บนแผงหนังสือพิมพ์เช้าวันนี้ ปรากฏภาพและข่าวที่ฮือฮาไม่น้อยบนหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ โดยเป็นภาพของ นายวินัย ละอองสุวรรณ หรือ อดีตพระยันตระ อมโร เจ้าสำนักวัดป่าสุญญตาราม เกริงกาเวีย อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ในชุดเครื่องแต่งกายที่เลียนแบบพระสงฆ์ ทว่าไว้หนวดและเครายาวเฟื้อย กำลังออกบิณฑบาต
หากย้อนกลับไปเมื่อราว 15-16 ปีก่อน “ความศรัทธา”ของพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและต่างชาติ ต่างต้องการที่จะได้เข้าไปนมัสการกราบพระหนุ่มรูปงาม นามไพเราะ ให้เป็นสิริมงคลแก่ชีวิตสักครั้งหนึ่ง พระหนุ่มรูปที่ว่า ก็คือ “พระยันตระ อมโร” นั่นเอง ความศรัทธาที่ว่า เปรียบได้ดัง บ้านจำนวน 10 หลังคาเรือนนั้น 8 ใน 10 หลัง ย่อมต้องปรากฏภาพพระยันตระ ไว้บูชาเกือบแทบทุกบ้าน
ครั้งหนึ่งบริเวณท้องสนามหลวง มีกำหนดการที่พระยันตระจะเดินทางไปแสดงธรรม ปรากฏว่า พุทธศาสนิกชนจากทุกสารทิศต่างแออัดยัดเยียดกันแน่นท้องสนามหลวง เพื่อต้องการที่จะได้เข้าไปฟังธรรมจากพระยันตระกันสดๆ ขนาดนายพลใหญ่แห่งกองทัพ ซึ่งต่อมามีตำแหน่งเป็นถึงนายกรัฐมนตรีก็ยังเดินทางเข้าไปกราบอยู่แทบเท้าของพระยันตระ และภาพนั้นกลายเป็นภาพข่าวลงหน้าหนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับ
ถัดจากความดังเป็นพลุแตกได้ไม่นานนัก ราวปี 2537 ปรากฏข่าว “ช็อก” ความศรัทธาของพุทธศาสนิกชน เมื่อมีสีกากลุ่มหนึ่ง ทำหนังสือร้องเรียนขึ้นทูลสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก รวมทั้งยังร้อนเรียนโดยตรงไปยังอธิบดีกรมการศาสนาในขณะนั้น ถึงการปฏิบัติตัวไม่เหมาะสมกับความเป็นพระของพระยันตระ อมโร และข้อหาที่กลุ่มสีกากลุ่มดังกล่าว ร้องเรียนนั้น ถือเป็นข้อหาที่ร้ายแรง ถึงขั้นที่พระยันตระ ต้องขาดจากความเป็นพระเลยทีเดียว
เมื่อการร้องเรียนถูกนำมาเปิดโปง สื่ออย่างหนังสือพิมพ์ โดยเฉพาะ “ข่าวสด” ได้ขุดคุ้ยหาหลักฐานต่างๆ เพื่อนำมาตีแผ่ให้คนไทย ที่เคารพ ศรัทธาพระยันตระกันทั่วประเทศในขณะนั้นได้รับทราบถึงพฤติกรรมจอมลวงโลก ถึงขนาดที่ภายหลัง ครั้งเมื่อพระยันตระ หลบไปอยู่ที่วัดราชาธิวาส ระหว่างการต่อสู้ข้อกล่าวหา เมื่อขึ้นเทศนายังได้กล่าวกระแนะกระแหนหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวว่า เป็นหนังสือพิมพ์ “นมสด” เพราะชอบ “เต้าข่าว” ที่จ้องมาทำลายพุทธศาสนาในขณะนั้น แต่ภายหลังความจริงก็ปรากฏว่า ใครเป็นจอมลวงโลกที่แท้จริง ทั้งบรรดาผู้สื่อข่าวที่ไปตามทำข่าวในวัด ก็ถูกรุกราน จากกลุ่มลูกศิษย์ลูกหาของพระยันตระ บางครั้งยืนถ่ายรูปบนโต๊ะ ก็เข้ามาแกล้งกระชากโต๊ะให้ล้มลงจนแขนขาหัก หัวร้างข้างแตก บางครั้ง ป่าเถื่อนถึงขนาดปาถุงอุจาระใส่กลุ่มผู้สื่อข่าวก็มี
