xs
xsm
sm
md
lg

“อดุลย์” วางแผน ศอ.รส. สั่งคุ้มกันเข้ม “ทำเนียบ-สภาฯ” รับมือม็อบยกระดับไล่รัฐบาล

เผยแพร่:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม

(แฟ้มภาพ)พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร.ในฐานะ ผอ.ศอ.รส.
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ผบ.ตร.โยนเผือกร้อนตั้ง “แจ๊ด” เป็น ผอ.กองกำลังรักษาความสงบ (กกล.รส.) ระดมตำรวจ บช.น.-ผบช.ภ.1-7 จำนวน 49 กองร้อย คุมเข้มทำเนียบรัฐบาล-รัฐสภา ตลอดจนถึงบ้าน “ยิ่งลักษณ์” พร้อมสั่งตั้งด่านตำรวจเข้มรอบกรุง จำนวน 19 จุด!

วันนี้ (7 พ.ย.) พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ในฐานะ ผอ.ศอ.รส. ได้มอบหมาย พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) เป็น ผอ.กองกำลังรักษาความสงบ (กกล.รส.) โดยใช้กองกำลังตำรวจ 49 กองร้อย (7,595 นาย) แบ่งเป็นปฏิบัติการในพื้นที่ 46 กองร้อย (6,900 นาย) เตรียมพร้อม ณ ที่ตั้ง 3 กองร้อย (450 นาย) โดยใช้กองกำลังผสมผสมทั้งจาก บช.น. และ บช.ภ.1-7

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามแผนของ กกล.รส.ได้แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้

- ศูนย์ป้องกันทำเนียบรัฐบาล มีกำลัง 20 กองร้อย (3,000 นาย) ควบคุมโดย พล.ต.ต.สุธีร์ เนรกัณฐี รอง ผบช.น.

- ศูนย์ป้องกันรัฐสภา มีกำลัง 19 กองร้อย (2,850 นาย) ควบคุมโดย พล.ต.ต.ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ รอง ผบช.น.

- ที่ทำการบ้านพิษณุโลก 2 กองร้อย (300 นาย) ควบคุมโดย พล.ต.ต.ชาญเทพ เสสะเวช รอง ผบช.น.

- ที่ทำการโยธินพัฒนา (บ้านพักนายกฯ) 5 กองร้อย (750 นาย) ควบคุมโดย พล.ต.ต.นิพนธ์ เจริญผล รอง ผบช.น.

นอกจากนี้ ยังประกอบด้วย ชุดเคลื่อนที่เร็ว / ชุดอำนวยความสะดวกด้านจราจร

แผนได้กำหนดจุดเฝ้าระวังรวม 15 จุด

- บ้านพัก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี.และ รมว.กลาโหม ใช้กำลังตำรวจจาก บก.อคฝ.บช.น. / บก.ภ.จว.เชียงใหม่ / บก.ภ.จว.แพร่ / บก.ภ.จว.บึงกาฬ / บก.ตชด.

ป้องกันการจู่โจมทำเนียบฯ - รัฐสภา ประกอบด้วย 1. บริเวณรัฐสภา ใช้กำลัง บก.อคฝ. / บก.ป. 2. แยกราชวิถี ใช้กำลัง บก.น.8 / บก.ภ.จว.เลย / บก.ภ.จว.อ่างทอง 3. แยกขัตติยานี ใช้กำลัง บก.น.2 / บก.ภ.จว.ปราจีนบุรี / บก.ภ.จว.ชัยภูมิ 4. แยกการเรือน ใช้กำลัง บก.น.4 / บก.น.1 / บก.ภ.จว.สิงห์บุรี / บก.ภ.จว.เพชรบูรณ์ 5. โค้ง ปตท. ลานพระบรมรูปฯ ใช้กำลัง บก.น.1 / บก.ภ.จว.ยโสธร / บก.ภ.จว.ร้อยเอ็ด 6. แยก พล. 1 รอ. ใช้กำลัง บก.ภ.จว.บุรีรัมย์ 7. แยกวัดเบญจฯ ใช้กำลัง บก.น.7 / บก.ภ.จว.พิจิตร / บก.ภ.จว.อุดรธานี 8. ทำเนียบฯ ใช้กำลัง บก.อคฝ. / ตชด. / บก.ภ.จว.นครพนม

9. สะพานชมัยมรุเชฐ ใช้กำลัง บก.น.9 / บก.ภ.จว.ชัยนาท / บก.ภ.จว.อุทัยธานี / บก.ภ.จว.ลพบุรี 10. สะพานอรทัย ใช้กำลัง บก.น.3 / บก.ภ.จว.สระแก้ว 11. แยกสวนมิกสกวัน ใช้กำลัง บก.ภ.จว.อยุธยา / บก.ภ.จว.ขอนแก่น 12. แยกวังแดง ใช้กำลัง บก.น.5 / บก.ภ.จว.นครราชสีมา / บก.ภ.จว.หนองบัวลำพู 13. แยกมัฆวานฯ ใช้กำลัง บก.น.6 / บก.ภ.จว.อุตรดิตถ์ / บก.ภ.จว.นครสวรรค์ / บก.ภ.จว.ชลบุรี / บก.ภ.จว.ฉะเชิงเทรา / บก.ภ.จว.สระบุรี / บก.ภ.จว.ลำพูน / บก.ภ.จว.พะเยา / บก.ภ.จว.หนองคาย 14. บ้านพิษณุโลก ใช้กำลัง บก.ภ.จว.มหาสารคาม / บก.ภ.จว.สกลนคร

แนวทางเฝ้าระวังในพื้นที่ กทม. มีคำสั่งตั้งด่านในช่วงกลางคืนของทุกคืน รวม 19 จุด แบ่งออกเป็น รอบนอก / ชั้นกลาง / ชั้นใน พร้อมเตรียมชุดเก็บกู้วัตถุระเบิด (EOD) 191 อีก 1ชุด
(แฟ้มภาพ)พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบช.น.ในฐานะ ผอ.กกล.รส.
กำลังโหลดความคิดเห็น