ทนายความศูนย์ประสานงานลูกหนี้แห่งชาติ ฟ้องสองผู้พิพากษาศาลอาญา ฐานไม่รับฟ้องคดีเดลินิวส์หมิ่นประมาท ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้สืบพยานในขั้นไต่สวนมูลฟ้องเลย แต่ด่วนวินิจฉัยว่าเป็นการติชมโดยสุจริต
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา ที่ศาลอาญา นายสุกิจ พูนศรีเกษม ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายธนฤทธิ์ โทวรรธนะ เป็นจำเลยที่ 1, นางสาวศศิธร ศรุติอังกูร ที่ 2 ต่อศาลอาญาตามคดีหมายเลขดำ ที่ อ.2318/2555 โดยสรุปตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ว่า เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2555 เวลากลางวันโจทก์ได้ยื่นฟ้องบริษัท สี่พระยาการพิมพ์ จำกัด เป็นจำเลยที่ 1, นางประภา เหตระกูล หรือศรีนวลนัด ที่ 2, นายสุเนตร์ แสงท้าว ที่ 3 ต่อศาลอาญาตามคดีหมายเลขดำ ที่ อ.1356/2555 ในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2555 เวลากลางวัน บริษัท สี่พระยาการพิมพ์ จำกัด กับพวกรวม 3 คน ร่วมกันใส่ความโจทก์ต่อผู้อ่านหนังสือพิมพ์เดลินิวส์รายวัน ว่านำชายฉกรรจ์ 200 คนมารื้อตลาดมูเซอให้เก็บข้าวของภายใน 24 ชั่วโมง ไม่อย่างนั้นจะโดนปรับวันละ 100,000 บาท เป็นเหตุให้นายสุเนตร์ แสงท้าว กับพวกประมาณ 40 คนไม่มีที่ขายของ ไม่มีที่พักพิง ต้องอาศัยอยู่บริเวณถนนนานกว่า 1 เดือน ข้อความที่บริษัท สี่พระยาการพิมพ์ จำกัด โดยบรรณาธิการผู้พิมพ์และโฆษณาควบคุมเนื้อหาหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ทำให้ผู้อ่านหนังสือพิมพ์รายวันเข้าใจว่าโจทก์เป็นคนไม่ดี เป็นนักเลง เป็นอันธพาล เป็นผู้มีอิทธิพล เป็นมาเฟีย นำสมัครพรรคพวก 200 คนรื้อตลาดโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง โดยบริษัท สี่พระยาการพิมพ์ จํากัด ที่ 1 ในฐานะเจ้าของหนังสือพิมพ์กับพวกรวมสามคน รู้อยู่แล้วว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด จึงต้องรับผิดชอบในผลแห่งการกระทำของนางประภา เหตระกูล ในฐานะบรรณาธิการผู้พิมพ์และโฆษณา และนายสุเนตร์ แสงท้าว ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ อีกทั้งข้อความที่ลงตีพิมพ์ลงในหน้าหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ บริษัท สี่พระยาการพิมพ์ จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์กับพวก ได้ยืนยันข้อเท็จจริงและใส่ความต่อโจทก์ต่อผู้อ่านหนังสือพิมพ์เดลินิวส์รายวันที่เผยแพร่ทั่วประเทศนั้น มิใช่เป็นการแสดงข้อความโดยสุจริต หรือติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นนิสัยของประชาชนอันพึงกระทำเพื่อความชอบธรรมป้องกันตน หรือป้องกันส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับตนตามทำนองคลองธรรม หรือในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์
ศาลอาญาได้พิจารณาคำฟ้องแล้ว มีคำสั่งนัดไต่สวนมูลฟ้องวันที่ 9 กรกฏาคม 2555 ต่อมาเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการได้บังอาจใช้ดุลพินิจโดยมิชอบในการวินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดีตามคำบรรยายฟ้องว่า คดีพอวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องสืบพยาน และยังใช้ดุลพินิจก้าวล่วงไปถึงข้อความได้สอบถามโจทก์อันเป็นการไต่สวนแล้วเห็นว่าข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ เดลินิวส์รายวัน ของบริษัท สี่พระยาการพิมพ์ จำกัดจำเลยที่ ๑ ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1356/2555 กับพวก เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตสามารถทำได้ คดีโจทก์ไม่มีมูล พิพากษายกฟ้องจึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
