xs
xsm
sm
md
lg

อัยการชี้ เด็กถูกล่อซื้อผลิตกระทง ไม่ใช่ผู้เสียหาย นักกม.ประณามพวก"ตีกิน"หวังรีดทรัพย์

เผยแพร่:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม



MGR online - รองโฆษกอัยการ ระบุคดีล่อซื้อเด็กผลิตกระทงละเมิดลิขสิทธิ์ ถือว่าใช้กฎหมายรังเเก การล่อให้ผู้อื่นกระทำผิด ถือว่าไม่ใช่เป็นผู้เสียหาย ไม่สามารถดำเนินคดีตามกฎหมายได้ ด้านนักกม.ประณามพวก“ตีกิน”แกล้งชี้จับ หวังเรียกร้องเอาทรัพย์สิน

วันนี้ (6 พ.ย.) นายโกศลวัฒน อินทุจันทร์ยงค์ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยถึงการดำเนินคดีละเมิดลิขสิทธิ์ ภายหลังมีข่าวจับเด็กผลิตกระทงละเมิดลิขสิทธิ์ว่า สำนักงานอัยการสูงสุดได้มีหนังสือเวียนตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2557 เรื่องแนวทางการพิจารณาการล่อซื้อกับการล่อให้กระทำความผิด ซึ่งหนังสือเวียนดังกล่าวจะมีคำพิพากษาศาลฎีกา เพื่อให้พนักงานอัยการระมัดระวังในการสั่งคดี ปัญหาประการแรกคือ ถ้าการจับคดีละเมิดลิขสิทธิ์ เจรจาตกลงจบกันที่สถานีตำรวจ สุดท้ายคดีไม่มาถึงอัยการ อัยการก็สั่งไม่ฟ้องให้ไม่ได้ ซึ่งแนวคำพิพากษาศาลฎีการะบุไว้ชัดเจนแล้วว่า การล่อให้กระทำความผิด เท่ากับเป็นผู้ก่อให้เขากระทำความผิด จึงไม่เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายที่จะดำเนินคดีได้

การล่อให้เขากระทำความผิดไม่ใช่การล่อซื้อ เช่นถ้ากรณีปกติไม่ได้มีการผลิตขึ้นจำหน่าย แต่ไปสั่งให้เขาทำ แล้วก็เอาตำรวจไปจับ อย่างนี้ถือเป็นการล่อให้กระทำความผิด แต่ถ้ามีการผลิตจำหน่ายอยู่ก่อนแล้ว ไปติดต่อขอซื้อถือเป็นการล่อซื้อที่ดำเนินคดีตามกฎหมายได้

เมื่อศาลเคยตัดสินแล้วว่าการล่อให้กระทำผิดเช่นนี้ ไม่เป็นผู้เสียหายที่จะดำเนินคดีได้ ปัญหาต่อมาคือ การจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตามการชี้ให้จับของผู้ที่อ้างตนว่าเป็นผู้เสียหาย จนถึงขั้นมีการเรียกร้องค่าเสียหายกันชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น ก็คงต้องมีการดำเนินการสอบสวนโดยละเอียด เพราะมีข่าวออกมาว่าบริษัท ของลิขสิทธิ์ได้ออกมาปฏิเสธแล้วว่าไม่ได้มีการมอบอำนาจให้ผู้ใดไปจับ จึงเกิดคำถามได้ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ไปจับถูกหลอกลวงด้วยหรือไม่ ได้ตรวจสอบหนังสือมอบอำนาจถูกต้องแล้วหรือไม่ เรื่องนี้น่าจะต้องติดตามสอบสวนให้ได้ความจริงโดยละเอียด ว่ามีใครผิดบ้างนำมาลงโทษ ให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งคุณธรรม ไม่ใช้กฎหมายมาอ้างข่มเหงรังแกกัน โดยตนเองก็ยังได้ติดตามตามสื่อมวลชนว่านอกจากกรณีเด็กอายุ 15 ปี

