สาวอ่างทองร้อง ตร.ถูกตำรวจบางเขนจับผิดตัวคดีลักทรัพย์ ทั้งที่เจ้าตัวปฏิเสธ เชื่อถูกปลอมบัตรประชาชน แต่ยังดันทุรังสั่งฟ้องพร้อมส่งตัวฝากขัง จนทำให้ได้รับความเสียหายทางจิตใจและภาวะแวดล้อม ขณะที่ สน.บางเขน ได้ตั้งกรรมการสอบหาความบกพร่องแล้วคาด 45 วันรู้เรื่อง ส่วน “ประวุฒิ” ยอมรับคดีมีความบกพร่อง ต้องเร่งตรวจสอบให้ชัด ยกเป็นอุทาหรณ์ให้ตำรวจทำงานอย่างรอบคอบ ถือเป็นกรณีศึกษาช่องโหว่การทำงาน โดยเฉพาะการปลอมสำเนาบัตรประชาชน
วันนี้ (4 เม.ย.) เมื่อเวลา 11.00 น. ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) น.ส.นภาศรี สังสัญชาติ อายุ 28 ปี เดินทางเข้าพบ พล.ต.ต.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษก ตร. พ.ต.อ.เจริญ ศรีศศลักษณ์ รองผบก.น.2 พ.ต.ท.พิเชษฐ์ ฟูสินไพบูลย์ รอง ผกก.สส.สน.บางเขน เพื่อติดตามความคืบหน้าการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีที่พนักงานสอบสวน สน.บางเขน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจับกุมผู้ต้องหาผิดตัวโดยได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.บางเขน เข้ามาจับกุมตัวในขณะที่ทำงานในบริษัทแห่งหนึ่งในข้อหาลักทรัพย์ในเวลากลางคืน จากศูนย์พยาบาล แอล.พี.เนอสเซอรี่ ย่านท่าแร้ง เป็นเงินสด 7,000 บาท สร้อยคอทองคำ พร้อมพระเลี่ยมทอง และธนบัตรดอลล่าร์ รวมมูลค่า 15,000 บาท เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2552
น.ส.นภาศรีกล่าวว่า ในชั้นการสอบสวนได้ให้การปฎิเสธ พร้อมระบุว่าไม่เคยไปทำงานที่ศูนย์พยาบาลดังกล่าว แต่เจ้าหน้าที่มีความเห็นสั่งฟ้อง พร้อมส่งตัวฝากขังที่ศาลจังหวัดมีนบุรี 4 ครั้ง ๆ ละ 12 วัน รวม 48 วัน แต่ศาลได้จัดหาทนายความอาสาให้ พร้อมประกันตัวออกมาในวันที่ 10 ก.พ. 2553 จนกระทั่งศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากผู้เสียหายที่มาชี้ตัว ระบุว่า น.ส.นภาศรีไม่ใช่ลูกจ้างที่มาทำงานที่ศูนย์ แต่มีชื่อและนามสกุลตรงกันเท่านั้น และน.ส.นภาศรีที่เป็นคนร้ายตัวจริงนั้น เป็นหญิงอายุ 40 ปี รูปร่างท้วม ผิวขาว หน้าตาดี ผมสั้น ซึ่งตรงข้ามกับจำเลยทุกอย่าง พร้อมทั้งมีหลักฐานที่ทำให้เชื่อได้ว่ามีบุคคลนำสำเนาบัตรประชาชนของ น.ส.นภาศรีไปปลอมแปลงเพื่อต้องการก่อเหตุ