ในหนังสือร้องเรียนของกลุ่มสีกาดังกล่าว มีหลักฐานเป็นเทปการสนทนาระหว่างพระยันตระ กับนางจันทิมา ซึ่งเป็นหนึ่งในสีกาที่ร้องเรียนว่า พระยันตระได้ล่อลวงไปเสพเมถุนด้วยจนตั้งครรภ์ และคลอดออกมาเป็นบุตรสาวในนาม “ด.ญ.กระต่าย” คดีนี้ เกิดการท้าพิสูจน์และฟ้องร้องกันเป็นเรื่องราวใหญ่โต โดยนางจันทิมา และด.ญ.กระต่าย ยอมเจาะเลือดตรวจดีเอ็นเอ ซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่ในขณะนั้นเพื่อพิสูจน์ความจริงหาผู้เป็นพ่อของเด็ก แต่ทว่า พระยันตระ กลับปฏิเสธไม่ยอมเจาะเลือดตรวจพิสูจน์ ในขณะที่การฟ้องร้องดำเนินคดี เรื่องน่าจะสิ้นสุดอยู่ที่ชั้นอัยการ เนื่องจากพระยันตระเดินทางหลบหนีออกไปต่างประเทศเสียก่อนที่คดีจะถูกนำขึ้นให้ศาลพิจารณา
ยังมีเอกสารบางประการของหม่อมดุษฎี บริพัตร ซึ่งถือเป็นโยมอุปัฏฐากคนสำคัญของพระยันตระ นำมาเป็นหลักฐานร้องเรียนถึงความไม่เหมาะสม ต่อความเป็น “สมณะสารูป” ระหว่างที่พระยันตระเดินทางไปต่างประเทศด้วย
หลักฐานและเอกสารต่างๆถูกขุดคุ้ยขึ้นมาเเพิ่มมากขึ้น ข้อกล่าวหาที่ระบุว่า พระยันตระ มีเพศสัมพันธ์กับนางแก้วตา (ขอสงวนนามสกุล) บนดาดฟ้าเรือเดินสมุทรไวกิ้งไลน์ ระหว่างทางจากกรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ไปยังกรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ รวมทั้งข้อกล่าวหาว่า พระยันตระจับต้องกายนางสาวซูซานด้วยความกำหนัด ณ กุฏิริมน้ำ วัดป่าสุญญตาราม เมืองบันดานูน ประเทศออสเตรเลีย พระยันตระเข้าไปหานางสาวอีวา ในรถตู้ของเธอบนท้องถนนกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย และร่วมหลับนอนกับนางสาวอีวา และพร่ำพูดถึงความรัก ต่ออีวาทางโทรศัพท์ ซึ่งมีหลักฐานเป็นเทปบันทึกเสียง
นอกเหนือจากข้อกล่าวหาทั้งหมดเบื้องต้นแล้ว ยังมีหลักฐานที่บรรดาสื่อในขณะนั้นนำออกมาเปิดเผย อาทิ สลิปบัตรเครดิต ที่โยมอุปัฏฐากถวายให้ แต่ในสลิปบัตรเครดิตถูกระบุว่า ผู้ถือบัตรนำไปใช้ในสถานบริการทางเพศ สถานบริการอาบอบนวดในประเทศออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ รวมทั้งหลักฐานการเปิดโรงแรม และเช่ารถร่วมกับสตรีเพียงสองต่อสอง
ข่าวและพยานหลักฐานต่างๆ ที่ถูกนำเสนอออกมาในขณะนั้น กลับกลายเป็น “วิกฤตศรัทธา” ที่บั่นทอนจิตใจพุทธศาสนิกชนทั้งที่ศรัทธา และไม่ศรัทธาพระยันตระยิ่งนัก บางรายมีผู้สูงอายุที่หลงศรัทธาอย่างหาที่สุดไม่ได้ ถึงกับเกิดอาการ “ช็อก” ต่อข่าวที่เกิดขึ้น ลูกหลานต้องพาส่งเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ตามตึกรามบ้านช่อง ที่เคยเห็นภาพพระยันตระ ตั้งอยู่บนหิ้งพระ กลับถูกนำไปทิ้ง รถเก็บขยะของ กทม. จะมีทั้งกรอบรูป ภาพพระยันตระ นับสิบภาพต่อคันต่อเที่ยวที่ประชาชนนำไปทิ้ง