ยังมีกรณีอื่นอีกที่ได้ยินว่ามีการจับกุมเด็กอายุ16 ปีขังไว้ที่ สถานีตำรวจ 1คืน จึงอยากยก พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาให้ได้ดูกันว่ามีการปฏิบัติครบถ้วนตามนั้นหรือไม่ มาตรา 70 บัญญัติไว้ว่า เมื่อพนักงานสอบสวนได้รับตัวเด็กหรือเยาวชนซึ่งถูกจับ หรือเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดถูกเรียกมา ส่งตัวมา เข้าหาพนักงานสอบสวนเอง มาปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวน หรือมีผู้นำตัวเด็กหรือเยาวชนนั้นเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน และคดีนั้นเป็นคดีที่ต้องพิจารณาพิพากษาในศาลเยาวชนและครอบครัว ให้พนักงานสอบสวนรีบสอบถามเด็กหรือเยาวชนในเบื้องต้นเพื่อทราบชื่อตัว ชื่อสกุล อายุ สัญชาติ ถิ่นที่อยู่ สถานที่เกิด และอาชีพของเด็กหรือเยาวชน ตลอดจนรายละเอียดเกี่ยวกับบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลหรือองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วย แล้วแจ้งเรื่องที่เด็กหรือเยาวชนถูกกล่าวหาให้บุคคลหรือผู้แทนองค์การดังกล่าวทราบ โดยให้โอกาสบุคคลหรือผู้แทนองค์การดังกล่าวที่จะแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์แก่เด็กหรือเยาวชนได้ และแจ้งให้ผู้อำนวยการสถานพินิจที่เด็กหรือเยาวชนนั้นอยู่ในเขตอำนาจเพื่อดำเนินการ และการสอบถามเบื้องต้น ฝให้กระทำในสถานที่ที่เหมาะสม โดยไม่เลือกปฏิบัติและไม่ปะปนกับผู้ต้องหาอื่นหรือมีบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องอยู่ในสถานที่นั้นอันมีลักษณะเป็นการประจานเด็กหรือเยาวชน ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงอายุ เพศ สภาวะของเด็กหรือเยาวชนเป็นสำคัญ และต้องใช้ภาษาหรือถ้อยคำที่ทำให้เด็กหรือเยาวชนสามารถเข้าใจได้โดยง่าย โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ถ้าเด็กหรือเยาวชนไม่สามารถสื่อสารหรือไม่เข้าใจภาษาไทยก็ให้จัดหาล่ามให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ด้านว่าที่พ.ต.สมบัติ วงศ์กำแหง กรรมการฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายเนติบัณฑิตยสภา ว่า คดีจับลิขสิทธิ์นั้นปัจจุบันมีปัญหามากโดยเฉพาะพวกที่เรียกกันว่า “ตีกิน”คือแกล้งจับแล้วเรียกร้องเอาทรัพย์สินเพื่อแลกกับให้ปล่อยตัว ซึ่งผู้กระทำคือคนที่ไม่สุจริตเรียกกันว่าพวก “นักบิน” ขออธิบายเป็นลำดับกล่าวคือในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ บริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์มีอำนาจในการทำซ้ำดัดแปลง,โอนงาน,จำหน่ายหรืออนุญาตให้ผู้อื่นได้ใช้งานนั้นโดยมีค่าตอบแทน การที่มีคนไปทำงานลิขสิทธิ์ซ้ำโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือทำสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์วางขาย บริษัทจะสืบทราบแล้วส่งตัวแทนไปจับ ตัวแทนหากเป็นทนายความจะมีความรอบครอบโดยเฉพาะเอกสารการมอบอำนาจ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ตัวแทนที่ไปจับ มีใบมอบอำนาจแต่งตั้งจริงหรือไม่ ถ้ามี ใบมอบนั้นหมดอายุหรือยัง ใบมอบนั้นครอบคลุมถึงสินค้าที่ให้จับหรือไม่ เป็นเพียงมอบอำนาจเฉพาะหรือมอบทั่วไป ใบอำนาจนั้นปลอมหรือไม่ เรื่องเหล่านี้ เมื่อตัวแทนไปพบตำรวจเพื่อพาไปจับ เป็นหน้าที่ของตำรวจในประการแรก ที่จะตรวจสอบใบมอบนั้นว่าถูกต้องแท้จริงหรือไม่ เพราะถ้าไปถึงที่เกิดเหตุแผงค้า แทบจะไม่มีพ่อค้าแม่ค้ารายใดขอดูใบมอบอำนาจแต่งตั้งตัวแทน หรือถ้าดูก็ไม่รู้ว่าจริงหรือปลอม

