xs
xsm
sm
md
lg

ศาลแพ่งยกฟ้องอดีตกรรมการบริษัท“ไอเฟค”ขายหุ้นไม่ผิดพ.ร.บหลักทรัพย์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม



ศาลแพ่งยกฟ้องอดีตกรรมการบริษัท“ไอเฟค”ขายหุ้นไม่ผิดพ.ร.บหลักทรัพย์  ชี้สาเหตุที่ผู้ลงทุนขายหุ้นของบริษัทเกิดจากความไม่มั่นใจการบริหารตามโครงสร้างใหม่
 
วันนี้ (13 พ.ย.) ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดฟังคำพิพากษา คดีที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นโจทก์ ฟ้องนายศุภนันท์ ฤทธิไพโรจน์ อดีตกรรมการบริษัทไอเฟค “IFEC”เป็นจำเลยฐาน กระทำผิดตาม พ.ร.บหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 241

ศาลพิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2559 นายศุภนันท์ ขายหุ้นบริษัทผ่านบัญชี ซื้อขายหลักทรัพย์ 2 บัญชี เหตุเกิดขณะนายศุภนันท์ เป็นกรรมการของบริษัท “IFEC”  ต่อมา ก.ล.ต.ให้นายศุภนันท์ชี้แจงข้อเท็จจริง
โดยตัวแทนระดับผู้อำนวยการของ ก.ล.ต. เบิกความว่า เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 บริษัท “IFEC” จัดประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 11/2559 ซึ่งในการประชุมมีผู้กล่าวถึงสถานะทางการเงินของบริษัท ว่ามีกระแสเงินสดไม่พอชำระหนี้ตั๋วแลกเงินที่จะครบกําหนดปลายปี 2559 จํานวน 1,635 ล้านบาท ซึ่งหากบริษัทผิดนัดชําระหนี้ตั๋วแลกเงินเป็นจำนวนรวมกันเกินกว่า 300 ล้านบาท บริษัทจะต้องถูกบังคับให้ชําระหนี้หุ้นกู้ 3,000 ล้านบาท  วันที่ 4 พฤศจิกายน 2559  นายศุภนันท์ ขายหุ้นบริษัท “IFEC” ถือได้ว่านายศุภนันท์ ล่วงรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหุ้น และกระทําความผิดโดยอาศัยข้อมูลภายใน อันเป็นสาระสําคัญต่อการ และเปลี่ยนแปลงราคาหุ้น บริษัท “ IFEC" ซึ่งน่าจะเป็นการเอาเปรียบต่อบุคคลภายนอก

เมื่อพิจารณาปัญหาสรุปได้ว่างบการเงินของบริษัท" IFEC"ตั้งแต่เดือน มกราคมถึงเดือนสิงหาคม 2559 ยังอยู่ในสถานีที่ดีอยู่ มีสินทรัพย์ทั้งหมดประมาณ 8,000 ล้านบาท แต่มีภาระหนี้ 7,500 ล้านบาท เบื้องต้นบริษัทจึงแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการขายทรัพย์สินของบริษัทชําระหนี้ แต่อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาผลประกอบการของบริษัทก็มีแนวโน้มที่ดี
           
ทั้งนี้สาเหตุที่ทําให้ราคาหุ้นของบริษัท “ IFEC”  มีแนวโน้มลดลง น่าจะมีสาเหตุมาจากการที่นักลงทุนทราบข้อมูลทางสื่อในวันที่ 27 ธันวาคม 2559 เกี่ยวกับข่าวการผิดนัดชําระหนี้ตั๋วแลกเงิน อีกทั้งโจทก์ก็ได้หยุดพักการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท “IFEC” เป็นการชั่วคราว ซึ่งจะทําให้นักลงทุนลังเลใจว่าจะลงทุนต่อหรือไม่

ภายหลังนายศุภนันท์ จึงตัดสินใจลาออกจากกรรมการบริษัทดังกล่าวและขายหุ้นออกไป

จากพยานหลักฐานมีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า การที่นายศุภนันท์ขายหุ้น ไม่ได้อาศัยข้อมูลภายในและสาเหตุที่ผู้ลงทุนเทขายหุ้นของบริษัทเกิดจากความไม่มั่นใจในการบริหารงานตามโครงสร้างใหม่ที่ปรากฏในสื่อหนังสือพิมพ์ รวมถึงเกิดความขัดแย้งภายในของกรรมการผู้บริหารของบริษัท “IFEC”

การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์  พ.ศ.2535 พิพากษายกฟ้อง
กำลังโหลดความคิดเห็น