xs
xsm
sm
md
lg

งามไส้! รวบแก๊งต้มตุ๋นอ้างรัชทายาทมอญ หลอกนักธุรกิจไทยนับปี เล่นแชร์ลูกโซ่เสียหายกว่า 300 ล้าน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม


MGR Online - ดีเอสไอ จับแก๊งลวงโลก อ้างรัชทายาทมอญต้มคนไทย เล่นแชร์ลูกโซ่หัวละ 2 แสน ลงทุนทำเหมืองทองคำ - เนรมิตเมืองหลวงมอญ ลากคอไว้แล้ว 2 เหลือ “หม่อง” แสบอีก 1 คาด วงเงินเสียหายกว่า 300 ล้านบาท

วันนี้ (6 ต.ค.) รายงานข่าวแจ้งว่า พ.ต.ต.สุริยา สิงหกมล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) หัวหน้าคณะพนักงานสอบสวน ดำเนินการสืบสวนหลังพบว่า มีกลุ่มขบวนการแอบอ้างเป็นเจ้าแห่งรัฐมอญหลอกลวงนักธุรกิจไทยไปลงทุนที่รัฐมอญ ในประเทศเมียนมา มีบริษัทหลงเชื่อกว่า 100 แห่ง รวมทั้งมีการแต่งกายชุดราชการพลเรือนและทหารไทย หลอกลวงชาวบ้าน เบื้องต้นมูลค่าความเสียหายประมาณ 300 ล้านบาท จึงได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนก่อนเสนอ พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีดีเอสไอ เพื่อขออนุมัติเป็นคดีพิเศษ 217/2560 กรณีการนำเข้าข้อมูลบุคคล นิติบุคคล และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ (แอบอ้างเป็นรัชทายาทมอญ และหลอกลวงว่าได้รับสัมปทานโครงการก่อสร้างในประเทศเมียนมา) กระทั่งได้มีการออกหมายจับผู้ต้องหา 3 ราย เมื่อวันที่ 4 ต.ค. ที่ผ่านมา คือ 1. นางสุภัตทา จันทรรังษี สัญชาติไทย 2. นายกอว มิน อู (Mr.KYAW MYINT OO) หรือ เทพโยธิน มหาทุน สัญชาติชาวเมียนมา และ 3. นายโกสินธ์ จินาอ่อน สัญชาติไทย ในฐานความผิด ร่วมกันโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฏหมายอาญาและร่วมกันเผยแพร่ หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ อันเป็นเท็จ

 
ต่อมา วันที่ 5 ต.ค. เจ้าหน้าที่ดีเอสไอ ติดตามจับกุมผู้ต้องหา 2 ราย ได้บริเวณย่านลาดพร้าว กรุงเทพฯ คือ 1. นางสุภัตทา จันทรรังษี ถูกควบคุมตัวตามความในข้อ 4 แห่งคำสั่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 13/2559 เรื่อง การป้อง และปราบปรามการกระทำความผิดบางประการที่เป็นภยันตรายต่อความสงบเรียบร้อยหรือบ่อนทำลายระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และ 2. นายโกสินธ์ จินาอ่อน ถูกจับกุมตามหมายจับ พร้อมกับแจ้งข้อหาชั้นสอบสวน ในฐานความผิด ร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน, ร่วมกันเผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อัน เป็นเท็จและร่วมกันฉ้อโกงประชาชนอันเป็นความผิดตามมาตรา 14 (1) (5) แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับ 2) พ.ศ. 2560 และมาตรา 343 มาตรา 341 ประกอบมาตรา 83 และมาตรา 91 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 9 ต.ค. นี้ ผู้เสียหายที่เคยถูกกลุ่มขบวนการดังกล่าวแอบอ้างหลอกลวงสามารถเดินทางมาให้ปากคำในฐานะพยานได้ที่ ดีเอสไอ เพื่อดำเนินการสอบสวนขยาย ผลผู้เกี่ยวข้องร่วมขบวนการดังกล่าวต่อไป
กำลังโหลดความคิดเห็น