xs
xsm
sm
md
lg

มูลนิธิกระจกเงา จี้ สตช.ตั้งศูนย์ติดตามคนหาย

เผยแพร่:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม

พล.ต.อ.จรัมพร สุระมณ๊ ที่ปรึกษา สบ.10 รับเรื่องการจัดตั้งศูนย์ติดตามคนหายที่มูลนิธิกระจกเงา ยื่นรายชื่ิอประชาชนเสนอเข้ามา
หัวหน้าศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา เดินทางเข้ายื่นรายชื่อประชาชนกว่า 28,000 คน ต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้มีการจัดตั้งศูนย์ติดตามคนหายอย่างเป็นรูปธรรม

วันนี้ (25 ธ.ค.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) นายเอกลักษณ์ หลุ่มชมแข หัวหน้าศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา พร้อมตัวแทนมูลนิธิฯ เดินทางเข้าพบ พล.ต.อ.จรัมพร สุระมณี ที่ปรึกษา (สบ 10) เพื่อยื่นรายชื่อประชาชนกว่า 28,000 รายชื่อ ที่ลงชื่อผ่าน www.change.org สนับสนุนให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งศูนย์ติดตามคนหายอย่างเป็นรูปธรรม หลังจากที่ผ่านมา มีกรณีเด็กหายเกิดขึ้นซ้ำซาก พร้อมยื่นข้อเรียกร้อง 7 ข้อเพื่อการแก้ปัญหาเด็กหาย ได้แก่ ขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติตั้งชุดเฉพาะกิจเพื่อทำการสืบสวนติดตามเด็กหายที่ยังไม่พบตัว และคาดว่าน่าจะถูกลักพาตัว ตำรวจควรรับแจ้งความเด็ก หรือผู้สูงอายุที่หายตัว โดยไม่ต้องรอให้หายตัวไปครบ 24 ชั่วโมง มีกระบวนการสืบสวนติดตามทันที และต่อเนื่อง ควรมีการจัดการความรู้เกี่ยวกับคดีลักพาตัวเด็กในประเทศ เพื่อให้เห็นแผนประทุษกรรม ลักษณะการกระทำผิด ในระยะสั้น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ควรจัดตั้งคณะทำงานหรือแผนกติตดามคนหาย ในกองบัญชาการต่างๆ เพื่อประสานงานร่วมกับศูนย์ประชาบดี กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์อย่างใกล้ชิด สำนักงานตำรวจแห่งชาติควรพิจารณาจัดตั้งศูนย์ติดตามคนหายเพื่อบริหารจัดการปัญหาคนหายในประเทศไทยอย่างเป็นระบบรัฐบาล ขณะเดียวกัน ควรจัดให้มีการประชาัสัมพันธ์และเปิดพื้นที่ให้มีการเผยแพร่ภาพเด็กหายในสื่อที่รัฐกำกับดูแบอย่างทั่วถึง ต่อเนื่อง และรัฐบาลควรพิจารณาปรับปรุงแก้ไขระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดีลักษณะคนหายพลัดหลง และผลักดันให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการติดตามคนหายในประเทศไทย

ด้านนายกมล ทองชุม พ่อของเด็กหญิงจีรภัทร ทองชุม หรือน้องจีจี้ อายุ 11 ปี ที่หายตัวไปตั้งแต่ 3 ปีก่อน และจนบัดนี้ยังไม่สามารถติดตามตัวเจอ เรียกร้องให้ตำรวจให้ความสำคัญต่อการติดตามคนหายอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

ด้าน พล.ต.อ.จรัมพรกล่าวว่า ควรมีการจัดตั้งศูนย์คนหายอย่างเป็นรูปธรรม โดยระบุว่าขณะนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการคนหายและศพนิรนาม เพื่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการติดตามคนหาย บุคคลนิรนาม และพิสูจน์ทราบศพนิรนาม และสายด่วน 1599 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้ประชาชนรู้สึกอุ่นใจ เกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น แต่ต้องขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการสอดส่องดูแล ตั้งแต่ระดับครอบครัว และหลังจากนี้ตำรวจจะดำเนินการมาตรการต่างๆ อย่างเข้มข้นมากขึ้น พร้อมระบุว่าได้มีการกำชับตำรวจทุกพื้นที่รับแจ้งความทันทีในกรณีคนหาย โดยตำรวจอยู่ระหว่างการจัดทำ application “missing person” เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ข้อมูลคนหายให้เข้าถึงประชาชนมากขึ้น








กำลังโหลดความคิดเห็น