เมื่อไม่กี่วันมานี้...ผมเดินผ่านสาวๆ กลุ่มหนึ่งซึ่งกำลังนั่งเลือกเครื่องสำอางกันอยู่ตามสโลแกนผู้หญิงอย่าหยุดสวย... ผมจึงเห็นภาพคุณตุ๊กกี้ขึ้นปกเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับเครื่องสำอางยี่ห้อหนึ่ง เทียบชั้นนางเอกแถวหน้า ทำให้ผมอมยิ้มและนึกชื่นชมคุณตุ๊กกี้ที่ประสบความสำเร็จจากความสามารถและความมีเอกลักษณ์ของตัวเอง เพราะยุคสมัยนี้เรามักจะได้ยินคำพูดที่ติดปากเหล่าบรรดาสาวน้อยสาวใหญ่ว่า “สวยเลือกได้”
แม่หญิงทั้งหลาย ทั้งแท้และเทียม จึงพากันตบเท้าเข้าคลินิกศัลยกรรมเสริมความงามจนกลายเป็นกระแสความนิยมอย่างมากอยู่ในปัจจุบัน ล่าสุดสมาคมศัลยกรรมเสริมความงามนานาชาติได้เผยผลสำรวจว่าประเทศไทยทำศัลยกรรมมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลกทีเดียวครับ...
ที่จริงผมไม่ได้ต่อต้านเรื่องการทำศัลยกรรมนะครับ เพราะส่วนหนึ่งก็เป็นเรื่องของการเสริมบุคลิกภาพหรือโหงวเฮ้งและเพิ่มความมั่นใจให้แก่ตนเอง เพียงแต่ควรพิจารณาให้รอบคอบและทำด้วยความพอดี แต่ปัจจุบันกระแสสังคมได้ให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวมากเกินไป จนละเลยความงามภายในจิตใจที่สำคัญมากกว่ารูปลักษณ์ภายนอก ที่สุดท้ายก็ฝืนธรรมชาติไปไม่ได้ แถมบางคนโชคร้ายทำศัลยกรรมแล้วเกิดปัญหาเรื้อรังแก้ไม่ตก บางรายถึงขั้นเสียชีวิตก็มี...
เรื่องเล่าดีดีจากคดีปกครองในวันนี้... ผมจึงขอนำกรณีพิพาทเกี่ยวกับบทบาทและอำนาจหน้าที่ของ
แพทยสภาในการควบคุมดูแลสถานพยาบาลซึ่งรวมถึงคลินิกศัลยกรรมมาฝากครับ
โดยคดีนี้แพทย์ท่านหนึ่งได้ยื่นฟ้องแพทยสภาต่อศาลปกครองว่าคำสั่งที่ลงโทษว่ากล่าวตักเตือนการดำเนินกิจการสถานพยาบาลของตนไม่ชอบด้วยกฎหมาย สืบเนื่องมาจากได้มี ส.ส. ท่านหนึ่งส่งหนังสือร้องเรียนของ น.ส.แก้ม ถึงเลขาธิการแพทยสภา เพื่อขอให้ตรวจสอบการเปิดคลินิกศัลยกรรมของผู้ฟ้องคดีที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากผู้ฟ้องคดีได้เคยเปิดคลินิกทำศัลยกรรมที่ต่างจังหวัดมาแล้ว โดยได้ทำการดูดไขมันนางกิ่งจนเสียชีวิตและได้ถูกสั่งปิดระหว่างรอผลการพิจารณาของแพทยสภา พร้อมกับได้แนบวารสารที่มีภาพโฆษณาเชิญชวนทำศัลยกรรมดวงตาที่คลินิกของผู้ฟ้องคดีในกรุงเทพมหานครมาด้วย เรื่องนี้จึงเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบของคณะกรรมการแพทยสภา
คณะอนุกรรมการสอบสวนฯ ได้ตรวจสอบพยานหลักฐานต่างๆ แล้วเห็นว่าผู้ฟ้องคดีกระทำผิดตามข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2526 (หมวด 7 ข้อ 2) กล่าวคือ โฆษณาสถานพยาบาลในทำนองโอ้อวดการประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือกิจการอื่นของสถานพยาบาลเกินกว่าที่เป็นจริง เนื่องจากได้มีการลงภาพโฆษณาดวงตาจำนวน 26 ภาพ ที่เป็นการเปรียบเทียบลักษณะดวงตาก่อนและหลังทำศัลยกรรม โดยที่มิได้ระบุข้อความที่แสดงข้อเท็จจริงทางวิชาการใดๆ หรือคำเตือน ซึ่งอาจทำให้ผู้พบเห็นทั่วไปที่ไม่มีความรู้ทางการแพทย์คาดหวังว่าเมื่อตนไปใช้บริการคลินิกของ
