xs
xsm
sm
md
lg

“บิ๊กต๊อก” ร่วมถกหลักนิติธรรม-สิทธิมนุษยชน บนเวทียุติธรรมโลก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม


รมว.ยุติธรรม ร่วมประชุมยุติธรรมระดับโลก หนุนหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน แจง IACA ไทยกำลังนำมาตรการทางปกครองและทางวินัย เอาผิดขรก.ทุจริตพร้อมดำเนินคดีอาญา

วันนี้ (13 เม.ย.) ที่ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้เข้าร่วมการประชุมผู้นำระดับสูง หัวข้อแนวทางการพัฒนาหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน ปี 2015 (Rule of law, Human rights and the post 2015 development agenda) ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมการและยุติธรรมทางอาญา ครั้งที่ 13 โดยมีผู้อำนวยการบริหารสำนักงานสหประชาชาติว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรม เป็นประธานการประชุม และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมประเทศอิตาลี ผู้บริหารจากองค์กรระหว่างประเทศ OHCHR, UNDP รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง

โดยประชุมเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้แลกเปลี่ยนแนวคิดในการเสริมสร้างและพัฒนาหลักนิติธรรม หลักสิทธิมนุษยชน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประชาคมโลก รวมทั้งได้อภิปรายความสำเร็จหรือความท้าทายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งที่ประชุมได้เน้นย้ำให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อผลักดันและพัฒนาเรื่องหลักนิติธรรม และการเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง

ทั้งนี้ พล.อ.ไพบูลย์ ได้กล่าวถึงสถานการณ์หลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยในปัจจุบันบนเวทีการประชุมครั้งนี้ว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มากล่าวถ้อยแถลงในการประชุมคู่ขนานระดับสูงในทีประชุมวันนี้ ตนเห็นว่าในการพัฒนาที่ยั่งยืน เราต้องนำหลักนิติธรรม และสิทธิขั้นพื้นฐานของกระบวนการยุติธรรม มาเป็นตัวกำหนดความสำเร็จในด้านเศรษฐกิจและประเทศ นอกจากนี้ เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งในวาระการพัฒนาภายหลัง ค.ศ.2015 ของสหประชาชาติ ซึ่งควรถือเป็นประเด็นที่สำคัญยิ่ง โดยประเทศไทยได้ให้การสนับสนุนเป้าหมายที่ 16 ของสหประชาชาติ อย่างเต็มที่ ทั้งนี้เป้าหมายดังกล่าวมีจุดประสงค์ที่จะเสริมสร้างสันติสุขและสร้างสังคมเพื่อคนทั้งมวล รวมถึงดำเนินการให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงความยุติธรรม และพัฒนาสถาบันที่เกี่ยวข้องในทุกระดับให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ เห็นควรให้ความสำคัญกับการเคารพสิทธิมนุษยชนในวาระการพัฒนาดังกล่าวด้วย และด้วยสังคมโดยทั่วไปย่อมมีช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวย ซึ่งส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำและการเลือกปฏิบัติขึ้น ควรกำหนดให้มีการดูแลให้ความช่วยเหลือกลุ่มคนชายขอบ เพื่อให้เขาเหล่านั้นสามารถเข้าถึงความยุติธรรมและได้รับความคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน ซึ่งหมายถึงสิทธิในการได้รับการพัฒนาด้วย ทั้งนี้ในส่วนประเทศไทยเรื่องการส่งเสริมหลักนิติธรรมสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงความยุติธรรม โดยมีการเสนอร่างกฎหมายว่าด้วยกองทุนยุติธรรมเพื่อพัฒนาระบบช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายในคดีอาญา ทั้งนี้ ประเทศไทยเชื่อมั่นว่ามาตรฐานและแนวทางสหประชาชาติจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งในการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศ ทำนองเดียวกันประเทศไทยยังมีส่วนร่วมที่สำคัญในการพัฒนามาตรฐานและแนวทางดังกล่าวของสหประชาชาติ ไม่ว่าจะเป็นข้อกำหนดกรุงเทพฯ ยุทธศาสตร์ต้นแบบ และมาตรฐานในการปฏิบัติเพื่อการจำกัดความรุนแรงต่อเด็กและแนวทางสำหรับการพัฒนาทางเลือก

