ดีเอสไอออกหมายจับ 2 คนไทย และชาวไนจีเรียอีก 3 ราย แก๊งตุ๋นหญิงสาวให้โอนเงินให้ ระบุมีผู้เสียหายกว่า 20 ราย มูลค่าความเสียหายทั้งสิ้นกว่า 60 ล้านบาท พร้อมเตือนภัยประชาชน ระวังโดนมิจฉาชีพหลอกทาง Facebook
เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 18 ก.ย. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ พร้อมด้วย พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน ร.ต.อ.เขตรัฐ ชาญศิลป์ ผอ.ศปอ.และ นายวสวัต ชวลิตธำรง ผอ.ศปพ.ภ.1 เปิดเผยถึงพฤติกรรมของกลุ่มมิจฉาชีพชาวไนจีเรีย ที่มักแสดงตัวเป็นชาวยุโรปสัญชาติอังกฤษ ผิวขาว หน้าตาดี โดยใช้โปรแกรมสังคมออนไลน์ ที่ได้รับความนิยมสูงในขณะนี้คือ Facebook หลอกเหยื่อที่เป็นหญิงสาวให้โอนเงินให้โดยใช้อุบายต่างๆ จนเหยื่อหลงเชื่อโอนเงิน
พ.ต.ท.ญาณพล กล่าวว่า ดีเอสไอ ร่วมกับสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ ดีเอสไอ ทำการสืบสวนสอบสวนกรณี ชาวต่างชาติใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์หลอกชาวไทยและขอแจ้งเตือนให้ประชาชนระวังถูกหลอกทางสังคมออนไลน์ผ่านทางFacebook เบื้องต้นพบมีผู้เสียหายไม่น้อยกว่า 20 ราย ความเสียหายทั้งสิ้นกว่า 60 ล้านบาท ซึ่งพฤติกรรมของมิจฉาชีพชาวไนจีเรียกลุ่มนี้ จะแสดงตัวเป็นชาวยุโรปสัญชาติอังกฤษ ผิวขาว หน้าตาดี โดยใช้โปรแกรมสังคมออนไลน์ Facebook ซึ่งกลุ่มมิจฉาชีพจะอ้างว่าเป็นคนอังกฤษมาประกอบธุรกิจต่างๆ ที่มาเลเซีย เช่น ธุรกิจน้ำมัน ปิโตรเคมี นักธุรกิจนำเข้าส่งออก และจะพยายามเข้ามาเป็นเพื่อนกับผู้เสียหายซึ่งผู้เสียหายทั้งหมดนั้นเป็นผู้หญิง จะใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร จะพูดคุยถึงการประกอบธุรกิจ พูดคุยถึงการลงทุน ลวงถามเหยื่อเพื่อประเมินสถานะทางเศรษฐกิจและการเงินของเหยื่อ มีการส่ง Passport ส่งเช็ค ส่งใบรับของ เพื่อพยายามชักจูงให้เหยื่อหลงเชื่อ และเมื่อเริ่มพูดคุยกันได้ระยะหนึ่งจนประเมินแล้วว่าเหยื่อเชื่อใจ ก็จะเริ่มออกอุบายว่า ประสบปัญหาในการทำธุรกิจ เช่น ไม่สามารถเบิกเงินได้ เช็คที่ออกมาในชื่อของตนตัวเลขผิด หรือเงินที่ได้รับมาไม่สามารถถอนได้ต้องมีการจ่ายเงินประกัน หรือต้องนำเงินไปใช้เปิดบัญชีธนาคาร และเสียภาษีก่อน หรือเจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล หรือชวนเหยื่อร่วมลงทุนในธุรกิจต่างๆ ขอให้เหยื่อช่วยโอนเงินให้ก่อนแล้วจะนำมาใช้ภายหลัง หรือบางครั้งบอกว่าเมื่อแก้ปัญหาเสร็จแล้วจะบินมาพบเหยื่อที่เมืองไทย ซึ่งเหยื่อหลายรายหลงเชื่อแล้วโอนเงินเข้าบัญชีที่ได้รับ แล้วโอนเงินให้ และอาจมีการโทรศัพท์คุยกับเหยื่อโดยใช้โทรศัพท์มือถือในประเทศมาเลเซีย
