดเราเข้าไปอ่าน blog ใน oknation ก็ยังสามารถเห็นโฆษณาของ my1sthome ได้เลยค่ะ
การตลาดแบบการสร้าง brand awareness ด้วย google นั้นถูกมองว่าเป็นกลยุทธ์สุดยอดของการสร้าง brand ในเวลานี้ จะเรียกได้ว่าเป็นการทำ “eBranding” ในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
คุณล่ะคะ ลงมือสร้าง Brand Awareness บนโลกอินเทอร์เน็ตแล้วหรือยัง??