MGR Online - ศาลอุทธรณ์พิพากษา สั่ง “สุวรรณภูมิรีเทลฯ (SRD)-สุวรรณภูมิทรานฯ (STD)” ส่งพื้นที่เช่าสนามบินคืน “สุวรรณภูมิ ทรานส์ เซอร์วิส” รับช่วงพื้นที่จาก ทอท. พร้อมใช้ทรัพย์นับล้าน ขณะที่ “สุวรรณภูมิ ทรานส์ เซอร์วิส” ต้องชดใช้เงินค่าลงทุนก่อสร้างคืน SRD-STD ด้วย 45 ล้าน พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
วานนี้ (24 พ.ค.) ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 18 พ.ค. ศาลแพ่งอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีที่บริษัท สุวรรณภูมิ รีเทลดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (SRD) และบริษัท สุวรรณภูมิ ทรานดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (STD) ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้องบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท., บริษัท สุวรรณภูมิทรานส์ เซอร์วิส จำกัด เป็นจำเลยที่ 1-2 กรณีผิดสัญญา และละเมิด
โดยบริษัท สุวรรณภูมิฯ โจทก์ ขอให้ ทอท.จำเลยที่ 1 ทำสัญญาอนุญาตและสัญญาเช่าพื้นที่ภายในศูนย์บริการ การขนส่งสาธารณะภายในชอปปิ้งอาเขตเพื่อประกอบกิจกรรมเชิงพาณิชย์ หากไม่ทำสัญญาให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงินจำนวน 1,175,897,514บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี และชำระค่าเสียหายเดือนละ 8,245,908 บาท จนกว่าจำเลยทั้งสองจะหยุดขัดขวางบุคคลภายนอกเข้าทำสัญญาเช่าพื้นที่กับโจทก์ทั้งสอง
และคดีที่บริษัท สุวรรณภูมิทรานส์ เซอร์วิส จำกัด เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บจก.สุวรรณภูมิ รีเทล ดีเวลลอปเมนท์ และ บจก.สุวรรณภูมิ ทรานส์ ดีเวลลอปเมนท์, บริษัท ไทยพัฒนาชุมชน จำกัด, นางกานต์พิชชา สันหนองเมือง, น.ส.อุบล ท่าทราย, นางรัชนิฎา ศุภางคเสน, น.ส.อมรรัตน์ เพ็ชรรัตน์ และนายบุญอินทร์ ส่งเสริมสกุล เป็นจำเลยที่ 1-8 เรื่องขับไล่ออกจากพื้นที่พิพาท พร้อมเรียกค่าเสียหายทั้งหมด 59,806,631 บาท และชำระค่าขาดประโยชน์หลังฟ้องวันละ 284,250 บาท จนกว่าจะส่งมอบที่พิพาทคืนแก่โจทก์ ซึ่งศาลมีคำสั่งให้รวมการพิจารณา 2 คดีเป็นสำนวนเดียวกัน ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 319,900,031.78 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาจนกว่าจะชำระเสร็จ
ส่วนสำนวนคดี บจก.สุวรรณภูมิทรานส์ เซอร์วิส ยื่นฟ้อง บจก.สุวรรณภูมิ รีเทลฯ กับพวกรวม 8 รายนั้น ศาลพิพากษายกฟ้อง ต่อมาคู่ความยื่นอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์แล้วเห็นว่า พยานหลักฐานฟังไม่ได้ว่า การที่ บจก.สุวรรณภูมิทรานส์ เซอร์วิส จำเลยที่ 2ทำสัญญาอนุญาตให้ บ.สุวรรณภูมิ รีเทลฯ และ บจก.สุวรรณภูมิ ทรานดีเวลลอปเมนท์ โจทก์ทั้งสอง ใช้พื้นที่ของ ทอท.จำเลยที่ 1 เป็นเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี 2549 นั้น บจก.สุวรรณภูมิทรานส์ เซอร์วิส จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนเชิดของ ทอท.จำเลยที่ 1 ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องผูกพันต่อโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิ์บังคับให้ ทอท.จำเลยที่ 1 ทำสัญญาอนุญาตให้ประกอบกิจกรรมเชิงพาณิชย์และสัญญาเช่าพื้นที่แก่โจทก์ทั้งสองและไม่มีสิทธิ์เรียกค่าเสียหายจาก ทอท.จำเลยที่ 1
