ตำรวจสอบสวนกลางร่วมกับยูเอ็นทำบันทึกข้อตกลงปราบผู้กระทำผิดคุกคามทางเพศต่อเด็ก ชี้ล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กถือเป็นปัญหาของโลก เผยส่วนใหญ่เกิดจากชาวต่างชาติ ใช้การท่องเที่ยวบังหน้าเดินทางไปหาเหยื่อแล้วก่อคดี จึงทำให้ติดตามคนร้ายยาก ขณะที่ ผบช.ก. เผยผลวิจัยเด็กที่ครอบครัวไม่เหลียวแลและถูกทำร้ายมีความเสี่ยงมากถึง 33 เปอร์เซ็นต์ที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาอาชญากรรม
วันนี้ (24 เม.ย.) เมื่อเวลา 09.30 น. ที่สหประชาชาติ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช.ก.) เป็นตัวแทน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับนายแกรี่ เลวิส ผู้แทนระดับภูมิภาคของ สำนักปราบปรามยาเสพติด และอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ เพื่อทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันในการปราบปรามอาชญากรรมทางเพศที่เกี่ยวกับเด็ก และสนับสนุนกิจกรรมตำรวจผู้รับใช้ชุมชน โดยมีนายตำรวจระดับสูงใน บช.ก. ทั้งในระดับ รอง ผบช. และ ผบก. ในสังกัด รวมทั้งตัวแทนของสหประชาชาติร่วมเป็นสักขีพยาน
นายแกรี่กล่าวว่า วัตถุประสงค์ในการทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันครั้งนี้ เพื่อเป็นการปราบปรามอาชญากรรมระดับภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะจัดการกับผู้ล่วงละเมิดทางเพศกับเด็ก โดยเกิดขึ้นจากฝีมือของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ซึ่งในแง่ของการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กถือเป็นปัญหาของโลก เพราะผู้ที่ก่อคดีใช้วิธีการเดินทางไปหาเหยื่อในประเทศต่างๆ โดยใช้บริการทางการท่องเที่ยวเป็นฉากบังหน้า ซึ่งทำให้ยากแก่การติดตามตัวคนร้าย เพราะมีการอาศัยช่องว่างทางกฎหมายมาเกี่ยวข้องด้วย
“บ่อยครั้งที่อาชญากรรมประเภทนี้ระบุตัวคนผิดได้ยาก ในที่สุดคนเหล่านี้ก็ไม่ถูกดำเนินคดี ผมเชื่อว่าทุกคนอยากให้คดีลักษณะนี้ยุติ จึงต้องอาศัยความร่วมมือกันทั้งในประเทศ และระดับภูมิภาค” นายแกรี่กล่าว
นายแกรี่กล่าวต่อว่า วิธีการที่จะปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับเด็ก เราได้มีการจัดตั้งโครงการขึ้นมาเรียกว่า “Project Childhood” ที่ปฏิบัติงานอยู่ในภูมิภาคนี้ โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากประเทศออสเตรเลีย เพื่อเพิ่มศักยภาพต่างๆ ในการระบุตัวผู้กระทำความผิด เพื่อนำผู้ต้องหาขึ้นสู่ศาล นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไรด้วย
นายแกรี่กล่าวด้วยว่า จะเริ่มต้นให้ความรู้ทางวิชาการ และด้านกฎหมายกับตำรวจไทย โดยได้รับการสนับสนุนด้านองค์ความรู้จากตำรวจสากลที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ฝรั่งเศส นอกจากนี้องค์กรเอกชนที่ชื่อว่า World Vision ซึ่งมีประสบการณ์เกี่ยวกับเด็ก และเยาวชน ก็จะให้ความร่วมมือถึงโครงการที่จะทำในอนาคตกับ บช.ก. ด้วย ทั้งนี้ สหประชาชาติได้ติดตามการทำงานของ บช.ก. แล้วเห็นว่ามีความก้าวหน้าด้านการทำโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน จึงมีความคิดที่จะส่งเสริมให้เดินหน้าต่อ โดยจะสนับสนุนให้ทำทั้งในกรุงเทพฯ พัทยา และเชียงใหม่
