“ดีเอสไอ” ลุยสอบแก๊งรับจ้างจดทะเบียนสมรสเก๊ในพื้นที่ จ.นครปฐม สระบุรี เผยจดทะเบียนผิดปกติกว่าพันราย หวั่นกระทบความมั่นคงไทย
จากกรณีรายงานข่าวระบุว่าชาวปากีสถาน-อินเดีย จ้างสาวไทยจดทะเบียนสมรสเพื่อถือสิทธิอยู่ในประเทศไทย โดยพบพื้นที่การจดทะเบียนสมรสให้คนอินเดียมากผิดปกติใน จ.สระบุรี และเขตพื้นที่ใน จ.นครปฐม ซึ่งมีการลักลอบทำเรื่องนี้มากกว่าพื้นที่อื่น
วันนี้ (17 มิ.ย.) แหล่งข่าวระดับสูงจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ระบุว่า จากการสืบสวนข้อมูลเบื้องต้นพบว่าในพื้นที่ อ.วังม่วง จ.สระบุรี อ.บางเลน และ อ.สามพราน จ.นครปฐม มีการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นจริง โดย อ.บางเลน พบว่ามีการจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติในช่วงปี 2557-2558 ที่ผิดปกติจำนวน 750 ราย ส่วน อ.สามพราน พบว่ามีการจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ 250 ราย นอกจากนี้ยังพบว่าหญิงไทยมีการสมรสกับชาวต่างชาติมากกว่าหนึ่งครั้ง และจากข้อมูลพบว่าบางรายแต่งงานเพียง 1 วันก็หย่าร้างและจดทะเบียนสมรสใหม่ โดยมีบริษัทนายหน้ารับดำเนินการซึ่งบริษัทนี้จดทะเบียนโดยคนไทยแต่มีชาวอินเดียเป็นผู้ประกอบการ และมีการไปรับรองชาวต่างชาติว่าเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ เนื่องจากเวลาแต่งงานกันต้องมีพยานรับรอง ทั้งนี้ กระบวนการและปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นคือคนต่างด้าวที่ต้องการมาอยู่ในเมืองไทย เช่น หากบุคคลเหล่านี้มีเงิน หรือสามารถหาเงินได้ก็จะไปหาช่องทางทำบัตร ซึ่งหากมีเงินไม่มากนักก็จะทำบัตรเลข 0 เพื่อให้เป็นบุคคลที่ตกสำรวจรอการพิสูจน์สถานะ แต่หากมีเงินขึ้นมาในระดับนึงก็จะทำบัตรเลข 6 ซึ่งหมายถึงชนกลุ่มน้อยที่ได้รับอนุญาตให้อยู่เมืองไทย โดยปัจจุบันมีชนกลุ่มน้อยอยู่กว่า 20 กลุ่ม ต่อมาหากผู้ถือบัตรเลข 6 สามารถพิสูจน์ตัวเองได้หรือมีเงื่อนไขครบกำหนดก็จะได้รับลงรายการสัญชาติไทยได้รับบัตรเลข 8 ที่สามารถอยู่ในเมืองไทยได้และมีสิทธิต่างๆ คล้ายคนไทย นอกจากนี้ หากบุคคลที่เป็นอาชญากรก็จะทำเพิ่มในกรณีตกสำรวจคือบัตรเลข 5
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า คนอินเดีย บังกลาเทศ ซึ่งมีลักษณะทางกายภาพไม่ใช่ชนกลุ่มน้อย และในการแปลงสัญชาตินั้นทำได้ยาก เมื่อคนเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการขออยู่ในเมืองไทยได้ก็จะหาช่องทางที่จะอยู่ในประเทศไทยให้ได้นานที่สุดโดยที่ไม่ต้องทำวีซ่า คือการจดทะเบียนสมรสกับหญิงไทย ซึ่งกรณีนี้สามารถต่อวีซ่าได้ 1 ปี ทั้งนี้โอกาสที่คนเหล่านี้จะเป็นอาชญากรเป็นไปได้สูง และกรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงระบบการตรวจสอบไม่เข้มข้น เพราะลักษณะการเข้ามาอยู่ในเมืองไทยโดยจ้างหญิงให้จดทะเบียนสมรสเคยเกิดขึ้นเมื่อปี 54-55 ที่ อ.โนนสังข์ จ.หนองบัวลำภู แล้วครั้งหนึ่ง แต่ปัจจุบันยังมีการกระทำนี้เกิดขึ้นได้อีก อีกทั้งเจ้าหน้าที่ทุจริตมักกระทำผิดซ้ำ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดีเอสไอได้ประสานไปยัง 3 อำเภอ เพื่อขอรายละเอียดการจดทะเบียนสมรสระหว่างคนไทยและต่างด้าว รวมทั้งได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบและสอบถามข้อมูลกับหญิงที่จดทะเบียนดังกล่าวแล้ว
“หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องตระหนักถึงภัยความมั่นคง โดยเฉพาะเรื่องการฟอกตัวของอาชญากร อีกทั้งการหลั่งไหลเข้ามาของบุคคลต่างด้าวซึ่งเข้ามาพักอาศัยและใช้ประโยชน์ในเมืองไทย เช่นการรักษาพยาบาล การประกอบอาชีพ ที่เลวร้ายไปกว่านั้น อาจมีการสร้างกลุ่มแก๊ง ก่ออาชญากรรม” แหล่งข่าวในดีเอสไอระบุ
