หากท่านกำลังวางแผนทำธุรกิจอยู่ดีดี... รัฐก็มีโครงการสร้างสะพานซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจของท่าน เกิดเรื่องอย่างนี้คงไม่แคล้วต้องนั่งกุมขมับ...
การดำเนินกิจการต่างๆ ของรัฐย่อมอาจไปกระทบต่อวิถีชีวิตและสิทธิเสรีภาพของประชาชนจนเกิดเป็นข้อพิพาทขึ้นสู่ศาลได้ การพิจารณาชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์ที่ได้รับกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการของรัฐจึงเป็นเหตุผลประกอบในการใช้ดุลพินิจตัดสินคดีของศาล ซึ่งบางกรณีก็เป็นการชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์สาธารณะของคนกลุ่มหนึ่งกับประโยชน์สาธารณะของคนอีกกลุ่มหนึ่ง หรือในบางกรณีก็เป็นการชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์สาธารณะกับประโยชน์ส่วนบุคคลหรือเอกชน เช่นในคดีการก่อสร้างท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดที่ผมได้เคยนำเสนอไปแล้ว
เมื่อใดก็ตามที่รัฐกระทำการโดยอ้างประโยชน์สาธารณะ ก็มิได้หมายความว่าประโยชน์ของเอกชนจะไม่ได้รับความคุ้มครอง ซึ่งเรื่องเล่าดีดี...ที่ผมคัดสรรมาฝากในวันนี้เป็นตัวอย่างคดีที่ศาลได้พิจารณาชั่งน้ำหนักให้ประโยชน์ส่วนบุคคลเป็นฝ่ายชนะ! โดยได้ให้เหตุผลของการชี้ขาดไว้อย่างน่าสนใจเพื่อเป็นบทเรียนแก่หน่วยงานของรัฐในการดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะด้วยครับ
เรื่องราวที่พิพาทมีอยู่ว่า...ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งอยู่ติดกับคลองธรรมชาติต่อมาได้ปลูกสร้างบ้านพักอาศัยและได้พัฒนาบริเวณดังกล่าวให้มีความสวยงามเพื่อจัดทำโครงการทัศนศึกษาเชิงอนุรักษ์โดยสร้างบ้านพักตากอากาศ จำนวน 9 หลัง พร้อมทั้งซื้อเรือขนาดความยาว 16 เมตร กว้าง 5 เมตร สำหรับนำนักทัศนศึกษาเที่ยวชมทิวทัศน์ริมสองฝั่งคลอง รวมลงทุนเป็นเงิน 20 ล้านบาท
แต่ยังไม่ทันเปิดกิจการ ฝันก็ต้องสลาย... เมื่อองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ผู้ถูกฟ้องคดี) ได้ดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานทางเดินเท้า ค.ส.ล. ขนาดกว้าง 1.40 เมตร ยาว 960 เมตร ผ่านบริเวณหน้าที่ดินของผู้ฟ้องคดีโดยให้เหตุผลว่าเนื่องจากมีชาวบ้านร้องเรียนว่าไม่มีทางเข้าออกบ้านและการก่อสร้างสะพานดังกล่าวจะเกิดประโยชน์แก่ชาวบ้านถึง 41 ครัวเรือน หรือประมาณ 237 คน
ผู้ฟ้องคดีโต้แย้งว่าแนวสะพานที่ก่อสร้างจะผ่านหน้าที่ดินของผู้ฟ้องคดีด้านที่ติดคลองทำให้ปิดกั้นการสัญจรทางน้ำของผู้ฟ้องคดี จึงต่อรองโดยเสนอให้เปลี่ยนแนวเขตก่อสร้างเข้าไปในลำรางสาธารณะประโยชน์ด้านทิศตะวันตกของที่ดินของผู้ฟ้องคดีแทน แต่ผู้ถูกฟ้องคดีเห็นว่าตำแหน่งที่จะให้เปลี่ยนนั้นเป็นทางเปลี่ยวแคบไม่ปลอดภัย จึงดำเนินการก่อสร้างตามแนวเดิม เมื่อตกลงกันไม่ได้เรื่องจึงขึ้นสู่...ศาลปกครอง
คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีมีอำนาจตามกฎหมายในการดำเนินการก่อสร้างสะพานดังกล่าวได้ แต่สำหรับประเด็นการใช้ดุลพินิจของผู้ถูกฟ้องคดีในการก่อสร้างสะพานบริเวณที่พิพาทนั้น
