xs
xsm
sm
md
lg

ดีเอสไอลุยตรวจโรงงานเถื่อนปล่อยสารพิษ จ.สมุทรสาคร

เผยแพร่:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม


ผอ.ศูนย์ปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับโรงงานอุตสาหกรรม ดีเอสไอ พร้อม ผช.ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมนำกำลังเจ้าหน้าที่ตรวจโรงงานเถื่อนย่านซอยปากท่อ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร หลังพบมีการปล่อยสารเคมีและสารพิษลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะติดสวนมะพร้าวน้ำหอมของชาวบ้าน คนงานเผยเจ้าของโรงงานเป็นชาวมาเลเซียมาว่าจ้างให้ทำงานได้ค่าแรงวันละ 300 บาท ช่วงบ่ายลงพื้นที่ตรวจสอบอีกจุด เป็นโรงงานนำเข้าเศษโลหะจากยุโรปของชาวต่างชาติ พบมีการจดทะเบียนถูกต้องแต่ผิดวัตถุประสงค์เพราะกากของเศษเหล่านี้เป็นสิ่งต้องห้ามนำเข่้าประเทศไทย และตรวจสอบพบการบำบัดน้ำเสียไม่ถูกต้อง

เมื่อเวลา 10.30 น.วันนี้ (16 พ.ค.) นายภูวิช ยมหา ผู้อำนวยการศูนย์ปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับโรงงานอุตสาหกรรม กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พร้อมด้วยนายสุรพล ชามาตย์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นำกำลังเข้าตรวจค้นโรงงานซึ่งคาดว่าไม่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการและอาจปล่อยสารพิษ กากอุตสาหกรรม หรือสารเคมีที่เป็นอันตรายลงสู่แม่น้ำ ทั้งหมด 3 จุด โดยจุดแรกเป็นโรงงานไม่มีเลขที่ หมู่ 8 ในซอยปากบ่อ ถนนปากบ่อ ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง สมุทรสาคร หลังดีเอสไอได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านย่านสุมทรสาครว่าพบโรงงานเถื่อนปล่อยน้ำเสียปนเปื้อนสารพิษลงแม่น้ำลำคลอง โดยโรงงานดังกล่าวเป็นโรงงานคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแยกเอา เหล็ก อะลูมิเนียม ทองแดง ทองเหลือง และพลาสติก มีคนงานกว่า 36 คน ก่อนนำมาล้างน้ำทำความสะอาดและแอบปล่อยน้ำลงคลองติดไร่และสวนที่ชาวบ้านย่านนี้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมขาย

นายภูวิชเผยว่า ทางดีเอสไอได้รับการร้องเรียนจึงมาตรวจสอบจนพบโรงงานเถื่อนจำนวนมาก และจะไล่ตรวจสอบทั้งหมดร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม โดยส่วนใหญ่เป็นโรงงานคัดแยกกากอุตสากรรมประเภทขยะอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนำเข้าจากต่างประเทศ เบื้องต้นจะดำเนินคดีต่อเจ้าของและคนรับผิดชอบข้อหาประกอบกิจการโรงงานไม่ได้รับอนุญาต นำเข้ากากสารพิษจากต่างประเทศเข้าประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาต และปล่อยสารพิษลงในแม่น้ำลำคลองสาธารณะ นอกจากนี้ อาจมีการตรวจสอบว่ามีการฟอกเงินด้วยหรือไม่

ด้านนายสุรพลกล่าวว่า รมว.อุตสาหกรรมและปลัดกระทรวงอุตหกรรม ได้สั่งการให้มีการตรวจจับโรงงานเถื่อน และโรงงานที่แอบปล่อยน้ำลงแหล่งน้ำธรรมชาติ ทั้งนี้บริเวณที่ตั้งโรงงานส่วนใหญ่เป็นโซนปลูกพืชไร่ และพืชสวนชาวบ้านซึ่งไม่อนุญาตให้ตั้งโรงงาน เช่น พื้นที่เพาะปลูกมะพร้าวน้ำหอม หากมีโรงงานแอบปล่อยน้ำเสียปนสารพิษตะกั่วและโลหะหนักอื่นๆ ลงแหล่งน้ำธรรมชาติ ต้นไม้และต้นมะพร้าวจะได้รับสารพิษไปด้วย สุดท้ายประชาชนดื่มน้ำมะพร้าวก็จะได้รับสารพิษไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสอบถามพนักงานโรงงานดังกล่าวระบุว่า โรงงานนี้มีเจ้าของเป็นชาวมาเลเซีย ได้เช่าพื้นที่ทำโรงงานนานกว่า 6 เดือนแล้ว และจ้างพนักงานมาคัดแยกขยะออกเป็นเหล็ก อะลูมิเนียม ทองแดง สายไฟ โดยได้ค่าจ้างวันละ 300 บาท จากนั้นจะมีคนมารับไปซึ่งพนักงานเองก็ไม่ทราบว่านำไปทำอะไร หรือนำไปไหน

ต่อมาช่วงบ่ายวันเดียวกันเจ้าหน้าที่ได้นำกำลังเข้าตรวจจุดที่2 ที่บริษัทโกลบอล เวนเจอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด เลขที่54 หมู่3 ต.บ้านเกาะ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ซึ่งมีเจ้าของบริษัทเป็นชาวเบลเยี่ยม โดยมีนายชรินทร์ บุญรุ่งพันธ์ ผู้จัดการ นำเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ พร้อมกับนำเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องมายื่นเพื่อให้เจ้าหน้าที่ดีเอสไอตรวจสอบ
นายชรินทร์ กล่าวว่า บริษัทนี้เปิดทำการมาแล้วกว่า3ปี ซึ่งเป็นบริษัทนำเข้าเศษโลหะจากยุโรปเพื่อมาแยก แล้วส่งไปตามโรงหล่อต่างๆทั่วประเทศ
ด้านนายภูวิช กล่าวว่า การตรวจครั้งนี้เป็นการสืบสวนตามคดีพิเศษ ซึ่งเป็นการขยายผลจากคดีเดิมที่มีการนำกากอุตสาหกรรมออกนอกประเทศทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวได้จดทะเบียนประกอบกิจการ และมีการขออนุญาตถูกต้อง แต่กลับดำเนินการผิดเงื่อนไข ซึ่งกากอุตสหกรรมที่พบในโรงงานนี้เป็นกากที่ห้ามนำเข้ามาในประเทศ และยังพบกระบวนการในการบำบัดน้ำเสียที่ไม่ถูกต้องอีกด้วย





เจ้าหน้าที่ดีเอสไอลงพื้นที่ตรวจโรงงานนำเข้าโลหะจากต่างประเทศ ใน จ.สมุทรสาคร ซึ่งเป็นจุดที่ 2 พบการจดทะเบียนถูกต้องแต่ใช้ผิดวัตถุประสงค์และมีการบำบัดน้ำเสียไม่ถูกต้อง
โรงงานที่เข้าตรวจค้นจุดที่ 2
โรงงานที่เข้าตรวจค้นจุดที่ 2
โรงงานที่เข้าตรวจค้นจุดที่ 2
โรงงานที่เข้าตรวจค้นจุดที่ 2
โรงงานที่เข้าตรวจค้นจุดที่ 2
โรงงานที่เข้าตรวจค้นจุดที่ 2
โรงงานที่เข้าตรวจค้นจุดที่ 2
โรงงานที่เข้าตรวจค้นจุดที่ 2
กำลังโหลดความคิดเห็น