หากอยู่บนท้องถนน ไม่ว่าจะขับรถเอง หรือนั่งรถโดยสาร มักจะเห็นรถสีแปลกๆ เช่น สีดำด้าน หรือรถสีสวยๆ ผิดปกติจากสีรถยนต์ทั่วไป ก็อย่าเพิ่งแปลกใจ เพราะนั่นคือการทำ “Car Wrap” หรือ “แร็ป” คือการเปลี่ยนสีรถด้วยการหุ้มสติกเกอร์ ซึ่งว่ากันว่าจะสามารถรักษาสีรถเดิมๆ ไว้ได้เป็นอย่างดี
ในเว็บไซต์ของกองบังคับการตำรวจจราจร www.trafficpolice.go.th คอลัมน์ “จราจรตาเพชร” มีผู้แจ้งเบาะแสไปว่า “พบเห็นรถ BMW สีดำด้าน ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนด้านหลัง แต่เห็นที่ด้านหน้า น่าจะเป็นหมายเลขทะเเบียน ภม 9924 กรุงเทพมหานคร โดยพบเห็นที่ถนนแจ้งวัฒนะ ขอให้จราจรตาเพชรช่วยตรวจสอบด้วย”
หลังจากที่ “จราจรตาเพชร” ของพล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รอง ผบช.น. ซึ่งรับผิดชอบดูแลงานด้านการจราจรทั้งหมดของกรุงเทพมหนคร รับทราบข้อมูลเบื้องต้นจากผู้ที่แจ้งเบาะแสมาแล้ว ได้ทำการตรวจสอบ และตอบกลับไปยังผู้แจ้งเบาะแสมาว่า “ภม-9924 กทม. เป็นทะเบียนรถ บีเอ็มฯ 318IA/4 สีแดง ย้ำว่า จดเป็นรถบีเอ็มฯ สีแดง รถปี 43 เครื่อง 1796 ซีซี ของ นาย.... อายุ 37 ปี อยู่ที่ 86 ถนนประดิษฐ์มนูธรรม เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร รถคันนี้ถ้าไปก่อเหตุร้ายกับผู้คน ก็จะหลบหนีไปได้อย่างลอยนวล เพราะนอกจากไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนหลังรถแล้ว ยังปกปิดสีรถที่แท้จริง โดย WRAP เป็นสีดำด้าน ทับสีแดงจริงๆ ของตัวรถอีกต่างหาก ปกปิดทั้งทะเบียนรถทั้งสีรถ ก่อเหตุมา ไม่มีใครตามจับได้แน่ รถพวกนี้ต้องถูกกวาดล้างอย่างจริงจังเพื่อความสงบสุขของคนในสังคม แจ้ง สน.วังทองหลางไปจับกุมรถคันนี้ที่บ้านพัก และรายงานผลให้ทราบ ทั้งปกปิดสีรถจากแดงเป็นดำ ทั้งไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน แย่มากจริงๆๆ”
อีกตัวอย่างหนึ่งที่สอบถามไปยังคอลัมน์ “จราจรตาเพชร” โดยแจ้งว่า “คันนี้ เพียงแค่อยากทราบว่าสีจริงๆ คือสีอะไร ไม่ได้มีอคติ หรืออิจฉาใดๆ เพราะแฟชั่นมันระบาดเลยยากที่จะคาดเดา ญก-4269 กรุงเทพมหานคร (เพียงแค่ทำหน้าที่พลเมืองที่อยากเห็นบ้านเมืองดีขึ้น) หากสีรถที่ WRAP มันตรงกับข้อมูลทะเบียนของกรมการขนส่งทางบก ก็ต้องขออภัยด้วยนะครับ”
เมื่อจราจรตาเพชรตรวจสอบแล้ว ได้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า “เอาตามข้อมูลทะเบียนรถก่อนนะครับ จากในระบบมีอยู่แค่นี้ คือ ญก-4269 กทม. เป็นทะเบียนรถ PORSCHE จดทะเบียน 6 ก.ย. 2550 วันที่ครอบครองรถ 6 ก.ย. 2550 สีรถไม่แจ้งในระบบ โดยทะเบียนรถเดิมคือ ชฎ-5168 กทม.(ซึ่งตอนนี้กลายเป็นทะเบียนรถฮอนด้า แจ๊ซ สีเหลือง เจ้าของเดียวกัน โดยทะเบียนรถแจ๊ซสีเหลืองนี้ ทะเบียนเดิมคือ ญก-4269 กทม. รถแจ๊ซจดทะเบียนเมื่อ 29 ธ.ค.53 ) ทั้ง 2 ทะเบียนเป็นของผู้หญิงคนเดียวกัน อายุ 36 ปี อยู่ที่บางแขม อ.เมือง จ.นครปฐม ข้อมูล งงๆ ต้องส่งไปตรวจสอบที่กรมการขนส่งทางบกแล้วหละครับ”
