xs
xsm
sm
md
lg

เอชพียันแชมป์ตลาดเซิร์ฟเวอร์ไทย ส่งโปรแกรมสนับสนุนผู้ใช้ลงตลาด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เอชพีประกาศอัตราการเติบโตของรายได้จากธุรกิจ Integrity Server ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและญี่ปุ่น ในไตรมาสที่ 4 ประจำปีงบประมาณ 2550 โชว์ รายได้ของเซิร์ฟเวอร์ HP Integrity เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 46 ทั่วทั้งภูมิภาค เผยเป็นผู้นำอันดับในตลาดเซิร์ฟเวอร์ระดับเอ็นเตอร์ไพร์สและตลาดรวมเซิร์ฟเวอร์ในไทย

จากรายงาน Asia/Pacific Quarterly Enterprise Server Tracker จาก IDC ประจำไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 พบว่า เอชพีเป็นผู้นำตลาดเซิร์ฟเวอร์ Itanium (EPIC) server ในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค (รวมถึงประเทศญี่ปุ่น) ด้วยส่วนแบ่งรายได้ทางการตลาดร้อยละ 77.4 นอกจากนี้ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 รายได้ของเซิร์ฟเวอร์ Itanium (EPIC) server ของเอชพี ในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค (รวมถึงประเทศญี่ปุ่น) สูงขึ้นร้อยละ 44.6 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เอชพีเป็นผู้นำในตลาดเซิร์ฟเวอร์ Itanium (EPIC) Unix ในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก (รวมถึงประเทศญี่ปุ่น) ด้วยส่วนแบ่งทางรายได้ร้อยละ 94.2 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ในกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ Itanium (EPIC) สำหรับองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ทั้งหมด เอชพีมีรายได้จากส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 64 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 นอกจากนี้ รายได้โดยรวมของเซิร์ฟเวอร์ Unix ของเอชพีเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 รายได้ของ Windows เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 และรายได้ของเซิร์ฟเวอร์ Linux เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.7 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค (รวมประเทศญี่ปุ่น) เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

สำหรับประเทศไทยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 จากรายงาน APJ Enterprise Server Tracker จาก IDC ระบุว่า เอชพีครองตลาดเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมดด้วยส่วนแบ่งรายได้ทางการตลาดร้อยละ 37.5 ซึ่งแสดงให้เห็นอัตราการเติบโตร้อยละ 53.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และการเติบโตร้อยละ 52 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา สำหรับตลาด Unix เอชพียังคงเป็นผู้นำตลาดด้วยส่วนแบ่งรายได้ทางการตลาดร้อยละ 46.6 และแสดงให้เห็นถึงการเติบโตถึงร้อยละ 177.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 นอกจากนี้ เซิร์ฟเวอร์ EPIC และ RISC ของเอชพียังสร้างรายได้จากส่วนแบ่งการตลาดถึงร้อยละ 43.6 ถือเป็นอันดับหนึ่งในตลาด มีการเติบโตถึงร้อยละ 104.5 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

"จากการทำตลาดในประเทศไทยพบว่าเอชพีเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในตลาดเซิร์ฟเวอร์ในกลุ่มเอ็นเตอร์ไพร์ส และยังเป็นผู้นำอันดับหนึ่งเมื่อนับรวมตลาดเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมดในเมืองไทยในไตรมาส 3 ของปีที่ผ่านมา" รุ่งโรจน์ เมธีดุลสถิต ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์ Busuness Critical Systems เอชพี กล่าว

ด้านนายเฮอร์เบิร์ท สเวนเกอร์ รองประธานและผู้จัดการทั่วไป ฝ่าย Business Critical Systems เอชพีภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและญี่ปุ่น กล่าวว่า เซิร์ฟเวอร์ HP Integrity เป็นตัวหลักในการสร้างรายได้ของฝ่าย Business Critical Systems (BCS) ของเอชพี ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและญี่ปุ่น โดยมีส่วนแบ่งร้อยละ 70 ในไตรมาสที่ 4 ปีงบประมาณ 2550 โดยฝ่าย Business Critical Systems (BCS) ของเอชพี มีผลิตภัณฑ์ซึ่งประกอบด้วยเครื่องเซิร์ฟเวอร์ประเภท HP NonStop, HP Integrity, HP 9000, HP Alpha และ Open Source และ Linux เซิร์ฟเวอร์

นอกจากเซิร์ฟเวอร์เบลด Integrity ของเอชพีไปถึงเซิร์ฟเวอร์ HP Integrity NonStop ที่ใช้งานบนแพลตฟอร์มมาตรฐานพร้อมด้วยระบบความปลอดภัยในตัว, เทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่น และระบบการจัดการ แล้วเอชพีนำเสนอระบบ mission-critical systems ซึ่งตอบสนองความต้องการสูงสุดของลูกค้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เซิร์ฟเวอร์ HP Integrity สามารถช่วยให้ลูกค้าลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น และได้รับผลประโยชน์จากการลงทุนทางด้าน IT สูงขึ้นด้วย

พร้อมกันนี้ เอชพียังเปิดตัวโปรแกรมสำหรับพันธมิตรผลิตภัณฑ์ HP Integrity โดยโปรแกรม Valued Integrity Partner (VIP) ซึ่งเอชพีและพันธมิตรทางธุรกิจจะใช้ทำงานร่วมกันเพื่อตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจของลูกค้าในตลาดระดับกลาง

การเป็น VIP จะได้รับเอกสิทธิ์เฉพาะ โปรแกรม HP Valued Integrity Partner (VIP) ที่หลากหลายซึ่งช่วยให้การขายกลายเป็นเรื่องง่ายและทำให้พันธมิตรทางธุรกิจสามารถตั้งเป้าหมายสำหรับการเติบโตในด้านใหม่ๆ ได้ ตัวอย่างสิทธิพิเศษเหล่านี้ ประกอบด้วย การฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องและใบประกาศนียบัตรซึ่งช่วยให้พันธมิตรทางธุรกิจมีทักษะและความสามารถในระดับที่เหมาะสม การสนับสนุนและให้คำปรึกษาด้านเทคนิค ซึ่งช่วยสนับสนุนกระบวนการทดสอบและการปรับแต่งเซิร์ฟเวอร์ HP Integrity การส่งเสริมการขายสำหรับลูกค้าและโปรแกรมสิทธิพิเศษสำหรับพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งช่วยผลักดันด้านการขายและแรงจูงใจ นอกจากนี้ โซลูชั่นที่รวมอยู่ในกลยุทธ์ VIP SWEEP ซึ่งจะช่วยตอบสนองความต้องการของตลาดกลุ่มต่างๆ แบบเฉพาะตามประเภทธุรกิจ

Company Related Links :
HP
กำลังโหลดความคิดเห็น