ทนายความ “บุ้งทะลุวัง” เดินทางมานิติเวชโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ติดตามการผ่าศพบุ้งทะลุวัง ระบุไม่ใช่ประเด็นการเมืองแต่เป็นมาตรฐานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ การดูแลคนป่วย เหน็บไม่ต้องดูแลดีเท่าอดีตนายกฯ
จากกรณีนางสาวเนติพร เสน่ห์สังคม (บุ้ง ทะลุวัง) ได้มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนำลังปั๊มหัวใจอยู่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ได้ส่งตัวมาที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ เพื่อให้แพทย์ปั้มหัวใจช่วยชีวิต และได้เสียชีวิตในเวลาต่อมาตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น ต่อมาได้มีกลุ่มเพื่อนๆได้เดินทางมาที่นิติเวชโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ ส่วนสาเหตุการเสียชีวิต จะมีการผ่าพิสูจน์ศพ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสที่สุด ต้องรอการชันสูตรตามขั้นตอนทางกฎหมาย ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น
ล่าสุดวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 เมื่อเวลา 09.10 น. บรรยากาศ ที่นิติเวชโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี นายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความประจำศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เดินทางเข้าพบแพทย์นิติเวช เพื่อติดตามการผ่าชันสูตรพลิกศพ น.ส.เนติพร เพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิต นายกฤษฎางค์ ระบุว่า วันนี้เป็นการชันสูตรพลิกศพสูตรพลิกศพตามกฎหมาย และครั้งนี้เป็นการพัฒนาสูตรเพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิตเพราะว่าเมื่อวานคำแถลงของกรมราชทัณฑ์ระบุหัวใจล้มเหลวซึ่งตนมองว่ากว้างเกินไป ตอนนี้เรา ได้ปรึกษาหมอแล้วว่าจะต้องหาสาเหตุว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร จะได้กระจ่างชัด ให้กับครอบครัวพี่น้องและสังคม ซึ่งจะมีการดูทั้งกายภาพว่ามีบาดแผลหรือไม่ ถูกทำร้ายร่างกายหรือไม่ หรือมีสารอันตรายต่อร่างกายหรือ รวมทั้งมีสารอะไรหรือไม่ที่ทำให้หัวใจล้มเหลว
ขณะเดียวกันการดำเนินการรักษาพยาบาลเบื้องต้นทำได้ถูกต้องหรือไม่ ส่วนกระบวนการชันสูตรวันนี้ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง และจะทราบผลในเย็นวันเดียวกัน ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับการตรวจเลือดและสารคัดหลั่งต่างๆ ต้องมีการส่งไปตรวจกับผู้เชี่ยวชาญภายนอกซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์ กว่าจะทราบผลนายกฤษฎางค์ กล่าวว่า ยังมีประเด็นคาใจอยู่ ว่า มีการดูแลรักษาที่ดีหรือไม่จากโรงพยาบาลราชทัณฑ์ เพราะ ตัวบุ้งเองตั้งแต่ถูกศาลอาญากรุงเทพใต้ถอนประกัน และได้ประกาศอดอาหาร ก่อนอาการทรุดหนัก จนกระทั่งวันที่ 4 เม.ย. ได้เข้ารับการรักษาที่ รพ.ธรรมศาสตร์ ก่อนถูกส่งตัวกลับไปรักษาที่ รพ.ราชทัณฑ์ โดยปัญหาทั้งหมดอยู่ตรงเรื่องการหมดสติเมื่อวานนี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร มีการดูแลรักษาที่ดีหรือไม่