ผู้ฟ้องคดีแล้วจะได้ผลออกมาดังภาพที่ปรากฏ แพทยสภาจึงมีคำสั่งลงโทษว่ากล่าวตักเตือนผู้ฟ้องคดี
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งลงโทษดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงนำเรื่องมาฟ้องต่อศาลปกครอง โดยมีข้อโต้แย้งว่าแพทยสภา (ผู้ถูกฟ้องคดี) ได้มีคำสั่งลงโทษเกินกว่าเรื่องที่ร้องเรียน เนื่องจาก น.ส.แก้ม ต้องการให้ตรวจสอบว่าผู้ฟ้องคดีมีสิทธิเปิดคลินิกที่กรุงเทพมหานครหรือไม่ เนื่องจากผู้ฟ้องคดีได้เคยเปิดคลินิกที่ต่างจังหวัดและได้ถูกสั่งปิดไป โดยได้แนบเอกสารการโฆษณาซึ่งมีชื่อและที่อยู่คลินิกของผู้ฟ้องคดีที่กรุงเทพมหานครมาด้วย ซึ่งแพทย์คนหนึ่งสามารถได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการสถานพยาบาลถึงสองแห่งได้และคลินิกของผู้ฟ้องคดีที่กรุงเทพมหานครก็ได้ขออนุญาตอย่างถูกต้อง แต่แพทยสภากลับมีคำสั่งลงโทษผู้ฟ้องคดีด้วยเหตุว่าภาพโฆษณาคลินิกของผู้ฟ้องคดีเข้าข่ายเป็นการโฆษณาสถานพยาบาลเกินความเป็นจริง ซึ่งแตกต่างจากประเด็นที่ได้มีการร้องเรียน อีกทั้งการจัดทำโฆษณาของคลินิกศัลยกรรมอื่นๆ ที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ ก็ล้วนแต่มิได้มีการระบุข้อความที่แสดงข้อเท็จจริงทางวิชาการหรือคำเตือนใดๆ เช่นกัน อันแสดงให้เห็นว่าดุลพินิจของแพทย์ทั้งหลายก็เห็นว่าการปฏิบัติเช่นนี้ไม่ได้ผิดต่อจริยธรรม
คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยวางหลักไว้ว่า มาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ได้บัญญัติให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
แพทยสภา แม้ผู้ฟ้องคดีจะได้รับอนุญาตให้เปิดคลินิกที่กรุงเทพมหานคร แต่ภาพโฆษณาการทำศัลยกรรมดวงตาของผู้ฟ้องคดีนั้น ทำให้เข้าใจได้ว่าหากทำศัลยกรรมกับคลินิกของผู้ฟ้องคดีจะทำให้มีดวงตาสวยงามเช่นที่ปรากฏในรูปภาพ ซึ่งผู้ฟ้องคดีมิได้ระบุข้อความเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงแต่อย่างใด ทั้งที่รูปภาพดังกล่าวไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นรูปภาพของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ และการทำศัลยกรรมก็ไม่อาจรับรองผลได้ว่าผู้ทำศัลยกรรมทุกคนจะมีดวงตาสวยงามดังรูปภาพ
กรณีจึงถือได้ว่าเป็นการโฆษณาหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาสถานพยาบาลโดยโอ้อวดกิจกรรมของสถานพยาบาล ทำให้ประชาชนเกิดความคาดหวังในสรรพคุณเกินความจริง อันขัดต่อข้อบังคับแพทยสภาฯ ซึ่งผู้ฟ้องคดีไม่อาจอ้างเหตุการฝ่าฝืนข้อบังคับแพทยสภาของบุคคลอื่นมาเป็นข้อยกเว้นมิให้ผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่งลงโทษแก่ผู้ฟ้องคดีในกรณีนี้ได้