ศาลได้วินิจฉัยว่า หากการก่อสร้างสะพานเสร็จสิ้นจะเป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจของผู้ฟ้องคดีคือทำให้ไม่สามารถนำเรือเข้ามาจอดในที่ดินของผู้ฟ้องคดีได้ ซึ่งข้ออ้างของผู้ถูกฟ้องคดีที่ว่าตรงบริเวณทางแยกลำรางสาธารณประโยชน์จะยกตัวสะพานให้สูงขึ้นเพื่อให้เรือเล็กสามารถลอดผ่านไปได้ ก็มิได้เป็นการแก้ไขความเดือดร้อนของผู้ฟ้องคดีให้หมดสิ้นไป เพราะหากผู้ฟ้องคดีไม่ประสงค์จะเปลี่ยนเรือให้มีขนาดเล็กลงเพราะเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยของผู้โดยสาร หรือกรณีหากเปลี่ยนมาใช้เรือขนาดเล็ก เมื่อถึงช่วงฤดูน้ำหลากน้ำจะขึ้นสูงถึงตัวสะพานก็ไม่สามารถนำเรือเล็กลอดผ่านใต้สะพานได้อีก ประกอบกับแนวเขตสะพานที่ก่อสร้างซึ่งอยู่ห่างจากฝั่งคลองออกมา เป็นผลให้ลำคลองแคบลงและท้องน้ำตลอดแนวเขตที่ก่อสร้างสะพานไม่โปร่งโล่งตามธรรมชาติเหมือนเดิม จึงอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ฟ้องคดีซึ่งอาศัยการเดินทางที่สะดวกปลอดภัยและสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติอันเป็นจุดขาย
การก่อสร้างสะพานของผู้ถูกฟ้องคดีจึงเป็นการคำนึงถึงแต่เฉพาะต้องการให้มีเส้นทางสำหรับประชาชนได้ใช้สัญจรเพิ่มขึ้นเท่านั้น ทั้งที่เดิมก็มีเส้นทางอื่นที่สามารถใช้สัญจรได้อยู่แล้ว เพียงแต่อาจจะขาดความสะดวกบ้าง นอกจากนี้เมื่อศาลได้นำหลักฐานภาพถ่ายมาพิจารณาจึงพบว่าบ้านเรือนของราษฎรส่วนมากจะปลูกตั้งอยู่ห่างแนวเขตสะพานที่ก่อสร้าง ส่วนบ้านที่อยู่ใกล้แนวเขตสะพานนั้นมีจำนวนน้อยไม่ได้มากตามที่
ผู้ถูกฟ้องคดีกล่าวอ้าง ทั้งการใช้ประโยชน์จะต้องพายเรือเล็กจากบ้านมาขึ้นต่อยังสะพาน หรือใช้ไม้พาดกับตัวสะพานเพื่อเดินขึ้นสะพาน ซึ่งก็ยังขาดความสะดวกในการสัญจรอยู่ดี ข้ออ้างของผู้ถูกฟ้องคดีที่ว่าการสร้างสะพานจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนมาก นอกจากจะไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังได้แล้ว ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเมื่อเทียบกับผลกระทบที่ผู้ฟ้องคดีจะได้รับ เห็นได้ชัดว่าจะทำให้ฝ่ายผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายมากกว่า
ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีก่อสร้างสะพานในลักษณะปิดกั้นทางเข้าออกระหว่างที่ดินของผู้ฟ้องคดีกับคลอง จึงถือเป็นการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร เป็นเหตุให้กระทบสิทธิของผู้ฟ้องคดี กรณีจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ศาลปกครองสูงสุดจึงพิพากษาห้ามผู้ถูกฟ้องคดีก่อสร้างสะพานบริเวณหน้าที่ดินของผู้ฟ้องคดี และให้รื้อถอนเสาไม้หรือสิ่งก่อสร้างใดๆ ที่ได้ดำเนินการไปแล้วออกจากบริเวณหน้าที่ดินของผู้ฟ้องคดี (คดีหมายเลขแดงที่ อ.394/2550)
จะเห็นได้ว่า...กรณีนี้หากผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินโครงการแล้วเสร็จก็ได้ผลผลิต (Out put) คือ
“ตัวสะพาน” หากแต่ขาดประสิทธิผล (Out come) คือ “ผู้ใช้ประโยชน์” จากสะพานซึ่งมีจำนวนน้อยไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการก่อสร้าง เรียกได้ว่าไม่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับความเดือดร้อนเสียหายที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองจะได้รับ เมื่อชั่งน้ำหนักเช่นนี้แล้วศาลจึงชี้ขาดให้ประโยชน์ส่วนบุคคลของผู้ฟ้องคดีเป็นฝ่ายชนะ!
