คำพิพากษา
ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
ที่4948/2554 ศาลฎีกา
วันที่ 13 เดือน มิถุนายน พึทธศักราช 2554
ความอาญา
ระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โจทก์
น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ที่ 1 บริษัทหนังสือพิมพ์แนวหน้า จำกัด ที่ 2 นายวารินทร์ พูนศิริวงศ์ ที่ 3 นายจิระพงค์ เต็มเปี่ยม ที่ 4 จำเลย
เรื่อง หมิ่นประมาท ความผิดต่อพระราชบะญญัติการพิมพ์
จำเลยที่ 1 และที่ 4 ฎีกาคัดค้านคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 6 ลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2549 ศาลฎีกา รับวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2550
โจทก์ฟ้องและแก้ไขฟ้องว่า โจทก์ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของคอลัมน์"น.ต.ประสงค์ สุนศิริพูด" ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า จำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด และเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์รายวัน ใช้ชื่อว่า "หนังสือพิมพ์แนวหน้า" ซึ่งพิมพ์ออกจำหน่ายทั่วราชอาณาจักร จำเลยที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 2 รับผิดชอบในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 4 เป็นบรรณธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้า เมื่อระหว่างวันที่ 16 ถึง17 ก.ค.2544 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำความผิดต่อกฏหมายต่างกรรมต่างวาระกัน กล่าวคือ จำเลยทั้งสี่ และบุคคลที่ไม่ทราบชื่ออีก 1 คน ร่วมกันใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สาม และประชาชนทั่วไป ในประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียง ถุกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง โดยร่วมกันพิมพ์โฆษณาข้อความ ด้วยเอกสารในหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้า ในคอลัมน์ "น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ พูด" โดยพาดหัวในคอลัมน์ดังกล่าวว่า "พลังเงียบ" และบรรยายข้อความใส่ความโจทก์ว่า เรียนท่านประสงค์ สุ่นศิริ ตามที่มีการสร้างกระแสอย่างเป็นกระบวนการ และอย่างเป็นระบบเพื่อกดดันศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องแจ้งความเท็จแสดงทรัพย์สินของนายกรัฐมนตรี ผู้นำของประเทศ จนทำให้คนทั่วไปคิอว่า ผู้นำของประเทศในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่เหนือกฏหมาย และอยู่เหนือสามัญชนในขณะนั้น พวกเรา พลังเงียบ ซึ่งเป็นคนกลุ่มมากในประเทศ เฝ้าดูด้วยความเป็นกลาง และห่วงใยต่อความถูกต้อง กฏ ระเบียบ โดยเฉพาะกฏหมายรัฐธรรมนูญ ที่เป็นเสาหลักของบ้านเมือง กำลังถูกคนกลุ่มหนึ่งพยายามทำลายอย่างไร้ยางอาย และไร้ความรับผิดชอบต่อสังคมประเทศชาติ มุ่งแต่ผลประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก การคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตน จะพาชาติสู่ความหายนะ ไม่ทราบว่า ทุกคนตระหนักถึงความหมายของประโยคดังกล่าวหรือไม่ ในโอกาสนี้ พวกเราพลังเงียบ ขอให้กำลังใจองค์กรอิสระ โดยเฉพาะคณะกรรมการป.ป.ช. (คระกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) และคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ยึดมั่นในความถูกต้อง เพื่อรักษากติกาของบ้านเมืองให้อยู่รอด ไม่ต้องสนใจหรือหวั่นไหวกับกลุ่มสร้างกระแสที่ถูกสร้างอย่างเป็นขบวนการ เพื่อให้สติแก่ผู้ที่หลงกระแส และกลุ่มบุคคลที่พยายามสร้างกระแสยกย่องพ.ต.ท.ทักษิณ จนดูเหมือนอยู่เหนือสามัญชน ด้วยการเชิญชวนให้อ่านบทความ"สะเดาะเคราห์ - พิธีกรรมต้มตุ๋นทางการเมืองรูปแบบใหม่" ของยอดธง ทับทิวไม้ ในหนังสือพิมพ์รายวันผู้จัดการ ฉบับลงวันที่ 22 มิ.ย.2544 ซึ่งสะท้อนให้เห็นธาตุแท้ของผู้นำประเทศคนปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ขออนุญาตนำบทความบางส่วนของยอดธง ทับทิวไม้ ให้เห็นเป็นตัวอย่าง เช่น
"การทำพิธีสะเดาะเคราห์เมือง แก้การกระทำผิดกฏหมายของนายกรัฐมนตรีของประเทศด้วยการหาพระมาสวดมนต์ รู้ไปถึงไหนอายไปถึงนั่น ไม่มีนักการเมืองประเทศไหน ที่แก้ปัญหาความชั่วร้ายทางการเมืองที่มีอาการทางจิตผิดปกติอย่างนั้น นอกจากลงโทษไล่ออก หรือฆ่าทิ้งเสียเท่านั้น"
"พิธีมหาพุทธมนต์ เพื่อไทยพ้นภัย เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ขัดกับหลักการของพระพุทธศาสนา ที่ความดัความชั่วเป็นเรื่องเฉพาะตัว ไม่มีใครทำให้ใครสะอาดได้"
การกระทำการข่มขู่ศาลรัฐธรรมนูญ หรือการใช้กฏหมายของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ทำติดต่อกันมาเป็นระยะแล้ว แต่เร่งมาโหมกระพิอขึ้นรอบด้าน ด้วยการลงทุนกันอย่างขนาดหนัก พุทธมนต์ที่ทำกันนี้ ถ้าจะต้องพิจารณากันในทัศนะทางการเมือง ซึ่งก็จำเป็นจ้อต้องพิจารณากันก็คือ เป็นการกระทำที่ต้องการหลอกลวงต้มตุ๋นประชาชน ให้ช่วยกันเข้าไปปกป้องการกระทำอันไม่สุจริตของคนที่เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ ที่มีพฤติกรรมอันน่าเชื่อให้กระทำผิดกฏหมายบ้านเมืองได้อย่างถาวรสืบไป นับว่าเป็นกิจกรรมทางการเมืองในรูปแบบใหม่ อีกรูปหนึ่ง ซึ่งได้จัดการทำพลิกแพลงขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เราพยายามทำลายทุกอย่างในบ้านเมือง เพื่อสนับสนุนชื่นชมการกระทำความผิดของนักการเมืองคนหนึ่งให้อยู่เหนือความถูกต้องที่ควรจะมี"
"ผู้ดำเนินการเคลื่อนไหวคนหนึ่งบอกว่า เหตุผลที่ต้องการให้นายกรัฐมนตรี ได้รับการยกเว้นจากการลงโทษของกฏหมายนั้น เพราะเชื่อว่าใน 69 ปี ที่ผ่านมานั้น คนที่เป็นนายกรัฐมนตรี หรือเป็นผูนำได้นั้น ไม่เคยมีใครแม้แต่คนเดียว ที่เก่งกาจเหมือนนนายกรัฐมนตรีคนนี้ ซึ่งความจริงเท่าที่เห็นเท่าที่รู้นั้น นายกรัฐมนตรีคนนี้ ไม่เคยแก้อะไรได้แม้แต่อย่างเดียว นอกจากพูดทุกอย่างเข้าไว้ก่อนว่ามันง่าย"
เจ้าของรถเบนว์ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ออกมาประกาศอย่างกล้าหาญว่า ถ้าไม่เอานายกรัฐมนตรีคนนี้แล้วจะเอาใคร? แต่เขาไม่เคยกล้ารับรองหรือค้ำประกันได้ว่า ถ้านายกรัฐมนตรีคนนี้แก้ไม่ได้ และพาบ้านเมืองฉิบหาย เพิ่มเติมต่อไปอีก หลังจากที่รัฐบาลเก่าทำมาแล้ว เขาจะทำหน้าที่ไหนมาแก้ตัวว่า เขาเข้าใจผิด และโง่อย่างน่าบัดซบตรงที่ว่า การเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีหน้าที่รักษากฏหมาย พยายามอยู่เหนือกฏหมายนั้น เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะแม้แต่พระมหากษัตริย์แท้ๆ ของเรา พระองค์ก็ยังไม่อยู่เหนือกฏหมาย ถ้าความฉิบหายใดๆ มันเกิดขึ้นอย่างที่นายกรัฐมนตรรีของประเทศไทย หาวิธีการเล่นการเมืองสกปรก โดยแสวงหาอำนาจต่อรองเพื่ออยู่เหนือกฏหมายนั้น มันก็ผิดอยู่แล้ว จะเอาอะไรมาเป็นหลักประกันว่า นายกรัฐมนตรีที่มีพฤติกรรมทางการเมืองอันสกปรกอื่นๆ ที่อาจจะทำลายชาติบ้านเมืองได้ เพราะพื้นฐานของเขา มาจากการเมืองที่สกปรก"
"ผม(ยอดธง ทับทิวไม้) เป็นเพียงแต่ลุกผู้ชายไทยคนหนึ่งที่ต้องการเห็นผู้นำของประเทศมีความเป็นลูกผู้ชายเพียงพอ ผิดก็รับว่าผิด ถูกก็รับว่าถูก ไม่ใช้วิธีการกะล่อนหรือคดในข้องอในกระดูก ในการขึ้นมาเป็นผู้นำบ้านเมือง ซึ่งจะต้องเป็นตัวอย่างแก่ผู้คนทุกคน"
ข้อความข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของบทความของยอดธง ทับทิวไม้ สำหรับกลุ่มสนับสนุนนายกรัฐมนตรี พยายามยกประเด็นของคุณหญิงปรียาขึ้นมาทำนองว่า คุณหญิงปรียาในฐานะประธานกรรมการสอบสวนคดีแจ้งทรัพย์อันเป็นเท็จ(กรณีซุกหุ้นและอื่นๆ)ของนายกรัฐมนตรี ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่า มีความผิดขาดคุณสมบัติเป็นกรรมการป.ป.ช.แล้ว คดีแจ้งทรัพย์อันเป็นเท็จของนายกรัฐมนตรี จะเป็นดมฆะไปด้วยนั้น ก็อยากจะถามว่า ถ้าศาลตัดสินว่า นายกรัฐมนตรีมีความผิดคดีแจ้งทรัพย์สินอันเป็นเท็จ นิติกรรมใดๆของพ.ต.ท.ทักษิณ ที่กระทำในฐานะนายกรัฐมนตรีจะเป็นโมฆะทั้งหมดหรือไม่ กรณีที่นายเกรียง ประธานสมมัชชาส.ส.ร.เสนอให้องค์กรประชาชนที่สนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณ ขอพระราชทานอภัยโทษจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัว ยิ่งเป็นเรื่องไม่บังควรอย่างยิ่ง ที่จะดึงสถาบันเบื้องสูง ซึ่งเป็นที่เคารพอย่างสูงของประชาชนทั้งประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง กับความถูกความผิดของคนเพียงคนเดียว เพราะคนคนหนึ่งมีทั้งความดีและความไม่ดี ดังนั้น ย่อมมีทั้งคนชอบและไม่ชอบ สถาบันเบื้องสูง ไม่อยู่ในสถานะที่จะเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหยึ่งได้ อย่าบังอาจคิดทำในสิ่งที่ไม่ควรเด็ดขาด เฉพาะส.ส.ร. เป็นกลุ่มคนร่างกฏหมายรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน ไม่ควรมีความคิดเช่นนี้ เพราะจะเข้าทำนองทำเองและทำลายเอง ดูไม่ดีแน่ ขบวนการวางแผนไปสู่อำนาจเป็นผูนำของประเทศ ด้วยวิธีไม่อยู่ในทำนองคลองธรรม ซึ่งกระทำกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งก่อนเลือกตั้งและหลังเลือกตั้ง ตลอดจนในขณะที่มีอำนาจเป็นรัฐบาลเป็นสิ่งที่น่ากลัว เพราะไม่ทราบว่า ในอนาคต คนกลุ่มนี้จะวางแผนร้ายอะไรกับประเทศชาติบ้านเมือง ที่ประชาชนคนไทยรับไม่ได้ แต่กว่าประชาชนจะรู้ตัว ก็สายไปเสียแล้ว พวกเราพลังเงียบ เริ่มเป็นห่วงอย่างจริงจัง เพราะทุกวันนี้ก็พยายามทำให้ดูเหมือนอยู่เหนือกฏหมายเหนือสามัญชนอยู่แล้ว น่าห่วงจริงๆ การเป็นผูนำและสร้างกระแสยืมมือประชาชนสนับสนุนลักษณะหลงผู้นำ เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับตัวเองแบบผิดๆ เป็นอันตรายต่อระบบประชาธิปไตย เพราะจะเป็นหนทางนำไปสู่ระบบเผด็จการ และจะใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งขณะนี้าสภาส.ส. ก็มีลักษณะเป็นเผด็จดารรัฐสภาอยู่แล้ว ขอแสดงความนับถือ "พลังเงียบ"