สำหรับ บจก.สุวรรณภูมิทรานส์ เซอร์วิส จำเลยที่ 2 ทำสัญญาอนุญาตให้ บ.สุวรรณภูมิ รีเทลฯ และ บจก.สุวรรณภูมิ ทรานดีเวลลอปเมนท์ โจทก์ทั้งสองประกอบกิจกรรมเชิงพาณิชย์ได้ แต่เมื่อสัญญาเช่าระหว่าง ทอท.จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ ให้เช่ากับ บจก.สุวรรณภูมิทรานส์ เซอร์วิส จำเลยที่ 2 มีข้อสัญญาชัดแจ้งว่าห้าม บจก.สุวรรณภูมิทรานส์ เซอร์วิส จำเลยที่ 2 โอนกิจการตามสัญญาหรือยินยอมให้บุคคลอื่นประกอบกิจการบางส่วนหรือทั้งหมด และไม่นำเอาสถานที่เช่าไปให้เช่าช่วง เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือล่วงหน้าจาก ทอท.จำเลยที่ 1 เสียก่อน จึงเป็นข้อผูกพันที่ บจก.สุวรรณภูมิทรานส์ เซอร์วิส จำเลยที่ 2ต้องปฏิบัติตาม
เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่อาจนำสถานที่ให้โจทก์ทั้งสองเช่าช่วงได้ตามที่ตกลงกันไว้ ถือว่าการชำระหนี้เป็นอันพ้นวิสัย เพราะเหตุอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้ จึงฟังไม่ได้ว่า บจก.สุวรรณภูมิทรานส์ เซอร์วิส จำเลยที่ 2 ผิดสัญญา ดังนั้น โจทก์ทั้งสอง และจำเลยที่ 2 ต่างไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ซึ่งกันและกัน เมื่อจำเลยที่ 2 ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแล้วทั้งสองฝ่ายต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม ซึ่ง บ.สุวรรณภูมิ รีเทลฯ และ บจก.สุวรรณภูมิ ทรานดีเวลลอปเมนท์ โจทก์ทั้งสอง ต้องคืนพื้นที่พิพาททั้งหมดให้แก่ บจก.สุวรรณภูมิทรานส์ เซอร์วิส จำเลยที่ 2
แต่ บจก.สุวรรณภูมิทรานส์ เซอร์วิส จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชดใช้ค่าก่อสร้างต่างๆ ให้ บ.สุวรรณภูมิ รีเทลฯ และ บจก.สุวรรณภูมิ ทรานดีเวลลอปเมนท์ โจทก์ทั้งสองในการเสียค่าใช้จ่ายก่อสร้างไว้ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้ บจก.สุวรรณภูมิทรานส์ เซอร์วิส จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชำระเงิน 56,726,962.40 บาท นับว่าเหมาะสมแล้ว
ขณะที่เมื่อสัญญาเลิกกัน บ.สุวรรณภูมิ รีเทลฯ และ บจก.สุวรรณภูมิ ทรานดีเวลลอปเมนท์ โจทก์ทั้งสอง ไม่มีสิทธิอยู่ในพื้นที่พิพาท แต่เกิดจาก บจก. สุวรรณภูมิทรานส์ เซอร์วิส จำเลยที่ 2 เองมีส่วนผิดที่ไม่อาจดำเนินการให้เป็นไปตามสัญญาได้ การให้โจทก์ทั้งสองรับผิดค่าเสียหายทั้งหมดจึงไม่เป็นธรรม
จึงพิพากษาแก้เป็นว่า ให้โจทก์ทั้งสองและบริวาร ขนย้ายทรัพย์สินออกจากพื้นที่ โดยให้ บ.สุวรรณภูมิ รีเทลฯ โจทก์ที่ 1 ชำระค่าทรัพย์ เดือนละ 370,000 บาท และ บจก.สุวรรณภูมิ ทรานดีเวลลอปเมนท์ โจทก์ที่ 2 ชำระค่าใช้ทรัพย์ เดือนละ 250,000 บาท ให้แก่ บจก.สุวรรณภูมิทรานส์ เซอร์วิส จำเลยที่ 2 นับแต่วันถัดฟ้องวันที่ 13 ธ.ค. 2550 จนกว่าจะออกจากพื้นที่
ให้ บ.สุวรรณภูมิ รีเทลฯ โจทก์ที่ 1 ต้องรับผิดค่าใช้ทรัพย์ 2,059,666.66 บาท และ บจก.สุวรรณภูมิ ทรานดีเวลลอปเมนท์โจทก์ที่ 2 ต้องรับผิดชำระค่าใช้ทรัพย์ 1,391,666.66 บาท นับตั้งแต่วันที่เข้าพื้นที่จนถึงวันถัดฟ้องวันที่ 13 ธ.ค. 2550 ให้จำเลยที่ 2 ด้วย โดยโจทก์ทั้งสอง ประกอบกิจกรรมเชิงพาณิชย์ในพื้นที่พิพาทเรื่อยมาจนถึงวันที่สัญญาเลิกกัน ซึ่งโจทก์ทั้งสองครอบครองและใช้ประโยชน์พื้นที่พิพาทตามสัญญา ดังนั้นโจทก์ทั้งสอง จึงต้องรับผิดชำระเงินส่วนแบ่งรายได้ขั้นต่ำตามที่ตกลงในสัญญาค่าใช้พื้นที่