“หลังจากถูกจับกุมรู้สึกสับสนและงงมาก รวมถึงเมื่อถูกควบคุมตัว และตกเป็นผู้ต้องหาก็ยังถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจยึดโทรศัพท์มือถือไปจึงไม่สามารถติดต่อใครได้ จึงเป็นห่วงแม่และลูกสาวอีก 2 คน ที่อยู่ จ.อ่างทองมาก เพราะไม่มีใครดูแล เนื่องจากสามีเสียชีวิต แม่อายุ 58 ปี ก็เป็นอัมพฤกษ์ ส่วนลูกสาวอายุ 12 และอายุ 8 ปี ที่ยังเล็กก็ต้องนำอาหารเช้าและเย็นจากโรงเรียนมาให้แม่ของตน ส่วนชีวิตของตนก็เสียหาย เพราะบริษัทที่ไปสมัครและสอบได้ ก็ไม่รับทั้งยังขึ้นแบล็คลิสต์ไว้ว่าเป็นผู้ต้องหา โดยสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ที่ซื้อเงินผ่อนที่บ้านใน จ.อ่างทองก็ถูกยึด หลังจากได้รับการปล่อยตัวกรมคุ้มครองสิทธิฯ กระทรวงยุติธรรม ได้จ่ายค่าชดเชยให้จำนวน 30,000 บาท แต่รู้สึกว่าช่วงที่ถูกคุมขังไม่ได้รับความยุติธรรมจากตำรวจ ซึ่งในวันนี้จึงต้องการมาสอบถามตำรวจว่าจะเอาอย่างไรกับเรื่องที่เกิดขึ้น” น.ส.นภาศรีกล่าว
ด้าน พ.ต.อ.เจริญกล่าวว่า คดีนี้พนักงานสอบสวน สน.บางเขน ได้ขออนุญาตศาลออกหมายจับเมื่อปี 2548 และมาจับกุมผู้ต้องหาเมื่อปี 2552 เป็นการจับกุมตามหมายจับ สำหรับกระบวนการสอบสวนผู้ต้องหานั้นต้องยอมรับว่าพนักงานสอบสวนสามารถมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องได้ เนื่องจากพบความผิดปกติจากตัวผู้ต้องหาที่ออกหมายจับนั้นมีรูปร่างที่แตกต่างจากน.ส.นภาศรี ตัวจริง แต่เชื่อว่าที่จริงเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ต้องการจับผิดตัว อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ ทาง บก.น. 2 ได้ตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงแล้ว เมื่อวันที่ 3 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยมี ผกก.อก.บก.น. 2 เป็นประธานสอบสวนเรื่องที่เกิดขึ้นว่าเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนจับกุมมีความบกพร่องอย่างไร เพราะจนขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.บางเขนก็ยังไม่สามารถจับกุมผู้ต้องหาที่นำชื่อ ของ น.ส.นภาศรี มาแอบอ้างมาดำเนินคดีได้ โดยคาดว่าจะมีผลสรุปได้ภายใน 45 วัน
พล.ต.ต.ประวุฒิกล่าวว่า ยอมรับว่าคดีนี้เป็นความบกพร่องของเจ้าหน้าที่ตำรวจสน.บางเขน ซึ่งอาจเกิดจากกำลังพลไม่เพียงพอ ซึ่งช่วงปี 2552 เป็นช่วงที่มีการชุมนุม การทำงานอาจรีบเร่งไม่มีความละเอียดรอบคอบ รวมถึงขั้นตอนการชี้ตัวผู้ต้องหาหลังจากจับกุมมาแล้วก็ไม่มีอีกด้วยทำให้เกิดความบกพร่องในการทำคดีนี้ พร้อมจะไปตรวจสอบด้วยว่าขั้นตอนการชี้ตัวผู้ต้องหาก่อนส่งฟ้องอยู่ในระเบียบที่ต้องปฏิบัติหรือไม่
ส่วนผลการสอบสวนเจ้าหน้าที่ที่ทำคดีจะต้องเสนอมายัง ตร.ด้วย เพื่อพิจารณาว่าเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีความประมาทอย่างไร แต่ยังไม่ทราบจำนวนผู้เข้าข่ายความผิด ซึ่งต้องสอบสวนทั้งพนักงานสอบสวนที่ได้ออกหมายจับ และพนักงานสอบสวนที่ทำหน้าที่หลังจากจับกุม โดยความผิดจะรวมทั้งทางแพ่งและวินัย ตาม พ.ร.บ.ละเมิด พ.ศ. 2542 ซึ่งเชื่อว่าคดีนี้จะเป็นอุทาหรณ์ให้พนักงานสอบสวนให้ทำหน้าที่ด้วยความรอบคอบ และถือโอกาสนี้เป็นคดีศึกษาว่าการสอบสวนมีช่องว่างตรงไหน โดยเฉพาะคดีนี้มีการทำสำเนาบัตรประชาชนปลอม ทำให้ น.ส.นภาศรี ถูกจับกุมดำเนินคดี