ซึ่งจำเลยที่ 1ก็ได้ตอบจดหมายของผู้ที่ใช้ชื่อว่า"พลังเงียบ" ว่า เห็นด้วยทุกอย่างครับที่เขียนมา ข้อความดังกล่าวข้างต้น จำเลนยทั้งสี่เจตนาพิมพ์โฆษณาใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์ต่อบุคคลที่สามหริอประชาชนทั่วไป ซึ่งเมื่อได้อ่านบทความที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันพิมพ์โฆษณาแล้วต้องเข้าใจว่า โจทก์ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้กระทำความผิดต่อกฏหมาย จึงได้สร้างกระแสอย่างเป็นกระบวนการ และเป็นระบบ เพื่อกดดันศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งได้หลอกลวงประชาชน ให้ช่วยกันเข้าไปปกป้องการกระทำอันไม่สุจริตของโจทก์
นอกจากนั้น โจทก์ได้ใช้วิธีเล่นการเมืองสกปรก โดยแสวงหาอำนาจต่อรองเพื่ออยู่เหนือกฏหมาย และทำการเมืองอันสกปรกอื่นๆ ที่อาจทำลายชาติบ้านเมือง เพราะโจทก์มีพื้นฐานและที่มาจากการเมืองอันสกปรก และกล่าวหาว่าโจทก์เป็นผู้กระทำความผิดต่อกฏหมายหลายประการ ซึ่งไม้เป็นความจริง คสวามจริงโจทก์มิได้กระทการใดๆตามที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันใส่ความ เหตุเกิดที่ตำบลเมืองสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย และทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักร
อนึ่งจำเลยที่ 1 เป็นบุคคลเดียวกับจำเลยที่ 1 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1211/2545 ของศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ จำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 215/2546 ของศาลจังหวัดตะกั่วป่า ซึ่งทั้งสองสำนวน ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 3 แต่โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี จำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำความผิดในคดีนี้อีก ภายในระยะเวลาที่ศาลจังหวัดตะกั่วป่า และศาลจังหวัดกาฬสินธุ์รอการลงโทษไว้ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 83,90,91,326,328,332 พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 มาตรา 4,48 ให้ยึดหนังสือพิมพ์แนวหน้า ในส่วนที่จำเลยทั้งสี่ได้พิมพ์โฆษณาหมิ่นประมาทโจทก์ ให้จำเลยทั้งสี่ลงพิมพ์ประกาศคำพิพากษาของศาล และคำขออภัยโจทก์ในหนังสือพิมพ์รายวันไทยรัฐ มติชน สยามรัฐ บ้านเมือง ข่าวสด เดลินิวส์ และหนังสือพิมพ์ของจำเลยที่ 2 เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 เดือน โดนยให้จำเลยทั้งสี่เป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมด กับให้นับโทษจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ ต่อจากโทษของจำเลยที่ 1 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1211/2545 ของศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 215/2546 ของศาลจังหวัดตะกั่วป่า และนับโทษของจำเลยที่ 3 ในคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยที่ 3 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 215/2546 ของศาลจังหวัดตะกั่วป่า
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่า คดีมีมูล ให้ประทับรับฟ้อง
จำเลยทั้งสี่ให้การปฏิเสธ และจำเลยที่ 1 ที่ 3 รับว่า เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 และที่ 4 มีความผิดตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 328 ประกอบมาตรา 83 พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 4,48 วรรคสอง จำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 5 มีกำหนดคนละ 3 เดือน และปรับคนละ 50,000 บาท จำเลยที่ 1 และที่ 4 ไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 29,30,30/1 ให้ยึดหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้า ในส่วนที่พิมพ์โฆษณาหมิ่นประมาทโจทก์ ที่อยู่ในครอบครองของจำเลยทีค่ 1 และที่ 4 กับให้จำเลยที่ 1 และที่ 4 ลงพิมพ์ประกาศคำพิพากษาของศาลโดยย่อ พอได้ใจความในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เดลินิวส์ และหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้าของจำเลยที่ 2 ติดต่อกันเป็นเวลา 7 วัน โดยให้จำเลยที่ 1 และที่ 4 เป็นผูชำระค่าโฆษณา ส่วนคำขอให้นับโทษของจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษในคดีอื่นนั้น เนื่องจากคดีนี้าลรอการลงโทษ จึงไม่อาจนับโทษต่อได้ ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 คำขออื่นนอกจานี้ให้ยก
จำเลยที่ 1 และที่ 4 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน
จำเลยที่ 1 และที่ 4 ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้น อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว โจทก์นำสืบว่า โจทก์เป็นหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของคอลัมน์ "น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ พูด" ในหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้า ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 4 เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้าของจำเลยที่ 2 ระหว่างวันที่ 16-17 ก.ค. 2544 เวลากลาสงวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดต่อกฏหมายต่างกรรมต่างวาระกัน โดยจำเลยที่ 1 ได้พิมพ์และโฆษณาข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ในคอลัมน์ "น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ พูด" ของจำเลยที่ 1
โดยพาดหัวในคอลัมน์ดังกล่าวว่า "พลังเงียบ" และบรรยายข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ในย่อหน้าแรกว่า และย่อหน้าที่ 2 ว่า " ตามที่มีการสร้างกระแสอย่างเป็นกระบวนการ และอย่างเป็นระบบเพื่อกดดันศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องแจ้งความเท็จแสดงทรัพย์สินของนายกรัฐมนตรี ผู้นำของประเทศ จนทำให้คนทั่วไปคิดว่า ผู้นำของประเทศในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่เหนือกฏหมาย และอยู่เหนือสามัญชนในขณะนั้น พวกเรา พลังเงียบ ซึ่งเป็นคนกลุ่มมากในประเทศ เฝ้าดูด้วยความเป็นกลาง และห่วงใยต่อความถูกต้อง กฏ ระเบียบ โดยเฉพาะกฏหมายรัฐธรรมนูญ ที่เป็นเสาหลักของบ้านเมือง กำลังถูกคนกลุ่มหนึ่งพยายามทำลายอย่างไร้ยางอาย และไร้ความรับผิดชอบต่อสังคมประเทศชาติ มุ่งแต่ผลประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก"
ในย่อหน้าที่ 5 ว่า เพื่อให้สติแก่ผู้ที่หลงกระแส และกลุ่มบุคคลที่พยายามสร้างกระแสยกย่องพ.ต.ท.ทักษิณ จนดูเหมือนอยู่เหนือสามัญชน ด้วยการเชิญชวนให้อ่านบทความ"สะเดาะเคราห์ - พิธีกรรมต้มตุ๋นทางการเมืองรูปแบบใหม่" ของยอดธง ทับทิวไม้ ในหนังสือพิมพ์รายวันผู้จัดการ ฉบับลงวันที่ 22 มิ.ย.2544 ซึ่งสะท้อนให้เห็นธาตุแท้ของผู้นำประเทศคนปัจจุบันได้เป็นอย่างดี"
ในย่อหน้าที่ 8 ว่า "การกระทำการข่มขู่ศาลรัฐธรรมนูญ หรือการใช้กฏหมายของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ทำติดต่อกันมาเป็นระยะแล้ว แต่เร่งมาโหมกระพือขึ้นรอบด้าน ด้วยการลงทุนกันอย่างขนาดหนัก พุทธมนต์ที่ทำกันนี้ ถ้าจะต้องพิจารณากันในทัศนะทางการเมือง ซึ่งก็จำเป็นจะต้องพิจารณากันก็คือ เป็นการกระทำที่ต้องการหลอกลวงต้มตุ๋นประชาชน ให้ช่วยกันเข้าไปปกป้องการกระทำอันไม่สุจริตของคนที่เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศหรือเพื่อเทิดทูนคนที่เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ ที่มีพฤติกรรมอันน่าเชื่อให้กระทำผิดกฏหมายบ้านเมืองได้อย่างถาวรสืบไป นับว่าเป็นกิจกรรมทางการเมืองในรูปแบบใหม่ อีกรูปหนึ่ง ซึ่งได้จัดการทำพลิกแพลงขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เราพยายามทำลายทุกอย่างในบ้านเมือง เพื่อสนับสนุนชื่นชมการกระทำความผิดของนักการเมืองคนหนึ่งให้อยู่เหนือความถูกต้องที่ควรจะมี"
ในย่อหน้าที่ 10 ว่า "เจ้าของรถเบนว์ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ออกมาประกาศอย่างกล้าหาญว่า ถ้าไม่เอานายกรัฐมนตรีคนนี้แล้วจะเอาใคร? แต่เขาไม่เคยกล้ารับรองหรือค้ำประกันได้ว่า ถ้านายกรัฐมนตรีคนนี้แก้ไม่ได้ และพาบ้านเมืองฉิบหาย เพิ่มเติมต่อไปอีก หลังจากที่รัฐบาลเก่าทำมาแล้ว เขาจะทำหน้าที่ไหนมาแก้ตัวว่า เขาเข้าใจผิด และโง่อย่างน่าบัดซบตรงที่ว่า การเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีหน้าที่รักษากฏหมาย พยายามอยู่เหนือกฏหมายนั้น เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะแม้แต่พระมหากษัตริย์แท้ๆ ของเรา พระองค์ก็ยังไม่อยู่เหนือกฏหมาย ถ้าความฉิบหายใดๆ มันเกิดขึ้นอย่างที่นายกรัฐมนตรรีของประเทศไทย หาวิธีการเล่นการเมืองสกปรก โดยแสวงหาอำนาจต่อรองเพื่ออยู่เหนือกฏหมายนั้น มันก็ผิดอยู่แล้ว จะเอาอะไรมาเป็นหลักประกันว่า นายกรัฐมนตรีที่มีพฤติกรรมทางการเมืองอันสกปรกอื่นๆ ที่อาจจะทำลายชาติบ้านเมืองได้ เพราะพื้นฐานของเขา มาจากการเมืองที่สกปรก"
และในย่อหน้าที่ 15 และ 16 ว่า "ขบวนการวางแผนไปสู่อำนาจเป็นผู้นำของประเทศ ด้วยวิธีไม่อยู่ในทำนองคลองธรรม ซึ่งการกระทำอย่างต่อเนื่อง ทั้งก่อนเลือกตั้งและหลังเลือกตั้ง ตลอดจนในขณะที่มีอำนาจเป็นรัฐบาลเป็นสิ่งที่น่ากลัว เพราะไม่ทราบว่าในอนาคตคนกลุ่มนี้ จะวางแผนเลวร้ายอะไรกับประเทศชาติบ้านเมือง ที่ประชาชนคนไทยรับไม่ได้ แต่กว่าประชาชนจะรู้ตัวก็สายไปเสียแล้ว พวกเราพลังเงียบเริ่มเป็นห่วงอย่างจริงจัง เพราะทุกวันนี้ ก็พยายามทำให้ดู เหมือนอยู่เหนือกฎหมายเหนือสามัญชนอยู่แล้ว น่าห่วงจริงๆ การเป็นผู้นำและสร้างกระแสยืมมือประชาชนสนับสนุนลักษณะหลงผู้นำ เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับตัวเอง แบบผิดๆเป็นอันตรายต่อระบอบประชาธิปไตย เพราะจะเป็นหนทางนำไปสู่ระบบเผด็จการ และจะใช้อำนาจแบบเบ็ตเสร็จ ซึ่งขณะนี้ สภา ส.ส.ก็มีลักษณะเป็นเผด็จการรัฐสภา อยู่แล้ว" รายละเอียดปรากฎตามหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้าฉบับลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2544 หน้า 3 เอกสารหมาย จ.4 ซึ่งข้อความดังกล่าว เมื่อประชาชนหรือบุคคลทั่วไปผู้ที่อ่านบทความดังกล่าว แล้วย่อมต้องเข้าใจได้ว่า โจทก์ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้กระทำความผิดต่อกฎหมาย จึงได้สร้างกระแสอย่างเป็นกระบวนการ และเป็นระบบเพื่อกดดันศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้คนทั่วไป เข้าใจผิดคิดว่าโจทก์อยู่เหนือกฎหมายและอยู่เหนือสามัญชน ด้วยการสะเดาะเคราะห์อันเป็นพิธีกรรมต้มตุ๋นทางการเมืองรูปใหม่