สุดท้ายราวปี 2537 พระยันตระถูกฟ้องร้องหลายข้อหา รวมทั้งถูกตั้งอธิกรณ์(ข้อกล่าวหาผิดวินัยร้ายแรง)ว่า ล่วงละเมิดเมถุนธรรม ต้องอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นพระภิกษุ ตามพระธรรมวินัย ซึ่งในที่สุด มหาเถรสมาคมได้พิจารณาอธิกรณ์ดังกล่าวแล้ว ปรับให้พระยันตระ เป็นปาราชิก ไม่สามารถดำรงตนในฐานะพระภิกษุได้อีกต่อไป ต้องสึกจากความเป็นพระ
แม้เมื่อมหาเถรสมาคม ได้พิจารณาปรับอธิกรณ์ (ข้อกล่าวหา) ดังกล่าวกับพระยันตระให้เป็น “อดีตพระยันตระ” แล้ว แต่อดีตพระยันตระ กลับไม่ยอมรับ มติมหาเถรสมาคมดังกล่าว ทั้งยังยืนยันว่า ยังคงความเป็นพระอยู่อย่างบริบูณ์ จากนั้นจึงได้หันไปนุ่งห่มผ้าที่คล้ายจีวร ทว่า ถูกย้อมไปเป็นสีเขียวเข้มแทน ซึ่งเป็นที่มาของฉายา “จิ้งเขียว” อีกสมญาหนึ่งของอดีตพระยันตระ นอกเหนือจาก “สมียันดะ” เป็นต้น
จุดที่ทำให้อดีตพระยันตระต้องระเห็จออกนอกประเทศ ก็มาจากมติมหาเถรสมาคมดังกล่าว ที่อดีตพระยันตระ พูดวิพากษ์วิจารณ์และก้าวล่วงไปถึงขั้นหมิ่นองค์สมเด็จพระสังฆราชฯ ทำให้ต้องถูกดำเนินคดีดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเจ้าตัวพร้อมบริวารจำนวนหนึ่ง จึงต้องหลบหนีออกนอกประเทศไปในที่สุด ตั้งแต่บัดนั้นจวบจนปัจจุบัน
13-14 ปีที่ผ่านมา ไม่มีใครได้พูดถึง “อดีตพระยันตระ” แม้แต่น้อย นอกเสียจากในวงเหล้าบางวง ที่อาจจะวกเข้าไปพุดคุยกับเพื่อนร่วมวงบ้าง แต่ก็มักเป็นเรื่องในทางลบของอดีตพระยันตระเสียเป็นส่วนใหญ่ เรียกว่าเอามาประกอบเป็นเรื่องโจ๊กขำๆ กันเล่น
อดีตพระยันตระ เดิมชื่อวินัย ละอองสุวรรณ เป็นชาว อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ออกปฏิบัติตนเป็นนักพรตฤๅษีอยู่หลายปี จนเข้าอุปสมบทที่วัดรัตนาราม อ.ปากพนัง ในคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกาย เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2517 จากนั้นออกเดินทางแสดงพระธรรมเทศนาจนมีชื่อเสียง และผู้คนศรัทธากันทั้งประเทศ ปัจจุบันอดีตพระยันตระใช้ชีวิตอย่างสุขสบายในสหรัฐอเมริกา และยังคงมีญาติโยมรวมทั้งลูกศิษย์ลูกหาที่ยังคงศรัทธาติดตามรับใช้กันอย่างใกล้ชิด
วันนี้ กลับมีภาพและข่าวของอดีตพระยันตระปรากฏขึ้นมาอีก ทำให้ต้องนึกถึงคดีความที่เกิดขึ้นเกี่ยวพันกับอดีตพระผู้นี้ แม้ปัจจุบันอดีตพระยันตระ จะยังคงหลบหนีคดีความทางอาญาไปใช้ชีวิตอยู่เมืองนอกได้ แต่เชื่อว่า “ผลแห่งกรรม” ที่อดีตพระยันตระทำขึ้นไว้บนความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนนั้น ไม่สามารถที่จะหลบหนีไปได้พ้นทั้งภพนี้...และภพหน้า!