นายสุกิจ พูนศรีเกษม เปิดเผยว่า หากศาลได้ไต่สวนมูลฟ้องแล้วไม่รับฟ้องยังยอมรับสภาพได้ เพราะศาลจะมีคำวินิจฉัยซึ่งแสดงเหตุผลในการไม่รับฟ้อง แต่กรณีนี้ศาลไม่ยอมรับให้ไต่สวน ซึ่งตนคิดว่าไม่เป็นธรรม จึงต้องเรียกร้องความเป็นธรรม แม้ว่าจะเป็นการฟ้องผู้พิพากษาถึง 2 คน
สำหรับ นายสุกิจ เป็นทนายความในคดีที่ลูกหนี้ฟ้องผู้พิพากษาศาลล้มละลายกลางเนื่องจากเจ้าหนี้บริษัทบริหารสินทรัพย์แห่งหนึ่งซึ่งถือหุ้นโดยชาวต่างชาติทุจริตปลอมแปลงเอกสาร โดยเป็นทนายความให้กับบริษัท ฐมศร จำกัด ที่มอบอำนาจให้นางสาวกัลยาณี รุทระกาญจน์ เลขาธิการศูนย์ประสานงานลูกหนี้แห่งชาติ
นางสาวกัลยาณีกล่าวว่า รู้สึกไม่สบายใจที่นายสุกิจซึ่งเป็นทนายความถูกกลั่นแกล้ง ปิดกั้นโอกาสในการเสนอข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานเข้าสู่ศาล อันเป็นสิทธิตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ซึ่งอาจเป็นเพราะนายสุกิจได้รับเป็นทนายฟ้องคดีให้ลูกหนี้เพื่อช่วยเปิดโปงขบวนการของวาณิชธนกิจต่างชาติว่า อิทธิพลทางการเงินของชาวต่างชาตินั้นเข้ามาเกี่ยวข้องลึกซึ้งถึงส่วนใดในกระบวนการยุติธรรมของไทย หากกรณีเป็นเช่นนี้จริงจะเป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก หวังว่าคงไม่ปรากฏว่ามีกระบวนการใดๆ จงใจขัดขวางสิทธิพื้นฐานของประชาชนในการเข้าถึงสิทธิในกระบวนการยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญและมีส่วนเกี่ยวพันกับผลประโยชน์ของวาณิชธนกิจต่างชาติมูลค่านับแสนล้านบาท
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา ที่ศาลอาญา นายสุกิจ พูนศรีเกษม ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายธนฤทธิ์ โทวรรธนะ เป็นจำเลยที่ 1, นางสาวศศิธร ศรุติอังกูร ที่ 2 ต่อศาลอาญาตามคดีหมายเลขดำ ที่ อ.2318/2555 โดยสรุปตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ว่า เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2555 เวลากลางวันโจทก์ได้ยื่นฟ้องบริษัท สี่พระยาการพิมพ์ จำกัด เป็นจำเลยที่ 1, นางประภา เหตระกูล หรือศรีนวลนัด ที่ 2, นายสุเนตร์ แสงท้าว ที่ 3 ต่อศาลอาญาตามคดีหมายเลขดำ ที่ อ.1356/2555 ในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2555 เวลากลางวัน บริษัท สี่พระยาการพิมพ์ จำกัด กับพวกรวม 3 คน ร่วมกันใส่ความโจทก์ต่อผู้อ่านหนังสือพิมพ์เดลินิวส์รายวัน ว่านำชายฉกรรจ์ 200 คนมารื้อตลาดมูเซอให้เก็บข้าวของภายใน 24 ชั่วโมง ไม่อย่างนั้นจะโดนปรับวันละ 100,000 บาท เป็นเหตุให้นายสุเนตร์ แสงท้าว กับพวกประมาณ 40 คนไม่มีที่ขายของ ไม่มีที่พักพิง ต้องอาศัยอยู่บริเวณถนนนานกว่า 1 เดือน ข้อความที่บริษัท สี่พระยาการพิมพ์ จำกัด โดยบรรณาธิการผู้พิมพ์และโฆษณาควบคุมเนื้อหาหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ทำให้ผู้อ่านหนังสือพิมพ์รายวันเข้าใจว่าโจทก์เป็นคนไม่ดี เป็นนักเลง เป็นอันธพาล เป็นผู้มีอิทธิพล เป็นมาเฟีย นำสมัครพรรคพวก 200 คนรื้อตลาดโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง โดยบริษัท สี่พระยาการพิมพ์ จํากัด ที่ 