ซึ่งการกระทำเช่นนี้ เป็นการกระทำที่ต้องการหลอกลวงและต้มตุ๋นประชาชนให้ช่วยกันเข้าไปปกป้องการกระทำอันไม่สุจริตและเทิดทูนให้โจทก์เป็นผู้กระทำผิดกฎหมายอย่างถาวร และเข้าใจว่าเป็นโจทก์ได้ใช้วิธีเล่นการเมืองสกปรกโดยแสวงหาอำนาจต่อรองเพื่ออยู่เหนือกฎหมาย และการเมืองสกปรกอื่นๆที่อาจจะทำลายชาติบ้านเมือง เพราะโจทก์มีพื้นฐานและที่มาจากการเมืองสปรก ลักษณะการกระทำของโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำและสร้างกระแสยืมมือประชาชนสนับสนุนในลักษณะหลงผู้นำเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับโจทก์เองแบบผิดๆเป็นอันตรายต่อระบบประชาธิปไตย พร้อมทั้งชี้นำและกล่าวหาว่าโจทก์เป็นผู้กระทำความผิดต่อกฎหมายหลายประการ ซึ่งไม่เป็นความจริง ความจริงโจทก์มิได้กระทำการใดๆที่จะเป็นการกดดันศาลรัฐธรรมนูญ ในการพิจารณาคดีของโจทก์ และโจทก์ให้ความร่วมมือและต่อสู้คดีในศาลรัฐธรรมนูญตามกระบวนการพิจารณาคดีของศาลทั้งสิ้น และผลการพิจารณาคดี ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า โจทก์มิได้กระทำความผิดตามกฎหมาย และโจทก์มิได้กระทำการใดๆที่จะทำให้โจทก์อยู่เหนือกฎหมายหรือประกอบพิธีกรรมใดที่เป็นการต้มตุ๋นประชาชนโจทก์ดำเนินการทางการเมืองโดยสุจริตตามวิถีทางตามรัฐธรรมนูญ โดยเสนอตัวเข้าดำเนินงานทางการเมืองตามระบบเลือกตั้ง และมีประชาชนสนับสนุนสูงสุดจึงได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ดังนั้นการเป็นผู้นำของโจทก์จึงอยู่ในทำนองคลองธรรมทุกประการ ไม่มีพฤติกรรมทางการเมือง ที่สปรกหรือทำลายชาติบ้านเมือง อย่างที่จำเลยที่ 1 ใส่ความแต่อย่างใด ข้อความที่จำเลยที่ 1 ใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์ดังกล่าว ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชังจากประชาชนที่อ่านหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้าฉบับลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2544
จำเลยที่ 1 นำสืบว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้าของจำเลยที่ 2 และเป็นผู้เขียนประจำคอลัมน์"น.ต.ประสงค์ สุนศิริ พูด"ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้า ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ สำหรับการเขียนในคอลัมน์ ประจำของจำเลยที่ 1 จะเป็นบทความในลักษณะของการวิพากษ์วิจารณ์บุคคลหรือสิ่งใด หรือ เสนอแนะแนวทางและความคิดเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน สำหรับบทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้าฉบับวันที่ 17 กรกฎาคม 2544 คอลัมน์"น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ พูด"เรื่อง"พลังเงียบ"ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้ จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นคนเขียน เพียงแต่เป็นการนำเอาจดหมายของผู้อ่านหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้าคนหนึ่งที่ใช้นามแฝงว่า"พลังเงียบ"ที่เขียนมาถึงจำเลยที่ 1 มาลงตีพิมพ์ประกอบข้อเขียนของจำเลยที่ 1 ก่อนที่จะลงตีพิมพ์จำเลยที่ 1 พิจารณาจดหมายแล้วเห็นว่า มีเนื้อหาเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ตามความรู้สึกความเข้าใจและความสงสัยในพฤติกรรมของนักการเมืองซึ่งเป็นบุคคลสาธารณะ ทั้งเป็นการแสดงความห่วงใยในความถูกต้อง กฎ ระเบียบ กฎหมายรัฐธรรมนูญ และความรับผิดชอบของนักการเมือง พร้อมทั้งได้ให้กำลังใจแก่คณะกรรมการ ป.ป.ช.และคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งกำลังพิจารณาคดีของโจทก์ เนื่องจากขณะนั้นมีกลุ่มบุคคลเคลื่อนไหวสนับสนุนโจทก์ในรูปแบบต่างๆจึงย่อมมีเหตุผลที่เพียงพอที่ประชาชนจะแสดงความคิดเห็นและแสดงความเป็นห่วงออกมาได้ หาใช่เป็นการใส่ความโจทก์หรือหมิ่นประมาทโจทก์แต่อย่างใด จึงนำมาลงตีพิมพ์ในคอลัมน์ของจำเลยที่ 1 ในส่วนข้อเขียนของจำเลยที่ 1 ไม่ได้เขียนหรือตอบขยายความผู้ที่ใช้นามแฝงว่า"พลังเงียบ"แต่อย่างใด คงเขียนตอบสั้นๆว่า"เห็นด้วยทุกอย่างครับที่เขียนมา"หรือนัยหนึ่งก็มีความหมายว่าไม่ทราบ ไม่รู้จะตอบอย่างไรนั่นเอง ไม่มีข้อความไดอันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์เช่นกัน
จำเลยที่ 4 นำสืบว่า จำเลยที่ 4 เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจบทความ ที่จะลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ จำเลยที่ 4 ได้ตรวจบทความของจำเลยที่ 1 แล้ว เห็นว่า เป็นการวิพากษ์วิจารณ์การใช้อำนาจของโจทก์ในฐานะนายกรัฐมนตรี จึงเป็นการติชมด้วยความสุจริตจึงอนุญาตให้ลงพิมพ์ได้
พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นฎีการับฟังได้ว่า ในช่วงเกิดเหตุคดีนี้ โจทก์ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคการเมือง ชื่อ พรรคไทยรักไทย และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของคอลัมน์"น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ พูด"ในหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้า จำเลยที่ 4 เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้า จำเลยที่ 1 นำข้อความในจดหมายของผู้ที่ใช้นามแฝงว่า"พลังเงียบ"เขียนถึงจำเลยที่ 1 มาลงพิมพ์และจำเลยที่ 1 เขียนข้อความตอบจดหมายในคอลัมน์"น.ต.ประสงค์ สุนศิริ พูด"รายละเอียดปรากฎตามหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้า เอกสารหมาย จ.4 คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามกฎกาของจำเลยที่ 1 และที่ 4 ว่า ข้อความซึ่งลงพิมพ์ในคอลัมน์"น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ พูด"ในหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้าเอกสารหมาย จ.4 เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์หรือไม่
จำเลยที่ 1 และที่ 4 ฎีกาว่า ข้อความที่ลงพิมพ์ในคอลัมน์"น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ พูด"ในหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้าเอกสารหมาย จ.4 เป็นการแสดงความคิดเห็นความเป็นห่วงเป็นใยในกฎระเบียบกติกา และความถูกต้องของบ้านเมือง เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ติชมด้วยเจตนาสุจริต ด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชน ย่อมกระทำได้โดยชอบตามสิทธิเสรีภาพของประชาชน สื่อมวลชนภายใต้รัฐธรรมนูญ มิใช่เป็นการใส่ความโจทก์ เห็นว่า ขณะที่จำเลยที่ 1 นำข้อความในจดหมายของผู้ที่ใช้นามแฝงว่า"พลังเงียบ"เขียนถึงจำเลยที่ 1 มาลงพิมพ์ในคอลัมน์"น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ พูด"ซึ่งเป็นคอลัมน์ประจำของจำเลยที่ 1 ในหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้านั้น อยู่ในช่วงที่โจทก์ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งทั้งตำแหน่งหัวหน้าพรรคไทยรักไทยและตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถือเป็นตำแหน่งทางการเมือง โดยเฉพาะตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถือเป็นตำแหน่งสูงสุดของฝ่ายบริหารในระบอบการปกครองแบบประชาธิไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และถือว่า เป็นตำแหน่งที่ได้ผ่าน กระบวนการเลือกตั้งจากประชาชนทั้งประเทศ โดยสถานะของโจทก์จึงต้องมีความรับผิดชอบต่อประชาชน ในฐานะนายกรัฐมนตรีที่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชนดังกล่าว
จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่โจทก์ ต้องประพฤติปฎิบัติตนอยู่ในกรอบของจริยธรรมได้แก่ จริยธรรมที่บุคคลทั่วไปพึงต้องปฎิบัติและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทั้งยังต้องปฎิบัติตัวอยู่ในกรอบของกฎหมายบ้านเมืองอย่างเคร่งครัด เพราะหากไม่ประพฤติปฎิบัติอยู่ในกรอบของจริยธรรม และกฎหมายหรือปฎิบัติตัวเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยของสังคมหรือประชาชนแล้ว ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่จะต้องถูกตรวจสอบโดยประชาชนและองคาพยพหรือกลไกต่างๆในสังคม สำหรับคดีนี้ เมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงต่างๆอันเป็นบริบททางสังคมในขณะนั้นก็ได้ความจากหนังสือชื่อ ไทยโพสต์พิเศษเฉพาะกิจเอกสารหมาย ล.1 ว่าก่อนที่โจทก์จะได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยแรก โจทก์เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลที่มีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ในการดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีดังกล่าวโจทก์มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ซึ่งโจทก์ก็ได้ยื่นบัญชีต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.รวม 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 3 เป็นการยื่นในกรณีที่พ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งได้ยื่นเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2541 ต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้ตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริง รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สิน ในระหว่างการตรวจสอบดังกล่าว สื่อมวลชนได้เสนอข่าวเกี่ยวกับการโอนหุ้นของโจทก์ให้แม่บ้าน คนรับใช้ คนขับรถ ยามรักษาความปลอดภัย และคนใกล้ชิดอื่นๆอย่างต่อเนื่อง และมีผู้ร้องเรียนของให้ตรวจสอบบัญชีของโจทก์ คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติรับทราบข้อมูลจากการเสนอข่าวของสื่อมวลชนและจากคำร้องของผู้ร้องเรียนและได้นำข้อมูลดังกล่าวประกอบการพิจารณาตรวจสอบ มีการแต่งตั้งอนุกรรมการตรวจสอบโดยมีคุณหญิงปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา กรรมการ ป.ป.ช.