วันนี้ (4 เม.ย.) เมื่อเวลา 11.00 น. ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) น.ส.นภาศรี สังสัญชาติ อายุ 28 ปี เดินทางเข้าพบ พล.ต.ต.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษก ตร. พ.ต.อ.เจริญ ศรีศศลักษณ์ รองผบก.น.2 พ.ต.ท.พิเชษฐ์ ฟูสินไพบูลย์ รอง ผกก.สส.สน.บางเขน เพื่อติดตามความคืบหน้าการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีที่พนักงานสอบสวน สน.บางเขน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจับกุมผู้ต้องหาผิดตัวโดยได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.บางเขน เข้ามาจับกุมตัวในขณะที่ทำงานในบริษัทแห่งหนึ่งในข้อหาลักทรัพย์ในเวลากลางคืน จากศูนย์พยาบาล แอล.พี.เนอสเซอรี่ ย่านท่าแร้ง เป็นเงินสด 7,000 บาท สร้อยคอทองคำ พร้อมพระเลี่ยมทอง และธนบัตรดอลล่าร์ รวมมูลค่า 15,000 บาท เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2552
น.ส.นภาศรีกล่าวว่า ในชั้นการสอบสวนได้ให้การปฎิเสธ พร้อมระบุว่าไม่เคยไปทำงานที่ศูนย์พยาบาลดังกล่าว แต่เจ้าหน้าที่มีความเห็นสั่งฟ้อง พร้อมส่งตัวฝากขังที่ศาลจังหวัดมีนบุรี 4 ครั้ง ๆ ละ 12 วัน รวม 48 วัน แต่ศาลได้จัดหาทนายความอาสาให้ พร้อมประกันตัวออกมาในวันที่ 10 ก.พ. 2553 จนกระทั่งศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากผู้เสียหายที่มาชี้ตัว ระบุว่า น.ส.นภาศรีไม่ใช่ลูกจ้างที่มาทำงานที่ศูนย์ แต่มีชื่อและนามสกุลตรงกันเท่านั้น และน.ส.นภาศรีที่เป็นคนร้ายตัวจริงนั้น เป็นหญิงอายุ 40 ปี รูปร่างท้วม ผิวขาว หน้าตาดี ผมสั้น ซึ่งตรงข้ามกับจำเลยทุกอย่าง พร้อมทั้งมีหลักฐานที่ทำให้เชื่อได้ว่ามีบุคคลนำสำเนาบัตรประชาชนของ น.ส.นภาศรีไปปลอมแปลงเพื่อต้องการก่อเหตุ
“หลังจากถูกจับกุมรู้สึกสับสนและงงมาก รวมถึงเมื่อถูกควบคุมตัว และตกเป็นผู้ต้องหาก็ยังถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจยึดโทรศัพท์มือถือไปจึงไม่สามารถติดต่อใครได้ จึงเป็นห่วงแม่และลูกสาวอีก 2 คน ที่อยู่ จ.อ่างทองมาก เพราะไม่มีใครดูแล เนื่องจากสามีเสียชีวิต แม่อายุ 58 ปี ก็เป็นอัมพฤกษ์ ส่วนลูกสาวอายุ 12 และอายุ 8 ปี ที่ยังเล็กก็ต้องนำอาหารเช้าและเย็นจากโรงเรียนมาให้แม่ของตน ส่วนชีวิตของตนก็เสียหาย เพราะบริษัทที่ไปสมัครและสอบได้ ก็ไม่รับทั้งยังขึ้นแบล็คลิสต์ไว้ว่าเป็นผู้ต้องหา โดยสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ที่ซื้อเงินผ่อนที่บ้านใน จ.อ่างทองก็ถูกยึด หลังจากได้รับการปล่อยตัวกรมคุ้มครองสิทธิฯ กระทรวงยุติธรรม ได้จ่ายค่าชดเชยให้จำนวน 30,000 บาท แต่รู้สึกว่าช่วงที่ถูกคุมขังไม่ได้รับความยุติธรรมจากตำรวจ ซึ่งในวันนี้จึงต้องการมาสอบถามตำรวจว่าจะเอาอย่างไรกับเรื่องที่เกิดขึ้น” น.ส.นภาศรีกล่าว