ส่วนที่ผู้ฟ้องคดีโต้แย้งว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้พิจารณามีคำสั่งลงโทษผู้ฟ้องคดีเกินกว่าเรื่องที่ผู้ฟ้องคดีถูกร้องเรียนนั้น ศาลเห็นว่า เมื่อพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของแพทยสภาตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 จะเห็นได้ว่า แพทยสภาเป็นองค์กรวิชาชีพที่มีหน้าที่ควบคุมการประพฤติปฏิบัติของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้ถูกต้องตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม หากมีเรื่องร้องเรียนผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้ใด ก็เป็นหน้าที่ของแพทยสภาในการค้นหาความจริงและรวบรวมพยานหลักฐานว่าผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้นั้นประพฤติผิดข้อบังคับแพทยสภาฯ หรือไม่ อย่างไร ซึ่งการตรวจสอบของแพทยสภาไม่ได้จำกัดเฉพาะว่าต้องมีการร้องเรียนเท่านั้น ดังเช่นมาตรา 32 วรรคสาม ที่กำหนดให้ คณะกรรมการแพทยสภามีสิทธิกล่าวโทษ
ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเพื่อให้มีการสืบสวนหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมเองได้ เมื่อผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม จึงมีหน้าที่ปฏิบัติเกี่ยวกับสถานพยาบาลของตนให้อยู่ภายใต้ข้อบังคับของแพทยสภา ดังนั้น การที่แพทยสภามีคำสั่งลงโทษว่ากล่าวตักเตือนผู้ฟ้องคดี จึงเป็นการพิจารณาเรื่องร้องเรียนโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว (คดีหมายเลขแดงที่ อ.112/2553)
ผมว่า...แพทย์เป็นบุคคลที่ผู้ป่วยให้ความเชื่อถือและไว้วางใจ แพทย์จึงควรต้องระมัดระวังในการชักชวนและแนะนำต่อผู้ป่วยด้วยนะครับ จะคิดว่าผู้ป่วยสามารถใช้ดุลพินิจพิจารณาได้เอง คงมิได้ ! ซึ่งปัจจุบันยังมีคลินิกหลายแห่งที่มีการโฆษณาในทำนองเดียวกันนี้.... ว่าแล้ว ก็ของัดสุภาษิตอมตะที่ว่า “คนจะงามงามที่ใจใช่ใบหน้า คนจะสวยสวยจรรยาใช่ตาหวาน คนจะแก่แก่ความรู้ใช่อยู่นาน คนจะรวยรวยศีลทานใช่บ้านโต” และขอฝากแง่คิดปิดท้ายว่า...บางครั้งคนเราอาจเลือกที่จะเป็นคนสวยไม่ได้ แต่สามารถที่จะเป็นคน “ไม่สวยเลือกได้” ด้วยการสร้างคุณค่าให้กับตัวเอง งานนี้ผมจึงขอเลือกอยู่ข้างคุณตุ๊กกี้ครับ... ฮ่า ฮ่า
ครองธรรม ธรรมรัฐ
แม่หญิงทั้งหลาย ทั้งแท้และเทียม จึงพากันตบเท้าเข้าคลินิกศัลยกรรมเสริมความงามจนกลายเป็นกระแสความนิยมอย่างมากอยู่ในปัจจุบัน ล่าสุดสมาคมศัลยกรรมเสริมความงามนานาชาติได้เผยผลสำรวจว่าประเทศไทยทำศัลยกรรมมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลกทีเดียวครับ...
ที่จริงผมไม่ได้ต่อต้านเรื่องการทำศัลยกรรมนะครับ เพราะส่วนหนึ่งก็เป็นเรื่องของการเสริมบุคลิกภาพหรือโหงวเฮ้งและเพิ่มความมั่นใจให้แก่ตนเอง เพียงแต่ควรพิจารณาให้รอบคอบและทำด้วยความพอดี แต่ปัจจุบันกระแสสังคมได้ให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวมากเกินไป จนละเลยความงามภายในจิตใจที่สำคัญมากกว่ารูปลักษณ์ภายนอก ที่สุดท้ายก็ฝืนธรรมชาติไปไม่ได้ แถมบางคนโชคร้ายทำศัลยกรรมแล้วเกิดปัญหาเรื้อรังแก้ไม่ตก บางรายถึงขั้นเสียชีวิตก็มี...