ในข้อเท็จจริง รถที่ทำ “แร็ป” มานั้น ไม่ผิดกฎหมาย หรือ พ.ร.บ.จราจรแต่อย่างใด เพียงแต่ เมื่อเจ้าของรถทำการเปลี่ยนสี จะด้วยวิธีการไหนมาก็ตาม เจ้าของรถจะต้องไปทำการจดแจ้งต่อกรมการขนส่งทางบกให้เรียบร้อย มิฉะนั้นจะถือว่าผิดกฎหมายทันทีหากนำรถมาวิ่งตามปกติบนท้องถนน
เจ้าของรหัส “น.2” พล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รอง ผบช.น. ดูแลงานด้านจราจร กล่าวถึงการ “แร็ป” (Wrap) รถหรือการนำสติกเกอร์มาติดเพื่อเปลี่ยนสีรถทั้งคันนั้น ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในหมู่นักแต่งรถว่า การแต่งรถโดยการแร็ป ถือว่าผิดกฎหมาย เนื่องจากถือว่าเป็นการเปลี่ยนสีรถทั้งคัน ซึ่งทำให้สีรถไม่ตรงกับที่แจ้งไว้กับทางกรมการขนส่งทางบก ถือว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ที่ต้องระวางโทษปรับครั้งละไม่เกิน 1,000 บาท โดยกำลังเป็นที่นิยม มีการพบเห็นแล้วหลายรายที่นำมาขับบนท้องถนน ซึ่งราคาที่ทำการแร็ปตกประมาณคันละ 30,000 บาท แต่จะสังเกตได้ง่ายเพราะรถเหล่านี้สีจะออกด้านๆ กว่าสีรถทั่วไป
“ทั้งนี้ ทางตำรวจจราจรยังได้ตระหนักถึงปัญหาของรถเหล่านี้ ในกรณีที่ถูกนำไปใช้ก่อเหตุ ซึ่งจะมีผลต่อคดีในการติดตามเจ้าของรถ เนื่องจากสีรถจะไม่ตรงกับทะเบียนที่แจ้งไว้ จึงได้มีการเรียกประชุมตำรวจจราจรให้เข้มงวดกวดขันในการตรวจจับกุมรถเหล่านี้ ตั้งแต่ 1-2 เดือนก่อนหน้านี้แล้ว เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตด้วย” พล.ต.ต.ภาณุกล่าว
รอง ผบช.น.ยังบอกอีกว่า การทำ “แร็ป” นั้น ตอนทำไม่ผิด แต่ทำเสร็จแล้วต้องแจ้งเปลี่ยนภายใน7วัน ถ้ากรมการขนส่งทางบกยอมรับการแจ้งเปลี่ยนสี แต่กรณีนี้ ไม่มั่นใจว่า กรมการขนส่งทางบกจะยอมรับแจ้งหรือไม่ เพราะไม่ได้เปลี่ยน(สี)จริง ถ้าไม่รับแจ้งก็ผิดในตัวอยู่แล้ว ขณะเดียวกัน การแจ้งเปลี่ยนสีรถนั้นไม่มีการจำกัดครั้ง แต่ไม่มีแจ้งเปลี่ยนชั่วคราว (ตามที่คนไปทำ “แร็ป” เข้าใจกันเอง) ส่วนรถที่มีการเปลี่ยนเพิ่มเติมเล็กๆ น้อยๆ นั้นไม่เป็นไร แต่อย่าให้เกิน 20 เปอร์เซ็นต์โดยประมาณ และกองบังคับการตำรวจจราจร มีการจับกุมรถที่ทำแร็ปเป็นประจำ ซึ่งถือเป็นนโยบาย และมีสถิติการจับกุมปรากฏชัด
ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางบกได้กำหนดให้เจ้าของรถต้องแจ้งการเปลี่ยนสีรถภายใน 7 วัน นับแต่วันที่เปลี่ยนสีรถ โดยต้องนำหลักฐานต่างๆ ไปดังต่อไปนี้
1. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
2. หลักฐานการเปลี่ยนสีของรถ เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าจ้างทำสีเป็นต้น
3. หลักฐานประจำตัวเจ้าของรถ ได้แก่
- ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน
- ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
- หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
4. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่มาดำเนินการเอง) พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวของผู้รับมอบอำนาจ
มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า หากรถที่ “แร็ป” มาแล้ว เกิดไปกระทำผิดกฎหมายอย่างไม่ตั้งใจ อาทิ ขับรถไปเฉี่ยวชนคนตายแล้วเจตนาหนี กลับมาถึงบ้านไปให้ร้านลอก “แร็ป” ออก อะไรจะเกิดขึ้น หรือหากเจตนาเพื่อดัดแปลงสภาพสีไปก่ออาชญากรรม หรือขนยาเสพติด ตำรวจจะตามแกะรอยได้ไหม เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่ควรป้องกัน ควบคู่กับการปราบปราม (ด้วยการจับปรับเสียให้เข็ด) ไปพร้อมๆ กัน
ยังมีรถที่ทำผิดกฎหมายวิ่งกันมากมายในเมืองไทย นอกจากสีรถที่เห็นเป็นหลักๆ แล้ว ยังมีป้ายทะเบียนตัดแต่ง ป้ายทะเบียนต่างประเทศ ป้ายทะเบียนกราฟิก แม้กระทั่งป้ายทะเบียนปิดทองตามความเชื่อ โดยเฉพาะป้ายทะเบียนกราฟิกนั้น หลายคน อย่าว่าแต่ประชาชนทั่วไปเลย แม้แต่ตำรวจบางนายยังไม่รู้เสียด้วยซ้ำว่า การที่จะทำป้ายทะเบียนกราฟิกได้นั้น จะต้องเป็นหมายเลขทะเบียนที่ได้มาจากการประมูล เพื่อนำเงินเข้ากองทุนคุ้มครองความปลอดภัยผู้ใช้รถใช้ถนน ป้าย (สีขาว) ปกติที่เราๆ ท่านๆ ใช้อยู่นั้น ไม่สามารถนำมาทำเป็นสีกราฟิกได้ เพราะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ซึ่งยังมีพวก “ลักไก่” แอบไปทำมาติดกันเกร่อ จนไม่รู้ว่า เป็น “เลขทะเบียนประมูล 301” จริงหรือเปล่า
สุดท้าย คงต้องฝากความหวังทั้งหมดไว้กับกองบังคับการตำรวจจราจร ภายใต้การขับเคลื่อนนโยบายของพล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รอง ผบช.น. รับผิดชอบดูแลงานจราจร ที่คว่ำวอดในการแก้ปัญหาสำคัญระดับชาติ ในด้านการจราจร โดยเฉพาะในเมืองหลวงมายาวนาน และพล.ต.ต.อุทัยวรรณ แก้วสอาด ผบก.จร. ที่จะต้องสั่งกำชับไปถึงตำรวจจราจรทุกโรงพักในทุกระดับ ให้กวดขันจับกุมกันอย่างจริงจัง ติดตรงที่ว่า ไอ้พวกไปทำ “แร็ป” และป้ายทะเบียนสวยๆ เนี่ย มักเป็นลูกคนรวย คนมีสี ผู้มีอันจะกินกันทั้งน้านนน....