เป็นประธานอนุกรรมการ คณะอนุกรรมการดำเนินการตรวจสอบแล้วเสนอรายงานผลการตรวจสอบลงวันที่ 20 ธันวาคม 2543 ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้ประชุมและมีมติในส่วนที่เกี่ยวกับรายการทรัพย์สินของโจทก์และ/หรือคู่สมรสที่มีชื่อบุคคลอื่นถือไว้แทนว่า โจทก์จงใจยื่นบัญชีฯและเอกสารประกอบด้วย ข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ และมีมติให้เสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาด ศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ไว้พิจารณาวินิจฉัย ซึ่งการที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีความเห็นว่าโจทก์จงใจยื่นบัญชีฯและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือ ปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้ง และได้เสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชีขาดตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 295 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นย่อมเป็นธรรมดาที่ต้องมีประชาชนและสื่อมวลชนระแวงสงสัยว่า โจทก์มีพฤติกรรมดังที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบการทุจริตและประพฤติไม่ชอบของข้าราชการประจำและข้าราชการการเมืองได้มีความเห็นหรือไม่ ซึ่งเมื่อมีข้อสงสัยในตัวโจทก์แล้ว ประชาชนและสื่อมวลชนก็ย่อมมีสิทธิที่จะทำการตรวจสอบพฤติกรรมของโจทก์คู่ขนานไปกับกระบวนการตรวจสอบของศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอื่นๆตามกฎหมายซึ่งการตรวจสอบนี้ ย่อมหมายรวมถึง การติชมในสิ่งที่เห็นว่าโจทก์กระทำไม่เหมาะสมหรือไม่สอดคล้องกับจริยธรรมและกฎหมายด้วย
ดังนั้นการที่มีประชาชนผู้ใช้นามแฝงว่า"พลังเงียบ"เขียนจดหมายมาถึงจำเลยที่ 1 ผู้เป็นสื่อมวลชนและเป็นเจ้าของคอลัมน์"น.ต.ประสงค์ สุนศิริ พูด"ซึ่งเป็นคอลัมน์ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์วิจารณ์ทางการเมืองนั้น ย่อมถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการในการตรวจสอบการปฎิบัติหน้าที่ของโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ เมื่ออ่านข้อความในคอลัมน์ดังกล่าวทั้งหมดแล้วพบว่า ข้อความส่วนหนึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงการดำเนินการของขบวนการที่ไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมและหลักนิติรัฐ มิได้กล่าวโดยเฉพาะเจาะจงว่า โจทก์เป็นผู้กระทำหรืออยู่เบื้องหลังการกระทำที่เป็นการกดดันศาลรัฐธรรมนูญ ในการพิจารณาคดี และเมื่อพิจารณาข้อความในย่อหน้าที่ 1,8,10,15 และ 16 ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 6 เห็นว่าเป็นข้อความที่มีเนื้อหาเป็นการใส่ความโจทก์โดยละเอียดแล้ว ก็พบว่าในส่วนของข้อความในย่อหน้าที่ 1 ที่ระบุว่า"ตามที่มีการสร้างกระแสอย่างเป็นขบวนการและอย่างเป็นระบบเพื่อกดดันศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องแจ้งความเท็จแสดงทรัพย์สินของนายกรัฐมนตรีผู้นำของประเทศจนทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดคิดว่าผู้นำของประเทศในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่เหนือกฎหมายและอยู่เหนือสามัญชนในขณะนี้นั้น"ย่อหน้าที่ 8 ที่ระบุว่า"การกระทำการข่มขู่ศาลรัฐธรรมนูญหรือการใช้กฎหมายของศาลรัฐธรรมนูญที่ทำติดต่อกันมาเป็นระยะเวลาแล้ว แต่เร่งมาโหมกระพือขึ้นรอบด้านด้วยการลงทุนกันอย่างขนาดหนัก พุทธมนต์ที่ทำกันนี้ ถ้าจะต้องพิจารณากันในทัศนะทางการเมือง ซึ่งก็จำเป็นจะต้องพิจารณากันก็คือ เป็นการกระทำที่ต้องการหลอกลวงและต้มตุ๋นประชาชนให้ช่วยกันเข้าไปปกป้องการกระทำอันไม่สุจริตของคนที่เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ หรือ เพื่อเทิดทูลคนที่เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศที่มีพฤติกรรมอันน่าเชื่อให้กระทำผิดกฎหมายบ้านเมืองได้อย่างถาวรสืบไป นับว่าเป็นกิจกรรมทางการเมืองของรูปแบบใหม่อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งได้จัดการพลิกแพลงขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เราพยายามทำลายทุกอย่างในบ้านเมือง เพื่อสนับสนุนชื่นชมการกระทำความผิดของนักการเมืองคนหนึ่งให้อยู่เหนือความถูกต้องที่ควรจะมี"ย่อหน้าที่ 10 ที่ระบุว่า"เจ้าของรถเบนซ์ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ออกมาประกาศอย่างกล้าหาญว่า ถ้าไม่เอานายกรัฐมนตรีคนนี้แล้วจะเอาใคร?แต่เขาไม่เคยกล้ารับรองหรือค้ำประกันได้ว่า ถ้านายกรัฐมนตรีคนนี้แก้ไม่ได้และพาบ้านเมืองฉิบหายเพิ่มเติมต่อไปอีกหลังจากที่รัฐบาลเก่าทำมาแล้ว เขาจะทำหน้าที่ไหนมาแก้ตัวว่าเขาเข้าใจผิดและโง่อย่างน่าบัดซบตรงที่ว่า การเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีหน้าที่รักษากฎหมายพยายามอยู่เหนือกฎหมายนั้น เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะแม้แต่พระมหากษัตริย์แท้ๆของเรา พระองค์ก็ยังไม่ได้อยู่เหนือกฎหมาย ถ้าความฉิบหายใดๆมันเกิดขึ้นอย่างที่นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยหาวิธีการเล่นการเมืองสกปรกโดยแสวงหาอำนาจต่อรองเพื่ออยู่เหนือกฎหมายนั้น มันก็ผิดอยู่แล้ว จะเอาอะไรมาเป็นประกันว่านายกรัฐมนตรีที่มีพฤติกรรมทางการเมืองแบบนี้ จะไม่ทำการทางการเมืองอันสกปรกอื่นๆที่อาจจะทำลายชาติบ้านเมืองได้ เพราะพื้นฐานของเขามาจากการเมืองที่สกปรก"ย่อหน้าที่ 15 ระบุว่า"ขบวนการวางแผนไปสู่อำนาจเป็นผู้นำของประเทศด้วยวิธีไม่อยู่ในทำลองคลองธรรมซึ่งกระทำกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งก่อนเลือกตั้งและหลังเลือกตั้ง ตลอดจนในขณะที่มีอำนาจเป็นรัฐบาลเป็นสิ่งที่น่ากลัว เพราะไม่ทราบว่าในอนาคตคนกลุ่มนี้ จะวางแผนเลวร้ายอะไรกับประเทศชาติบ้านเมือง ที่ประชาชนคนไทยรับไม่ได้ แต่กว่าประชาชนจะรู้ตัวก็สายไปเสียแล้ว พวกเราพลังเงียบเริ่มเป็นห่วงอย่างจริงจังเพราะทุกวันนี้ ก็พยายามทำให้ดูเหมือนอยู่เหนือกฎหมายอยู่เหนือสามัญชนอยู่แล้ว น่าห่วงจริงๆ"และย่อหน้าที่ 16 ระบุว่า"การเป็นผู้นำและสร้างกระแสยืมมือประชาชนสนับสนุนลักษณะหลงผูู้นำเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับตัวเองแบบผิดๆเป็นอันตรายต่อระบบประชาธิปไตยเพราะจะเป็นหนทางนำไปสู่ระบบเผด็จการและจะใช้อำนาจแบบเบ็ตเสร็จ ซึ่งขณะนี้สภา ส.ส.ก็มีลักษณะ เป็นเผด็จการรัฐสภาอยู่แล้ว" ก็ล้วนแต่เป็นการติติงตัวโจทก์ในฐานะนายกรัฐมนตรี โดยอาศัยข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เช่น ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการที่มีคนกลุ่มหนึ่งไปรวมกลุ่มถือป้ายที่มีข้อความให้กำลังใจและสนับสนุนให้โจทก์เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป ที่บริเวณสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ในช่วงที่โจทก์ถูกดำเนินคดีที่ศาลรัฐธรรมนูญ ดังที่ปรากฏตามภาพถ่ายในเอกสารหมาบเลข ล.1 โจทก์เองก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า ตนไม่ได้มีพฤติกรรมตามที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ รวมทั้งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มที่ไปเรียกร้องที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และไม่ได้ประโยชน์จากการเรียกร้อง ข้อความที่จำเลยที่ 1 นำมาลงพิมพ์ในคอลัมน์"น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ พูด" ซึ่งโจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้ จึงถือได้ว่า เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมทำได้ ตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 329(3)
สำหรับข้อความในย่อหน้าที่ 10 ท่อนท้ายที่ระบุว่า "...จะเอาอะไรมาเป็นประกันว่า นายกรัฐมนตรี ที่มีพฤติกรรมทางการเมืองแบบนี้ จะไม่ทำการทางการเมืองอันสกปรกอื่นๆ ที่อาจจะทำลายชาติบ้านเมืองได้ เพราะพื้นฐานของเขามาจากการเมืองที่สกปรก" แม้จะเป็นการกล่าวอ้างที่ใช้ถ้อยคำรุนแรง และเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ในฐานะนักสื่อสารมวลชน ผู้มีวุฒิภาวะสูงควรจะตัดออกไป ไม่ควรนำมาลงพิมพ์ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาความหมายที่แท้จริงของข้อความในส่วนนี้แล้ว ก็น่าเชื่อว่า จะเป็นการกล่าวถึงระบบการเมืองโดยภาพรวมในลักษณะเดียวกันกับคำว่า"วงจรอุบาทว์ทางการเมือง" ซึ่งเป็นคำที่ใช้กันโดยทั่วไปในวิชารัฐศาสตร์ มิได้มีเจตนาที่จะกล่าวถึงตัวโจทก์เป็นการเฉพาะเจาะจง
การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท โดยการโฆษณา
สำหรับจำเลยที่ 4 ในส่วนที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 4 ในฐานะบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ซึ่งลงข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ โดยการโฆษณาตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 326,328 พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 นั้น ในขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการพิมพ์2484 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค. 2550 เป็นต้นไป และพระราชบัญญํติจดแจ้งการพิมพ์พ.ศ.2550 ไม่ได้บัญญัติให้บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ เป็นผู้รับผิดชอบในข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ที่ตนเป็นบรรณาธิการ จำเลยที่ 4 ย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดในส่วนนี้ ตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง และในส่วนขอให้ลงโทษจำเลยที่ 4 ฐานร่วมกับจำเลยที่ 1 หมิ่นประมาทโจทก์โดยการโฆษณานั้น เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 ผู้นำข้อความในจดหมายที่เขียนถึงจำเลยที่ 1 มาลงพิมพ์ และเขียนข้อความตอบจดหมายนั้น ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาแล้ว จำเลยที่ 4 จึงไม่มีความผิดฐานร่วมกันหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาในส่วนนี้ด้วยเช่นกัน
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษามานั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 4 ฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง.
