xs
xsm
sm
md
lg

ไอดีซีคาดการณ์ตลาดไอทีปี52

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


แม้ว่าจะมีการปรับลดการคาดการณ์ของปีพ.ศ. 2552 แต่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยังคงโดดเด่นเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดอื่นๆ ทั่วโลก อันเนื่องมาจากภาคธุรกิจยังคงมุ่งมองหาการใช้ประโยชน์จากไอทีเพื่อเข้ามาช่วยเติมเต็มให้แก่การดำเนินธุรกิจ รวมถึง เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้านการขยายธุรกิจเพื่อรองรับการใช้จ่ายที่กำลังเติบโตขึ้นในอนาคต

การเติบโตของภูมิภาคเอเชียอย่างแข็งแกร่งในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานั้น ทำให้หลายประเทศมีฐานะทางการเงินมั่งคั่งไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจต่างๆ หรือ กลุ่มผู้บริโภคสิ่งเหล่านี้ต่างผลักดันให้ภูมิภาคเอเชียกำลังเป็นจุดที่ถูกจับตามองเป็นอย่างมากสำหรับการลงทุนด้านไอทีเพื่อที่จะต่อสู้กับสถานการณ์เลวร้าย ในปัจจุบัน เช่นเดียวกับการเตรียมความพร้อมในการสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ตนเอง เพื่อรองรับภาวะ เศรษฐกิจที่จะถดถอยในอนาคต

IDCได้มีการปรับลดการคาดการณ์ของการใช้จ่ายด้านไอทีสำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่นเป็น 5.8% จากคาดการณ์เดิมที่ 9.5% ที่เปิดเผย เมื่อเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ช่วงก่อนเกิดเหตุการณ์วิกฤตทางการเงินในสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2552 ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่น ยังคงมีสถานภาพที่ดีอยู่ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐฯ และภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก IDCได้คาดว่าการใช้จ่ายด้านไอทีของภูมิภาคนี้จะมีมูลค่าถึง 195.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งน้อยลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ที่มูลค่า 201.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ

นาย แกรี่ โคช ผู้ช่วย รองประธานฝ่ายการสำรวจการใช้จ่ายของไอที ประจำ IDC เอเชียแปซิฟิกกล่าวว่าจากการทำโพลสำรวจกับ400บริษัทในภูมิภาคนี้เมื่อปลายเดือนตุลาคม ที่ผ่านมา พบว่า 80% ของผู้ตอบคำถามกล่าวว่า การจัดซื้อจัดหา สินค้า บริการ และ โซลูชันในเชิงสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้แก่องค์กรเป็นคำตอบที่องค์กรต่างๆ ให้ความสนใจมากกว่า การจัดซื้อจัดหา เพียงแค่อุปกรณ์ที่มีราคาต่ำ

จากองค์กรธุรกิจชั้นนำหลายแห่งในภูมิภาคเอเชียที่ถูกสำรวจ IDC พบว่า การลดต้นทุนเพียงอย่างเดียวไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการเพิ่มระดับการทำกำไรให้สูงขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นในหลายประเทศที่มีการ เติบโตค่อนข้างช้า นอกเหนือจากการบริหารจัดการด้านต้นทุนแล้ว ธุรกิจต่างๆ ยังจะมีการตั้งเป้าหมาย ไปที่ฐานลูกค้าของคู่แข่งเพื่อให้ได้มาซึ่งลูกค้าใหม่สำหรับการเพิ่มรายได้ให้แก่ธุรกิจของตนเองอีกด้วย ระบบการบริหารจัดการลูกค้า และ การเพิ่มเครื่องมือต่างๆ ซึ่งสนับสนุนด้วยเทคโนโลยีจะช่วยให้การตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับตลาดบริการด้านไอทีมี50%คาดหวังว่าภูมิภาคเอเชียจะมีการทำสัญญาการจัดซื้อจัดหา บริการด้านไอทีในระดับที่มีขนาดพอๆ กับตลาดสหรัฐฯ และยุโรป แต่มากกว่าหนึ่งในสาม คาดว่า สัญญาจากภูมิภาคเอเชีย นี้จะค่อนข้างดีกว่า

อนึ่งมาตรการรัดเข็มขัดการใช้จ่ายต่างๆคาดว่าจะเป็นตัวผลักดันให้มุ่งไปสู่การใช้เทคโนโลยี หรือ โซลูชันที่มองหาผลประโยชน์ที่จะได้รับ หรือ การคิดค่าใช้จ่ายตามพื้นฐานการใช้งานจริง ในตอนท้ายของผลจากการสำรวจเดียวกันนี้ พบว่า มีบางธุรกิจที่มีการชี้ชัดว่า การใชัจ่ายในส่วนของบริการบริหารจัดการจาก บุคคลภายนอก (managed service) และ บริการแบบ กลุ่มเมฆ (Cloud Service) อาจจะเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2552

สถาบันการเงิน หน่วยงานรัฐบาล และ การสื่อสาร ยังคงเป็น 3 ธุรกิจหลักที่มีสัดส่วนการใช้จ่าย ด้านไอทีสูงที่สุด ในปี พ.ศ. 2552 ขณะที่ ภาคการผลิต ค้าปลีก/ค้าส่ง และ การขนส่งจะให้ความสนใจอย่างมากในเรื่องการบริหารจัดการต้นทุน ซึ่งอาจหมายความว่า จะมีการเคลื่อย้ายการลงทุน เพื่อซื้อสินทรัพย์ถาวร (CAPEX) ไปสู่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OPEX)มากขึ้น เช่นเดียวกับการมุ่งลงทุนไปในเรื่องจำเป็น เพื่อทำให้ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างลื่นไหล