ว่าที่พ.ต.สมบัติ กล่าวอีกว่า ถ้าตัวแทนเป็นพวกนักบิน อาจใช้ใบมอบปลอม เป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิ์ปลอม เมื่อจับผู้ค้ามาก็อาจผิดกักขังหน่วงเหนี่ยว กรรโชกทรัพย์ อาจผิดข้อหาแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ข้อหารู้ว่าไม่มีความผิดอาญาเกิดขึ้น แต่เแจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงานว่ามีความผิดอาญาเกิดขึ้น หรือแจ้งเกินความจริง ส่วนตำรวจ หากรู้อยู่แล้ว ว่าใบมอบปลอม แล้วยังฝืนไปกับตัวแทนเพื่อจับกุม ก็อาจมีความผิดฐานกลั่นแกล้งจับกุมบุคคลให้รับโทษทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และหากมีการจับกุมโดยไม่ชอบก็จะกระทบถึงอำนาจฟ้องของฝ่ายรัฐ

คดีที่ผู้ถูกจับเป็นเด็ก ต้องขออนุญาตจับก่อน และต้องนำตัวส่งสถานพินิจเพื่อทำประวัติตรวจร่ายกาย และให้ประกันตัวเป็นหลัก ซึ่งหลักทรัพย์ก็ไม่สูงมาก ถามว่าคดีนี้เมื่อจับเด็กมาแล้วได้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่ เด็กได้พบที่ปรึกษากฎหมายหรือไม่ หรือเจตนาแค่จับแล้วคุยกัน เมื่อจ่ายเงินก็จบ

"คดีลักษณะนี้มีมาก โดยเฉพาะจับกางเกงยีนส์ ละเมิดแบรนด์ดังๆ หากเป็นกรณี พ่อค้าขายกางเกงทั่วไป แล้วตัวแทนกับตำรวจ ไปล่อให้เขากระทำผิด โดยไปบอกว่าต้องการยี่ห้อดัง ต้องการจ่ายเงินให้ราคาดี เมื่อพ่อค้าตกลงก็ไปหากางเกงมาให้ พอส่งมอบก็ถูกจับ ทันที แบบนี้ไม่ใช้ล่อซื้อโดยชอบ เพราะพ่อค้าไม่มีเจตนาค้างานอันมีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต มาแต่แรก แต่เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยไม่ชอบ ศาลมักจะไม่รับฟังพยานหลักฐานเหล่านี้"
รองโฆษกอัยการ ระบุคดีล่อซื้อเด็กผลิตกระทงละเมิดลิขสิทธิ์ อย่าใช้กฎหมายรังเเกกัน การล่อให้ผู้อื่นกระทำผิด ถือว่าไม่ใช่เป็นผู้เสียหาย ไม่สามารถดำเนินคดีตามกฎหมายได้ ด้านนักกม.ประณามพวก“ตีกิน”แกล้งชี้จับแล้วเรียกร้องเอาทรัพย์สิน เพื่อแลกกับให้ปล่อยตัว

วันนี้ (6 พ.ย.) นายโกศลวัฒน อินทุจันทร์ยงค์ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยถึงการดำเนินคดีละเมิดลิขสิทธิ์ ภายหลังมีข่าวจับเด็กผลิตกระทงละเมิดลิขสิทธิ์ว่า สำนักงานอัยการสูงสุดได้มีหนังสือเวียนตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2557 เรื่องแนวทางการพิจารณาการล่อซื้อกับการล่อให้กระทำความผิด ซึ่งหนังสือเวียนดังกล่าวจะมีคำพิพากษาศาลฎีกา เพื่อให้พนักงานอัยการระมัดระวังในการสั่งคดี ปัญหาประการแรกคือ ถ้าการจับคดีละเมิดลิขสิทธิ์ เจรจาตกลงจบกันที่สถานีตำรวจ สุดท้ายคดีไม่มาถึงอัยการ อัยการก็สั่งไม่ฟ้องให้ไม่ได้ ซึ่งแนวคำพิพากษาศาลฎีการะบุไว้ชัดเจนแล้วว่า การล่อให้กระทำความผิด เท่ากับเป็นผู้ก่อให้เขากระทำความผิด จึงไม่เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายที่จะดำเนินคดีได้