เรื่องเล่าดีดีจากคดีปกครองในวันนี้... ผมจึงขอนำกรณีพิพาทเกี่ยวกับบทบาทและอำนาจหน้าที่ของ
แพทยสภาในการควบคุมดูแลสถานพยาบาลซึ่งรวมถึงคลินิกศัลยกรรมมาฝากครับ
โดยคดีนี้แพทย์ท่านหนึ่งได้ยื่นฟ้องแพทยสภาต่อศาลปกครองว่าคำสั่งที่ลงโทษว่ากล่าวตักเตือนการดำเนินกิจการสถานพยาบาลของตนไม่ชอบด้วยกฎหมาย สืบเนื่องมาจากได้มี ส.ส. ท่านหนึ่งส่งหนังสือร้องเรียนของ น.ส.แก้ม ถึงเลขาธิการแพทยสภา เพื่อขอให้ตรวจสอบการเปิดคลินิกศัลยกรรมของผู้ฟ้องคดีที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากผู้ฟ้องคดีได้เคยเปิดคลินิกทำศัลยกรรมที่ต่างจังหวัดมาแล้ว โดยได้ทำการดูดไขมันนางกิ่งจนเสียชีวิตและได้ถูกสั่งปิดระหว่างรอผลการพิจารณาของแพทยสภา พร้อมกับได้แนบวารสารที่มีภาพโฆษณาเชิญชวนทำศัลยกรรมดวงตาที่คลินิกของผู้ฟ้องคดีในกรุงเทพมหานครมาด้วย เรื่องนี้จึงเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบของคณะกรรมการแพทยสภา
คณะอนุกรรมการสอบสวนฯ ได้ตรวจสอบพยานหลักฐานต่างๆ แล้วเห็นว่าผู้ฟ้องคดีกระทำผิดตามข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2526 (หมวด 7 ข้อ 2) กล่าวคือ โฆษณาสถานพยาบาลในทำนองโอ้อวดการประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือกิจการอื่นของสถานพยาบาลเกินกว่าที่เป็นจริง เนื่องจากได้มีการลงภาพโฆษณาดวงตาจำนวน 26 ภาพ ที่เป็นการเปรียบเทียบลักษณะดวงตาก่อนและหลังทำศัลยกรรม โดยที่มิได้ระบุข้อความที่แสดงข้อเท็จจริงทางวิชาการใดๆ หรือคำเตือน ซึ่งอาจทำให้ผู้พบเห็นทั่วไปที่ไม่มีความรู้ทางการแพทย์คาดหวังว่าเมื่อตนไปใช้บริการคลินิกของ
ผู้ฟ้องคดีแล้วจะได้ผลออกมาดังภาพที่ปรากฏ แพทยสภาจึงมีคำสั่งลงโทษว่ากล่าวตักเตือนผู้ฟ้องคดี
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งลงโทษดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงนำเรื่องมาฟ้องต่อศาลปกครอง โดยมีข้อโต้แย้งว่าแพทยสภา (ผู้ถูกฟ้องคดี) ได้มีคำสั่งลงโทษเกินกว่าเรื่องที่ร้องเรียน เนื่องจาก น.ส.แก้ม ต้องการให้ตรวจสอบว่าผู้ฟ้องคดีมีสิทธิเปิดคลินิกที่กรุงเทพมหานครหรือไม่ เนื่องจากผู้ฟ้องคดีได้เคยเปิดคลินิกที่ต่างจังหวัดและได้ถูกสั่งปิดไป โดยได้แนบเอกสารการโฆษณาซึ่งมีชื่อและที่อยู่คลินิกของผู้ฟ้องคดีที่กรุงเทพมหานครมาด้วย ซึ่งแพทย์คนหนึ่งสามารถได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการสถานพยาบาลถึงสองแห่งได้และคลินิกของผู้ฟ้องคดีที่กรุงเทพมหานครก็ได้ขออนุญาตอย่างถูกต้อง แต่แพทยสภากลับมีคำสั่งลงโทษผู้ฟ้องคดีด้วยเหตุว่าภาพโฆษณาคลินิกของผู้ฟ้องคดีเข้าข่ายเป็นการโฆษณาสถานพยาบาลเกินความเป็นจริง ซึ่งแตกต่างจากประเด็นที่ได้มีการร้องเรียน อีกทั้งการจัดทำโฆษณาของคลินิกศัลยกรรมอื่นๆ ที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ ก็ล้วนแต่มิได้มีการระบุข้อความที่แสดงข้อเท็จจริงทางวิชาการหรือคำเตือนใดๆ เช่นกัน อันแสดงให้เห็นว่าดุลพินิจของแพทย์ทั้งหลายก็เห็นว่าการปฏิบัติเช่นนี้ไม่ได้ผิดต่อจริยธรรม
คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยวางหลักไว้ว่า มาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ได้บัญญัติให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