รมว.ยุติธรรม กล่าวอีกว่า ประเทศไทยมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการทบทวนกฎมาตรฐานขั้นต่ำในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง และเสนอให้แก้กฎหมายราชทัณฑ์เพื่อเป็นไปตามข้อกำหนดของสหประชาชาติ

ทั้งนี้ เรามั่นใจว่า มาตรฐานของสหประชาชาติจะมีการปฏิบัติที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ประเทศไทยมีความพร้อมในการแบ่งปันประสบการณ์และการปฏิบัติที่ดีที่สุดในการพัฒนาศักยภาพผู้ต้องขังหญิงตามแนวทางข้อกำหนดกรุงเทพฯ ลดจำนวนผู้กระทำผิดหญิง และส่งเสริมให้เขาเหล่านั้นได้กลับคืนสู่สังคม

สำหรับประเด็นของการจำกัดความรุนแรงต่อเด็กและเยาวชน ประเทศไทยสนับสนุนโครงการระดับโลกเพื่อการจำกัดความรุนแรงต่อเด็กและเยาวชน ในมิติของการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญาซึ่งเป็นโครงการร่วมกันของ ยูเอ็นโอดีซี และยูนิเซฟ ซึ่งประเทศไทยได้ริเริ่มโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเพื่อเผยแพร่แนวทางการปฏิบัติตามโครงการนี้ให้กระจายไปได้มากที่สุด

ส่วนประเด็นการติดตามและมาตรการประเมินความก้าวหน้าของการพัฒนานั้นประเทศไทยเห็นว่าการจัดทำฐานข้อมูลต่างๆและการเข้าถึงฐานข้อมูลและสถิติต่างๆ จะเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนา โดยประเทศไทย ตระหนักดีว่าแต่ละประเทศมีความแตกต่างในความสามารถของการพัฒนาตัวชี้วัดของประเทศดังนั้นการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคและการพัฒนาศักยภาพบุคลากรจึงเป็นสิ่งที่ทุกประเทศต้องกระทำ

นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ไพบูลย์ ได้เข้าหารือแบบทวิภาคีกับ นายมาติน ครอยต์ คณบดีและเจ้าหน้าที่บริหารองค์กรด้านการต่อต้านการทุจริต หรือ IACA (International Anti-Corruption Academy) และมีการสอบถามเรื่องการป้องกันและแก้ปัญหาทุจริตของประทศไทย อย่างไร พล.อ.ไพบูลย์ ได้กล่าวว่า ประเทศไทยมีมาตรการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน โดยรัฐบาลกำลังนำเอามาตรการทางปกครอง และทางวินัย มาใช้ดำเนินการร่วมกับมาตรการทางอาญา กับข้าราชการที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการทุจริต และนี่เป็นมาตรการหนึ่งของหน่วยงานปราบปรามการทุจริตของฝ่ายบริหาร

อย่างไรก็ตาม หน่วยงานการปราบปรามการทุจริตของประเทศไทย ได้แยกส่วนออกจากกัน และมีความเป็นอิสระอยู่เหนือการควบคุมดูแลของฝ่ายบริหาร โดยรัฐบาลไม่สามารถเข้าไปก้าวก่ายการทำงาน หรือมีอำนาจเหนือหน่วยงานเหล่านั้นได้ และสิ่งสำคัญคือ รัฐต้องการให้มีการทำงานแบบต่อเนื่องประสานงานอย่างมีระบบ ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ

“ตอนนี้ประเทศไทยยังขาดผู้เชี่ยวชาญ ความรู้ และประสบการณ์ ด้านการตรวจสอบเส้นทางการเงิน จึงต้องการสนับสนุนบุคคลากรและงบประมาณ เพื่อพัฒนาทักษะและเพิ่มศักยภาพในการปราบปรามการทุจริตให้เข้มแข็งกว่านี้ เนื่องจากการทุจริตรูปแบบได้พัฒนาไปในทิศทางของอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ



กำลังโหลดความคิดเห็น