DSI บุกจับตัวการลักลอบค้าไม้พะยูงผิดกฎหมาย
ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เมื่อเวลา 14.30 น.วันที่ 10 ก.ค.นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ เปิดเผย ตนได้มอบหมายให้ศูนย์ปฏิบัติคดีพิเศษภาค 4 (ศปพ.ภ.4 ขอนแก่น) ดำเนินการร่วมกับ สภ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ เข้าจับกุมตัวผู้ต้องหาพร้อมรถยนต์บรรทุกและไม้พะยูงจำนวน 50 ท่อน โดยเมื่อวันที่ 14 ส.ค. 54 ดีเอสไอได้ทำการสืบสวนสอบสวนขยายผลถึงผู้อยู่เบื้องหลังและผู้ร่วมขบวนการ ซึ่งได้ผู้ต้องหาจำนวน 3 ราย คือ พ.ต.ท.ชวลิต พิมพ์บุญ (รอง ผกก.สภ.บึงกาฬ), ด.ต.สุระชัย บุญประสิทธิ์ และนายบุญนาจ สหชัย โดยแยกดำเนินการเป็นคดีพิเศษที่ 75/2555 ข้อหา ร่วมกันทำไม้ แปรรูปไม้ และมีไม้แปรรูปหวงห้าม (ไม้พะยูง) ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต มูลค่าความเสียหายกว่า 5 ล้านบาท ซึ่งตนในฐานะอธิบดีดีเอสไอมีความเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหา และพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ศปพ.ภ.4 จะส่งสำนวนพร้อมผู้ต้องหาทั้ง 3 ราย ให้พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษเพื่อพิจารณาส่งฟ้องต่อศาลต่อไป
นอกจากนี้ ศปพ.ภ.4 ขอนแก่น จะนำเสนอกรณีที่เจ้าหน้าที่ป่าไม้ได้ตรวจยึดและอายัดไม้พะยูงแปรรูป (มาจากไม้พะยูง 45 ต้น) โดยผิดกฎหมาย พร้อมรถบรรทุกพ่วง 22 ล้อ 2 คัน ขณะระหว่างการขนย้ายผ่าน อ.สมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 55 ต่อคณะกรรมการคดีพิเศษ เพื่อให้กรรมการคดีพิเศษมีมติรับไว้เป็นคดีพิเศษในเดือนนี้ด้วย ซึ่งคดีนี้มีมูลค่าความเสียหายประมาณ 20 ล้านบาท และมีเจ้าหน้าที่ของรัฐมีส่วนเกี่ยวข้องจำนวนมาก ซึ่งสืบสวนพบว่ามีการยึดและอายัดไว้ตรวจสอบก่อนหน้านี้ 2 ครั้ง คือ ที่ อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร และที่ อ.เมือง จ.นครพนม ทั้งนี้ เชื่อได้ว่าไม้พะยุงดังกล่าวนั้นได้มาจากการกระทำความผิดและเป็นการกระทำเพื่อการค้า เพราะต้องการที่จะส่งออกไปยัง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แต่ด่านศุลกากรนครพนมไม่อนุญาต จึงเปลี่ยนเส้นทางนำเข้ากรุงเทพมหานครด้วยการแปรรูปไม้และนำเคลื่อนย้ายผ่านเข้าไปในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ จึงถูกยึดและอายัดเป็นครั้งที่ 3 แต่ยังไม่มีการแจ้งความดำเนินคดีแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ในช่วงกลางเดือน ก.ค.นี้ ศปพ.ภ.4 ขอนแก่น ร่วมกับตำรวจตระเวนชายแดนจะเข้าดำเนินการตรวจสอบพื้นที่ป่าต้นน้ำภูย่าอู่ ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาตินายูง-น้ำโสม ต.คำด้วง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี เนื่องจากมีกลุ่มนายทุน ผู้มีอิทธิพลร่วมกับชาวบ้านบุกรุกแผ้วถางทำลายป่าเพื่อปลูกยางพารา ปาล์ม โดยมีข้าราชการเรียกรับผลประโยชน์และซื้อที่ดินเป็นอาณาบริเวณ 12 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีพื้นที่ป่าถูกบุกรุกทั้งสิ้นประมาณ 1,300ไร่ โดยพื้นที่ดังกล่าวไม่ได้อยู่ในเขตที่ได้รับการยกเว้นหรือผ่อนผันตามมติ ครม.และไม่อยู่ในพื้นที่ป่าที่จำแนกไว้เพื่อการเกษตรแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ศปพ.ภ.4 ขอนแก่น ได้ทำการตรวจสอบพิกัดเบื้องต้นโดยอาศัยเครื่องมือที่เรียกว่า dsi map จากพื้นที่ที่เจ้าหน้าที่ในหลายหน่วยงานร่วมกันทำการตรวจยึดไปแล้วกว่า 10 แปลง และพบว่าทุกแปลงที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาตินายูง-น้ำโสม อันเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ มาตรา 14 ซึ่งภายหลังจากการตรวจสอบพื้นดังกล่าวแล้วนั้น ทาง ศปพ.ภ.4 ขอนแก่นจะได้ประมวลสรุปข้อเท็จจริงเพื่อเสนอเป็นคดีพิเศษต่อไป
ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เมื่อเวลา 14.30 น.วันที่ 10 ก.ค.นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ เปิดเผย ตนได้มอบหมายให้ศูนย์ปฏิบัติคดีพิเศษภาค 4 (ศปพ.ภ.4 ขอนแก่น) ดำเนินการร่วมกับ สภ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ เข้าจับกุมตัวผู้ต้องหาพร้อมรถยนต์บรรทุกและไม้พะยูงจำนวน 50 ท่อน โดยเมื่อวันที่ 14 ส.ค. 54 ดีเอสไอได้ทำการสืบสวนสอบสวนขยายผลถึงผู้อยู่เบื้องหลังและผู้ร่วมขบวนการ ซึ่งได้ผู้ต้องหาจำนวน 3 ราย คือ พ.ต.ท.ชวลิต พิมพ์บุญ (รอง ผกก.สภ.บึงกาฬ), ด.ต.สุระชัย บุญประสิทธิ์ และนายบุญนาจ สหชัย โดยแยกดำเนินการเป็นคดีพิเศษที่ 75/2555 ข้อหา ร่วมกันทำไม้ แปรรูปไม้ และมีไม้แปรรูปหวงห้าม (ไม้พะยูง) ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต มูลค่าความเสียหายกว่า 5 ล้านบาท ซึ่งตนในฐานะอธิบดีดีเอสไอมีความเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหา และพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ศปพ.ภ.4 จะส่งสำนวนพร้อมผู้ต้องหาทั้ง 3 ราย ให้พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษเพื่อพิจารณาส่งฟ้องต่อศาลต่อไป
นอกจากนี้ ศปพ.ภ.4 ขอนแก่น จะนำเสนอกรณีที่เจ้าหน้าที่ป่าไม้ได้ตรวจยึดและอายัดไม้พะยูงแปรรูป (มาจากไม้พะยูง 45 ต้น) โดยผิดกฎหมาย พร้อมรถบรรทุกพ่วง 22 ล้อ 2 คัน ขณะระหว่างการขนย้ายผ่าน อ.สมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 55 ต่อคณะกรรมการคดีพิเศษ เพื่อให้กรรมการคดีพิเศษมีมติรับไว้เป็นคดีพิเศษในเดือนนี้ด้วย ซึ่งคดีนี้มีมูลค่าความเสียหายประมาณ 20 ล้านบาท และมีเจ้าหน้าที่ของรัฐมีส่วนเกี่ยวข้องจำนวนมาก ซึ่งสืบสวนพบว่ามีการยึดและอายัดไว้ตรวจสอบก่อนหน้านี้ 2 ครั้ง คือ ที่ อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร และที่ อ.เมือง จ.นครพนม ทั้งนี้ เชื่อได้ว่าไม้พะยุงดังกล่าวนั้นได้มาจากการกระทำความผิดและเป็นการกระทำเพื่อการค้า เพราะต้องการที่จะส่งออกไปยัง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แต่ด่านศุลกากรนครพนมไม่อนุญาต จึงเปลี่ยนเส้นทางนำเข้ากรุงเทพมหานครด้วยการแปรรูปไม้และนำเคลื่อนย้ายผ่านเข้าไปในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ จึงถูกยึดและอายัดเป็นครั้งที่ 3 แต่ยังไม่มีการแจ้งความดำเนินคดีแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ในช่วงกลางเดือน ก.ค.นี้ ศปพ.ภ.4 ขอนแก่น ร่วมกับตำรวจตระเวนชายแดนจะเข้าดำเนินการตรวจสอบพื้นที่ป่าต้นน้ำภูย่าอู่ ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาตินายูง-น้ำโสม ต.คำด้วง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี เนื่องจากมีกลุ่มนายทุน ผู้มีอิทธิพลร่วมกับชาวบ้านบุกรุกแผ้วถางทำลายป่าเพื่อปลูกยางพารา ปาล์ม โดยมีข้าราชการเรียกรับผลประโยชน์และซื้อที่ดินเป็นอาณาบริเวณ 12 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีพื้นที่ป่าถูกบุกรุกทั้งสิ้นประมาณ 1,300ไร่ โดยพื้นที่ดังกล่าวไม่ได้อยู่ในเขตที่ได้รับการยกเว้นหรือผ่อนผันตามมติ ครม.และไม่อยู่ในพื้นที่ป่าที่จำแนกไว้เพื่อการเกษตรแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ศปพ.ภ.4 ขอนแก่น ได้ทำการตรวจสอบพิกัดเบื้องต้นโดยอาศัยเครื่องมือที่เรียกว่า dsi map จากพื้นที่ที่เจ้าหน้าที่ในหลายหน่วยงานร่วมกันทำการตรวจยึดไปแล้วกว่า 10 แปลง และพบว่าทุกแปลงที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาตินายูง-น้ำโสม อันเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ มาตรา 14 ซึ่งภายหลังจากการตรวจสอบพื้นดังกล่าวแล้วนั้น ทาง ศปพ.ภ.4 ขอนแก่นจะได้ประมวลสรุปข้อเท็จจริงเพื่อเสนอเป็นคดีพิเศษต่อไป