ในเว็บไซต์ของกองบังคับการตำรวจจราจร www.trafficpolice.go.th คอลัมน์ “จราจรตาเพชร” มีผู้แจ้งเบาะแสไปว่า “พบเห็นรถ BMW สีดำด้าน ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนด้านหลัง แต่เห็นที่ด้านหน้า น่าจะเป็นหมายเลขทะเเบียน ภม 9924 กรุงเทพมหานคร โดยพบเห็นที่ถนนแจ้งวัฒนะ ขอให้จราจรตาเพชรช่วยตรวจสอบด้วย”
หลังจากที่ “จราจรตาเพชร” ของพล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รอง ผบช.น. ซึ่งรับผิดชอบดูแลงานด้านการจราจรทั้งหมดของกรุงเทพมหนคร รับทราบข้อมูลเบื้องต้นจากผู้ที่แจ้งเบาะแสมาแล้ว ได้ทำการตรวจสอบ และตอบกลับไปยังผู้แจ้งเบาะแสมาว่า “ภม-9924 กทม. เป็นทะเบียนรถ บีเอ็มฯ 318IA/4 สีแดง ย้ำว่า จดเป็นรถบีเอ็มฯ สีแดง รถปี 43 เครื่อง 1796 ซีซี ของ นาย.... อายุ 37 ปี อยู่ที่ 86 ถนนประดิษฐ์มนูธรรม เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร รถคันนี้ถ้าไปก่อเหตุร้ายกับผู้คน ก็จะหลบหนีไปได้อย่างลอยนวล เพราะนอกจากไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนหลังรถแล้ว ยังปกปิดสีรถที่แท้จริง โดย WRAP เป็นสีดำด้าน ทับสีแดงจริงๆ ของตัวรถอีกต่างหาก ปกปิดทั้งทะเบียนรถทั้งสีรถ ก่อเหตุมา ไม่มีใครตามจับได้แน่ รถพวกนี้ต้องถูกกวาดล้างอย่างจริงจังเพื่อความสงบสุขของคนในสังคม แจ้ง สน.วังทองหลางไปจับกุมรถคันนี้ที่บ้านพัก และรายงานผลให้ทราบ ทั้งปกปิดสีรถจากแดงเป็นดำ ทั้งไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน แย่มากจริงๆๆ”
อีกตัวอย่างหนึ่งที่สอบถามไปยังคอลัมน์ “จราจรตาเพชร” โดยแจ้งว่า “คันนี้ เพียงแค่อยากทราบว่าสีจริงๆ คือสีอะไร ไม่ได้มีอคติ หรืออิจฉาใดๆ เพราะแฟชั่นมันระบาดเลยยากที่จะคาดเดา ญก-4269 กรุงเทพมหานคร (เพียงแค่ทำหน้าที่พลเมืองที่อยากเห็นบ้านเมืองดีขึ้น) หากสีรถที่ WRAP มันตรงกับข้อมูลทะเบียนของกรมการขนส่งทางบก ก็ต้องขออภัยด้วยนะครับ”
เมื่อจราจรตาเพชรตรวจสอบแล้ว ได้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า “เอาตามข้อมูลทะเบียนรถก่อนนะครับ จากในระบบมีอยู่แค่นี้ คือ ญก-4269 กทม. เป็นทะเบียนรถ PORSCHE จดทะเบียน 6 ก.ย. 2550 วันที่ครอบครองรถ 6 ก.ย. 2550 สีรถไม่แจ้งในระบบ โดยทะเบียนรถเดิมคือ ชฎ-5168 กทม.(ซึ่งตอนนี้กลายเป็นทะเบียนรถฮอนด้า แจ๊ซ สีเหลือง เจ้าของเดียวกัน โดยทะเบียนรถแจ๊ซสีเหลืองนี้ ทะเบียนเดิมคือ ญก-4269 กทม. รถแจ๊ซจดทะเบียนเมื่อ 29 ธ.ค.53 ) ทั้ง 2 ทะเบียนเป็นของผู้หญิงคนเดียวกัน อายุ 36 ปี อยู่ที่บางแขม อ.เมือง จ.นครปฐม ข้อมูล งงๆ ต้องส่งไปตรวจสอบที่กรมการขนส่งทางบกแล้วหละครับ”