แพทยสภา แม้ผู้ฟ้องคดีจะได้รับอนุญาตให้เปิดคลินิกที่กรุงเทพมหานคร แต่ภาพโฆษณาการทำศัลยกรรมดวงตาของผู้ฟ้องคดีนั้น ทำให้เข้าใจได้ว่าหากทำศัลยกรรมกับคลินิกของผู้ฟ้องคดีจะทำให้มีดวงตาสวยงามเช่นที่ปรากฏในรูปภาพ ซึ่งผู้ฟ้องคดีมิได้ระบุข้อความเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงแต่อย่างใด ทั้งที่รูปภาพดังกล่าวไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นรูปภาพของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ และการทำศัลยกรรมก็ไม่อาจรับรองผลได้ว่าผู้ทำศัลยกรรมทุกคนจะมีดวงตาสวยงามดังรูปภาพ
กรณีจึงถือได้ว่าเป็นการโฆษณาหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาสถานพยาบาลโดยโอ้อวดกิจกรรมของสถานพยาบาล ทำให้ประชาชนเกิดความคาดหวังในสรรพคุณเกินความจริง อันขัดต่อข้อบังคับแพทยสภาฯ ซึ่งผู้ฟ้องคดีไม่อาจอ้างเหตุการฝ่าฝืนข้อบังคับแพทยสภาของบุคคลอื่นมาเป็นข้อยกเว้นมิให้ผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่งลงโทษแก่ผู้ฟ้องคดีในกรณีนี้ได้
ส่วนที่ผู้ฟ้องคดีโต้แย้งว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้พิจารณามีคำสั่งลงโทษผู้ฟ้องคดีเกินกว่าเรื่องที่ผู้ฟ้องคดีถูกร้องเรียนนั้น ศาลเห็นว่า เมื่อพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของแพทยสภาตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 จะเห็นได้ว่า แพทยสภาเป็นองค์กรวิชาชีพที่มีหน้าที่ควบคุมการประพฤติปฏิบัติของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้ถูกต้องตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม หากมีเรื่องร้องเรียนผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้ใด ก็เป็นหน้าที่ของแพทยสภาในการค้นหาความจริงและรวบรวมพยานหลักฐานว่าผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้นั้นประพฤติผิดข้อบังคับแพทยสภาฯ หรือไม่ อย่างไร ซึ่งการตรวจสอบของแพทยสภาไม่ได้จำกัดเฉพาะว่าต้องมีการร้องเรียนเท่านั้น ดังเช่นมาตรา 32 วรรคสาม ที่กำหนดให้ คณะกรรมการแพทยสภามีสิทธิกล่าวโทษ
ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเพื่อให้มีการสืบสวนหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมเองได้ เมื่อผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม จึงมีหน้าที่ปฏิบัติเกี่ยวกับสถานพยาบาลของตนให้อยู่ภายใต้ข้อบังคับของแพทยสภา ดังนั้น การที่แพทยสภามีคำสั่งลงโทษว่ากล่าวตักเตือนผู้ฟ้องคดี จึงเป็นการพิจารณาเรื่องร้องเรียนโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว (คดีหมายเลขแดงที่ อ.112/2553)
ผมว่า...แพทย์เป็นบุคคลที่ผู้ป่วยให้ความเชื่อถือและไว้วางใจ แพทย์จึงควรต้องระมัดระวังในการชักชวนและแนะนำต่อผู้ป่วยด้วยนะครับ จะคิดว่าผู้ป่วยสามารถใช้ดุลพินิจพิจารณาได้เอง คงมิได้ ! ซึ่งปัจจุบันยังมีคลินิกหลายแห่งที่มีการโฆษณาในทำนองเดียวกันนี้.... ว่าแล้ว ก็ของัดสุภาษิตอมตะที่ว่า “คนจะงามงามที่ใจใช่ใบหน้า คนจะสวยสวยจรรยาใช่ตาหวาน คนจะแก่แก่ความรู้ใช่อยู่นาน คนจะรวยรวยศีลทานใช่บ้านโต” และขอฝากแง่คิดปิดท้ายว่า...บางครั้งคนเราอาจเลือกที่จะเป็นคนสวยไม่ได้ แต่สามารถที่จะเป็นคน “ไม่สวยเลือกได้” ด้วยการสร้างคุณค่าให้กับตัวเอง งานนี้ผมจึงขอเลือกอยู่ข้างคุณตุ๊กกี้ครับ... ฮ่า ฮ่า
ครองธรรม ธรรมรัฐ