พิพิธภัณฑ์ตำรวจไทย บริเวณวังปารุสกวัน ที่ตั้งอยู่ถนนราชดำเนินนอก ภายในกองบัญชาการตำรวจนครบาล ถือเป็นจุดศูนย์รวมของประวัติศาสตร์ความเป็นมาของการตำรวจไทยตั้งแต่สมัยการก่อตั้งกรมตำรวจในอดีต จนถึงปัจจุบัน โดยพิพิธภัณฑ์ดังกล่าวตั้งอยู่ภายในบริเวณวังปารุสกวัน ถนนราชดำเนินนอก ซึ่งตั้งอยู่ภายในกองบัญชาการตำรวจนครบาล
สำนักงานตำรวจแห่งชาติในปัจจุบันมีประวัติศาสตร์ความเป็นมา พิพิธภัณฑ์ตำรวจไทย เริ่มมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เพราะเดิมบริเวณตำหนักจิตรลดานี้ รัชกาลที่5 โปรดเกล้าฯ สร้างเป็นตำหนักที่ประทับพระราชทานพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ขณะดำรงพระยศมกุฎราชกุมาร แต่ยังมิได้มาประทับ ณ พระตำหนักแห่งนี้ เมื่อเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ จึงเสด็จไปประทับ ณ พระบรมมหาราชวังดุสิต
หลังจากนั้นรัชกาลที่ 6 จึงได้ทรงแลกเปลี่ยนที่ดินบริเวณนี้กับที่ดินบริเวณท่าวาสุกรี ตรงหอสมุดแห่งชาติปัจจุบัน ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ พระอนุชาต้นสกุล จักรพงษ์ เจ้าของวังปารุสกวันที่อยู่ติดกัน และโปรดฯ ให้รื้อกำแพงที่คั่นกลางออก รวมตำหนักทั้งสองเข้าด้วยกัน ส่วนกำแพงสร้างที่ใหม่ทรงให้ประดับตราจักรและกระบอง ซึ่งเป็นตราประจำพระองค์ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนาถ ไว้ที่ประตูกำแพงโดยรอบ ดังนั้นบริเวณนี้ทั้งหมด จึงถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของวังปารุสกวัน
ต่อมาเมื่อสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถเสด็จทิวงคต เมื่อ พ.ศ. 2463 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระราชอำนาจตามกฎหมายระงับพินัยกรรมของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ ที่ทรงระบุให้ยกทรัพย์สินทั้งหมดแก่หม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาส ชายาพระองค์ใหม่ โดยมีพระบรมราชโองการให้โอนวังปารุสกวันกลับคืนเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ทางคณะเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือคณะราษฎร์ได้ยึดวังปารุสกวันมาใช้เป็นสถานที่ราชการ โดยใช้เป็นกองบัญชาการของคณะเปลี่ยนแปลงการปกครอง ต่อมาได้ใช้เป็นสถานที่ทำงานของอธิบดีกรมตำรวจ ในปัจจุบันตำหนักจิตรลดาอยู่ในความดูแลของทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยจัดเป็นส่วนหนึ่งของอาคารพิพิธภัณฑ์ตำรวจไทย ตำหนักปารุสกวันนั้นเป็นที่ทำการของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
ส่วนโถงอาคารพิพิธภัณฑ์ตำรวจไทย หรือที่เรียกกันว่า อาคารกระจก อาคารหลังนี้ได้ปรับปรุงจากอาคารตำรวจสื่อสารที่สร้างขึ้นในสมัย พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ ที่มีสโลแกนว่า “ภายใต้ดวงอาทิตย์นี้ ไม่มีสิ่งใดที่ตำรวจไทยทำไม่ได้” อย่างไรก็ตาม คำว่า “ตำรวจ” ปรากฎขึ้นในเอกสารครั้งแรกในสมัยอยุธยา โดยเป็นตำแหน่งสำคัญมีหน้าที่ราชองครักษ์ดูแลรักษาความปลอดภัยของพระมหากษัตริย์
จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของประวัติศาสตร์ตำรวจไทยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการแต่งตั้งนายร้อยเอก แซมมวล โยเซฟ เบิร์ด เอมส์ เป็นผู้จัดตั้งกองโปลิศเมื่อ พ.ศ.2403 มีชื่อว่ากองโปลิศคอนสเตเบิ้ล ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการตั้งกรมตำรวจภูธรและตั้งกรมตำรวจภูบาล มีหน้าที่ตรวจตราราชการต่างๆซึ่งนับเป็นจุดกำเนิดของโรงเรียน นายร้อยตำรวจ
สมัยรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้รวมกรมกองตระเวนและกรมตำรวจภูธรเป็นกรมเดียวกัน เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2458 เรียกชื่อว่า กรมตำรวจภูธรและกรมพลตระเวน ขึ้นอยู่กับกระทรวงนครบาล จึงกำหนดให้วันที่ 13 ตุลาคม ของทุกปีเป็นวันตำรวจไทย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สมัยรัชกาลที่ 8 ตำรวจได้มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือสมาชิกขบวนการเสรีไทย โดยเป็นหน่วยปฏิบัติการใต้ดินเพื่อต่อต้านประเทศญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลก
จากการพูดคุยกับ พ.ต.ท.จิรดุล โสตถิพันธุ์ รอง ผกก.ฝ่ายพิพิธภัณฑ์ กองสารนิเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นตำรวจที่ชื่นชอบงานด้านประวัติศาสตร์ และได้มีโอกาสมาทำงานในพิพิธภัณฑ์ตำรวจนี้ เล่าว่า เดิมที เป็นวัตถุประสงค์ของผู้บังคับบัญชาในอดีต พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ เตมียาเวช อดีต ผบ.ตร. ที่เห็นว่าพื้นที่ภายในบริเวณตำหนักจิตรลดา วังปารุสกวัน มีความเหมาะสมด้านสถาปัตยกรรม จึงสั่งให้ทำการปรับปรุงเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกสร้างจากอาคารเดิมที่ใช้เป็นอาคารสื่อสารตำรวจเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมมาสร้างใหม่เป็นอาคารกระจก หรือที่เรียกว่าพิพิธภัณฑ์ตำรวจในปัจจุบัน ที่เพิ่งสร้างเสร็จในปี พ.ศ.2553 ส่วนที่สองปรับปรุงตัวตำหนักจิตรลดาที่ชำรุดไว้เปิดเป็นห้องจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 84 พรรษา ทั้งนี้งบประมาณที่ใช้ในการสร้างอาคารกระจก หรือพิพิธภัณฑ์ตำรวจนี้ใช้งบประมาณ 49 ล้านบาท และตำหนักจิตรลดารวมถึงพื้นที่โดยรอบอีกกว่า 26 ล้านบาท ที่ว่าทำมาหลายปีแล้วไม่เสร็จสักที เนื่องจากงบประมาณมีจำกัดแล้วพื้นที่ของเราในวังปารุสกวันมี 5 ไร่ 1 งาน ที่เป็นพื้นที่โบราณสถาน พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ จึงให้ตีเส้นแบ่งทำทีละส่วนไปก่อน เป็นผลทำให้สร้างเสร็จไม่พร้อมกัน กลายเป็นติดสัญญาก่อสร้างพ่วงต่อไปอีก จนต้องรอเสร็จพร้อมกันเสียก่อนจึงจะทำการส่งมอบได้
ส่วนภายในอาคารกระจก "พิพิธภัณฑ์ตำรวจ" ถ้าเดินเข้าไปแล้วจะแบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นบนจัดแสดงเรื่องราวประวัติศาสตร์และบทบาทของตำรวจไทยตั้งแต่อดีตสมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน สถาบันกษัตริย์กับตำรวจไทย และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ สถานที่บ่มเพาะจิตวิญญาณของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ ส่วนชั้นล่าง จะได้เห็นบทบาทของตำรวจแต่ละหน่วยที่คอยดูแลความปลอดภัยให้แก่ประชาชนในทุกที่และทุกเวลา รวมทั้งฝึกประสบการณ์การเป็นพลเมืองดี เพื่อชี้เบาะแสของคนร้ายให้ตำรวจสามารถปฎิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะมีการนำแท่นปืนใหญ่ที่เป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงมีต่อตำรวจเรา เป็นแท่นปืนใหญ่โบราณที่ขณะนี้ตั้งอยู่ภายในกองบินตำรวจเข้ามาจัดแสดง เพราะทำการขอท่านผู้การไปแล้วๆ ท่านก็ยินดีมอบให้