รองอธิบดีดีเอสไอ กล่าวอีกว่า เบื้องต้นพนักงานสอบสวนตรวจสอบแล้วพบว่ามีผู้เสียหายที่หลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพดังกล่าวไม่น้อยกว่า 20 ราย ความเสียหายทั้งสิ้นกว่า 60 ล้านบาท ทั้งนี้ ข้อมูลจากการสอบสวนพบว่ากลุ่มมิจฉาชีพทั้งหมดเป็นชาวไนจีเรีย มีถิ่นพักอาศัยในประเทศมาเลเซีย ร่วมกับคนไทย หลอกลวงคนไทย ใช้บัญชีของคนไทยที่เปิดกับธนาคารในประเทศไทยเป็นบัญชีให้เหยื่อโอนเงินเข้าบัญชี อย่างไรก็ตาม กลุ่มมิจาชีพดังกล่าวมีการแบ่งงานกันทำอย่างชัดเจน มีคนทำหน้าที่หาเหยื่อและติดต่อพูดคุยกับเหยื่อ คนทำหน้าที่หาบัญชี และคนทำหน้าที่กดเงิน ซึ่งปัจจุบันกลุ่มมิจฉาชีพเริ่มเปลี่ยนวิธีการโดยใช้บัญชีของคนต่างชาติ หรือคนมาเลเซีย ที่เปิดบัญชีกับธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ธนาคารซีไอเอ็มบี และธนาคารเวสต์เทอร์นยูเนี่ยน โดยบัญชีทั้ง 3 ธนาคาร จะเปิดในประเทศมาเลเซีย เพื่อให้ยากต่อการติดตามจากเจ้าหน้าที่ และเพื่อให้เหยื่อไว้วางใจว่าเป็นบัญชีของชาวต่างชาติจริง
ทั้งนี้ ดีเอสไอได้รับคดีนี้เป็นคดีพิเศษแล้ว โดยขณะนี้พนักงานอัยการให้ความเห็นชอบออกหมายจับคนไทย 2 คน และชาวไนจีเรีย 3 คนแล้ว ในข้อหากระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 “การปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์/ เผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม” และความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษจะไปขออนุมัติหมายจับจากศาลอาญาต่อไป จึงแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบ และอย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพดังกล่าว
เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 18 ก.ย. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ พร้อมด้วย พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน ร.ต.อ.เขตรัฐ ชาญศิลป์ ผอ.ศปอ.และ นายวสวัต ชวลิตธำรง ผอ.ศปพ.ภ.1 เปิดเผยถึงพฤติกรรมของกลุ่มมิจฉาชีพชาวไนจีเรีย ที่มักแสดงตัวเป็นชาวยุโรปสัญชาติอังกฤษ ผิวขาว หน้าตาดี โดยใช้โปรแกรมสังคมออนไลน์ ที่ได้รับความนิยมสูงในขณะนี้คือ Facebook หลอกเหยื่อที่เป็นหญิงสาวให้โอนเงินให้โดยใช้อุบายต่างๆ จนเหยื่อหลงเชื่อโอนเงิน
พ.ต.ท.ญาณพล กล่าวว่า ดีเอสไอ ร่วมกับสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ ดีเอสไอ ทำการสืบสวนสอบสวนกรณี ชาวต่างชาติใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์หลอกชาวไทยและขอแจ้งเตือนให้ประชาชนระวังถูกหลอกทางสังคมออนไลน์ผ่านทางFacebook เบื้องต้นพบมีผู้เสียหายไม่น้อยกว่า 20 ราย ความเสียหายทั้งสิ้นกว่า 60 ล้านบาท ซึ่งพฤติกรรมของมิจฉาชีพชาวไนจีเรียกลุ่มนี้ จะแสดงตัวเป็นชาวยุโรปสัญชาติอังกฤษ ผิวขาว หน้าตาดี โดยใช้โปรแกรมสังคมออนไลน์ Facebook ซึ่งกลุ่มมิจฉาชีพจะอ้างว่าเป็นคนอังกฤษมาประกอบธุรกิจต่างๆ ที่มาเลเซีย เช่น ธุรกิจน้ำมัน ปิโตรเคมี นักธุรกิจนำเข้าส่งออก