ชาวบ้านแห่นำรถเข้าอู่ซ่อมหลังน้ำเริ่มลด จนอู่ต้องออกใบคิวให้รอนานนับเดือน เนื่องจากต้องใช้เวลาตรวจเช็กทั้งระบบอย่างละเอียด ขณะที่ราคาอะไหล่ปรับสูงขึ้นเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์
วันนี้ (29 พ.ย.) หลังจากประชาชนในหลายอำเภอของจังหวัดนนทบุรี ต้องประสบอุทกภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่มานานกว่า 2 เดือน ซึ่งจนขณะนี้ในหลายพื้นที่ระดับน้ำเริ่มลดลงจนประชาชนบางส่วนสามารถกลับเข้าไปสำรวจทรัพย์สินภายในบ้านได้แล้ว โดยสิ่งหนึ่งที่ชาวบ้านเป็นห่วงคือ รถยนต์ที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่สามารถนำไปจอดหนีน้ำได้ทันนั้น เนื่องจากคาดไม่ถึงว่าระดับน้ำจะมีมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา จนทำให้รถยนต์ที่จอดอยู่ในบ้านจมน้ำโดยที่ไม่สามารถทำอะไรได้เลย โดยทำได้เพียงอย่างเดียว คือ ทำใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ของตัวเอง และเมื่อน้ำเริ่มลดลงชาวบ้านส่วนใหญ่ จึงรีบนำรถยนต์ไปตรวจซ่อมตามอู่รถต่างๆ เป็นจำนวนมากจนอู่ซ่อมไม่สามารถให้บริการได้ทันต้องมีการจองคิวกันนานเป็นเดือน
ขณะที่ นายนภดล ตั้งนาวาดี อายุ 53 ปี เจ้าของอู่ซ่อมรถยนต์อินเตอร์เพ็ญภัทร ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี กล่าวว่า ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาอู่รถของตนได้รับรถลูกค้าที่จมน้ำจากน้ำท่วมในจังหวัดนนทบุรี และ กรุงเทพฯ เข้ามาใช้บริการที่อู่อย่างต่อเนื่อง จนทางอู่ไม่สามารถให้บริการได้ ซึ่งจำเป็นต้องปฏิเสธลูกค้าไปหลายราย เนื่องจากอู่มีช่างประจำร้านเพียง 10 คน และรองรับรถที่จะซ่อมได้เพียง 30 คันเท่านั้น ซึ่งรถที่จมน้ำเข้ามาซ่อมนั้นส่วนใหญ่จะเป็นอาการน้ำท่วมห้องเครื่อง ไดสตาร์ทไม่ทำงาน ระบบเบรกติด รวมถึงไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่ารถจะเป็นปกติ เพราะต้องตรวจเช็กทุกอย่างใหม่ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นระบบเกียร์ ระบบไฟ และเครื่องยนต์มากกว่าเป็น 2 เท่า เนื่องจากรถจมอยู่ในน้ำเป็นเวลานานเป็นเดือน ทำให้ต้องตรวจเช็กอย่างละเอียด รวมถึงต้องรออะไหล่ชิ้นส่วนที่จะนำมาเปลี่ยน ซึ่งหาได้ยากกว่าปกติและต้องรอนานเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ ส่วนเรื่องราคาอะไหล่นั้นจะมีการปรับสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์
“ราคาค่าซ่อมรถของลูกค้านั้น จะขึ้นอยู่กับสภาพรถว่าจมน้ำเสียหายมากน้อยขนาดไหน อย่างลูกค้ารายหนึ่งต้องจ่ายค่าซ่อมรถสูงถึง 4 หมื่นบาท เพราะต้องเปลี่ยนเกียร์รถใหม่ เนื่องจากถูกสนิมเกาะจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ แต่ถ้ารายไหนนำรถไปจอดหนีน้ำทัน ก็จะเจอปัญหาแบตเตอรี่เสื่อม เนื่องจากจอดรถทิ้งไว้เป็นเวลานานไม่ได้มีการสตาร์ทเครื่อง ซึ่งลูกค้าบางรายไม่มีเงินที่จะซ่อมก็จะนำเล่มรถยนต์ไปจำนำ เพื่อนำเงินมาเป็นค่าซ่อมรถ เพราะไม่อยากทิ้งรถไว้นานเพราะกลัวรถจะเป็นหนักกว่าเดิมถ้าไม่รีบนำมาซ่อม” เจ้าของอู่ซ่อมรถ กล่าว