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในวันฟังคำพิพากษาเมื่อวันที่ 17 ม.ค.ที่ผ่านมานั้น มีแนวร่วมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกว่า 100 คน ไปร่วมรับฟังคำพิพากษา และร่วมให้กำลังใจน.ต.ประสงค์ กับนายประพันธ์ คูณมี ทนายความคดีนี้ อย่างอบอุ่น จนแน่นห้องพิจารณา
ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
ที่4948/2554 ศาลฎีกา
วันที่ 13 เดือน มิถุนายน พึทธศักราช 2554
ความอาญา
ระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โจทก์
น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ที่ 1 บริษัทหนังสือพิมพ์แนวหน้า จำกัด ที่ 2 นายวารินทร์ พูนศิริวงศ์ ที่ 3 นายจิระพงค์ เต็มเปี่ยม ที่ 4 จำเลย
เรื่อง หมิ่นประมาท ความผิดต่อพระราชบะญญัติการพิมพ์
จำเลยที่ 1 และที่ 4 ฎีกาคัดค้านคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 6 ลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2549 ศาลฎีกา รับวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2550
โจทก์ฟ้องและแก้ไขฟ้องว่า โจทก์ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของคอลัมน์"น.ต.ประสงค์ สุนศิริพูด" ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า จำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด และเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์รายวัน ใช้ชื่อว่า "หนังสือพิมพ์แนวหน้า" ซึ่งพิมพ์ออกจำหน่ายทั่วราชอาณาจักร จำเลยที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 2 รับผิดชอบในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 4 เป็นบรรณธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้า เมื่อระหว่างวันที่ 16 ถึง17 ก.ค.2544 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำความผิดต่อกฏหมายต่างกรรมต่างวาระกัน กล่าวคือ จำเลยทั้งสี่ และบุคคลที่ไม่ทราบชื่ออีก 1 คน ร่วมกันใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สาม และประชาชนทั่วไป ในประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียง ถุกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง โดยร่วมกันพิมพ์โฆษณาข้อความ ด้วยเอกสารในหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้า ในคอลัมน์ "น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ พูด" โดยพาดหัวในคอลัมน์ดังกล่าวว่า "พลังเงียบ" และบรรยายข้อความใส่ความโจทก์ว่า เรียนท่านประสงค์ สุ่นศิริ ตามที่มีการสร้างกระแสอย่างเป็นกระบวนการ และอย่างเป็นระบบเพื่อกดดันศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องแจ้งความเท็จแสดงทรัพย์สินของนายกรัฐมนตรี ผู้นำของประเทศ จนทำให้คนทั่วไปคิอว่า ผู้นำของประเทศในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่เหนือกฏหมาย และอยู่เหนือสามัญชนในขณะนั้น พวกเรา พลังเงียบ ซึ่งเป็นคนกลุ่มมากในประเทศ เฝ้าดูด้วยความเป็นกลาง และห่วงใยต่อความถูกต้อง กฏ ระเบียบ โดยเฉพาะกฏหมายรัฐธรรมนูญ ที่เป็นเสาหลักของบ้านเมือง กำลังถูกคนกลุ่มหนึ่งพยายามทำลายอย่างไร้ยางอาย และไร้ความรับผิดชอบต่อสังคมประเทศชาติ มุ่งแต่ผลประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก การคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตน จะพาชาติสู่ความหายนะ ไม่ทราบว่า ทุกคนตระหนักถึงความหมายของประโยคดังกล่าวหรือไม่ ในโอกาสนี้ พวกเราพลังเงียบ ขอให้กำลังใจองค์กรอิสระ โดยเฉพาะคณะกรรมการป.ป.ช. (คระกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) และคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ยึดมั่นในความถูกต้อง เพื่อรักษากติกาของบ้านเมืองให้อยู่รอด ไม่ต้องสนใจหรือหวั่นไหวกับกลุ่มสร้างกระแสที่ถูกสร้างอย่างเป็นขบวนการ เพื่อให้สติแก่ผู้ที่หลงกระแส และกลุ่มบุคคลที่พยายามสร้างกระแสยกย่องพ.ต.ท.ทักษิณ จนดูเหมือนอยู่เหนือสามัญชน ด้วยการเชิญชวนให้อ่านบทความ"สะเดาะเคราห์ - พิธีกรรมต้มตุ๋นทางการเมืองรูปแบบใหม่" ของยอดธง ทับทิวไม้ ในหนังสือพิมพ์รายวันผู้จัดการ ฉบับลงวันที่ 22 มิ.ย.2544 ซึ่งสะท้อนให้เห็นธาตุแท้ของผู้นำประเทศคนปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ขออนุญาตนำบทความบางส่วนของยอดธง ทับทิวไม้ ให้เห็นเป็นตัวอย่าง เช่น
"การทำพิธีสะเดาะเคราห์เมือง แก้การกระทำผิดกฏหมายของนายกรัฐมนตรีของประเทศด้วยการหาพระมาสวดมนต์ รู้ไปถึงไหนอายไปถึงนั่น ไม่มีนักการเมืองประเทศไหน ที่แก้ปัญหาความชั่วร้ายทางการเมืองที่มีอาการทางจิตผิดปกติอย่างนั้น นอกจากลงโทษไล่ออก หรือฆ่าทิ้งเสียเท่านั้น"
"พิธีมหาพุทธมนต์ เพื่อไทยพ้นภัย เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ขัดกับหลักการของพระพุทธศาสนา ที่ความดัความชั่วเป็นเรื่องเฉพาะตัว ไม่มีใครทำให้ใครสะอาดได้"
การกระทำการข่มขู่ศาลรัฐธรรมนูญ หรือการใช้กฏหมายของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ทำติดต่อกันมาเป็นระยะแล้ว แต่เร่งมาโหมกระพิอขึ้นรอบด้าน ด้วยการลงทุนกันอย่างขนาดหนัก พุทธมนต์ที่ทำกันนี้ ถ้าจะต้องพิจารณากันในทัศนะทางการเมือง ซึ่งก็จำเป็นจ้อต้องพิจารณากันก็คือ เป็นการกระทำที่ต้องการหลอกลวงต้มตุ๋นประชาชน ให้ช่วยกันเข้าไปปกป้องการกระทำอันไม่สุจริตของคนที่เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ ที่มีพฤติกรรมอันน่าเชื่อให้กระทำผิดกฏหมายบ้านเมืองได้อย่างถาวรสืบไป นับว่าเป็นกิจกรรมทางการเมืองในรูปแบบใหม่ อีกรูปหนึ่ง ซึ่งได้จัดการทำพลิกแพลงขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เราพยายามทำลายทุกอย่างในบ้านเมือง เพื่อสนับสนุนชื่นชมการกระทำความผิดของนักการเมืองคนหนึ่งให้อยู่เหนือความถูกต้องที่ควรจะมี"
"ผู้ดำเนินการเคลื่อนไหวคนหนึ่งบอกว่า เหตุผลที่ต้องการให้นายกรัฐมนตรี ได้รับการยกเว้นจากการลงโทษของกฏหมายนั้น เพราะเชื่อว่าใน 69 ปี ที่ผ่านมานั้น คนที่เป็นนายกรัฐมนตรี หรือเป็นผูนำได้นั้น ไม่เคยมีใครแม้แต่คนเดียว ที่เก่งกาจเหมือนนนายกรัฐมนตรีคนนี้ ซึ่งความจริงเท่าที่เห็นเท่าที่รู้นั้น นายกรัฐมนตรีคนนี้ ไม่เคยแก้อะไรได้แม้แต่อย่างเดียว นอกจากพูดทุกอย่างเข้าไว้ก่อนว่ามันง่าย"
เจ้าของรถเบนว์ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ออกมาประกาศอย่างกล้าหาญว่า ถ้าไม่เอานายกรัฐมนตรีคนนี้แล้วจะเอาใคร? แต่เขาไม่เคยกล้ารับรองหรือค้ำประกันได้ว่า ถ้านายกรัฐมนตรีคนนี้แก้ไม่ได้ และพาบ้านเมืองฉิบหาย เพิ่มเติมต่อไปอีก หลังจากที่รัฐบาลเก่าทำมาแล้ว เขาจะทำหน้าที่ไหนมาแก้ตัวว่า เขาเข้าใจผิด และโง่อย่างน่าบัดซบตรงที่ว่า การเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีหน้าที่รักษากฏหมาย พยายามอยู่เหนือกฏหมายนั้น เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะแม้แต่พระมหากษัตริย์แท้ๆ ของเรา พระองค์ก็ยังไม่อยู่เหนือกฏหมาย ถ้าความฉิบหายใดๆ มันเกิดขึ้นอย่างที่นายกรัฐมนตรรีของประเทศไทย หาวิธีการเล่นการเมืองสกปรก โดยแสวงหาอำนาจต่อรองเพื่ออยู่เหนือกฏหมายนั้น มันก็ผิดอยู่แล้ว จะเอาอะไรมาเป็นหลักประกันว่า นายกรัฐมนตรีที่มีพฤติกรรมทางการเมืองอันสกปรกอื่นๆ ที่อาจจะทำลายชาติบ้านเมืองได้ เพราะพื้นฐานของเขา มาจากการเมืองที่สกปรก"
"ผม(ยอดธง ทับทิวไม้) เป็นเพียงแต่ลุกผู้ชายไทยคนหนึ่งที่ต้องการเห็นผู้นำของประเทศมีความเป็นลูกผู้ชายเพียงพอ ผิดก็รับว่าผิด ถูกก็รับว่าถูก ไม่ใช้วิธีการกะล่อนหรือคดในข้องอในกระดูก ในการขึ้นมาเป็นผู้นำบ้านเมือง ซึ่งจะต้องเป็นตัวอย่างแก่ผู้คนทุกคน"
ข้อความข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของบทความของยอดธง ทับทิวไม้ สำหรับกลุ่มสนับสนุนนายกรัฐมนตรี พยายามยกประเด็นของคุณหญิงปรียาขึ้นมาทำนองว่า คุณหญิงปรียาในฐานะประธานกรรมการสอบสวนคดีแจ้งทรัพย์อันเป็นเท็จ(กรณีซุกหุ้นและอื่นๆ)ของนายกรัฐมนตรี ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่า มีความผิดขาดคุณสมบัติเป็นกรรมการป.ป.ช.แล้ว คดีแจ้งทรัพย์อันเป็นเท็จของนายกรัฐมนตรี จะเป็นดมฆะไปด้วยนั้น ก็อยากจะถามว่า ถ้าศาลตัดสินว่า นายกรัฐมนตรีมีความผิดคดีแจ้งทรัพย์สินอันเป็นเท็จ นิติกรรมใดๆของพ.ต.ท.ทักษิณ ที่กระทำในฐานะนายกรัฐมนตรีจะเป็นโมฆะทั้งหมดหรือไม่ กรณีที่นายเกรียง ประธานสมมัชชาส.ส.ร.เสนอให้องค์กรประชาชนที่สนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณ ขอพระราชทานอภัยโทษจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัว ยิ่งเป็นเรื่องไม่บังควรอย่างยิ่ง ที่จะดึงสถาบันเบื้องสูง ซึ่งเป็นที่เคารพอย่างสูงของประชาชนทั้งประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง กับความถูกความผิดของคนเพียงคนเดียว เพราะคนคนหนึ่งมีทั้งความดีและความไม่ดี ดังนั้น ย่อมมีทั้งคนชอบและไม่ชอบ สถาบันเบื้องสูง ไม่อยู่ในสถานะที่จะเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหยึ่งได้ อย่าบังอาจคิดทำในสิ่งที่ไม่ควรเด็ดขาด เฉพาะส.ส.ร. เป็นกลุ่มคนร่างกฏหมายรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน ไม่ควรมีความคิดเช่นนี้ เพราะจะเข้าทำนองทำเองและทำลายเอง ดูไม่ดีแน่ ขบวนการวางแผนไปสู่อำนาจเป็นผูนำของประเทศ ด้วยวิธีไม่อยู่ในทำนองคลองธรรม ซึ่งกระทำกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งก่อนเลือกตั้งและหลังเลือกตั้ง ตลอดจนในขณะที่มีอำนาจเป็นรัฐบาลเป็นสิ่งที่น่ากลัว เพราะไม่ทราบว่า ในอนาคต คนกลุ่มนี้จะวางแผนร้ายอะไรกับประเทศชาติบ้านเมือง ที่ประชาชนคนไทยรับไม่ได้ แต่กว่าประชาชนจะรู้ตัว ก็สายไปเสียแล้ว พวกเราพลังเงียบ เริ่มเป็นห่วงอย่างจริงจัง เพราะทุกวันนี้ก็พยายามทำให้ดูเหมือนอยู่เหนือกฏหมายเหนือสามัญชนอยู่แล้ว น่าห่วงจริงๆ การเป็นผูนำและสร้างกระแสยืมมือประชาชนสนับสนุนลักษณะหลงผู้นำ เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับตัวเองแบบผิดๆ เป็นอันตรายต่อระบบประชาธิปไตย เพราะจะเป็นหนทางนำไปสู่ระบบเผด็จการ และจะใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งขณะนี้าสภาส.ส. ก็มีลักษณะเป็นเผด็จดารรัฐสภาอยู่แล้ว ขอแสดงความนับถือ "พลังเงียบ"
