xs
xsm
sm
md
lg

ซีเซียม-137 ล่องหน พิรุธ จนท.เร่งปิดเกมเร็ว อ้างเอาอยู่ แต่ภาพยังเละ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม



รายการ “ถอนหมุดข่าว” เผยแพร่ทางแอปพลิเคชั่น SONDHI APP สถานีโทรทัศน์ NEWS1 ช่องยูทูป NEWS1 และเฟซบุ๊กแฟนเพจ NEWS1 โดย นพรัฐ พรวนสุข บก.ข่าวการเมืองและกระบวนการยุติธรรม เครือผู้จัดการ วันอังคารที่ 21 มีนาคม 2566 นำเสนอรายงานพิเศษ ซีเซียม-137 ล่องหน พิรุธ จนท.เร่งปิดเกมเร็ว อ้างเอาอยู่ แต่ภาพยังเละ



“แถลงยังไง ให้ดูเป็นแถ” คือนิยามที่ชาวเนต มอบให้กับการตั้งโต๊ะแถลงข่าวการแก้ปัญหาซีเซียม-137 ที่ จ.ปราจีนบุรี นำทีมโดย นายรณรงค์ นครจินดา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี

ภาพรวมของการแถลงข่าวในบ่ายวันจันทร์ที่20 มีนาคม ออกแนวคลุมเครือ ยืดย้วย เต็มไปลีลาโวหารเกินจำเป็น ทั้งที่ความรู้สึกของผู้คน อยากเห็นความเฉียบขาดในการจัดการคนผิด และการคาดการณ์ในทางร้ายไว้ด้วย

ยิ่งไปพูดให้เหตุการณ์ดูเบาหวิว อ้างว่าจัดการควบคุมรังสีได้ง่ายดายไปหมด ยิ่งลดทอนความน่าเชื่อถือของการให้ข่าวซีเซียม-147 ล่องหน

โดยเฉพาะ นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ที่จับไมโครโฟน แล้วประกาศว่า งานนี้ต้องพูดยาวๆ เท้าความยืดเยื้อ มันไม่สอดรับกับความร้อนใจของสื่อและประชาชน ที่ต้องการความชัดเจน ตรงประเด็น

พอนักข่าวสุดทนกับลีลาของนายเพิ่มสุข คว้าไมค์ถามแทรก นายเพิ่มสุขดันถามกลับอีก คุณฟังผมอยู่ไหม? สุดท้ายก็โดนสื่อและชาวบ้านรุมถาม จนอดโชว์ “เดี่ยวไมโครโฟน” อย่างที่ใจอยาก

ในส่วนของการเอาผิดทางกฎหมาย ฟังแล้วมีอาการแบบกล้าๆ กลัวๆ ไม่กล้าฟันโชะ จะเล่นงานโรงไฟฟ้าตัวต้นเหตุให้แรงที่สุด ให้สาสมกับความสะเพร่า และไม่โปร่งใสในการให้ข้อมูล

แค่การสืบสวนสอบสวน หาตัวการขโมยแท่งซีเซียมไปจากโรงงาน ตำรวจเองก็ดูจะไม่มั่นใจ พอถูกถามเรื่องการประสานงานกับทางโรงงาน เรื่องกล้องวงจรปิด ก็ให้คำตอบแบบอ้ำๆ อึ้งๆ

เรื่องที่คนหวาดผวาที่สุด ก็คืออันตรายจากการแพร่กระจายของรังสี ในการแถลงก็อ้างว่าโรงงานเป็น “ระบบปิด” อยู่แล้ว ต่อให้หลอมซีเซียมไปแล้ว ก็ตรวจไม่พบปัญหาการแพร่กระจายใดๆ อ้างว่าผู้เชี่ยวชาญปรมาณู พร้อมเครื่องมือไฮเทค “เอาอยู่”

ซึ่งคำพูดแบบ “เร่งปิดเกม” ออกจะสวนทาง กับภาพข่าวที่แพร่ออกมา เผยให้เห็นว่า ถุงบรรจุผงเหล็กปนเปื้อนรังสีซีเซียม ถูกเก็บรวมกันในโกดังธรรมดา แล้วเอาผ้าใบสีฟ้าขาวมาปิดทับแค่นั้น