ด้าน พ.ต.อ.เจริญกล่าวว่า คดีนี้พนักงานสอบสวน สน.บางเขน ได้ขออนุญาตศาลออกหมายจับเมื่อปี 2548 และมาจับกุมผู้ต้องหาเมื่อปี 2552 เป็นการจับกุมตามหมายจับ สำหรับกระบวนการสอบสวนผู้ต้องหานั้นต้องยอมรับว่าพนักงานสอบสวนสามารถมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องได้ เนื่องจากพบความผิดปกติจากตัวผู้ต้องหาที่ออกหมายจับนั้นมีรูปร่างที่แตกต่างจากน.ส.นภาศรี ตัวจริง แต่เชื่อว่าที่จริงเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ต้องการจับผิดตัว อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ ทาง บก.น. 2 ได้ตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงแล้ว เมื่อวันที่ 3 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยมี ผกก.อก.บก.น. 2 เป็นประธานสอบสวนเรื่องที่เกิดขึ้นว่าเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนจับกุมมีความบกพร่องอย่างไร เพราะจนขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.บางเขนก็ยังไม่สามารถจับกุมผู้ต้องหาที่นำชื่อ ของ น.ส.นภาศรี มาแอบอ้างมาดำเนินคดีได้ โดยคาดว่าจะมีผลสรุปได้ภายใน 45 วัน
พล.ต.ต.ประวุฒิกล่าวว่า ยอมรับว่าคดีนี้เป็นความบกพร่องของเจ้าหน้าที่ตำรวจสน.บางเขน ซึ่งอาจเกิดจากกำลังพลไม่เพียงพอ ซึ่งช่วงปี 2552 เป็นช่วงที่มีการชุมนุม การทำงานอาจรีบเร่งไม่มีความละเอียดรอบคอบ รวมถึงขั้นตอนการชี้ตัวผู้ต้องหาหลังจากจับกุมมาแล้วก็ไม่มีอีกด้วยทำให้เกิดความบกพร่องในการทำคดีนี้ พร้อมจะไปตรวจสอบด้วยว่าขั้นตอนการชี้ตัวผู้ต้องหาก่อนส่งฟ้องอยู่ในระเบียบที่ต้องปฏิบัติหรือไม่
ส่วนผลการสอบสวนเจ้าหน้าที่ที่ทำคดีจะต้องเสนอมายัง ตร.ด้วย เพื่อพิจารณาว่าเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีความประมาทอย่างไร แต่ยังไม่ทราบจำนวนผู้เข้าข่ายความผิด ซึ่งต้องสอบสวนทั้งพนักงานสอบสวนที่ได้ออกหมายจับ และพนักงานสอบสวนที่ทำหน้าที่หลังจากจับกุม โดยความผิดจะรวมทั้งทางแพ่งและวินัย ตาม พ.ร.บ.ละเมิด พ.ศ. 2542 ซึ่งเชื่อว่าคดีนี้จะเป็นอุทาหรณ์ให้พนักงานสอบสวนให้ทำหน้าที่ด้วยความรอบคอบ และถือโอกาสนี้เป็นคดีศึกษาว่าการสอบสวนมีช่องว่างตรงไหน โดยเฉพาะคดีนี้มีการทำสำเนาบัตรประชาชนปลอม ทำให้ น.ส.นภาศรี ถูกจับกุมดำเนินคดี