ซึ่งจำเลยที่ 1ก็ได้ตอบจดหมายของผู้ที่ใช้ชื่อว่า"พลังเงียบ" ว่า เห็นด้วยทุกอย่างครับที่เขียนมา ข้อความดังกล่าวข้างต้น จำเลนยทั้งสี่เจตนาพิมพ์โฆษณาใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์ต่อบุคคลที่สามหริอประชาชนทั่วไป ซึ่งเมื่อได้อ่านบทความที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันพิมพ์โฆษณาแล้วต้องเข้าใจว่า โจทก์ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้กระทำความผิดต่อกฏหมาย จึงได้สร้างกระแสอย่างเป็นกระบวนการ และเป็นระบบ เพื่อกดดันศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งได้หลอกลวงประชาชน ให้ช่วยกันเข้าไปปกป้องการกระทำอันไม่สุจริตของโจทก์
นอกจากนั้น โจทก์ได้ใช้วิธีเล่นการเมืองสกปรก โดยแสวงหาอำนาจต่อรองเพื่ออยู่เหนือกฏหมาย และทำการเมืองอันสกปรกอื่นๆ ที่อาจทำลายชาติบ้านเมือง เพราะโจทก์มีพื้นฐานและที่มาจากการเมืองอันสกปรก และกล่าวหาว่าโจทก์เป็นผู้กระทำความผิดต่อกฏหมายหลายประการ ซึ่งไม้เป็นความจริง คสวามจริงโจทก์มิได้กระทการใดๆตามที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันใส่ความ เหตุเกิดที่ตำบลเมืองสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย และทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักร
อนึ่งจำเลยที่ 1 เป็นบุคคลเดียวกับจำเลยที่ 1 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1211/2545 ของศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ จำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 215/2546 ของศาลจังหวัดตะกั่วป่า ซึ่งทั้งสองสำนวน ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 3 แต่โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี จำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำความผิดในคดีนี้อีก ภายในระยะเวลาที่ศาลจังหวัดตะกั่วป่า และศาลจังหวัดกาฬสินธุ์รอการลงโทษไว้ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 83,90,91,326,328,332 พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 มาตรา 4,48 ให้ยึดหนังสือพิมพ์แนวหน้า ในส่วนที่จำเลยทั้งสี่ได้พิมพ์โฆษณาหมิ่นประมาทโจทก์ ให้จำเลยทั้งสี่ลงพิมพ์ประกาศคำพิพากษาของศาล และคำขออภัยโจทก์ในหนังสือพิมพ์รายวันไทยรัฐ มติชน สยามรัฐ บ้านเมือง ข่าวสด เดลินิวส์ และหนังสือพิมพ์ของจำเลยที่ 2 เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 เดือน โดนยให้จำเลยทั้งสี่เป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมด กับให้นับโทษจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ ต่อจากโทษของจำเลยที่ 1 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1211/2545 ของศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 215/2546 ของศาลจังหวัดตะกั่วป่า และนับโทษของจำเลยที่ 3 ในคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยที่ 3 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 215/2546 ของศาลจังหวัดตะกั่วป่า
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่า คดีมีมูล ให้ประทับรับฟ้อง
จำเลยทั้งสี่ให้การปฏิเสธ และจำเลยที่ 1 ที่ 3 รับว่า เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 และที่ 4 มีความผิดตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 328 ประกอบมาตรา 83 พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 4,48 วรรคสอง จำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 5 มีกำหนดคนละ 3 เดือน และปรับคนละ 50,000 บาท จำเลยที่ 1 และที่ 4 ไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 29,30,30/1 ให้ยึดหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้า ในส่วนที่พิมพ์โฆษณาหมิ่นประมาทโจทก์ ที่อยู่ในครอบครองของจำเลยทีค่ 1 และที่ 4 กับให้จำเลยที่ 1 และที่ 4 ลงพิมพ์ประกาศคำพิพากษาของศาลโดยย่อ พอได้ใจความในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เดลินิวส์ และหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้าของจำเลยที่ 2 ติดต่อกันเป็นเวลา 7 วัน โดยให้จำเลยที่ 1 และที่ 4 เป็นผูชำระค่าโฆษณา ส่วนคำขอให้นับโทษของจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษในคดีอื่นนั้น เนื่องจากคดีนี้าลรอการลงโทษ จึงไม่อาจนับโทษต่อได้ ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 คำขออื่นนอกจานี้ให้ยก
จำเลยที่ 1 และที่ 4 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน
จำเลยที่ 1 และที่ 4 ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้น อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว โจทก์นำสืบว่า โจทก์เป็นหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของคอลัมน์ "น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ พูด" ในหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้า ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 4 เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้าของจำเลยที่ 2 ระหว่างวันที่ 16-17 ก.ค. 2544 เวลากลาสงวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดต่อกฏหมายต่างกรรมต่างวาระกัน โดยจำเลยที่ 1 ได้พิมพ์และโฆษณาข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ในคอลัมน์ "น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ พูด" ของจำเลยที่ 1
โดยพาดหัวในคอลัมน์ดังกล่าวว่า "พลังเงียบ" และบรรยายข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ในย่อหน้าแรกว่า และย่อหน้าที่ 2 ว่า " ตามที่มีการสร้างกระแสอย่างเป็นกระบวนการ และอย่างเป็นระบบเพื่อกดดันศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องแจ้งความเท็จแสดงทรัพย์สินของนายกรัฐมนตรี ผู้นำของประเทศ จนทำให้คนทั่วไปคิดว่า ผู้นำของประเทศในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่เหนือกฏหมาย และอยู่เหนือสามัญชนในขณะนั้น พวกเรา พลังเงียบ ซึ่งเป็นคนกลุ่มมากในประเทศ เฝ้าดูด้วยความเป็นกลาง และห่วงใยต่อความถูกต้อง กฏ ระเบียบ โดยเฉพาะกฏหมายรัฐธรรมนูญ ที่เป็นเสาหลักของบ้านเมือง กำลังถูกคนกลุ่มหนึ่งพยายามทำลายอย่างไร้ยางอาย และไร้ความรับผิดชอบต่อสังคมประเทศชาติ มุ่งแต่ผลประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก"
ในย่อหน้าที่ 5 ว่า เพื่อให้สติแก่ผู้ที่หลงกระแส และกลุ่มบุคคลที่พยายามสร้างกระแสยกย่องพ.ต.ท.ทักษิณ จนดูเหมือนอยู่เหนือสามัญชน ด้วยการเชิญชวนให้อ่านบทความ"สะเดาะเคราห์ - พิธีกรรมต้มตุ๋นทางการเมืองรูปแบบใหม่" ของยอดธง ทับทิวไม้ ในหนังสือพิมพ์รายวันผู้จัดการ ฉบับลงวันที่ 22 มิ.ย.2544 ซึ่งสะท้อนให้เห็นธาตุแท้ของผู้นำประเทศคนปัจจุบันได้เป็นอย่างดี"
ในย่อหน้าที่ 8 ว่า "การกระทำการข่มขู่ศาลรัฐธรรมนูญ หรือการใช้กฏหมายของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ทำติดต่อกันมาเป็นระยะแล้ว แต่เร่งมาโหมกระพือขึ้นรอบด้าน ด้วยการลงทุนกันอย่างขนาดหนัก พุทธมนต์ที่ทำกันนี้ ถ้าจะต้องพิจารณากันในทัศนะทางการเมือง ซึ่งก็จำเป็นจะต้องพิจารณากันก็คือ เป็นการกระทำที่ต้องการหลอกลวงต้มตุ๋นประชาชน ให้ช่วยกันเข้าไปปกป้องการกระทำอันไม่สุจริตของคนที่เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศหรือเพื่อเทิดทูนคนที่เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ ที่มีพฤติกรรมอันน่าเชื่อให้กระทำผิดกฏหมายบ้านเมืองได้อย่างถาวรสืบไป นับว่าเป็นกิจกรรมทางการเมืองในรูปแบบใหม่ อีกรูปหนึ่ง ซึ่งได้จัดการทำพลิกแพลงขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เราพยายามทำลายทุกอย่างในบ้านเมือง เพื่อสนับสนุนชื่นชมการกระทำความผิดของนักการเมืองคนหนึ่งให้อยู่เหนือความถูกต้องที่ควรจะมี"
ในย่อหน้าที่ 10 ว่า "เจ้าของรถเบนว์ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ออกมาประกาศอย่างกล้าหาญว่า ถ้าไม่เอานายกรัฐมนตรีคนนี้แล้วจะเอาใคร? แต่เขาไม่เคยกล้ารับรองหรือค้ำประกันได้ว่า ถ้านายกรัฐมนตรีคนนี้แก้ไม่ได้ และพาบ้านเมืองฉิบหาย เพิ่มเติมต่อไปอีก หลังจากที่รัฐบาลเก่าทำมาแล้ว เขาจะทำหน้าที่ไหนมาแก้ตัวว่า เขาเข้าใจผิด และโง่อย่างน่าบัดซบตรงที่ว่า การเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีหน้าที่รักษากฏหมาย พยายามอยู่เหนือกฏหมายนั้น เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะแม้แต่พระมหากษัตริย์แท้ๆ ของเรา พระองค์ก็ยังไม่อยู่เหนือกฏหมาย ถ้าความฉิบหายใดๆ มันเกิดขึ้นอย่างที่นายกรัฐมนตรรีของประเทศไทย หาวิธีการเล่นการเมืองสกปรก โดยแสวงหาอำนาจต่อรองเพื่ออยู่เหนือกฏหมายนั้น มันก็ผิดอยู่แล้ว จะเอาอะไรมาเป็นหลักประกันว่า นายกรัฐมนตรีที่มีพฤติกรรมทางการเมืองอันสกปรกอื่นๆ ที่อาจจะทำลายชาติบ้านเมืองได้ เพราะพื้นฐานของเขา มาจากการเมืองที่สกปรก"
และในย่อหน้าที่ 15 และ 16 ว่า "ขบวนการวางแผนไปสู่อำนาจเป็นผู้นำของประเทศ ด้วยวิธีไม่อยู่ในทำนองคลองธรรม ซึ่งการกระทำอย่างต่อเนื่อง ทั้งก่อนเลือกตั้งและหลังเลือกตั้ง ตลอดจนในขณะที่มีอำนาจเป็นรัฐบาลเป็นสิ่งที่น่ากลัว เพราะไม่ทราบว่าในอนาคตคนกลุ่มนี้ จะวางแผนเลวร้ายอะไรกับประเทศชาติบ้านเมือง ที่ประชาชนคนไทยรับไม่ได้ แต่กว่าประชาชนจะรู้ตัวก็สายไปเสียแล้ว พวกเราพลังเงียบเริ่มเป็นห่วงอย่างจริงจัง เพราะทุกวันนี้ ก็พยายามทำให้ดู เหมือนอยู่เหนือกฎหมายเหนือสามัญชนอยู่แล้ว น่าห่วงจริงๆ การเป็นผู้นำและสร้างกระแสยืมมือประชาชนสนับสนุนลักษณะหลงผู้นำ เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับตัวเอง แบบผิดๆเป็นอันตรายต่อระบอบประชาธิปไตย เพราะจะเป็นหนทางนำไปสู่ระบบเผด็จการ และจะใช้อำนาจแบบเบ็ตเสร็จ ซึ่งขณะนี้ สภา ส.ส.ก็มีลักษณะเป็นเผด็จการรัฐสภา อยู่แล้ว" รายละเอียดปรากฎตามหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้าฉบับลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2544 หน้า 3 เอกสารหมาย จ.4 ซึ่งข้อความดังกล่าว เมื่อประชาชนหรือบุคคลทั่วไปผู้ที่อ่านบทความดังกล่าว แล้วย่อมต้องเข้าใจได้ว่า โจทก์ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้กระทำความผิดต่อกฎหมาย จึงได้สร้างกระแสอย่างเป็นกระบวนการ และเป็นระบบเพื่อกดดันศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้คนทั่วไป เข้าใจผิดคิดว่าโจทก์อยู่เหนือกฎหมายและอยู่เหนือสามัญชน ด้วยการสะเดาะเคราะห์อันเป็นพิธีกรรมต้มตุ๋นทางการเมืองรูปใหม่