ด้าน พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์กล่าวว่า สถานการณ์ของไทยขณะนี้เต็มไปด้วยปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด และการก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งด้วยแนวคิดเก่าๆ ไม่สามารถที่จะนำไปแก้ปัญหาได้ จึงต้องหาเทคนิคและวิธีการใหม่ๆ เข้ามาเสริม โดยเฉพาะการป้องกันอาชญากรรมที่จะเกิดกับเด็ก และเยาวชน ซึ่งเรามีข้อวิจัยว่าเด็กที่ถูกปล่อยปละละเลยจากครอบครัว และถูกทำร้าย จะมีความเสี่ยงมากถึง 33 เปอร์เซ็นต์ที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาอาชญากรรม จึงต้องมองอนาคต เพื่อลดอาชญากรรมที่จะเกิดขึ้น
“ที่ผ่านมาเราพัฒนาตำรวจมาโดยตลอดทั้งส่งไปศึกษางานที่อังกฤษ แคนาดา และกำลังจะไปออสเตรเลีย เพื่อการสืบสวนที่ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น UN เป็นส่วนหนึ่งที่เราทำร่วมกับหน่วยงานต่างๆ แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เห็นว่าเรื่องนี้เป็นสากลมากขึ้น” พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์กล่าว
พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์กล่าวต่อว่า สำหรับการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมโดยใช้ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชนนั้น ในต่างประเทศมีการนำไปใช้แล้วประสบความสำเร็จในหลายประเทศ อย่างในแอฟริกาก็นำไปใช้ เช่น ในอูกันดานำไปใช้แก้ปัญหาการละเมิดทางเพศต่อเด็ก หรือในเคนยาก็นำทฤษฎีนี้ไปใช้ในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อ HIV อย่างได้ผล ซึ่งขณะนี้ตนได้พยายามเผยแพร่ทฤษฎีนี้ โดยนำไปปฏิบัติในหลายๆ พื้นที่ ซึ่งเบื้องต้นเชื่อว่าจะทำให้สังคมไทยดีขึ้นด้วยความร่วมมือจากชาวบ้านตามการดำเนินการของทฤษฎีดังกล่าว
วันนี้ (24 เม.ย.) เมื่อเวลา 09.30 น. ที่สหประชาชาติ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช.ก.) เป็นตัวแทน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับนายแกรี่ เลวิส ผู้แทนระดับภูมิภาคของ สำนักปราบปรามยาเสพติด และอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ เพื่อทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันในการปราบปรามอาชญากรรมทางเพศที่เกี่ยวกับเด็ก และสนับสนุนกิจกรรมตำรวจผู้รับใช้ชุมชน โดยมีนายตำรวจระดับสูงใน บช.ก. ทั้งในระดับ รอง ผบช. และ ผบก. ในสังกัด รวมทั้งตัวแทนของสหประชาชาติร่วมเป็นสักขีพยาน
นายแกรี่กล่าวว่า วัตถุประสงค์ในการทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันครั้งนี้ เพื่อเป็นการปราบปรามอาชญากรรมระดับภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะจัดการกับผู้ล่วงละเมิดทางเพศกับเด็ก โดยเกิดขึ้นจากฝีมือของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ซึ่งในแง่ของการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กถือเป็นปัญหาของโลก เพราะผู้ที่ก่อคดีใช้วิธีการเดินทางไปหาเหยื่อในประเทศต่างๆ โดยใช้บริการทางการท่องเที่ยวเป็นฉากบังหน้า ซึ่งทำให้ยากแก่การติดตามตัวคนร้าย เพราะมีการอาศัยช่องว่างทางกฎหมายมาเกี่ยวข้องด้วย