1 ในฐานะเจ้าของหนังสือพิมพ์กับพวกรวมสามคน รู้อยู่แล้วว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด จึงต้องรับผิดชอบในผลแห่งการกระทำของนางประภา เหตระกูล ในฐานะบรรณาธิการผู้พิมพ์และโฆษณา และนายสุเนตร์ แสงท้าว ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ อีกทั้งข้อความที่ลงตีพิมพ์ลงในหน้าหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ บริษัท สี่พระยาการพิมพ์ จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์กับพวก ได้ยืนยันข้อเท็จจริงและใส่ความต่อโจทก์ต่อผู้อ่านหนังสือพิมพ์เดลินิวส์รายวันที่เผยแพร่ทั่วประเทศนั้น มิใช่เป็นการแสดงข้อความโดยสุจริต หรือติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นนิสัยของประชาชนอันพึงกระทำเพื่อความชอบธรรมป้องกันตน หรือป้องกันส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับตนตามทำนองคลองธรรม หรือในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์
ศาลอาญาได้พิจารณาคำฟ้องแล้ว มีคำสั่งนัดไต่สวนมูลฟ้องวันที่ 9 กรกฏาคม 2555 ต่อมาเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการได้บังอาจใช้ดุลพินิจโดยมิชอบในการวินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดีตามคำบรรยายฟ้องว่า คดีพอวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องสืบพยาน และยังใช้ดุลพินิจก้าวล่วงไปถึงข้อความได้สอบถามโจทก์อันเป็นการไต่สวนแล้วเห็นว่าข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ เดลินิวส์รายวัน ของบริษัท สี่พระยาการพิมพ์ จำกัดจำเลยที่ ๑ ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1356/2555 กับพวก เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตสามารถทำได้ คดีโจทก์ไม่มีมูล พิพากษายกฟ้องจึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
นายสุกิจ พูนศรีเกษม เปิดเผยว่า หากศาลได้ไต่สวนมูลฟ้องแล้วไม่รับฟ้องยังยอมรับสภาพได้ เพราะศาลจะมีคำวินิจฉัยซึ่งแสดงเหตุผลในการไม่รับฟ้อง แต่กรณีนี้ศาลไม่ยอมรับให้ไต่สวน ซึ่งตนคิดว่าไม่เป็นธรรม จึงต้องเรียกร้องความเป็นธรรม แม้ว่าจะเป็นการฟ้องผู้พิพากษาถึง 2 คน
สำหรับ นายสุกิจ เป็นทนายความในคดีที่ลูกหนี้ฟ้องผู้พิพากษาศาลล้มละลายกลางเนื่องจากเจ้าหนี้บริษัทบริหารสินทรัพย์แห่งหนึ่งซึ่งถือหุ้นโดยชาวต่างชาติทุจริตปลอมแปลงเอกสาร โดยเป็นทนายความให้กับบริษัท ฐมศร จำกัด ที่มอบอำนาจให้นางสาวกัลยาณี รุทระกาญจน์ เลขาธิการศูนย์ประสานงานลูกหนี้แห่งชาติ
นางสาวกัลยาณีกล่าวว่า รู้สึกไม่สบายใจที่นายสุกิจซึ่งเป็นทนายความถูกกลั่นแกล้ง ปิดกั้นโอกาสในการเสนอข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานเข้าสู่ศาล อันเป็นสิทธิตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ซึ่งอาจเป็นเพราะนายสุกิจได้รับเป็นทนายฟ้องคดีให้ลูกหนี้เพื่อช่วยเปิดโปงขบวนการของวาณิชธนกิจต่างชาติว่า อิทธิพลทางการเงินของชาวต่างชาตินั้นเข้ามาเกี่ยวข้องลึกซึ้งถึงส่วนใดในกระบวนการยุติธรรมของไทย หากกรณีเป็นเช่นนี้จริงจะเป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก หวังว่าคงไม่ปรากฏว่ามีกระบวนการใดๆ จงใจขัดขวางสิทธิพื้นฐานของประชาชนในการเข้าถึงสิทธิในกระบวนการยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญและมีส่วนเกี่ยวพันกับผลประโยชน์ของวาณิชธนกิจต่างชาติมูลค่านับแสนล้านบาท