ซึ่งการกระทำเช่นนี้ เป็นการกระทำที่ต้องการหลอกลวงและต้มตุ๋นประชาชนให้ช่วยกันเข้าไปปกป้องการกระทำอันไม่สุจริตและเทิดทูนให้โจทก์เป็นผู้กระทำผิดกฎหมายอย่างถาวร และเข้าใจว่าเป็นโจทก์ได้ใช้วิธีเล่นการเมืองสกปรกโดยแสวงหาอำนาจต่อรองเพื่ออยู่เหนือกฎหมาย และการเมืองสกปรกอื่นๆที่อาจจะทำลายชาติบ้านเมือง เพราะโจทก์มีพื้นฐานและที่มาจากการเมืองสปรก ลักษณะการกระทำของโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำและสร้างกระแสยืมมือประชาชนสนับสนุนในลักษณะหลงผู้นำเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับโจทก์เองแบบผิดๆเป็นอันตรายต่อระบบประชาธิปไตย พร้อมทั้งชี้นำและกล่าวหาว่าโจทก์เป็นผู้กระทำความผิดต่อกฎหมายหลายประการ ซึ่งไม่เป็นความจริง ความจริงโจทก์มิได้กระทำการใดๆที่จะเป็นการกดดันศาลรัฐธรรมนูญ ในการพิจารณาคดีของโจทก์ และโจทก์ให้ความร่วมมือและต่อสู้คดีในศาลรัฐธรรมนูญตามกระบวนการพิจารณาคดีของศาลทั้งสิ้น และผลการพิจารณาคดี ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า โจทก์มิได้กระทำความผิดตามกฎหมาย และโจทก์มิได้กระทำการใดๆที่จะทำให้โจทก์อยู่เหนือกฎหมายหรือประกอบพิธีกรรมใดที่เป็นการต้มตุ๋นประชาชนโจทก์ดำเนินการทางการเมืองโดยสุจริตตามวิถีทางตามรัฐธรรมนูญ โดยเสนอตัวเข้าดำเนินงานทางการเมืองตามระบบเลือกตั้ง และมีประชาชนสนับสนุนสูงสุดจึงได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ดังนั้นการเป็นผู้นำของโจทก์จึงอยู่ในทำนองคลองธรรมทุกประการ ไม่มีพฤติกรรมทางการเมือง ที่สปรกหรือทำลายชาติบ้านเมือง อย่างที่จำเลยที่ 1 ใส่ความแต่อย่างใด ข้อความที่จำเลยที่ 1 ใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์ดังกล่าว ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชังจากประชาชนที่อ่านหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้าฉบับลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2544
จำเลยที่ 1 นำสืบว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้าของจำเลยที่ 2 และเป็นผู้เขียนประจำคอลัมน์"น.ต.ประสงค์ สุนศิริ พูด"ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้า ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ สำหรับการเขียนในคอลัมน์ ประจำของจำเลยที่ 1 จะเป็นบทความในลักษณะของการวิพากษ์วิจารณ์บุคคลหรือสิ่งใด หรือ เสนอแนะแนวทางและความคิดเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน สำหรับบทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้าฉบับวันที่ 17 กรกฎาคม 2544 คอลัมน์"น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ พูด"เรื่อง"พลังเงียบ"ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้ จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นคนเขียน เพียงแต่เป็นการนำเอาจดหมายของผู้อ่านหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้าคนหนึ่งที่ใช้นามแฝงว่า"พลังเงียบ"ที่เขียนมาถึงจำเลยที่ 1 มาลงตีพิมพ์ประกอบข้อเขียนของจำเลยที่ 1 ก่อนที่จะลงตีพิมพ์จำเลยที่ 1 พิจารณาจดหมายแล้วเห็นว่า มีเนื้อหาเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ตามความรู้สึกความเข้าใจและความสงสัยในพฤติกรรมของนักการเมืองซึ่งเป็นบุคคลสาธารณะ ทั้งเป็นการแสดงความห่วงใยในความถูกต้อง กฎ ระเบียบ กฎหมายรัฐธรรมนูญ และความรับผิดชอบของนักการเมือง พร้อมทั้งได้ให้กำลังใจแก่คณะกรรมการ ป.ป.ช.และคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งกำลังพิจารณาคดีของโจทก์ เนื่องจากขณะนั้นมีกลุ่มบุคคลเคลื่อนไหวสนับสนุนโจทก์ในรูปแบบต่างๆจึงย่อมมีเหตุผลที่เพียงพอที่ประชาชนจะแสดงความคิดเห็นและแสดงความเป็นห่วงออกมาได้ หาใช่เป็นการใส่ความโจทก์หรือหมิ่นประมาทโจทก์แต่อย่างใด จึงนำมาลงตีพิมพ์ในคอลัมน์ของจำเลยที่ 1 ในส่วนข้อเขียนของจำเลยที่ 1 ไม่ได้เขียนหรือตอบขยายความผู้ที่ใช้นามแฝงว่า"พลังเงียบ"แต่อย่างใด คงเขียนตอบสั้นๆว่า"เห็นด้วยทุกอย่างครับที่เขียนมา"หรือนัยหนึ่งก็มีความหมายว่าไม่ทราบ ไม่รู้จะตอบอย่างไรนั่นเอง ไม่มีข้อความไดอันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์เช่นกัน
จำเลยที่ 4 นำสืบว่า จำเลยที่ 4 เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจบทความ ที่จะลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ จำเลยที่ 4 ได้ตรวจบทความของจำเลยที่ 1 แล้ว เห็นว่า เป็นการวิพากษ์วิจารณ์การใช้อำนาจของโจทก์ในฐานะนายกรัฐมนตรี จึงเป็นการติชมด้วยความสุจริตจึงอนุญาตให้ลงพิมพ์ได้
พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นฎีการับฟังได้ว่า ในช่วงเกิดเหตุคดีนี้ โจทก์ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคการเมือง ชื่อ พรรคไทยรักไทย และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของคอลัมน์"น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ พูด"ในหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้า จำเลยที่ 4 เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้า จำเลยที่ 1 นำข้อความในจดหมายของผู้ที่ใช้นามแฝงว่า"พลังเงียบ"เขียนถึงจำเลยที่ 1 มาลงพิมพ์และจำเลยที่ 1 เขียนข้อความตอบจดหมายในคอลัมน์"น.ต.ประสงค์ สุนศิริ พูด"รายละเอียดปรากฎตามหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้า เอกสารหมาย จ.4 คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามกฎกาของจำเลยที่ 1 และที่ 4 ว่า ข้อความซึ่งลงพิมพ์ในคอลัมน์"น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ พูด"ในหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้าเอกสารหมาย จ.4 เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์หรือไม่
จำเลยที่ 1 และที่ 4 ฎีกาว่า ข้อความที่ลงพิมพ์ในคอลัมน์"น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ พูด"ในหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้าเอกสารหมาย จ.4 เป็นการแสดงความคิดเห็นความเป็นห่วงเป็นใยในกฎระเบียบกติกา และความถูกต้องของบ้านเมือง เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ติชมด้วยเจตนาสุจริต ด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชน ย่อมกระทำได้โดยชอบตามสิทธิเสรีภาพของประชาชน สื่อมวลชนภายใต้รัฐธรรมนูญ มิใช่เป็นการใส่ความโจทก์ เห็นว่า ขณะที่จำเลยที่ 1 นำข้อความในจดหมายของผู้ที่ใช้นามแฝงว่า"พลังเงียบ"เขียนถึงจำเลยที่ 1 มาลงพิมพ์ในคอลัมน์"น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ พูด"ซึ่งเป็นคอลัมน์ประจำของจำเลยที่ 1 ในหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้านั้น อยู่ในช่วงที่โจทก์ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งทั้งตำแหน่งหัวหน้าพรรคไทยรักไทยและตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถือเป็นตำแหน่งทางการเมือง โดยเฉพาะตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถือเป็นตำแหน่งสูงสุดของฝ่ายบริหารในระบอบการปกครองแบบประชาธิไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และถือว่า เป็นตำแหน่งที่ได้ผ่าน กระบวนการเลือกตั้งจากประชาชนทั้งประเทศ โดยสถานะของโจทก์จึงต้องมีความรับผิดชอบต่อประชาชน ในฐานะนายกรัฐมนตรีที่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชนดังกล่าว
จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่โจทก์ ต้องประพฤติปฎิบัติตนอยู่ในกรอบของจริยธรรมได้แก่ จริยธรรมที่บุคคลทั่วไปพึงต้องปฎิบัติและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทั้งยังต้องปฎิบัติตัวอยู่ในกรอบของกฎหมายบ้านเมืองอย่างเคร่งครัด เพราะหากไม่ประพฤติปฎิบัติอยู่ในกรอบของจริยธรรม และกฎหมายหรือปฎิบัติตัวเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยของสังคมหรือประชาชนแล้ว ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่จะต้องถูกตรวจสอบโดยประชาชนและองคาพยพหรือกลไกต่างๆในสังคม สำหรับคดีนี้ เมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงต่างๆอันเป็นบริบททางสังคมในขณะนั้นก็ได้ความจากหนังสือชื่อ ไทยโพสต์พิเศษเฉพาะกิจเอกสารหมาย ล.1 ว่าก่อนที่โจทก์จะได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยแรก โจทก์เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลที่มีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ในการดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีดังกล่าวโจทก์มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ซึ่งโจทก์ก็ได้ยื่นบัญชีต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.รวม 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 3 เป็นการยื่นในกรณีที่พ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งได้ยื่นเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2541 ต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้ตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริง รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สิน ในระหว่างการตรวจสอบดังกล่าว สื่อมวลชนได้เสนอข่าวเกี่ยวกับการโอนหุ้นของโจทก์ให้แม่บ้าน คนรับใช้ คนขับรถ ยามรักษาความปลอดภัย และคนใกล้ชิดอื่นๆอย่างต่อเนื่อง และมีผู้ร้องเรียนของให้ตรวจสอบบัญชีของโจทก์ คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติรับทราบข้อมูลจากการเสนอข่าวของสื่อมวลชนและจากคำร้องของผู้ร้องเรียนและได้นำข้อมูลดังกล่าวประกอบการพิจารณาตรวจสอบ มีการแต่งตั้งอนุกรรมการตรวจสอบโดยมีคุณหญิงปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา กรรมการ ป.ป.ช.เป็นประธานอนุกรรมการ คณะอนุกรรมการดำเนินการตรวจสอบแล้วเสนอรายงานผลการตรวจสอบลงวันที่ 20 ธันวาคม 2543 ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้ประชุมและมีมติในส่วนที่เกี่ยวกับรายการทรัพย์สินของโจทก์และ/หรือคู่สมรสที่มีชื่อบุคคลอื่นถือไว้แทนว่า โจทก์จงใจยื่นบัญชีฯและเอกสารประกอบด้วย ข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ และมีมติให้เสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาด ศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ไว้พิจารณาวินิจฉัย ซึ่งการที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีความเห็นว่าโจทก์จงใจยื่นบัญชีฯและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือ ปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้ง และได้เสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชีขาดตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 295 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นย่อมเป็นธรรมดาที่ต้องมีประชาชนและสื่อมวลชนระแวงสงสัยว่า โจทก์มีพฤติกรรมดังที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบการทุจริตและประพฤติไม่ชอบของข้าราชการประจำและข้าราชการการเมืองได้มีความเห็นหรือไม่ ซึ่งเมื่อมีข้อสงสัยในตัวโจทก์แล้ว ประชาชนและสื่อมวลชนก็ย่อมมีสิทธิที่จะทำการตรวจสอบพฤติกรรมของโจทก์คู่ขนานไปกับกระบวนการตรวจสอบของศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอื่นๆตามกฎหมายซึ่งการตรวจสอบนี้ ย่อมหมายรวมถึง การติชมในสิ่งที่เห็นว่าโจทก์กระทำไม่เหมาะสมหรือไม่สอดคล้องกับจริยธรรมและกฎหมายด้วย