ครองธรรม ธรรมรัฐ ต้องขอแสดงความยินดีด้วยนะครับที่ธุรกิจของคุณได้ไปต่อ...
ครองธรรม ธรรมรัฐ
การดำเนินกิจการต่างๆ ของรัฐย่อมอาจไปกระทบต่อวิถีชีวิตและสิทธิเสรีภาพของประชาชนจนเกิดเป็นข้อพิพาทขึ้นสู่ศาลได้ การพิจารณาชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์ที่ได้รับกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการของรัฐจึงเป็นเหตุผลประกอบในการใช้ดุลพินิจตัดสินคดีของศาล ซึ่งบางกรณีก็เป็นการชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์สาธารณะของคนกลุ่มหนึ่งกับประโยชน์สาธารณะของคนอีกกลุ่มหนึ่ง หรือในบางกรณีก็เป็นการชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์สาธารณะกับประโยชน์ส่วนบุคคลหรือเอกชน เช่นในคดีการก่อสร้างท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดที่ผมได้เคยนำเสนอไปแล้ว
เมื่อใดก็ตามที่รัฐกระทำการโดยอ้างประโยชน์สาธารณะ ก็มิได้หมายความว่าประโยชน์ของเอกชนจะไม่ได้รับความคุ้มครอง ซึ่งเรื่องเล่าดีดี...ที่ผมคัดสรรมาฝากในวันนี้เป็นตัวอย่างคดีที่ศาลได้พิจารณาชั่งน้ำหนักให้ประโยชน์ส่วนบุคคลเป็นฝ่ายชนะ! โดยได้ให้เหตุผลของการชี้ขาดไว้อย่างน่าสนใจเพื่อเป็นบทเรียนแก่หน่วยงานของรัฐในการดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะด้วยครับ
เรื่องราวที่พิพาทมีอยู่ว่า...ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งอยู่ติดกับคลองธรรมชาติต่อมาได้ปลูกสร้างบ้านพักอาศัยและได้พัฒนาบริเวณดังกล่าวให้มีความสวยงามเพื่อจัดทำโครงการทัศนศึกษาเชิงอนุรักษ์โดยสร้างบ้านพักตากอากาศ จำนวน 9 หลัง พร้อมทั้งซื้อเรือขนาดความยาว 16 เมตร กว้าง 5 เมตร สำหรับนำนักทัศนศึกษาเที่ยวชมทิวทัศน์ริมสองฝั่งคลอง รวมลงทุนเป็นเงิน 20 ล้านบาท
แต่ยังไม่ทันเปิดกิจการ ฝันก็ต้องสลาย... เมื่อองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ผู้ถูกฟ้องคดี) ได้ดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานทางเดินเท้า ค.ส.ล. ขนาดกว้าง 1.40 เมตร ยาว 960 เมตร ผ่านบริเวณหน้าที่ดินของผู้ฟ้องคดีโดยให้เหตุผลว่าเนื่องจากมีชาวบ้านร้องเรียนว่าไม่มีทางเข้าออกบ้านและการก่อสร้างสะพานดังกล่าวจะเกิดประโยชน์แก่ชาวบ้านถึง 41 ครัวเรือน หรือประมาณ 237 คน
ผู้ฟ้องคดีโต้แย้งว่าแนวสะพานที่ก่อสร้างจะผ่านหน้าที่ดินของผู้ฟ้องคดีด้านที่ติดคลองทำให้ปิดกั้นการสัญจรทางน้ำของผู้ฟ้องคดี จึงต่อรองโดยเสนอให้เปลี่ยนแนวเขตก่อสร้างเข้าไปในลำรางสาธารณะประโยชน์ด้านทิศตะวันตกของที่ดินของผู้ฟ้องคดีแทน แต่ผู้ถูกฟ้องคดีเห็นว่าตำแหน่งที่จะให้เปลี่ยนนั้นเป็นทางเปลี่ยวแคบไม่ปลอดภัย จึงดำเนินการก่อสร้างตามแนวเดิม เมื่อตกลงกันไม่ได้เรื่องจึงขึ้นสู่...ศาลปกครอง
คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีมีอำนาจตามกฎหมายในการดำเนินการก่อสร้างสะพานดังกล่าวได้ แต่สำหรับประเด็นการใช้ดุลพินิจของผู้ถูกฟ้องคดีในการก่อสร้างสะพานบริเวณที่พิพาทนั้น