ขณะเดียวกันอีกประเด็นคือ กรณีที่ราชทัณฑ์ออกแถลงช่วงหนึ่งระบุว่า “หลังจากที่ทัณฑ์สถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ได้รับตัว น.ส.เนติพร จาก รพ.ธรรมศาสตร์ ฯ เมื่อวันที่ 4 เม.ย.67 น.ส.เนติพร ได้รับประทานอาหารและน้ำปกติ ซึ่งแพทย์และพยาบาล ได้ทำการรักษาดูแลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง แต่ยังมีอาการขาอ่อนแรงและบวมเล็กน้อย ผลเลือดมีภาวะโลหิตจางเล็กน้อย เกลือแร่ต่ำ โดย น.ส.เนติพรฯ ปฏิเสธการรับประทานเกลือแร่และวิตามินบำรุงเลือด จนเกิดอาการดังกล่าวและเสียชีวิต” หากระบุเช่นนี้ แล้วเกิดค่าเกลือแร่ต่ำเกิดขึ้นได้อย่างไร
เรื่องนี้คือสิ่งที่ตนสงสัย เพราะหากค่าเกลือแร่ต่ำ เท่าที่ตนศึกษามาต้องอยู่ในภาวะที่ทางกายไม่สมบูรณ์ทั้งนี้ ประเด็นที่ บุ้งจะกินข้าวหรือไม่กินนั้นไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่ประเด็นสำคัญคือรัฐจะดูแลคน ที่ยังไม่ถูกตัดสินว่าผิดได้อย่างมีคุณภาพหรือไม่ และหากวันหนึ่งศาลตัดสินยกฟ้องขึ้นมา แล้วเขามาตายใน รพ. มองว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่สมควรอีกประเด็นที่คาใจมากคือการรักษาพยาบาลช่วงเช้าเมื่อวานนี้ (14 พ.ค.67) เวลาเด็กหมดสติไป หัวใจไม่ทำงาน โดยศักยภาพของ รพ.ราชทัณฑ์ ดูแลไม่ได้ เพราะใช้ เวลาปั๊มหัวใจนานกว่าจะส่งมาที่ รพ.ธรรมศาสตร์ ตั้งคำถามว่า ทำไมไม่ตัดสินใจส่งก่อน
โดยทั้งหมดนี้ต้องถามนายทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ตนกังวลใจเพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ดังนั้น ขอเรียกร้องไปตรงนี้เลยแล้วกันว่า ขอให้นายทวี ช่วยดูแลรักษาพยานหลักฐานพยานหลักฐานต่างๆที่เกิดขึ้นในเมื่อวานนี้ ที่ รพ.ราชทัณฑ์ไว้ให้ดี ว่า เกิดอะไรขึ้น
เมื่อถามว่าเหตุใดถึงกังวลเรื่องพยานหลักฐาน นายกฤษฎางค์ ระบุว่า เอากันจริงๆ หากเราย้อนดูประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทย ปี 53-54 ก็มีผู้ต้องขังติดเชื้อเสียชีวิตในเรือนจำเยอะ ซึ่งสิ่งที่กังวลใจคือ เมื่อวานนี้สรุปแล้วเกิดอะไรขึ้นกับบุ้ง พยานปากสำคัญอาจจะเป็น น.ส.ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ เพราะอยู่ใกล้เคียงกัน และบุ้งหมดสติไปกี่โมง มีการรักษาพยาบาลอย่างถูกต้องหรือไม่ ซึ่งพวกนี้ต้องมีภาพกล้องวงจรปิดตลอดเวลาอยู่แล้ว และต้องตรวจสอบด้วยว่ามีการพาไปรักษาที่ไหนหรือไม่ รวมทั้งต้องดูด้วยว่าอาหารที่กิน ยาที่ให้ก่อนเกิดเหตุใครเป็นคนให้ และเป็นยาอะไร ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นข้อมูลที่อยู่ในรายงานแพทย์ อยากให้ รมว.ยธ.มีคำสั่งเด็ดขาดให้ รวบรวมพยานหลักฐานเหล่านี้ไว้และให้คนกลางเข้าไปตรวจสอบ
นายกฤษฎางค์ ยังบอกว่า จริงๆความตายเป็นเรื่องปกติ ทุกคนต้องตายอยู่แล้ว แต่ถ้ามันไม่สมควร แต่เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องการเมืองหรอก มันเป็น ประเด็นที่ว่ามาตรฐานของรัฐ ซึ่งสะท้อนอะไรหลายอย่างบางทีการที่ใครจะตาย มันไม่ใช่ความผิดของศาลหรอก แต่ความผิดเริ่มต้นที่สิทธิในการประกันตัว ปล่อยตัว ยังไม่ได้ตัดสินให้ถึงที่สุด“ผมไม่ได้พูดว่าต้องดูแลดีขนาดอดีตนายกฯ นะ แต่หมายถึงว่าทุกคนต้องเท่ากัน นี่คือสิ่งที่ตนอยากสอบถามถาม รมว.ยธ.” นายกฤษฎางค์ กล่าวทั้งนี้ เพิ่งทราบว่ากรมราชทัณฑ์จะมีการแถลงข่าวกรณีเกิดขึ้นในเวลา 11.00 น. ซึ่งส่วนตัวมองว่าจำเป็นแถลง เดี๋ยวลองฟังดู หากมีโอกาสเชิญตนไปด้วยก็พร้อมไป