จากกรณีรายงานข่าวระบุว่าชาวปากีสถาน-อินเดีย จ้างสาวไทยจดทะเบียนสมรสเพื่อถือสิทธิอยู่ในประเทศไทย โดยพบพื้นที่การจดทะเบียนสมรสให้คนอินเดียมากผิดปกติใน จ.สระบุรี และเขตพื้นที่ใน จ.นครปฐม ซึ่งมีการลักลอบทำเรื่องนี้มากกว่าพื้นที่อื่น
วันนี้ (17 มิ.ย.) แหล่งข่าวระดับสูงจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ระบุว่า จากการสืบสวนข้อมูลเบื้องต้นพบว่าในพื้นที่ อ.วังม่วง จ.สระบุรี อ.บางเลน และ อ.สามพราน จ.นครปฐม มีการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นจริง โดย อ.บางเลน พบว่ามีการจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติในช่วงปี 2557-2558 ที่ผิดปกติจำนวน 750 ราย ส่วน อ.สามพราน พบว่ามีการจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ 250 ราย นอกจากนี้ยังพบว่าหญิงไทยมีการสมรสกับชาวต่างชาติมากกว่าหนึ่งครั้ง และจากข้อมูลพบว่าบางรายแต่งงานเพียง 1 วันก็หย่าร้างและจดทะเบียนสมรสใหม่ โดยมีบริษัทนายหน้ารับดำเนินการซึ่งบริษัทนี้จดทะเบียนโดยคนไทยแต่มีชาวอินเดียเป็นผู้ประกอบการ และมีการไปรับรองชาวต่างชาติว่าเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ เนื่องจากเวลาแต่งงานกันต้องมีพยานรับรอง ทั้งนี้ กระบวนการและปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นคือคนต่างด้าวที่ต้องการมาอยู่ในเมืองไทย เช่น หากบุคคลเหล่านี้มีเงิน หรือสามารถหาเงินได้ก็จะไปหาช่องทางทำบัตร ซึ่งหากมีเงินไม่มากนักก็จะทำบัตรเลข 0 เพื่อให้เป็นบุคคลที่ตกสำรวจรอการพิสูจน์สถานะ แต่หากมีเงินขึ้นมาในระดับนึงก็จะทำบัตรเลข 6 ซึ่งหมายถึงชนกลุ่มน้อยที่ได้รับอนุญาตให้อยู่เมืองไทย โดยปัจจุบันมีชนกลุ่มน้อยอยู่กว่า 20 กลุ่ม ต่อมาหากผู้ถือบัตรเลข 6 สามารถพิสูจน์ตัวเองได้หรือมีเงื่อนไขครบกำหนดก็จะได้รับลงรายการสัญชาติไทยได้รับบัตรเลข 8 ที่สามารถอยู่ในเมืองไทยได้และมีสิทธิต่างๆ คล้ายคนไทย นอกจากนี้ หากบุคคลที่เป็นอาชญากรก็จะทำเพิ่มในกรณีตกสำรวจคือบัตรเลข 5
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า คนอินเดีย บังกลาเทศ ซึ่งมีลักษณะทางกายภาพไม่ใช่ชนกลุ่มน้อย และในการแปลงสัญชาตินั้นทำได้ยาก เมื่อคนเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการขออยู่ในเมืองไทยได้ก็จะหาช่องทางที่จะอยู่ในประเทศไทยให้ได้นานที่สุดโดยที่ไม่ต้องทำวีซ่า คือการจดทะเบียนสมรสกับหญิงไทย ซึ่งกรณีนี้สามารถต่อวีซ่าได้ 1 ปี ทั้งนี้โอกาสที่คนเหล่านี้จะเป็นอาชญากรเป็นไปได้สูง และกรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงระบบการตรวจสอบไม่เข้มข้น เพราะลักษณะการเข้ามาอยู่ในเมืองไทยโดยจ้างหญิงให้จดทะเบียนสมรสเคยเกิดขึ้นเมื่อปี 54-55 ที่ อ.โนนสังข์ จ.หนองบัวลำภู แล้วครั้งหนึ่ง แต่ปัจจุบันยังมีการกระทำนี้เกิดขึ้นได้อีก อีกทั้งเจ้าหน้าที่ทุจริตมักกระทำผิดซ้ำ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดีเอสไอได้ประสานไปยัง 3 อำเภอ เพื่อขอรายละเอียดการจดทะเบียนสมรสระหว่างคนไทยและต่างด้าว รวมทั้งได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบและสอบถามข้อมูลกับหญิงที่จดทะเบียนดังกล่าวแล้ว
“หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องตระหนักถึงภัยความมั่นคง โดยเฉพาะเรื่องการฟอกตัวของอาชญากร อีกทั้งการหลั่งไหลเข้ามาของบุคคลต่างด้าวซึ่งเข้ามาพักอาศัยและใช้ประโยชน์ในเมืองไทย เช่นการรักษาพยาบาล การประกอบอาชีพ ที่เลวร้ายไปกว่านั้น อาจมีการสร้างกลุ่มแก๊ง ก่ออาชญากรรม” แหล่งข่าวในดีเอสไอระบุ