“บ่อยครั้งที่อาชญากรรมประเภทนี้ระบุตัวคนผิดได้ยาก ในที่สุดคนเหล่านี้ก็ไม่ถูกดำเนินคดี ผมเชื่อว่าทุกคนอยากให้คดีลักษณะนี้ยุติ จึงต้องอาศัยความร่วมมือกันทั้งในประเทศ และระดับภูมิภาค” นายแกรี่กล่าว
นายแกรี่กล่าวต่อว่า วิธีการที่จะปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับเด็ก เราได้มีการจัดตั้งโครงการขึ้นมาเรียกว่า “Project Childhood” ที่ปฏิบัติงานอยู่ในภูมิภาคนี้ โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากประเทศออสเตรเลีย เพื่อเพิ่มศักยภาพต่างๆ ในการระบุตัวผู้กระทำความผิด เพื่อนำผู้ต้องหาขึ้นสู่ศาล นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไรด้วย
นายแกรี่กล่าวด้วยว่า จะเริ่มต้นให้ความรู้ทางวิชาการ และด้านกฎหมายกับตำรวจไทย โดยได้รับการสนับสนุนด้านองค์ความรู้จากตำรวจสากลที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ฝรั่งเศส นอกจากนี้องค์กรเอกชนที่ชื่อว่า World Vision ซึ่งมีประสบการณ์เกี่ยวกับเด็ก และเยาวชน ก็จะให้ความร่วมมือถึงโครงการที่จะทำในอนาคตกับ บช.ก. ด้วย ทั้งนี้ สหประชาชาติได้ติดตามการทำงานของ บช.ก. แล้วเห็นว่ามีความก้าวหน้าด้านการทำโครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน จึงมีความคิดที่จะส่งเสริมให้เดินหน้าต่อ โดยจะสนับสนุนให้ทำทั้งในกรุงเทพฯ พัทยา และเชียงใหม่
ด้าน พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์กล่าวว่า สถานการณ์ของไทยขณะนี้เต็มไปด้วยปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด และการก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งด้วยแนวคิดเก่าๆ ไม่สามารถที่จะนำไปแก้ปัญหาได้ จึงต้องหาเทคนิคและวิธีการใหม่ๆ เข้ามาเสริม โดยเฉพาะการป้องกันอาชญากรรมที่จะเกิดกับเด็ก และเยาวชน ซึ่งเรามีข้อวิจัยว่าเด็กที่ถูกปล่อยปละละเลยจากครอบครัว และถูกทำร้าย จะมีความเสี่ยงมากถึง 33 เปอร์เซ็นต์ที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาอาชญากรรม จึงต้องมองอนาคต เพื่อลดอาชญากรรมที่จะเกิดขึ้น
“ที่ผ่านมาเราพัฒนาตำรวจมาโดยตลอดทั้งส่งไปศึกษางานที่อังกฤษ แคนาดา และกำลังจะไปออสเตรเลีย เพื่อการสืบสวนที่ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น UN เป็นส่วนหนึ่งที่เราทำร่วมกับหน่วยงานต่างๆ แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เห็นว่าเรื่องนี้เป็นสากลมากขึ้น” พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์กล่าว
พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์กล่าวต่อว่า สำหรับการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมโดยใช้ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชนนั้น ในต่างประเทศมีการนำไปใช้แล้วประสบความสำเร็จในหลายประเทศ อย่างในแอฟริกาก็นำไปใช้ เช่น ในอูกันดานำไปใช้แก้ปัญหาการละเมิดทางเพศต่อเด็ก หรือในเคนยาก็นำทฤษฎีนี้ไปใช้ในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อ HIV อย่างได้ผล ซึ่งขณะนี้ตนได้พยายามเผยแพร่ทฤษฎีนี้ โดยนำไปปฏิบัติในหลายๆ พื้นที่ ซึ่งเบื้องต้นเชื่อว่าจะทำให้สังคมไทยดีขึ้นด้วยความร่วมมือจากชาวบ้านตามการดำเนินการของทฤษฎีดังกล่าว