ม็อบ “กวป.” ยื่นหนังสือให้ ก.ต.ตั้งคณะกรรมการสอบวินัย 3 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แต่ยื่นผิดหน่วยงาน ก.ต.ระบุไม่อยู่ในอำนาจ โว ล่า 1 ล้านรายชื่อเดินหน้าถอดถอน ตุลาการศาล รธน.
วันนี้ (14 พ.ค.) ที่ สำนักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ศูนย์ราชการ ถ.แจ้งวัฒนะ นายมาลัยรักษ์ ทองชัย หรือ “ศรรักษ์ มาลัยทอง” โฆษกกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือ กวป.พร้อมนายหนึ่งดิน วิมุตตินันท์ ทนายความ เดินทางไปยื่นคำร้องเพื่อให้ทาง ก.ต.ตั้งคณะกรรมการสอบสวนเรื่องวินัย กับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
นายหนึ่งดิน กล่าวว่า ได้มายื่นหนังสือขอให้ตรวจสอบวินัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 3 คน คือ นายจรัญ ภักดีธนากุล, นายจรูญ อินทจาร และนายสุพจน์ ไข่มุกต์ เนื่องจากกระทำการขัดต่อพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 ในมาตรา 57 ที่ระบุว่าข้าราชการตุลาการฯต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความระมัดระวัง มิให้เสียหายแก่ราชการ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม ข้าราชการตุลาการฯต้องไม่รายงานเท็จต่อข้าราชการตุลาการฯ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเหนือตนขึ้นไป การรายงานโดยปกปิดข้อความที่ควรต้องบอก ถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย และมาตรา 60 ข้าราชการตุลาการฯต้องรักษาชื่อเสียงมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว มาตรา 62 ข้าราชการตุลาการฯต้องถือและปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนและประเพณีปฏิบัติของทางราชการ และจริยธรรมของข้าราชการตุลาการฯตามที่ ก.ต.กำหนด
นายหนึ่งดิน วิมุตตินันท์ ทนายความ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายวินัยได้แจ้งว่า อำนาจในการพิจารณาโทษวินัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้น ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของ ก.ต.เพราะเป็นคนละส่วนกัน ตนจึงจะต้องกลับไปศึกษาหาข้อมูล และคาดว่าในวันพรุ่งนี้จะทำหนังสือสอบถามมาที่สำนักงาน ก.ต.เพื่อให้ความแน่ใจอีกครั้งว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้อยู่ในอำนาจพิจารณาของ ก.ต.และจะสอบถามด้วยว่าอยู่ในอำนาจของหน่วยงานไหน เพื่อที่จะเดินทางไปยื่นหนังสือได้ถูกต้อง
ขณะที่ นายศรรักษ์ มาลัยทอง โฆษกกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือ กวป.กล่าวว่า ในวันที่ 25 พ.ค.นี้ ตนจะไปจัดเวทีใหญ่ที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อล่ารายชื่อประชาชนให้ครบ 1 ล้านรายชื่อ และนำไปยื่นถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งขณะนี้รวบรวมรายชื่อได้แล้วประมาณ 2 แสนคน หลังจากนั้นก็จะไปจัดเวทีที่จังหวัดจันทบุรี อีกต่อไป ทั้งนี้ยืนยันว่า กวป.จะกลับมาชุมนุมใหม่อีกครั้งช่วงกลางเดือน ก.ค.นี้หากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญยังไม่เสียสละด้วยการลาออก การชุมนุมครั้งหน้าจะเป็นการชุมนุมที่แตกหักโดยประชาชนจะไล่ออกไปเลย ส่วนกรณีที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญแจ้งความดำเนินคดีกลุ่ม กวป.นั้น ยืนยันว่าไม่รู้สึกกังวล และพร้อมที่จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม แต่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยเช่นกัน
ด้านนายสราวุธ เบญจกุล รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม กล่าวถึงกรณีที่ตัวแทนกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) เดินทางมายื่นหนังสือเพื่อให้พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการฯว่า เมื่อช่วงบ่าย มีตัวแทน กวป.มายื่นหนังสือเรียนถึงนายไพโรจน์ วายุภาพ ประธานศาลฎีกา ที่ลงวันที่ 8 พ.ค.2556 ให้พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงกับนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ, นายจรัญ ภักดีธนากุล, นายจรูญ อินทจาร และ นายสุพจน์ ไข่มุกด์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยกล่าวถึงพฤติการณ์อ้างว่า ประพฤติตนในฐานะตุลาการฯด้วยความไม่ซื่อสัตย์ที่กระทำผิดทั้งบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และประมวลกฎหมายอาญา รวมทั้งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 ในการรับเรื่องที่กลุ่ม ส.ว.คัดค้านแก้รัฐธรรมนูญ
นายสราวุธ รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ดีเมื่อได้พิจารณาสาระในหนังสือที่ยื่นมาแล้ว ก็ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่แจ้งตัวแทน กวป.ผู้ร้อง ให้ทราบว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวอดีตเคยเป็นข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม แต่ปัจจุบันได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่พ้นจากอำนาจของศาลยุติธรรมในการพิจารณาเรื่องสอบสวน กรณีจึงไม่อยู่ในอำนาจที่จะพิจารณาดำเนินการได้ โดยที่ กวป.มายื่นเรื่องดังกล่าวคิดว่าน่าจะเป็นความเข้าใจผิด แต่เมื่อได้ชี้แจงข้อเท็จจริงและอำนาจไปแล้ว ทางตัวแทน กวป.จึงรับหนังสือร้องเรียนดังกล่าวกลับไป