และจะพยายามเข้ามาเป็นเพื่อนกับผู้เสียหายซึ่งผู้เสียหายทั้งหมดนั้นเป็นผู้หญิง จะใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร จะพูดคุยถึงการประกอบธุรกิจ พูดคุยถึงการลงทุน ลวงถามเหยื่อเพื่อประเมินสถานะทางเศรษฐกิจและการเงินของเหยื่อ มีการส่ง Passport ส่งเช็ค ส่งใบรับของ เพื่อพยายามชักจูงให้เหยื่อหลงเชื่อ และเมื่อเริ่มพูดคุยกันได้ระยะหนึ่งจนประเมินแล้วว่าเหยื่อเชื่อใจ ก็จะเริ่มออกอุบายว่า ประสบปัญหาในการทำธุรกิจ เช่น ไม่สามารถเบิกเงินได้ เช็คที่ออกมาในชื่อของตนตัวเลขผิด หรือเงินที่ได้รับมาไม่สามารถถอนได้ต้องมีการจ่ายเงินประกัน หรือต้องนำเงินไปใช้เปิดบัญชีธนาคาร และเสียภาษีก่อน หรือเจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล หรือชวนเหยื่อร่วมลงทุนในธุรกิจต่างๆ ขอให้เหยื่อช่วยโอนเงินให้ก่อนแล้วจะนำมาใช้ภายหลัง หรือบางครั้งบอกว่าเมื่อแก้ปัญหาเสร็จแล้วจะบินมาพบเหยื่อที่เมืองไทย ซึ่งเหยื่อหลายรายหลงเชื่อแล้วโอนเงินเข้าบัญชีที่ได้รับ แล้วโอนเงินให้ และอาจมีการโทรศัพท์คุยกับเหยื่อโดยใช้โทรศัพท์มือถือในประเทศมาเลเซีย
รองอธิบดีดีเอสไอ กล่าวอีกว่า เบื้องต้นพนักงานสอบสวนตรวจสอบแล้วพบว่ามีผู้เสียหายที่หลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพดังกล่าวไม่น้อยกว่า 20 ราย ความเสียหายทั้งสิ้นกว่า 60 ล้านบาท ทั้งนี้ ข้อมูลจากการสอบสวนพบว่ากลุ่มมิจฉาชีพทั้งหมดเป็นชาวไนจีเรีย มีถิ่นพักอาศัยในประเทศมาเลเซีย ร่วมกับคนไทย หลอกลวงคนไทย ใช้บัญชีของคนไทยที่เปิดกับธนาคารในประเทศไทยเป็นบัญชีให้เหยื่อโอนเงินเข้าบัญชี อย่างไรก็ตาม กลุ่มมิจาชีพดังกล่าวมีการแบ่งงานกันทำอย่างชัดเจน มีคนทำหน้าที่หาเหยื่อและติดต่อพูดคุยกับเหยื่อ คนทำหน้าที่หาบัญชี และคนทำหน้าที่กดเงิน ซึ่งปัจจุบันกลุ่มมิจฉาชีพเริ่มเปลี่ยนวิธีการโดยใช้บัญชีของคนต่างชาติ หรือคนมาเลเซีย ที่เปิดบัญชีกับธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ธนาคารซีไอเอ็มบี และธนาคารเวสต์เทอร์นยูเนี่ยน โดยบัญชีทั้ง 3 ธนาคาร จะเปิดในประเทศมาเลเซีย เพื่อให้ยากต่อการติดตามจากเจ้าหน้าที่ และเพื่อให้เหยื่อไว้วางใจว่าเป็นบัญชีของชาวต่างชาติจริง
ทั้งนี้ ดีเอสไอได้รับคดีนี้เป็นคดีพิเศษแล้ว โดยขณะนี้พนักงานอัยการให้ความเห็นชอบออกหมายจับคนไทย 2 คน และชาวไนจีเรีย 3 คนแล้ว ในข้อหากระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 “การปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์/ เผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม” และความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษจะไปขออนุมัติหมายจับจากศาลอาญาต่อไป จึงแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบ และอย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพดังกล่าว