ในอีก6ถึง9เดือนข้างหน้าจะมีโอกาสทางธุรกิจจากสถาบันการเงินที่มีความต้องการลดค่าใช้จ่ายในเรื่องการซ่อมบำรุงดูแลรักษา(M&A)ต้องการทำระบบสาธารณูปโภคด้านไอทีให้เกิดประโยชน์ สูงสุด ยุทธวิธีใหม่ๆ เพื่อรักษาฐานลูกค้าให้แก่สถาบันการเงินเหล่านั้น กลุ่มเหล่านี้ให้ความสนใจเป็น อย่างมากต่อโซลูชันที่สนับสนุนด้านการบริหารจัดการ ความเสี่ยงและกฏข้อบังคับต่างๆ รวมถึงโซลูชัน ที่เหมาะสมปรับตามสภาพเศรษฐกิจที่ขึ้นลง อย่างเช่น การจัดเก็บรายได้และการคุ้มครอง การให้อันดับเครดิต และ การวิเคราะห์พอร์ตการลงทุน

ธนาคารอิสลามเป็นอีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่อาจจะยังเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มดี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีสภาพคล่องทางการเงินซึ่งเป็นเงินทุนที่ไหลมาจากประเทศในตะวันออกกลาง สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมาก สำหรับสถาบันการเงินในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ นอกจากนี้ ธนาคารกลางต่างๆ ใน ภูมิภาคเอเชียจะพยายามรักษาตลาดการเงินในประเทศ รวมถึงการผลักดันให้ธนาคารต่างๆ อนุมัติการ ปล่อยสินเชื่อ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสภาพคล่องที่อาจจะเกิดชึ้นในภูมิภาค

โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆหากมีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิผลจะเป็นตัวกระตุ้นการใช้จ่ายของหน่วยงานสาธารณะ(publicsector)ที่จะเข้ามาช่วยส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ และ การจ้างงานเพิ่มขึ้น IDC คาดว่าสิ่งนี้จะก่อให้เกิดการใช้จ่ายด้านไอทีเพิ่มขึ้นไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มของ หน่วยงานรัฐฯ โรงพยาบาล และ โรงเรียน

IDC คาดว่า โอกาสการใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้นในธุรกิจบริการติดต่อสื่อสาร สามารถมองด้วยกันเป็น 2 ระยะ - ในระยะยาว การลงทุนเพื่อซื้อสินทรัพย์ถาวร (CAPEX) เพื่อเพิ่มรายได้ หรือ ได้รับการสนับสนุนทาง การเงินจากแหล่งอื่นๆ เพื่อสร้างการแข่งขันของตนเองให้เพิ่มขึ้น และ ในระยะสั้น (Non-CAPEX)จะใชัไปในเรื่องของการสร้างอัตราการเติบโตให้แก่ธุรกิจโดยผ่านการพัฒนาบริการใหม่ๆ เข้าสู่ ตลาด การบริการใหม่ๆ ที่ว่าจะรวมถึง Software as a Service (SaaS), บริการเสริมต่างๆ และ บริการบริหารจัดการโดยผู้ให้บริการโทรคมนาคม และการพัฒนาตลาดโทรคมนาคมทั้งประเภทมีสาย และ ไร้สาย

ประเทศสหรัฐฯ ยังคงเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของประเทศไทย แต่แนวโน้มการบริโภคที่ชะลอตัวลงจะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจส่งออกของไทยในปี พ.ศ. 2552 นอกจากนี้ ภาวะทางการเมืองที่วุ่นวาย รวมถึงวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลกนั้นจะยังคงส่งผลกระทบในเชิงลบต่อเศรษฐกิจ และ การใช้จ่ายด้านไอทีของไทยในปี พ.ศ. 2552 การลงทุนของภาคธุรกิจต่างๆ จะถูกชะลอไปตราบเท่าที่ภาวะทางการเมืองยังมีความไม่แน่นอน ผนวกกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับการท่องเที่ยว

IDC คาดว่า ในปี พ.ศ. 2552 มูลค่าของตลาดไอทีในประเทศไทยโดยรวมจะอยู่ที่ 6.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จะปรับลดลงประมาณ 217 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ อัตราการเติบโตจะลดลงจาก 10.2% เป็น 6.7%

นายแกรี่ กล่าวว่า ถึงแม้ว่าความเป็นจริงที่กำลังจะเกิดขึ้นเกี่ยวกับงบประมาณด้านไอที ซึ่งองค์กรต่างๆในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังประสบสภาพเศรษฐกิจที่กำลังจะเลวร้ายในปัจจุบันนั้น IDC ได้สังเกต จากเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมา เมื่อเศรษฐกิจเริ่มถดถอย องค์กรเหล่านี้จะสามารถพาตัวเองให้พันจาก สภาพที่เลวร้ายนั้นได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการบริหารจัดการการใช้จ่ายด้านไอทีให้เหมาะสมตามความต้องการใช้เทคโนโลยีประเภทต่างๆ

Company Related Links :
IDC
กำลังโหลดความคิดเห็น