การล่อให้เขากระทำความผิดไม่ใช่การล่อซื้อ เช่นถ้ากรณีปกติไม่ได้มีการผลิตขึ้นจำหน่าย แต่ไปสั่งให้เขาทำ แล้วก็เอาตำรวจไปจับ อย่างนี้ถือเป็นการล่อให้กระทำความผิด แต่ถ้ามีการผลิตจำหน่ายอยู่ก่อนแล้ว ไปติดต่อขอซื้อถือเป็นการล่อซื้อที่ดำเนินคดีตามกฎหมายได้

เมื่อศาลเคยตัดสินแล้วว่าการล่อให้กระทำผิดเช่นนี้ ไม่เป็นผู้เสียหายที่จะดำเนินคดีได้ ปัญหาต่อมาคือ การจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตามการชี้ให้จับของผู้ที่อ้างตนว่าเป็นผู้เสียหาย จนถึงขั้นมีการเรียกร้องค่าเสียหายกันชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น ก็คงต้องมีการดำเนินการสอบสวนโดยละเอียด เพราะมีข่าวออกมาว่าบริษัท ของลิขสิทธิ์ได้ออกมาปฏิเสธแล้วว่าไม่ได้มีการมอบอำนาจให้ผู้ใดไปจับ จึงเกิดคำถามได้ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ไปจับถูกหลอกลวงด้วยหรือไม่ ได้ตรวจสอบหนังสือมอบอำนาจถูกต้องแล้วหรือไม่ เรื่องนี้น่าจะต้องติดตามสอบสวนให้ได้ความจริงโดยละเอียด ว่ามีใครผิดบ้างนำมาลงโทษ ให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งคุณธรรม ไม่ใช้กฎหมายมาอ้างข่มเหงรังแกกัน โดยตนเองก็ยังได้ติดตามตามสื่อมวลชนว่านอกจากกรณีเด็กอายุ 15 ปี

ยังมีกรณีอื่นอีกที่ได้ยินว่ามีการจับกุมเด็กอายุ16 ปีขังไว้ที่ สถานีตำรวจ 1คืน จึงอยากยก พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาให้ได้ดูกันว่ามีการปฏิบัติครบถ้วนตามนั้นหรือไม่ มาตรา 70 บัญญัติไว้ว่า เมื่อพนักงานสอบสวนได้รับตัวเด็กหรือเยาวชนซึ่งถูกจับ หรือเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดถูกเรียกมา ส่งตัวมา เข้าหาพนักงานสอบสวนเอง มาปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวน หรือมีผู้นำตัวเด็กหรือเยาวชนนั้นเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน และคดีนั้นเป็นคดีที่ต้องพิจารณาพิพากษาในศาลเยาวชนและครอบครัว ให้พนักงานสอบสวนรีบสอบถามเด็กหรือเยาวชนในเบื้องต้นเพื่อทราบชื่อตัว ชื่อสกุล อายุ สัญชาติ ถิ่นที่อยู่ สถานที่เกิด และอาชีพของเด็กหรือเยาวชน ตลอดจนรายละเอียดเกี่ยวกับบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลหรือองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วย แล้วแจ้งเรื่องที่เด็กหรือเยาวชนถูกกล่าวหาให้บุคคลหรือผู้แทนองค์การดังกล่าวทราบ โดยให้โอกาสบุคคลหรือผู้แทนองค์การดังกล่าวที่จะแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์แก่เด็กหรือเยาวชนได้ และแจ้งให้ผู้อำนวยการสถานพินิจที่เด็กหรือเยาวชนนั้นอยู่ในเขตอำนาจเพื่อดำเนินการ และการสอบถามเบื้องต้น ฝให้กระทำในสถานที่ที่เหมาะสม โดยไม่เลือกปฏิบัติและไม่ปะปนกับผู้ต้องหาอื่นหรือมีบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องอยู่ในสถานที่นั้นอันมีลักษณะเป็นการประจานเด็กหรือเยาวชน ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงอายุ เพศ สภาวะของเด็กหรือเยาวชนเป็นสำคัญ และต้องใช้ภาษาหรือถ้อยคำที่ทำให้เด็กหรือเยาวชนสามารถเข้าใจได้โดยง่าย โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ถ้าเด็กหรือเยาวชนไม่สามารถสื่อสารหรือไม่เข้าใจภาษาไทยก็ให้จัดหาล่ามให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ด้านว่าที่พ.ต.สมบัติ วงศ์กำแหง กรรมการฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายเนติบัณฑิตยสภา ว่า คดีจับลิขสิทธิ์นั้นปัจจุบันมีปัญหามากโดยเฉพาะพวกที่เรียกกันว่า “ตีกิน”คือแกล้งจับแล้วเรียกร้องเอาทรัพย์สินเพื่อแลกกับให้ปล่อยตัว ซึ่งผู้กระทำคือคนที่ไม่สุจริตเรียกกันว่าพวก “นักบิน” ขออธิบายเป็นลำดับกล่าวคือในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ บริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์มีอำนาจในการทำซ้ำดัดแปลง,โอนงาน,จำหน่ายหรืออนุญาตให้ผู้อื่นได้ใช้งานนั้นโดยมีค่าตอบแทน การที่มีคนไปทำงานลิขสิทธิ์ซ้ำโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือทำสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์วางขาย บริษัทจะสืบทราบแล้วส่งตัวแทนไปจับ ตัวแทนหากเป็นทนายความจะมีความรอบครอบโดยเฉพาะเอกสารการมอบอำนาจ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ตัวแทนที่ไปจับ มีใบมอบอำนาจแต่งตั้งจริงหรือไม่ ถ้ามี ใบมอบนั้นหมดอายุหรือยัง ใบมอบนั้นครอบคลุมถึงสินค้าที่ให้จับหรือไม่ เป็นเพียงมอบอำนาจเฉพาะหรือมอบทั่วไป ใบอำนาจนั้นปลอมหรือไม่ เรื่องเหล่านี้ เมื่อตัวแทนไปพบตำรวจเพื่อพาไปจับ เป็นหน้าที่ของตำรวจในประการแรก ที่จะตรวจสอบใบมอบนั้นว่าถูกต้องแท้จริงหรือไม่ เพราะถ้าไปถึงที่เกิดเหตุแผงค้า แทบจะไม่มีพ่อค้าแม่ค้ารายใดขอดูใบมอบอำนาจแต่งตั้งตัวแทน หรือถ้าดูก็ไม่รู้ว่าจริงหรือปลอม