ศาลได้วินิจฉัยว่า หากการก่อสร้างสะพานเสร็จสิ้นจะเป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจของผู้ฟ้องคดีคือทำให้ไม่สามารถนำเรือเข้ามาจอดในที่ดินของผู้ฟ้องคดีได้ ซึ่งข้ออ้างของผู้ถูกฟ้องคดีที่ว่าตรงบริเวณทางแยกลำรางสาธารณประโยชน์จะยกตัวสะพานให้สูงขึ้นเพื่อให้เรือเล็กสามารถลอดผ่านไปได้ ก็มิได้เป็นการแก้ไขความเดือดร้อนของผู้ฟ้องคดีให้หมดสิ้นไป เพราะหากผู้ฟ้องคดีไม่ประสงค์จะเปลี่ยนเรือให้มีขนาดเล็กลงเพราะเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยของผู้โดยสาร หรือกรณีหากเปลี่ยนมาใช้เรือขนาดเล็ก เมื่อถึงช่วงฤดูน้ำหลากน้ำจะขึ้นสูงถึงตัวสะพานก็ไม่สามารถนำเรือเล็กลอดผ่านใต้สะพานได้อีก ประกอบกับแนวเขตสะพานที่ก่อสร้างซึ่งอยู่ห่างจากฝั่งคลองออกมา เป็นผลให้ลำคลองแคบลงและท้องน้ำตลอดแนวเขตที่ก่อสร้างสะพานไม่โปร่งโล่งตามธรรมชาติเหมือนเดิม จึงอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ฟ้องคดีซึ่งอาศัยการเดินทางที่สะดวกปลอดภัยและสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติอันเป็นจุดขาย
การก่อสร้างสะพานของผู้ถูกฟ้องคดีจึงเป็นการคำนึงถึงแต่เฉพาะต้องการให้มีเส้นทางสำหรับประชาชนได้ใช้สัญจรเพิ่มขึ้นเท่านั้น ทั้งที่เดิมก็มีเส้นทางอื่นที่สามารถใช้สัญจรได้อยู่แล้ว เพียงแต่อาจจะขาดความสะดวกบ้าง นอกจากนี้เมื่อศาลได้นำหลักฐานภาพถ่ายมาพิจารณาจึงพบว่าบ้านเรือนของราษฎรส่วนมากจะปลูกตั้งอยู่ห่างแนวเขตสะพานที่ก่อสร้าง ส่วนบ้านที่อยู่ใกล้แนวเขตสะพานนั้นมีจำนวนน้อยไม่ได้มากตามที่
ผู้ถูกฟ้องคดีกล่าวอ้าง ทั้งการใช้ประโยชน์จะต้องพายเรือเล็กจากบ้านมาขึ้นต่อยังสะพาน หรือใช้ไม้พาดกับตัวสะพานเพื่อเดินขึ้นสะพาน ซึ่งก็ยังขาดความสะดวกในการสัญจรอยู่ดี ข้ออ้างของผู้ถูกฟ้องคดีที่ว่าการสร้างสะพานจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนมาก นอกจากจะไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังได้แล้ว ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเมื่อเทียบกับผลกระทบที่ผู้ฟ้องคดีจะได้รับ เห็นได้ชัดว่าจะทำให้ฝ่ายผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายมากกว่า
ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีก่อสร้างสะพานในลักษณะปิดกั้นทางเข้าออกระหว่างที่ดินของผู้ฟ้องคดีกับคลอง จึงถือเป็นการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร เป็นเหตุให้กระทบสิทธิของผู้ฟ้องคดี กรณีจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ศาลปกครองสูงสุดจึงพิพากษาห้ามผู้ถูกฟ้องคดีก่อสร้างสะพานบริเวณหน้าที่ดินของผู้ฟ้องคดี และให้รื้อถอนเสาไม้หรือสิ่งก่อสร้างใดๆ ที่ได้ดำเนินการไปแล้วออกจากบริเวณหน้าที่ดินของผู้ฟ้องคดี (คดีหมายเลขแดงที่ อ.394/2550)
จะเห็นได้ว่า...กรณีนี้หากผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินโครงการแล้วเสร็จก็ได้ผลผลิต (Out put) คือ
“ตัวสะพาน” หากแต่ขาดประสิทธิผล (Out come) คือ “ผู้ใช้ประโยชน์” จากสะพานซึ่งมีจำนวนน้อยไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการก่อสร้าง เรียกได้ว่าไม่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับความเดือดร้อนเสียหายที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองจะได้รับ เมื่อชั่งน้ำหนักเช่นนี้แล้วศาลจึงชี้ขาดให้ประโยชน์ส่วนบุคคลของผู้ฟ้องคดีเป็นฝ่ายชนะ!
ครองธรรม ธรรมรัฐ ต้องขอแสดงความยินดีด้วยนะครับที่ธุรกิจของคุณได้ไปต่อ...
ครองธรรม ธรรมรัฐ