xs
xsm
sm
md
lg

กรมบังคับคดีเตรียมเสนอแก้กฎกระทรวงต่อ ครม.

เผยแพร่:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม

กรมบังคับคดีเตรียมเสนอแก้กฏกระทรวงฉบับที่3
กรมบังคับคดี ชงแก้กฎกระทรวงฉบับที่ 3 ต่อ ครม.เพิ่มความคล่องตัว และความยุติธรรมในการขายทรัพย์ทอดตลาด
          
          ที่โรมแรมดุสิต รีสอร์ท พัทยา เมื่อเวลา 15.00 น. วานนี้ (15 พ.ย.) นายอรรถ อรรถานนท์ รองอธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวถึงกรณีที่กรมบังคับคดีเตรียมเสนอแก้กฎกระทรวงฉบับที่ 3 ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อสร้างความคล่องตัว และความยุติธรรมในการขายทรัพย์ ว่า กรมบังคับคดีเตรียมเสนอแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการทอดตลาด พ.ศ.2554 เพื่อเสริมสร้างความคล่องในการขายทรัพย์ และสร้างความเป็นธรรมในกระบวนการขายทอดตลาด คือ1.ปรับปรุงการวางหลักประกัน โดยกำหนดให้ผู้เสนอราคาต้องวางหลักประกันเป็นจำนวนร้อยละ5ของราคาเริ่มต้นของการประเมิน โดยกำหนดจำนวนหลักทรัพย์ให้เท่ากันในแต่ละช่วงของราคาประเมินตามแนวทางเดิม ก่อนมีผลบังคับใช้ของกฎกระทรวง (ฉบับแรก) เช่น ราคาประเมินทรัพย์ไม่เกิน 500,000 บาท วางหลักประกัน 50,000 บาท และหากผู้เสนอราคาสูงสุดไม่ชำระเงินที่เหลือจากราคาประมูล ให้กำหนดหลักประกันพิเศษตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด 2.ปรับปรุงคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ด้วยการกำหนดให้มีการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ไม่มีสิทธิเข้าเสนอราคา (Blacklist) โดยให้วางหลักประกันเป็นขั้นบันได และเพิ่มเงินประกันมากกว่าร้อยละ 5 เพื่อป้องกันปัญหาการประวิงคดี เนื่องจากการผู้เข้าซื้อทรัพย์ที่ขอขยายเวลาชำระหนี้ แต่ต่อมาทิ้งเงินค่ามัดจำไม่ชำระราคาในส่วนที่เหลือ เพราะต้องการประวิงการบังคับคดีให้เนิ่นช้าออกไป ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ตามคำพิพากษา และผู้มีส่วนได้เสียอื่นได้รับความเสียหาย สำหรับการไม่ชำระในส่วนที่เหลือ หรือมัดจำไว้แล้วปล่อยทิ้งมีอยู่ 3 กรณี 1) จงใจที่จะทิ้ง หรือมีกลุ่มคนรับจ้างซื้อทิ้ง 2) ซื้อเพื่อขายเอากำไรแต่บางที่เมื่อซื้อไปแล้วขายไม่ได้จึงไม่มีเงินมาชำระในส่วนที่เหลือจึงทิ้ง และ 3) ตั้งใจซื้อ แต่ไม่สามารถขอสินเชื่อได้ และ 3.ปรับปรุงระยะเวลากรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจอนุญาตให้เลื่อนการชำระราคาส่วนที่เหลือได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนดจากเดิม 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 3 เดือน เป็น “ไม่เกินสามเดือน”
          
          รองอธิบดี กล่าวอีกว่า สำหรับการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงในครั้งนี้ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการขายทอดทรัพย์ และสร้างความเป็นธรรมในกระบวนการขายทอดตลาด เช่น กรณีเจ้าของเข้ามาประมูลทรัพย์เพื่อต้องการประวิงคดีไม่ต้องการให้ทรัพย์ถูกขายทอดตลาด เมื่อประมูลได้ก็จะทิ้งเงินมัดจำไม่ชำระในส่วนที่เหลือ ส่งผลให้ไม่สามารถขายทรัพย์นั้นได้ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องทำบัญชีรายชื่อบุคคลเหล่านี้ไว้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำ หรือการเพิ่มวงเงินหลักประกันให้สูงขึ้น 

นายอรรถ อรรถานนท์(คนกลาง) รองอธิบดีกรมบังคับคดี
กำลังโหลดความคิดเห็น