วานนี้ (24 พ.ค.) ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 18 พ.ค. ศาลแพ่งอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีที่บริษัท สุวรรณภูมิ รีเทลดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (SRD) และบริษัท สุวรรณภูมิ ทรานดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (STD) ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้องบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท., บริษัท สุวรรณภูมิทรานส์ เซอร์วิส จำกัด เป็นจำเลยที่ 1-2 กรณีผิดสัญญา และละเมิด
โดยบริษัท สุวรรณภูมิฯ โจทก์ ขอให้ ทอท.จำเลยที่ 1 ทำสัญญาอนุญาตและสัญญาเช่าพื้นที่ภายในศูนย์บริการ การขนส่งสาธารณะภายในชอปปิ้งอาเขตเพื่อประกอบกิจกรรมเชิงพาณิชย์ หากไม่ทำสัญญาให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงินจำนวน 1,175,897,514บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี และชำระค่าเสียหายเดือนละ 8,245,908 บาท จนกว่าจำเลยทั้งสองจะหยุดขัดขวางบุคคลภายนอกเข้าทำสัญญาเช่าพื้นที่กับโจทก์ทั้งสอง
และคดีที่บริษัท สุวรรณภูมิทรานส์ เซอร์วิส จำกัด เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บจก.สุวรรณภูมิ รีเทล ดีเวลลอปเมนท์ และ บจก.สุวรรณภูมิ ทรานส์ ดีเวลลอปเมนท์, บริษัท ไทยพัฒนาชุมชน จำกัด, นางกานต์พิชชา สันหนองเมือง, น.ส.อุบล ท่าทราย, นางรัชนิฎา ศุภางคเสน, น.ส.อมรรัตน์ เพ็ชรรัตน์ และนายบุญอินทร์ ส่งเสริมสกุล เป็นจำเลยที่ 1-8 เรื่องขับไล่ออกจากพื้นที่พิพาท พร้อมเรียกค่าเสียหายทั้งหมด 59,806,631 บาท และชำระค่าขาดประโยชน์หลังฟ้องวันละ 284,250 บาท จนกว่าจะส่งมอบที่พิพาทคืนแก่โจทก์ ซึ่งศาลมีคำสั่งให้รวมการพิจารณา 2 คดีเป็นสำนวนเดียวกัน ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 319,900,031.78 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาจนกว่าจะชำระเสร็จ
ส่วนสำนวนคดี บจก.สุวรรณภูมิทรานส์ เซอร์วิส ยื่นฟ้อง บจก.สุวรรณภูมิ รีเทลฯ กับพวกรวม 8 รายนั้น ศาลพิพากษายกฟ้อง ต่อมาคู่ความยื่นอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์แล้วเห็นว่า พยานหลักฐานฟังไม่ได้ว่า การที่ บจก.สุวรรณภูมิทรานส์ เซอร์วิส จำเลยที่ 2ทำสัญญาอนุญาตให้ บ.สุวรรณภูมิ รีเทลฯ และ บจก.สุวรรณภูมิ ทรานดีเวลลอปเมนท์ โจทก์ทั้งสอง ใช้พื้นที่ของ ทอท.จำเลยที่ 1 เป็นเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี 2549 นั้น บจก.สุวรรณภูมิทรานส์ เซอร์วิส จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนเชิดของ ทอท.จำเลยที่ 1 ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องผูกพันต่อโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิ์บังคับให้ ทอท.จำเลยที่ 1 ทำสัญญาอนุญาตให้ประกอบกิจกรรมเชิงพาณิชย์และสัญญาเช่าพื้นที่แก่โจทก์ทั้งสองและไม่มีสิทธิ์เรียกค่าเสียหายจาก ทอท.จำเลยที่ 1