จุดประสงค์ที่มาเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ตำรวจภายในตำหนักจิตรลา วังปารุสกวันนี้ พิพิธภัณฑ์ตำรวจเดิมทีเริ่มร่ายยาวมาตั้งแต่สมัยก่อน เดิมที่เป็นของกระทรวงมหาดไทยปี พ.ศ.2473 ย้ายสถานที่มาแล้วหลายครั้ง เพราะเมื่อก่อนตำรวจไม่ได้ขึ้นตรงกับสำนักนายกรัฐมนตรีแบบนี้ จะขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทยๆ จะเป็นที่เก็บของกลางในคดีต่างๆ มารวบรวมและนำมาจัดห้องแสดงในสมัยก่อน จากกระทรวงมหาดไทย ต่อมาจนเป็นของตำรวจในช่วงหลังเองประมาณปี พ.ศ.2475 จริงๆ แล้วพิพิธภัณฑ์ตำรวจเคยมีมาก่อนแล้วหลายที่แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป จะมีที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน และที่กรมตรวจ ซึ่งเป็นเพียงห้องเล็กๆ เท่านั้น จนกระทั่งมาปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวันในปัจจุบัน
"ผมตั้งใจมาทำงานที่นี่เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีให้เกิดขึ้นระหว่างตำรวจกับตำรวจ ตำรวจกับประชาชน อยากให้ตำรวจเรามีความภาคภูมิใจในหน้าที่ของเรา เพราะทุกวันนี้ประชาชนมองภาพพจน์ตำรวจในแง่ที่ดร๊อปลง เพราะฉะนั้นเราต้องย้อนหันกลับมามองที่ตัวเราแล้ว เพราะประชาชนจะเข้าใจตำรวจในภาพที่ตำรวจแสดงให้เห็นเท่านั้น ทีนี้จะทำอย่างไรดีต่อภาพพจน์ตำรวจที่มีต่อประชาชน ผมจึงพยายามสร้างคอนเซ็ปต์หลักในการทำ พิพิธภัณฑ์ตำรวจ คือ อยากให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ ไม่ใช่สำหรับประชาชนอย่างเดียว อยากให้ตำรวจทำหลักสูตรการเรียนตำรวจก่อนจบการศึกษาควรจะต้องมาดูงานที่พิพิธภัณฑ์ตำรวจก่อนนะ เพราะถ้ามาดูแล้วจะได้อะไรกลับไปและเป็นแรงบันดาลใจในการทำหน้าที่ตำรวจที่ดี เพื่อชี้นำให้ตำรวจมีประสิทธิภาพในการทำงาน และอีกเรื่องที่อยากจะทำก่อนเกษียณอายุราชการ อยากจะทำหอจดหมายเหตุของตำรวจ เพราะเป็นองค์กรใหญ่ระดับนี้ไม่มีไม่ได้นะ ผมว่าสำคัญอย่างยิ่ง ขณะพระนเรศวรยังมีประวัติศาสตร์ไทย แล้วทำไมตำรวจจะมีหอจดหมายเหตุไม่ได้ล่ะ" พ.ต.ท.จิรดุล กล่าว
"พิพิธภัณฑ์ตำรวจ" เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตเกี่ยวกับตำรวจ ในหลากหลายมิติสร้างความเข้าใจ และความสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชน สร้างทัศนคติในการเป็นตำรวจที่ดีให้กับข้าราชการตำรวจ
พิพิธภัณฑ์ตำรวจจะมีการเปิดให้ชมอย่างไม่เป็นทางการก่อนเมื่อวันเด็กแห่งชาติ 14 มกราคม 2555 และจะทำการเปิดอย่างเป็นทางการวันที่ 27 มิถุนายนนี้ โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จทรงเปิดพิพิธภัณฑ์อย่างเป็นทางการ ในพิพิธภัณฑ์จะมีการจำลองภาพการจับยาเสพติด การจับกุมคนร้าย เครื่องแบบตำรวจตั้งแต่อดีต รวมทั้ง ประวัติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งด้วย หลังจากเปิดเข้าชมอย่างเป็นทางการแล้วจะมีการเก็บค่าบัตรผ่านประตูหรือไม่นั้น ทางเราต้องขอดูกระแสตอบรับก่อน อาจจะเปิดให้ ชมฟรีในช่วงแรกเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ก่อน แล้วนำมาประเมินอีกครั้งว่าจะเก็บค่าบัตรผ่านประตูเมื่อไหร่โดยคาดหวังไว้กับคนทุกกลุ่มไม่เน้นกลุ่มใดเป็นหลัก พิพิธภัณฑ์ตำรวจนี้ จึงเรียกว่าเป็นภาพรวมของเจ้าหนัาที่ตำรวจก็ว่าได้ อยากให้คนเข้ามาชมแล้วได้อะไรกลับไป