วันนี้ (14 พ.ค.) ที่ สำนักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ศูนย์ราชการ ถ.แจ้งวัฒนะ นายมาลัยรักษ์ ทองชัย หรือ “ศรรักษ์ มาลัยทอง” โฆษกกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือ กวป.พร้อมนายหนึ่งดิน วิมุตตินันท์ ทนายความ เดินทางไปยื่นคำร้องเพื่อให้ทาง ก.ต.ตั้งคณะกรรมการสอบสวนเรื่องวินัย กับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
นายหนึ่งดิน กล่าวว่า ได้มายื่นหนังสือขอให้ตรวจสอบวินัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 3 คน คือ นายจรัญ ภักดีธนากุล, นายจรูญ อินทจาร และนายสุพจน์ ไข่มุกต์ เนื่องจากกระทำการขัดต่อพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 ในมาตรา 57 ที่ระบุว่าข้าราชการตุลาการฯต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความระมัดระวัง มิให้เสียหายแก่ราชการ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม ข้าราชการตุลาการฯต้องไม่รายงานเท็จต่อข้าราชการตุลาการฯ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเหนือตนขึ้นไป การรายงานโดยปกปิดข้อความที่ควรต้องบอก ถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย และมาตรา 60 ข้าราชการตุลาการฯต้องรักษาชื่อเสียงมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว มาตรา 62 ข้าราชการตุลาการฯต้องถือและปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนและประเพณีปฏิบัติของทางราชการ และจริยธรรมของข้าราชการตุลาการฯตามที่ ก.ต.กำหนด
นายหนึ่งดิน วิมุตตินันท์ ทนายความ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายวินัยได้แจ้งว่า อำนาจในการพิจารณาโทษวินัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้น ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของ ก.ต.เพราะเป็นคนละส่วนกัน ตนจึงจะต้องกลับไปศึกษาหาข้อมูล และคาดว่าในวันพรุ่งนี้จะทำหนังสือสอบถามมาที่สำนักงาน ก.ต.เพื่อให้ความแน่ใจอีกครั้งว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้อยู่ในอำนาจพิจารณาของ ก.ต.และจะสอบถามด้วยว่าอยู่ในอำนาจของหน่วยงานไหน เพื่อที่จะเดินทางไปยื่นหนังสือได้ถูกต้อง
ขณะที่ นายศรรักษ์ มาลัยทอง โฆษกกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือ กวป.กล่าวว่า ในวันที่ 25 พ.ค.นี้ ตนจะไปจัดเวทีใหญ่ที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อล่ารายชื่อประชาชนให้ครบ 1 ล้านรายชื่อ และนำไปยื่นถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งขณะนี้รวบรวมรายชื่อได้แล้วประมาณ 2 แสนคน หลังจากนั้นก็จะไปจัดเวทีที่จังหวัดจันทบุรี อีกต่อไป ทั้งนี้ยืนยันว่า กวป.จะกลับมาชุมนุมใหม่อีกครั้งช่วงกลางเดือน ก.ค.นี้หากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญยังไม่เสียสละด้วยการลาออก การชุมนุมครั้งหน้าจะเป็นการชุมนุมที่แตกหักโดยประชาชนจะไล่ออกไปเลย ส่วนกรณีที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญแจ้งความดำเนินคดีกลุ่ม กวป.นั้น ยืนยันว่าไม่รู้สึกกังวล และพร้อมที่จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม แต่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยเช่นกัน
ด้านนายสราวุธ เบญจกุล รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม กล่าวถึงกรณีที่ตัวแทนกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) เดินทางมายื่นหนังสือเพื่อให้พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการฯว่า เมื่อช่วงบ่าย มีตัวแทน กวป.มายื่นหนังสือเรียนถึงนายไพโรจน์ วายุภาพ ประธานศาลฎีกา ที่ลงวันที่ 8 พ.ค.2556 ให้พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงกับนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ, นายจรัญ ภักดีธนากุล, นายจรูญ อินทจาร และ นายสุพจน์ ไข่มุกด์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยกล่าวถึงพฤติการณ์อ้างว่า ประพฤติตนในฐานะตุลาการฯด้วยความไม่ซื่อสัตย์ที่กระทำผิดทั้งบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และประมวลกฎหมายอาญา รวมทั้งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 ในการรับเรื่องที่กลุ่ม ส.ว.คัดค้านแก้รัฐธรรมนูญ
นายสราวุธ รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ดีเมื่อได้พิจารณาสาระในหนังสือที่ยื่นมาแล้ว ก็ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่แจ้งตัวแทน กวป.ผู้ร้อง ให้ทราบว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวอดีตเคยเป็นข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม แต่ปัจจุบันได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่พ้นจากอำนาจของศาลยุติธรรมในการพิจารณาเรื่องสอบสวน กรณีจึงไม่อยู่ในอำนาจที่จะพิจารณาดำเนินการได้ โดยที่ กวป.มายื่นเรื่องดังกล่าวคิดว่าน่าจะเป็นความเข้าใจผิด แต่เมื่อได้ชี้แจงข้อเท็จจริงและอำนาจไปแล้ว ทางตัวแทน กวป.จึงรับหนังสือร้องเรียนดังกล่าวกลับไป