สำหรับ บจก.สุวรรณภูมิทรานส์ เซอร์วิส จำเลยที่ 2 ทำสัญญาอนุญาตให้ บ.สุวรรณภูมิ รีเทลฯ และ บจก.สุวรรณภูมิ ทรานดีเวลลอปเมนท์ โจทก์ทั้งสองประกอบกิจกรรมเชิงพาณิชย์ได้ แต่เมื่อสัญญาเช่าระหว่าง ทอท.จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ ให้เช่ากับ บจก.สุวรรณภูมิทรานส์ เซอร์วิส จำเลยที่ 2 มีข้อสัญญาชัดแจ้งว่าห้าม บจก.สุวรรณภูมิทรานส์ เซอร์วิส จำเลยที่ 2 โอนกิจการตามสัญญาหรือยินยอมให้บุคคลอื่นประกอบกิจการบางส่วนหรือทั้งหมด และไม่นำเอาสถานที่เช่าไปให้เช่าช่วง เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือล่วงหน้าจาก ทอท.จำเลยที่ 1 เสียก่อน จึงเป็นข้อผูกพันที่ บจก.สุวรรณภูมิทรานส์ เซอร์วิส จำเลยที่ 2ต้องปฏิบัติตาม
เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่อาจนำสถานที่ให้โจทก์ทั้งสองเช่าช่วงได้ตามที่ตกลงกันไว้ ถือว่าการชำระหนี้เป็นอันพ้นวิสัย เพราะเหตุอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้ จึงฟังไม่ได้ว่า บจก.สุวรรณภูมิทรานส์ เซอร์วิส จำเลยที่ 2 ผิดสัญญา ดังนั้น โจทก์ทั้งสอง และจำเลยที่ 2 ต่างไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ซึ่งกันและกัน เมื่อจำเลยที่ 2 ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแล้วทั้งสองฝ่ายต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม ซึ่ง บ.สุวรรณภูมิ รีเทลฯ และ บจก.สุวรรณภูมิ ทรานดีเวลลอปเมนท์ โจทก์ทั้งสอง ต้องคืนพื้นที่พิพาททั้งหมดให้แก่ บจก.สุวรรณภูมิทรานส์ เซอร์วิส จำเลยที่ 2
แต่ บจก.สุวรรณภูมิทรานส์ เซอร์วิส จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชดใช้ค่าก่อสร้างต่างๆ ให้ บ.สุวรรณภูมิ รีเทลฯ และ บจก.สุวรรณภูมิ ทรานดีเวลลอปเมนท์ โจทก์ทั้งสองในการเสียค่าใช้จ่ายก่อสร้างไว้ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้ บจก.สุวรรณภูมิทรานส์ เซอร์วิส จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชำระเงิน 56,726,962.40 บาท นับว่าเหมาะสมแล้ว
ขณะที่เมื่อสัญญาเลิกกัน บ.สุวรรณภูมิ รีเทลฯ และ บจก.สุวรรณภูมิ ทรานดีเวลลอปเมนท์ โจทก์ทั้งสอง ไม่มีสิทธิอยู่ในพื้นที่พิพาท แต่เกิดจาก บจก. สุวรรณภูมิทรานส์ เซอร์วิส จำเลยที่ 2 เองมีส่วนผิดที่ไม่อาจดำเนินการให้เป็นไปตามสัญญาได้ การให้โจทก์ทั้งสองรับผิดค่าเสียหายทั้งหมดจึงไม่เป็นธรรม
จึงพิพากษาแก้เป็นว่า ให้โจทก์ทั้งสองและบริวาร ขนย้ายทรัพย์สินออกจากพื้นที่ โดยให้ บ.สุวรรณภูมิ รีเทลฯ โจทก์ที่ 1 ชำระค่าทรัพย์ เดือนละ 370,000 บาท และ บจก.สุวรรณภูมิ ทรานดีเวลลอปเมนท์ โจทก์ที่ 2 ชำระค่าใช้ทรัพย์ เดือนละ 250,000 บาท ให้แก่ บจก.สุวรรณภูมิทรานส์ เซอร์วิส จำเลยที่ 2 นับแต่วันถัดฟ้องวันที่ 13 ธ.ค. 2550 จนกว่าจะออกจากพื้นที่
ให้ บ.สุวรรณภูมิ รีเทลฯ โจทก์ที่ 1 ต้องรับผิดค่าใช้ทรัพย์ 2,059,666.66 บาท และ บจก.สุวรรณภูมิ ทรานดีเวลลอปเมนท์โจทก์ที่ 2 ต้องรับผิดชำระค่าใช้ทรัพย์ 1,391,666.66 บาท นับตั้งแต่วันที่เข้าพื้นที่จนถึงวันถัดฟ้องวันที่ 13 ธ.ค. 2550 ให้จำเลยที่ 2 ด้วย โดยโจทก์ทั้งสอง ประกอบกิจกรรมเชิงพาณิชย์ในพื้นที่พิพาทเรื่อยมาจนถึงวันที่สัญญาเลิกกัน ซึ่งโจทก์ทั้งสองครอบครองและใช้ประโยชน์พื้นที่พิพาทตามสัญญา ดังนั้นโจทก์ทั้งสอง จึงต้องรับผิดชำระเงินส่วนแบ่งรายได้ขั้นต่ำตามที่ตกลงในสัญญาค่าใช้พื้นที่