xs
xsm
sm
md
lg

สตช.ประชุมร่วม 16 แบงก์วางมาตรการป้องกันโจรปล้นธนาคาร

เผยแพร่:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม

(แฟ้มภาพ) พล.ต.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร.
ผบ.ตร.ประชุมร่วม 16 แบงค์หาแนวทางป้องกันคนร้ายก่อเหตุประทุษร้ายต่อทรัพย์ธนาคาร หากประชาชนที่พบเห็นเหตุพฤติกรรมต้องสงสัยที่จะก่อให้เกิดอาชญากรรม แจ้ง 191 ได้ตลอดเวลา

ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) วันนี้ (22 ส.ค.) พล.ต.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร.เป็นประธาน ประชุมวางแผนมาตรการป้องกันคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์กับธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม รถขนส่งเงินธนาคาร โดยมี พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัต รอง ผบ.ตร. พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รอง ผบ.ตร. ตัวแทน 16 ธนาคาร ผู้บริหารของบริษัทรับจ้างขนส่งเงินสดธนาคาร จำนวน 6 บริษัทเข้าร่วมประชุม

พล.ต.อ.อดุลย์กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมทำความเข้าใจ และร่วมกันวางแผนกำหนดมาตรการป้องกันคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์กับธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม รถขนส่งเงินธนาคาร โดยขอความร่วมมือธนาคารกำหนดมาตรการป้องกันที่เหมาะสม และขอความร่วมมือศูนย์การค้าเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัย สังเกตรถและบุคคลต้องสงสัย ตลอดจนแนะนำการสังเกตตำหนิรูปพรรณต่างๆ

พล.ต.อ.อดุลย์กล่าวต่อว่า ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ตรวจสอบข้อมูลกลุ่มเสี่ยง บุคคลพ้นโทษอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และมีการตั้งจุดตรวจจุดสกัด ทำประวัติกลุ่มเสี่ยงเป็นข้อมูล โดยเน้นรถจักรยานยนต์ ที่ไม่ติดแผ่นป้ายและติดแผ่นป้ายทะเบียนปลอม ซึ่งมีการใช้ระบบข้อมูลและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยแจ้งเหตุด้วยความรวดเร็ว ประสานหลักฐานที่เป็นประโยชน์ เช่น ภาพ CCTV และสร้างความร่วมมือกับสื่อมวลชน เพื่อช่วยในการติดตามจับกุมผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี สำหรับประชาชนที่พบเห็นเหตุพฤติกรรมต้องสงสัยที่จะก่อให้เกิดอาชญากรรมในพื้นที่ต่างๆ หรือต้องการแจ้งเบาะแส ข้อร้องเรียนที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดูแลรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย สามารถแจ้งไปยังหมายเลขโทรศัพท์ 191 และสายด่วน 1599 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวด้วยว่า ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ตร.รวบรวมสถิติคดีพบว่ามีเหตุปล้นธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม รวม27คดี แต่ก็จับได้ 17คดี แต่เหตุเกิดเเยอะ พบว่าการก่อเหตุเป็นพฤติกรรมการก่อเหตุ และส่วนใหญ่เกิดในธนาคารที่ไม่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย วันนี้จึงเชิญตัวแทนธนาคารทุกแห่งมารับทราบสถานการณ์และวางมาตรการป้องกันร่วมกัน ธนาคารต้องมีระบบป้องกันมีรปภ. ระบบซีซีทีวี การกำหนดช่องทางเข้า-ออก และต้องมีระบบที่สามารถเชื่อมโยงแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รวดเร็ว เพื่อให้ตำรวจมีระบบการการสกัดกั้นที่รวดเร็ว ทั้งจำเป็นต้องขอความร่วมมือจากธนาคารเพราะการป้องกันอาชญากรรมที่ได้ผลภาคประชาชนต้องมีส่วนร่วม
กำลังโหลดความคิดเห็น