วันนี้ (29 พ.ย.) หลังจากประชาชนในหลายอำเภอของจังหวัดนนทบุรี ต้องประสบอุทกภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่มานานกว่า 2 เดือน ซึ่งจนขณะนี้ในหลายพื้นที่ระดับน้ำเริ่มลดลงจนประชาชนบางส่วนสามารถกลับเข้าไปสำรวจทรัพย์สินภายในบ้านได้แล้ว โดยสิ่งหนึ่งที่ชาวบ้านเป็นห่วงคือ รถยนต์ที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่สามารถนำไปจอดหนีน้ำได้ทันนั้น เนื่องจากคาดไม่ถึงว่าระดับน้ำจะมีมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา จนทำให้รถยนต์ที่จอดอยู่ในบ้านจมน้ำโดยที่ไม่สามารถทำอะไรได้เลย โดยทำได้เพียงอย่างเดียว คือ ทำใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ของตัวเอง และเมื่อน้ำเริ่มลดลงชาวบ้านส่วนใหญ่ จึงรีบนำรถยนต์ไปตรวจซ่อมตามอู่รถต่างๆ เป็นจำนวนมากจนอู่ซ่อมไม่สามารถให้บริการได้ทันต้องมีการจองคิวกันนานเป็นเดือน
ขณะที่ นายนภดล ตั้งนาวาดี อายุ 53 ปี เจ้าของอู่ซ่อมรถยนต์อินเตอร์เพ็ญภัทร ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี กล่าวว่า ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาอู่รถของตนได้รับรถลูกค้าที่จมน้ำจากน้ำท่วมในจังหวัดนนทบุรี และ กรุงเทพฯ เข้ามาใช้บริการที่อู่อย่างต่อเนื่อง จนทางอู่ไม่สามารถให้บริการได้ ซึ่งจำเป็นต้องปฏิเสธลูกค้าไปหลายราย เนื่องจากอู่มีช่างประจำร้านเพียง 10 คน และรองรับรถที่จะซ่อมได้เพียง 30 คันเท่านั้น ซึ่งรถที่จมน้ำเข้ามาซ่อมนั้นส่วนใหญ่จะเป็นอาการน้ำท่วมห้องเครื่อง ไดสตาร์ทไม่ทำงาน ระบบเบรกติด รวมถึงไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่ารถจะเป็นปกติ เพราะต้องตรวจเช็กทุกอย่างใหม่ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นระบบเกียร์ ระบบไฟ และเครื่องยนต์มากกว่าเป็น 2 เท่า เนื่องจากรถจมอยู่ในน้ำเป็นเวลานานเป็นเดือน ทำให้ต้องตรวจเช็กอย่างละเอียด รวมถึงต้องรออะไหล่ชิ้นส่วนที่จะนำมาเปลี่ยน ซึ่งหาได้ยากกว่าปกติและต้องรอนานเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ ส่วนเรื่องราคาอะไหล่นั้นจะมีการปรับสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์
“ราคาค่าซ่อมรถของลูกค้านั้น จะขึ้นอยู่กับสภาพรถว่าจมน้ำเสียหายมากน้อยขนาดไหน อย่างลูกค้ารายหนึ่งต้องจ่ายค่าซ่อมรถสูงถึง 4 หมื่นบาท เพราะต้องเปลี่ยนเกียร์รถใหม่ เนื่องจากถูกสนิมเกาะจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ แต่ถ้ารายไหนนำรถไปจอดหนีน้ำทัน ก็จะเจอปัญหาแบตเตอรี่เสื่อม เนื่องจากจอดรถทิ้งไว้เป็นเวลานานไม่ได้มีการสตาร์ทเครื่อง ซึ่งลูกค้าบางรายไม่มีเงินที่จะซ่อมก็จะนำเล่มรถยนต์ไปจำนำ เพื่อนำเงินมาเป็นค่าซ่อมรถ เพราะไม่อยากทิ้งรถไว้นานเพราะกลัวรถจะเป็นหนักกว่าเดิมถ้าไม่รีบนำมาซ่อม” เจ้าของอู่ซ่อมรถ กล่าว