ว่าที่พ.ต.สมบัติ กล่าวอีกว่า ถ้าตัวแทนเป็นพวกนักบิน อาจใช้ใบมอบปลอม เป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิ์ปลอม เมื่อจับผู้ค้ามาก็อาจผิดกักขังหน่วงเหนี่ยว กรรโชกทรัพย์ อาจผิดข้อหาแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ข้อหารู้ว่าไม่มีความผิดอาญาเกิดขึ้น แต่เแจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงานว่ามีความผิดอาญาเกิดขึ้น หรือแจ้งเกินความจริง ส่วนตำรวจ หากรู้อยู่แล้ว ว่าใบมอบปลอม แล้วยังฝืนไปกับตัวแทนเพื่อจับกุม ก็อาจมีความผิดฐานกลั่นแกล้งจับกุมบุคคลให้รับโทษทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และหากมีการจับกุมโดยไม่ชอบก็จะกระทบถึงอำนาจฟ้องของฝ่ายรัฐ

คดีที่ผู้ถูกจับเป็นเด็ก ต้องขออนุญาตจับก่อน และต้องนำตัวส่งสถานพินิจเพื่อทำประวัติตรวจร่ายกาย และให้ประกันตัวเป็นหลัก ซึ่งหลักทรัพย์ก็ไม่สูงมาก ถามว่าคดีนี้เมื่อจับเด็กมาแล้วได้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่ เด็กได้พบที่ปรึกษากฎหมายหรือไม่ หรือเจตนาแค่จับแล้วคุยกัน เมื่อจ่ายเงินก็จบ

"คดีลักษณะนี้มีมาก โดยเฉพาะจับกางเกงยีนส์ ละเมิดแบรนด์ดังๆ หากเป็นกรณี พ่อค้าขายกางเกงทั่วไป แล้วตัวแทนกับตำรวจ ไปล่อให้เขากระทำผิด โดยไปบอกว่าต้องการยี่ห้อดัง ต้องการจ่ายเงินให้ราคาดี เมื่อพ่อค้าตกลงก็ไปหากางเกงมาให้ พอส่งมอบก็ถูกจับ ทันที แบบนี้ไม่ใช้ล่อซื้อโดยชอบ เพราะพ่อค้าไม่มีเจตนาค้างานอันมีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต มาแต่แรก แต่เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยไม่ชอบ ศาลมักจะไม่รับฟังพยานหลักฐานเหล่านี้


กำลังโหลดความคิดเห็น