ดังนั้นการที่มีประชาชนผู้ใช้นามแฝงว่า"พลังเงียบ"เขียนจดหมายมาถึงจำเลยที่ 1 ผู้เป็นสื่อมวลชนและเป็นเจ้าของคอลัมน์"น.ต.ประสงค์ สุนศิริ พูด"ซึ่งเป็นคอลัมน์ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์วิจารณ์ทางการเมืองนั้น ย่อมถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการในการตรวจสอบการปฎิบัติหน้าที่ของโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ เมื่ออ่านข้อความในคอลัมน์ดังกล่าวทั้งหมดแล้วพบว่า ข้อความส่วนหนึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงการดำเนินการของขบวนการที่ไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมและหลักนิติรัฐ มิได้กล่าวโดยเฉพาะเจาะจงว่า โจทก์เป็นผู้กระทำหรืออยู่เบื้องหลังการกระทำที่เป็นการกดดันศาลรัฐธรรมนูญ ในการพิจารณาคดี และเมื่อพิจารณาข้อความในย่อหน้าที่ 1,8,10,15 และ 16 ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 6 เห็นว่าเป็นข้อความที่มีเนื้อหาเป็นการใส่ความโจทก์โดยละเอียดแล้ว ก็พบว่าในส่วนของข้อความในย่อหน้าที่ 1 ที่ระบุว่า"ตามที่มีการสร้างกระแสอย่างเป็นขบวนการและอย่างเป็นระบบเพื่อกดดันศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องแจ้งความเท็จแสดงทรัพย์สินของนายกรัฐมนตรีผู้นำของประเทศจนทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดคิดว่าผู้นำของประเทศในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่เหนือกฎหมายและอยู่เหนือสามัญชนในขณะนี้นั้น"ย่อหน้าที่ 8 ที่ระบุว่า"การกระทำการข่มขู่ศาลรัฐธรรมนูญหรือการใช้กฎหมายของศาลรัฐธรรมนูญที่ทำติดต่อกันมาเป็นระยะเวลาแล้ว แต่เร่งมาโหมกระพือขึ้นรอบด้านด้วยการลงทุนกันอย่างขนาดหนัก พุทธมนต์ที่ทำกันนี้ ถ้าจะต้องพิจารณากันในทัศนะทางการเมือง ซึ่งก็จำเป็นจะต้องพิจารณากันก็คือ เป็นการกระทำที่ต้องการหลอกลวงและต้มตุ๋นประชาชนให้ช่วยกันเข้าไปปกป้องการกระทำอันไม่สุจริตของคนที่เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ หรือ เพื่อเทิดทูลคนที่เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศที่มีพฤติกรรมอันน่าเชื่อให้กระทำผิดกฎหมายบ้านเมืองได้อย่างถาวรสืบไป นับว่าเป็นกิจกรรมทางการเมืองของรูปแบบใหม่อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งได้จัดการพลิกแพลงขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เราพยายามทำลายทุกอย่างในบ้านเมือง เพื่อสนับสนุนชื่นชมการกระทำความผิดของนักการเมืองคนหนึ่งให้อยู่เหนือความถูกต้องที่ควรจะมี"ย่อหน้าที่ 10 ที่ระบุว่า"เจ้าของรถเบนซ์ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ออกมาประกาศอย่างกล้าหาญว่า ถ้าไม่เอานายกรัฐมนตรีคนนี้แล้วจะเอาใคร?แต่เขาไม่เคยกล้ารับรองหรือค้ำประกันได้ว่า ถ้านายกรัฐมนตรีคนนี้แก้ไม่ได้และพาบ้านเมืองฉิบหายเพิ่มเติมต่อไปอีกหลังจากที่รัฐบาลเก่าทำมาแล้ว เขาจะทำหน้าที่ไหนมาแก้ตัวว่าเขาเข้าใจผิดและโง่อย่างน่าบัดซบตรงที่ว่า การเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีหน้าที่รักษากฎหมายพยายามอยู่เหนือกฎหมายนั้น เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะแม้แต่พระมหากษัตริย์แท้ๆของเรา พระองค์ก็ยังไม่ได้อยู่เหนือกฎหมาย ถ้าความฉิบหายใดๆมันเกิดขึ้นอย่างที่นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยหาวิธีการเล่นการเมืองสกปรกโดยแสวงหาอำนาจต่อรองเพื่ออยู่เหนือกฎหมายนั้น มันก็ผิดอยู่แล้ว จะเอาอะไรมาเป็นประกันว่านายกรัฐมนตรีที่มีพฤติกรรมทางการเมืองแบบนี้ จะไม่ทำการทางการเมืองอันสกปรกอื่นๆที่อาจจะทำลายชาติบ้านเมืองได้ เพราะพื้นฐานของเขามาจากการเมืองที่สกปรก"ย่อหน้าที่ 15 ระบุว่า"ขบวนการวางแผนไปสู่อำนาจเป็นผู้นำของประเทศด้วยวิธีไม่อยู่ในทำลองคลองธรรมซึ่งกระทำกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งก่อนเลือกตั้งและหลังเลือกตั้ง ตลอดจนในขณะที่มีอำนาจเป็นรัฐบาลเป็นสิ่งที่น่ากลัว เพราะไม่ทราบว่าในอนาคตคนกลุ่มนี้ จะวางแผนเลวร้ายอะไรกับประเทศชาติบ้านเมือง ที่ประชาชนคนไทยรับไม่ได้ แต่กว่าประชาชนจะรู้ตัวก็สายไปเสียแล้ว พวกเราพลังเงียบเริ่มเป็นห่วงอย่างจริงจังเพราะทุกวันนี้ ก็พยายามทำให้ดูเหมือนอยู่เหนือกฎหมายอยู่เหนือสามัญชนอยู่แล้ว น่าห่วงจริงๆ"และย่อหน้าที่ 16 ระบุว่า"การเป็นผู้นำและสร้างกระแสยืมมือประชาชนสนับสนุนลักษณะหลงผูู้นำเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับตัวเองแบบผิดๆเป็นอันตรายต่อระบบประชาธิปไตยเพราะจะเป็นหนทางนำไปสู่ระบบเผด็จการและจะใช้อำนาจแบบเบ็ตเสร็จ ซึ่งขณะนี้สภา ส.ส.ก็มีลักษณะ เป็นเผด็จการรัฐสภาอยู่แล้ว" ก็ล้วนแต่เป็นการติติงตัวโจทก์ในฐานะนายกรัฐมนตรี โดยอาศัยข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เช่น ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการที่มีคนกลุ่มหนึ่งไปรวมกลุ่มถือป้ายที่มีข้อความให้กำลังใจและสนับสนุนให้โจทก์เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป ที่บริเวณสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ในช่วงที่โจทก์ถูกดำเนินคดีที่ศาลรัฐธรรมนูญ ดังที่ปรากฏตามภาพถ่ายในเอกสารหมาบเลข ล.1 โจทก์เองก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า ตนไม่ได้มีพฤติกรรมตามที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ รวมทั้งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มที่ไปเรียกร้องที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และไม่ได้ประโยชน์จากการเรียกร้อง ข้อความที่จำเลยที่ 1 นำมาลงพิมพ์ในคอลัมน์"น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ พูด" ซึ่งโจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้ จึงถือได้ว่า เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมทำได้ ตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 329(3)
สำหรับข้อความในย่อหน้าที่ 10 ท่อนท้ายที่ระบุว่า "...จะเอาอะไรมาเป็นประกันว่า นายกรัฐมนตรี ที่มีพฤติกรรมทางการเมืองแบบนี้ จะไม่ทำการทางการเมืองอันสกปรกอื่นๆ ที่อาจจะทำลายชาติบ้านเมืองได้ เพราะพื้นฐานของเขามาจากการเมืองที่สกปรก" แม้จะเป็นการกล่าวอ้างที่ใช้ถ้อยคำรุนแรง และเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ในฐานะนักสื่อสารมวลชน ผู้มีวุฒิภาวะสูงควรจะตัดออกไป ไม่ควรนำมาลงพิมพ์ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาความหมายที่แท้จริงของข้อความในส่วนนี้แล้ว ก็น่าเชื่อว่า จะเป็นการกล่าวถึงระบบการเมืองโดยภาพรวมในลักษณะเดียวกันกับคำว่า"วงจรอุบาทว์ทางการเมือง" ซึ่งเป็นคำที่ใช้กันโดยทั่วไปในวิชารัฐศาสตร์ มิได้มีเจตนาที่จะกล่าวถึงตัวโจทก์เป็นการเฉพาะเจาะจง
การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท โดยการโฆษณา
สำหรับจำเลยที่ 4 ในส่วนที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 4 ในฐานะบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ซึ่งลงข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ โดยการโฆษณาตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 326,328 พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 นั้น ในขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการพิมพ์2484 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค. 2550 เป็นต้นไป และพระราชบัญญํติจดแจ้งการพิมพ์พ.ศ.2550 ไม่ได้บัญญัติให้บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ เป็นผู้รับผิดชอบในข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ที่ตนเป็นบรรณาธิการ จำเลยที่ 4 ย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดในส่วนนี้ ตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง และในส่วนขอให้ลงโทษจำเลยที่ 4 ฐานร่วมกับจำเลยที่ 1 หมิ่นประมาทโจทก์โดยการโฆษณานั้น เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 ผู้นำข้อความในจดหมายที่เขียนถึงจำเลยที่ 1 มาลงพิมพ์ และเขียนข้อความตอบจดหมายนั้น ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาแล้ว จำเลยที่ 4 จึงไม่มีความผิดฐานร่วมกันหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาในส่วนนี้ด้วยเช่นกัน
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษามานั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 4 ฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง.
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในวันฟังคำพิพากษาเมื่อวันที่ 17 ม.ค.ที่ผ่านมานั้น มีแนวร่วมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกว่า 100 คน ไปร่วมรับฟังคำพิพากษา และร่วมให้กำลังใจน.ต.ประสงค์ กับนายประพันธ์ คูณมี ทนายความคดีนี้ อย่างอบอุ่น จนแน่นห้องพิจารณา