เล่นเอาชาวเนตรุมถากถาง สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ จนเละเป็นโจ๊ก บ้างว่า “ผ้าใบตลาดนัด ยังดีกว่านี้” บ้างก็ปล่อยมุข “อย่าลืมเอาหินทับชายผ้าใบ” เล่นเอาคนไลค์กันรัวๆ

มีการเรียกร้องกลับไปยังผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย ที่อ้างว่า โรงหลอมเหล็ก ปลอดภัย ไร้กังวล ช่วยลองไปนอนในโรงงาน ให้ชมเป็นขวัญตาด้วยก็จะดี

ขณะที่ปฏิกิริยาตอบรับกับสถานการณ์ จาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ออกจะเฉื่อยเกิน อ้างว่าเป็นหน้าที่ของหน่วยงานรับผิดชอบ “นายกฯ จะไปตามเอง คงไม่ใช่”

เรียกว่าข้าราชการยันผู้นำประเทศ ไม่ได้ช่วยกันสร้างความอุ่นใจใดๆ เลยต่อปัญหารั่วไหลของซีเซียม-137

จะมีเข้าท่าบ้าง ก็เป็นนายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่สั่งตั้งวอร์รูมฉุกเฉิน สั่งบูรณาการหน่วยงานในสังกัดทั้งหมด ช่วยกันดูแลให้ประชาชนปลอดภัยจากรังสี

มีการกำหนดให้เรื่องนี้ เป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ต้องใช้มาตรการความปลอดภัยขั้นสูง ต้องมีการสแกนรังสี จากวงเล็กรอบจุดเกิดเหตุ ไปสู่วงใหญ่ทีละวง เพื่อให้แน่ใจว่า อากาศ ดิน น้ำ จะไม่ปนเปื้อนรังสี

ทางด้านนายสนธิ คชวัฒน์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกาะติดสถานการณ์ซีเซียม-137 รั่วไหล ชี้ว่า กระบวนการหลอมโลหะ มีโอกาสที่ฝุ่นปนเปื้อนซีเซียม-137 จะหลุดไปจากปากปล่อง กระจายไปในอากาศ

หากปะปนในสิ่งแวดล้อมทั้งอากาศ ดิน น้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน ซีเซียม-137 ก็อาจเข้าสู่ห่วงโซ่อาหาร เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนในระยะยาว 5-10 ปี โดยเฉพาะการก่อโรคมะเร็ง

นักวิชาการสิ่งแวดล้อม จึงเรียกร้องมาตรการจากภาครัฐ ให้ตรวจหารังสี ในรัศมีรอบโรงงานเป็นเวลา 1-2 ปี จนแน่ใจว่าไม่มีจริงๆ จึงค่อยวางมือ พร้อมกันนี้ก็ต้องเฝ้าระวังสุขภาพของประชาชนในรัศมี 5 กิโลเมตร เป็นเวลา 5 ปีด้วย

เพราะอันตรายจากรังสี เป็นเรื่องการของตายผ่อนส่ง ไม่ค่อยแสดงผลร้ายใดๆ ที่ชัดเจนในระยะสั้น

--------------------------------
**หมายเหตุ
ดาวโหลดแอป Sondhi App ได้แล้ว
ระบบ iOS ไปที่ AppStore : https://apps.apple.com/th/app/sondhi-app/id1588046647
ระบบ android ไปที่ Google Play : https://play.google.com/store/apps/details?id=com.sondhitalk.asia.android

สมัครสมาชิกได้แล้ววันนี้
รายเดือนเพียง เดือนละ 99 บาท
รายปี 990 บาท (10 เดือน แถม 2 เดือน )

ถ้ามีปัญหาการใช้งาน app หรือการสมัครสมาชิกใน app ติดต่อสอบถามได้ที่ Line id : @sondhitalk หรือ https://lin.ee/Skns1k1


กำลังโหลดความคิดเห็น