xs
xsm
sm
md
lg

ส่ง 5 เยาวชน ฆ่า “ป้าบัวผัน” เข้าสถานพินิจ สอบพฤติกรรมลงมือ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม



MGR Online - “รองอธิบดีกรมพินิจฯ” เผย คุม 5 เยาวชน ทำร้าย “ป้าบัวผัน” เข้าสถานพินิจ จ.สระแก้ว สอบพฤติการณ์แห่งคดีส่งศาลพิจารณา แย้มกฎหมายอาญา เด็กบังคับใช้ 12-18 ปี

วันนี้ (17 ม.ค.) ที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) นายโกมล พรมเพ็ง รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เปิดเผยว่า กรมพินิจฯ มีหน้าที่ดูแลเด็กและเยาวชนกระทำผิด อายุระหว่าง 12-18 ปี หรือศาลมีคำสั่งให้อยู่ต่อถึง 24 ปี ตามกฎหมาย โดยขณะนี้มีเยาวชน 2 ราย ที่แสดงความคิดเห็นเข้าข่ายกระทำผิด ม.112 ที่อยู่ในสถานพินิจ โดยหนึ่งรายถูกควบคุม 1 ปี และอีกราย 6 เดือน ซึ่งทั้งสองรายได้รับการแก้ไข และพัฒนาในด้านการฝึกวิชาชีพในสายสามัญ ซึ่งกรมพินิจฯ ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเด็ก เยาวชนที่ถูกต้อง เมื่อก้าวผิดพลาดก็จะต้องดูแล เปลี่ยนแปลงพฤตินิสัย เพราะส่วนใหญ่ขาดความรู้ และประสบการณ์

นายโกมล เผยว่า ส่วนกรณีกลุ่มเยาวชนที่มีลูกตำรวจ จ.สระแก้ว จากสถิติเด็กกระทำผิดส่วนใหญ่ เกิดจากครอบครัวแตกแยกกว่า 70% ส่วนอีก 30% ไม่ใช่ครอบครัวที่อบรมดูแล ดังนั้น ครอบครัวและชุมชนถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญในการสร้างเด็กและเยาวชนที่มีคุณภาพขึ้นมา ต้องคอยสอดส่องพฤติกรรมของเด็กและคอยแจ้งเตือนหากพฤติการณ์ก้าวร้าว ไม่อยากให้ปล่อยปละละเลยจนไปถึงขั้นก่ออาชญากรรม อย่างไรก็ตาม เด็กทั้ง 5 คน ในตอนนี้ได้รับการควบคุมตัวอยู่ที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดสระแก้ว พนักงานคุมประพฤติกำลังอยู่ในกระบวนการพิจารณาพฤติการณ์แห่งคดีเพื่อรายงานส่งศาลพิจารณาต่อไป

นายโกมล เผยอีกว่า ส่วนประเด็นสำคัญ คือ ประชาชนต้องการเปลี่ยนแปลงกฎหมายจากเดิมเด็กที่กระทำผิดต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญา อายุ 10-18 ปี ปัจจุบันได้มีการแก้ไข พ.ร.บ.เพิ่มเติม ตามประมวลกฎหมายอาญา ฉบับ 29 พ.ศ. 2565 มีผลอยู่ระหว่างบังคับใช้ จากเด็ก 10 ปี เป็นระหว่างอายุ 12-18 ปี ที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม แต่หากจะมีการขอแก้ไขต้องมีการประเมินผลกฎหมายไประยะหนึ่ง เพราะจากการศึกษาทางการแพทย์มองว่าเด็กอายุ 7-12 ปี เป็นเด็กประถมศึกษา ยังไม่มีพัฒนาการด้านร่างกาย การคิดวิเคราะห์แยกแยะถูกผิด หรือควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ที่นำไปสู้การก่อความรุนแรงหรือกระทำความผิด ดังนั้น กรมพินิจฯ จึงต้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 12 ปี หากกระทำผิดก็จะเข้าสู่กระบวนการแก้ไขฟื้นฟู ตาม พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546


กำลังโหลดความคิดเห็น