ในข้อเท็จจริง รถที่ทำ “แร็ป” มานั้น ไม่ผิดกฎหมาย หรือ พ.ร.บ.จราจรแต่อย่างใด เพียงแต่ เมื่อเจ้าของรถทำการเปลี่ยนสี จะด้วยวิธีการไหนมาก็ตาม เจ้าของรถจะต้องไปทำการจดแจ้งต่อกรมการขนส่งทางบกให้เรียบร้อย มิฉะนั้นจะถือว่าผิดกฎหมายทันทีหากนำรถมาวิ่งตามปกติบนท้องถนน
เจ้าของรหัส “น.2” พล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รอง ผบช.น. ดูแลงานด้านจราจร กล่าวถึงการ “แร็ป” (Wrap) รถหรือการนำสติกเกอร์มาติดเพื่อเปลี่ยนสีรถทั้งคันนั้น ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในหมู่นักแต่งรถว่า การแต่งรถโดยการแร็ป ถือว่าผิดกฎหมาย เนื่องจากถือว่าเป็นการเปลี่ยนสีรถทั้งคัน ซึ่งทำให้สีรถไม่ตรงกับที่แจ้งไว้กับทางกรมการขนส่งทางบก ถือว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ที่ต้องระวางโทษปรับครั้งละไม่เกิน 1,000 บาท โดยกำลังเป็นที่นิยม มีการพบเห็นแล้วหลายรายที่นำมาขับบนท้องถนน ซึ่งราคาที่ทำการแร็ปตกประมาณคันละ 30,000 บาท แต่จะสังเกตได้ง่ายเพราะรถเหล่านี้สีจะออกด้านๆ กว่าสีรถทั่วไป
“ทั้งนี้ ทางตำรวจจราจรยังได้ตระหนักถึงปัญหาของรถเหล่านี้ ในกรณีที่ถูกนำไปใช้ก่อเหตุ ซึ่งจะมีผลต่อคดีในการติดตามเจ้าของรถ เนื่องจากสีรถจะไม่ตรงกับทะเบียนที่แจ้งไว้ จึงได้มีการเรียกประชุมตำรวจจราจรให้เข้มงวดกวดขันในการตรวจจับกุมรถเหล่านี้ ตั้งแต่ 1-2 เดือนก่อนหน้านี้แล้ว เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตด้วย” พล.ต.ต.ภาณุกล่าว
รอง ผบช.น.ยังบอกอีกว่า การทำ “แร็ป” นั้น ตอนทำไม่ผิด แต่ทำเสร็จแล้วต้องแจ้งเปลี่ยนภายใน7วัน ถ้ากรมการขนส่งทางบกยอมรับการแจ้งเปลี่ยนสี แต่กรณีนี้ ไม่มั่นใจว่า กรมการขนส่งทางบกจะยอมรับแจ้งหรือไม่ เพราะไม่ได้เปลี่ยน(สี)จริง ถ้าไม่รับแจ้งก็ผิดในตัวอยู่แล้ว ขณะเดียวกัน การแจ้งเปลี่ยนสีรถนั้นไม่มีการจำกัดครั้ง แต่ไม่มีแจ้งเปลี่ยนชั่วคราว (ตามที่คนไปทำ “แร็ป” เข้าใจกันเอง) ส่วนรถที่มีการเปลี่ยนเพิ่มเติมเล็กๆ น้อยๆ นั้นไม่เป็นไร แต่อย่าให้เกิน 20 เปอร์เซ็นต์โดยประมาณ และกองบังคับการตำรวจจราจร มีการจับกุมรถที่ทำแร็ปเป็นประจำ ซึ่งถือเป็นนโยบาย และมีสถิติการจับกุมปรากฏชัด
ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางบกได้กำหนดให้เจ้าของรถต้องแจ้งการเปลี่ยนสีรถภายใน 7 วัน นับแต่วันที่เปลี่ยนสีรถ โดยต้องนำหลักฐานต่างๆ ไปดังต่อไปนี้
1. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
2. หลักฐานการเปลี่ยนสีของรถ เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าจ้างทำสีเป็นต้น
3. หลักฐานประจำตัวเจ้าของรถ ได้แก่
- ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน
- ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน
- หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
4. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่มาดำเนินการเอง) พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวของผู้รับมอบอำนาจ
มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า หากรถที่ “แร็ป” มาแล้ว เกิดไปกระทำผิดกฎหมายอย่างไม่ตั้งใจ อาทิ ขับรถไปเฉี่ยวชนคนตายแล้วเจตนาหนี กลับมาถึงบ้านไปให้ร้านลอก “แร็ป” ออก อะไรจะเกิดขึ้น หรือหากเจตนาเพื่อดัดแปลงสภาพสีไปก่ออาชญากรรม หรือขนยาเสพติด ตำรวจจะตามแกะรอยได้ไหม เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่ควรป้องกัน ควบคู่กับการปราบปราม (ด้วยการจับปรับเสียให้เข็ด) ไปพร้อมๆ กัน
ยังมีรถที่ทำผิดกฎหมายวิ่งกันมากมายในเมืองไทย นอกจากสีรถที่เห็นเป็นหลักๆ แล้ว ยังมีป้ายทะเบียนตัดแต่ง ป้ายทะเบียนต่างประเทศ ป้ายทะเบียนกราฟิก แม้กระทั่งป้ายทะเบียนปิดทองตามความเชื่อ โดยเฉพาะป้ายทะเบียนกราฟิกนั้น หลายคน อย่าว่าแต่ประชาชนทั่วไปเลย แม้แต่ตำรวจบางนายยังไม่รู้เสียด้วยซ้ำว่า การที่จะทำป้ายทะเบียนกราฟิกได้นั้น จะต้องเป็นหมายเลขทะเบียนที่ได้มาจากการประมูล เพื่อนำเงินเข้ากองทุนคุ้มครองความปลอดภัยผู้ใช้รถใช้ถนน ป้าย (สีขาว) ปกติที่เราๆ ท่านๆ ใช้อยู่นั้น ไม่สามารถนำมาทำเป็นสีกราฟิกได้ เพราะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ซึ่งยังมีพวก “ลักไก่” แอบไปทำมาติดกันเกร่อ จนไม่รู้ว่า เป็น “เลขทะเบียนประมูล 301” จริงหรือเปล่า
สุดท้าย คงต้องฝากความหวังทั้งหมดไว้กับกองบังคับการตำรวจจราจร ภายใต้การขับเคลื่อนนโยบายของพล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รอง ผบช.น. รับผิดชอบดูแลงานจราจร ที่คว่ำวอดในการแก้ปัญหาสำคัญระดับชาติ ในด้านการจราจร โดยเฉพาะในเมืองหลวงมายาวนาน และพล.ต.ต.อุทัยวรรณ แก้วสอาด ผบก.จร. ที่จะต้องสั่งกำชับไปถึงตำรวจจราจรทุกโรงพักในทุกระดับ ให้กวดขันจับกุมกันอย่างจริงจัง ติดตรงที่ว่า ไอ้พวกไปทำ “แร็ป” และป้ายทะเบียนสวยๆ เนี่ย มักเป็นลูกคนรวย คนมีสี ผู้มีอันจะกินกันทั้งน้านนน....