วรรณา ชัยภูธร
สำนักงานตำรวจแห่งชาติในปัจจุบันมีประวัติศาสตร์ความเป็นมา พิพิธภัณฑ์ตำรวจไทย เริ่มมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เพราะเดิมบริเวณตำหนักจิตรลดานี้ รัชกาลที่5 โปรดเกล้าฯ สร้างเป็นตำหนักที่ประทับพระราชทานพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ขณะดำรงพระยศมกุฎราชกุมาร แต่ยังมิได้มาประทับ ณ พระตำหนักแห่งนี้ เมื่อเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ จึงเสด็จไปประทับ ณ พระบรมมหาราชวังดุสิต
หลังจากนั้นรัชกาลที่ 6 จึงได้ทรงแลกเปลี่ยนที่ดินบริเวณนี้กับที่ดินบริเวณท่าวาสุกรี ตรงหอสมุดแห่งชาติปัจจุบัน ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ พระอนุชาต้นสกุล จักรพงษ์ เจ้าของวังปารุสกวันที่อยู่ติดกัน และโปรดฯ ให้รื้อกำแพงที่คั่นกลางออก รวมตำหนักทั้งสองเข้าด้วยกัน ส่วนกำแพงสร้างที่ใหม่ทรงให้ประดับตราจักรและกระบอง ซึ่งเป็นตราประจำพระองค์ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนาถ ไว้ที่ประตูกำแพงโดยรอบ ดังนั้นบริเวณนี้ทั้งหมด จึงถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของวังปารุสกวัน
ต่อมาเมื่อสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถเสด็จทิวงคต เมื่อ พ.ศ. 2463 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระราชอำนาจตามกฎหมายระงับพินัยกรรมของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ ที่ทรงระบุให้ยกทรัพย์สินทั้งหมดแก่หม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาส ชายาพระองค์ใหม่ โดยมีพระบรมราชโองการให้โอนวังปารุสกวันกลับคืนเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ทางคณะเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือคณะราษฎร์ได้ยึดวังปารุสกวันมาใช้เป็นสถานที่ราชการ โดยใช้เป็นกองบัญชาการของคณะเปลี่ยนแปลงการปกครอง ต่อมาได้ใช้เป็นสถานที่ทำงานของอธิบดีกรมตำรวจ ในปัจจุบันตำหนักจิตรลดาอยู่ในความดูแลของทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยจัดเป็นส่วนหนึ่งของอาคารพิพิธภัณฑ์ตำรวจไทย ตำหนักปารุสกวันนั้นเป็นที่ทำการของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
ส่วนโถงอาคารพิพิธภัณฑ์ตำรวจไทย หรือที่เรียกกันว่า อาคารกระจก อาคารหลังนี้ได้ปรับปรุงจากอาคารตำรวจสื่อสารที่สร้างขึ้นในสมัย พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ ที่มีสโลแกนว่า “ภายใต้ดวงอาทิตย์นี้ ไม่มีสิ่งใดที่ตำรวจไทยทำไม่ได้” อย่างไรก็ตาม คำว่า “ตำรวจ” ปรากฎขึ้นในเอกสารครั้งแรกในสมัยอยุธยา โดยเป็นตำแหน่งสำคัญมีหน้าที่ราชองครักษ์ดูแลรักษาความปลอดภัยของพระมหากษัตริย์
จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของประวัติศาสตร์ตำรวจไทยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการแต่งตั้งนายร้อยเอก แซมมวล โยเซฟ เบิร์ด เอมส์ เป็นผู้จัดตั้งกองโปลิศเมื่อ พ.ศ.2403 มีชื่อว่ากองโปลิศคอนสเตเบิ้ล ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการตั้งกรมตำรวจภูธรและตั้งกรมตำรวจภูบาล มีหน้าที่ตรวจตราราชการต่างๆซึ่งนับเป็นจุดกำเนิดของโรงเรียน นายร้อยตำรวจ
สมัยรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้รวมกรมกองตระเวนและกรมตำรวจภูธรเป็นกรมเดียวกัน เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2458 เรียกชื่อว่า กรมตำรวจภูธรและกรมพลตระเวน ขึ้นอยู่กับกระทรวงนครบาล จึงกำหนดให้วันที่ 13 ตุลาคม ของทุกปีเป็นวันตำรวจไทย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สมัยรัชกาลที่ 8 ตำรวจได้มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือสมาชิกขบวนการเสรีไทย โดยเป็นหน่วยปฏิบัติการใต้ดินเพื่อต่อต้านประเทศญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลก
จากการพูดคุยกับ พ.ต.ท.จิรดุล โสตถิพันธุ์ รอง ผกก.ฝ่ายพิพิธภัณฑ์ กองสารนิเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นตำรวจที่ชื่นชอบงานด้านประวัติศาสตร์ และได้มีโอกาสมาทำงานในพิพิธภัณฑ์ตำรวจนี้ เล่าว่า เดิมที เป็นวัตถุประสงค์ของผู้บังคับบัญชาในอดีต พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ เตมียาเวช อดีต ผบ.ตร. ที่เห็นว่าพื้นที่ภายในบริเวณตำหนักจิตรลดา วังปารุสกวัน มีความเหมาะสมด้านสถาปัตยกรรม จึงสั่งให้ทำการปรับปรุงเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกสร้างจากอาคารเดิมที่ใช้เป็นอาคารสื่อสารตำรวจเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมมาสร้างใหม่เป็นอาคารกระจก หรือที่เรียกว่าพิพิธภัณฑ์ตำรวจในปัจจุบัน ที่เพิ่งสร้างเสร็จในปี พ.ศ.2553 ส่วนที่สองปรับปรุงตัวตำหนักจิตรลดาที่ชำรุดไว้เปิดเป็นห้องจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 84 พรรษา ทั้งนี้งบประมาณที่ใช้ในการสร้างอาคารกระจก หรือพิพิธภัณฑ์ตำรวจนี้ใช้งบประมาณ 49 ล้านบาท และตำหนักจิตรลดารวมถึงพื้นที่โดยรอบอีกกว่า 26 ล้านบาท ที่ว่าทำมาหลายปีแล้วไม่เสร็จสักที เนื่องจากงบประมาณมีจำกัดแล้วพื้นที่ของเราในวังปารุสกวันมี 5 ไร่ 1 งาน ที่เป็นพื้นที่โบราณสถาน พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ จึงให้ตีเส้นแบ่งทำทีละส่วนไปก่อน เป็นผลทำให้สร้างเสร็จไม่พร้อมกัน กลายเป็นติดสัญญาก่อสร้างพ่วงต่อไปอีก จนต้องรอเสร็จพร้อมกันเสียก่อนจึงจะทำการส่งมอบได้
ส่วนภายในอาคารกระจก "พิพิธภัณฑ์ตำรวจ" ถ้าเดินเข้าไปแล้วจะแบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นบนจัดแสดงเรื่องราวประวัติศาสตร์และบทบาทของตำรวจไทยตั้งแต่อดีตสมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน สถาบันกษัตริย์กับตำรวจไทย และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ สถานที่บ่มเพาะจิตวิญญาณของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ ส่วนชั้นล่าง จะได้เห็นบทบาทของตำรวจแต่ละหน่วยที่คอยดูแลความปลอดภัยให้แก่ประชาชนในทุกที่และทุกเวลา รวมทั้งฝึกประสบการณ์การเป็นพลเมืองดี เพื่อชี้เบาะแสของคนร้ายให้ตำรวจสามารถปฎิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะมีการนำแท่นปืนใหญ่ที่เป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงมีต่อตำรวจเรา เป็นแท่นปืนใหญ่โบราณที่ขณะนี้ตั้งอยู่ภายในกองบินตำรวจเข้ามาจัดแสดง เพราะทำการขอท่านผู้การไปแล้วๆ ท่านก็ยินดีมอบให้
จุดประสงค์ที่มาเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ตำรวจภายในตำหนักจิตรลา วังปารุสกวันนี้ พิพิธภัณฑ์ตำรวจเดิมทีเริ่มร่ายยาวมาตั้งแต่สมัยก่อน เดิมที่เป็นของกระทรวงมหาดไทยปี พ.ศ.2473 ย้ายสถานที่มาแล้วหลายครั้ง เพราะเมื่อก่อนตำรวจไม่ได้ขึ้นตรงกับสำนักนายกรัฐมนตรีแบบนี้ จะขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทยๆ จะเป็นที่เก็บของกลางในคดีต่างๆ มารวบรวมและนำมาจัดห้องแสดงในสมัยก่อน จากกระทรวงมหาดไทย ต่อมาจนเป็นของตำรวจในช่วงหลังเองประมาณปี พ.ศ.2475 จริงๆ แล้วพิพิธภัณฑ์ตำรวจเคยมีมาก่อนแล้วหลายที่แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป จะมีที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน และที่กรมตรวจ ซึ่งเป็นเพียงห้องเล็กๆ เท่านั้น จนกระทั่งมาปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวันในปัจจุบัน
"ผมตั้งใจมาทำงานที่นี่เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีให้เกิดขึ้นระหว่างตำรวจกับตำรวจ ตำรวจกับประชาชน อยากให้ตำรวจเรามีความภาคภูมิใจในหน้าที่ของเรา เพราะทุกวันนี้ประชาชนมองภาพพจน์ตำรวจในแง่ที่ดร๊อปลง เพราะฉะนั้นเราต้องย้อนหันกลับมามองที่ตัวเราแล้ว เพราะประชาชนจะเข้าใจตำรวจในภาพที่ตำรวจแสดงให้เห็นเท่านั้น ทีนี้จะทำอย่างไรดีต่อภาพพจน์ตำรวจที่มีต่อประชาชน ผมจึงพยายามสร้างคอนเซ็ปต์หลักในการทำ พิพิธภัณฑ์ตำรวจ คือ อยากให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ ไม่ใช่สำหรับประชาชนอย่างเดียว อยากให้ตำรวจทำหลักสูตรการเรียนตำรวจก่อนจบการศึกษาควรจะต้องมาดูงานที่พิพิธภัณฑ์ตำรวจก่อนนะ เพราะถ้ามาดูแล้วจะได้อะไรกลับไปและเป็นแรงบันดาลใจในการทำหน้าที่ตำรวจที่ดี เพื่อชี้นำให้ตำรวจมีประสิทธิภาพในการทำงาน และอีกเรื่องที่อยากจะทำก่อนเกษียณอายุราชการ อยากจะทำหอจดหมายเหตุของตำรวจ เพราะเป็นองค์กรใหญ่ระดับนี้ไม่มีไม่ได้นะ ผมว่าสำคัญอย่างยิ่ง ขณะพระนเรศวรยังมีประวัติศาสตร์ไทย แล้วทำไมตำรวจจะมีหอจดหมายเหตุไม่ได้ล่ะ" พ.ต.ท.จิรดุล กล่าว
"พิพิธภัณฑ์ตำรวจ" เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตเกี่ยวกับตำรวจ ในหลากหลายมิติสร้างความเข้าใจ และความสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชน สร้างทัศนคติในการเป็นตำรวจที่ดีให้กับข้าราชการตำรวจ
พิพิธภัณฑ์ตำรวจจะมีการเปิดให้ชมอย่างไม่เป็นทางการก่อนเมื่อวันเด็กแห่งชาติ 14 มกราคม 2555 และจะทำการเปิดอย่างเป็นทางการวันที่ 27 มิถุนายนนี้ โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จทรงเปิดพิพิธภัณฑ์อย่างเป็นทางการ ในพิพิธภัณฑ์จะมีการจำลองภาพการจับยาเสพติด การจับกุมคนร้าย เครื่องแบบตำรวจตั้งแต่อดีต รวมทั้ง ประวัติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งด้วย หลังจากเปิดเข้าชมอย่างเป็นทางการแล้วจะมีการเก็บค่าบัตรผ่านประตูหรือไม่นั้น ทางเราต้องขอดูกระแสตอบรับก่อน อาจจะเปิดให้ ชมฟรีในช่วงแรกเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ก่อน แล้วนำมาประเมินอีกครั้งว่าจะเก็บค่าบัตรผ่านประตูเมื่อไหร่โดยคาดหวังไว้กับคนทุกกลุ่มไม่เน้นกลุ่มใดเป็นหลัก พิพิธภัณฑ์ตำรวจนี้ จึงเรียกว่าเป็นภาพรวมของเจ้าหนัาที่ตำรวจก็ว่าได้ อยากให้คนเข้ามาชมแล้วได้อะไรกลับไป
วรรณา ชัยภูธร