หากย้อนกลับไปเมื่อราว 15-16 ปีก่อน “ความศรัทธา”ของพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและต่างชาติ ต่างต้องการที่จะได้เข้าไปนมัสการกราบพระหนุ่มรูปงาม นามไพเราะ ให้เป็นสิริมงคลแก่ชีวิตสักครั้งหนึ่ง พระหนุ่มรูปที่ว่า ก็คือ “พระยันตระ อมโร” นั่นเอง ความศรัทธาที่ว่า เปรียบได้ดัง บ้านจำนวน 10 หลังคาเรือนนั้น 8 ใน 10 หลัง ย่อมต้องปรากฏภาพพระยันตระ ไว้บูชาเกือบแทบทุกบ้าน
ครั้งหนึ่งบริเวณท้องสนามหลวง มีกำหนดการที่พระยันตระจะเดินทางไปแสดงธรรม ปรากฏว่า พุทธศาสนิกชนจากทุกสารทิศต่างแออัดยัดเยียดกันแน่นท้องสนามหลวง เพื่อต้องการที่จะได้เข้าไปฟังธรรมจากพระยันตระกันสดๆ ขนาดนายพลใหญ่แห่งกองทัพ ซึ่งต่อมามีตำแหน่งเป็นถึงนายกรัฐมนตรีก็ยังเดินทางเข้าไปกราบอยู่แทบเท้าของพระยันตระ และภาพนั้นกลายเป็นภาพข่าวลงหน้าหนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับ
ถัดจากความดังเป็นพลุแตกได้ไม่นานนัก ราวปี 2537 ปรากฏข่าว “ช็อก” ความศรัทธาของพุทธศาสนิกชน เมื่อมีสีกากลุ่มหนึ่ง ทำหนังสือร้องเรียนขึ้นทูลสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก รวมทั้งยังร้อนเรียนโดยตรงไปยังอธิบดีกรมการศาสนาในขณะนั้น ถึงการปฏิบัติตัวไม่เหมาะสมกับความเป็นพระของพระยันตระ อมโร และข้อหาที่กลุ่มสีกากลุ่มดังกล่าว ร้องเรียนนั้น ถือเป็นข้อหาที่ร้ายแรง ถึงขั้นที่พระยันตระ ต้องขาดจากความเป็นพระเลยทีเดียว
เมื่อการร้องเรียนถูกนำมาเปิดโปง สื่ออย่างหนังสือพิมพ์ โดยเฉพาะ “ข่าวสด” ได้ขุดคุ้ยหาหลักฐานต่างๆ เพื่อนำมาตีแผ่ให้คนไทย ที่เคารพ ศรัทธาพระยันตระกันทั่วประเทศในขณะนั้นได้รับทราบถึงพฤติกรรมจอมลวงโลก ถึงขนาดที่ภายหลัง ครั้งเมื่อพระยันตระ หลบไปอยู่ที่วัดราชาธิวาส ระหว่างการต่อสู้ข้อกล่าวหา เมื่อขึ้นเทศนายังได้กล่าวกระแนะกระแหนหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวว่า เป็นหนังสือพิมพ์ “นมสด” เพราะชอบ “เต้าข่าว” ที่จ้องมาทำลายพุทธศาสนาในขณะนั้น แต่ภายหลังความจริงก็ปรากฏว่า ใครเป็นจอมลวงโลกที่แท้จริง ทั้งบรรดาผู้สื่อข่าวที่ไปตามทำข่าวในวัด ก็ถูกรุกราน จากกลุ่มลูกศิษย์ลูกหาของพระยันตระ บางครั้งยืนถ่ายรูปบนโต๊ะ ก็เข้ามาแกล้งกระชากโต๊ะให้ล้มลงจนแขนขาหัก หัวร้างข้างแตก บางครั้ง ป่าเถื่อนถึงขนาดปาถุงอุจาระใส่กลุ่มผู้สื่อข่าวก็มี
ในหนังสือร้องเรียนของกลุ่มสีกาดังกล่าว มีหลักฐานเป็นเทปการสนทนาระหว่างพระยันตระ กับนางจันทิมา ซึ่งเป็นหนึ่งในสีกาที่ร้องเรียนว่า พระยันตระได้ล่อลวงไปเสพเมถุนด้วยจนตั้งครรภ์ และคลอดออกมาเป็นบุตรสาวในนาม “ด.ญ.กระต่าย” คดีนี้ เกิดการท้าพิสูจน์และฟ้องร้องกันเป็นเรื่องราวใหญ่โต โดยนางจันทิมา และด.ญ.กระต่าย ยอมเจาะเลือดตรวจดีเอ็นเอ ซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่ในขณะนั้นเพื่อพิสูจน์ความจริงหาผู้เป็นพ่อของเด็ก แต่ทว่า พระยันตระ กลับปฏิเสธไม่ยอมเจาะเลือดตรวจพิสูจน์ ในขณะที่การฟ้องร้องดำเนินคดี เรื่องน่าจะสิ้นสุดอยู่ที่ชั้นอัยการ เนื่องจากพระยันตระเดินทางหลบหนีออกไปต่างประเทศเสียก่อนที่คดีจะถูกนำขึ้นให้ศาลพิจารณา
ยังมีเอกสารบางประการของหม่อมดุษฎี บริพัตร ซึ่งถือเป็นโยมอุปัฏฐากคนสำคัญของพระยันตระ นำมาเป็นหลักฐานร้องเรียนถึงความไม่เหมาะสม ต่อความเป็น “สมณะสารูป” ระหว่างที่พระยันตระเดินทางไปต่างประเทศด้วย
หลักฐานและเอกสารต่างๆถูกขุดคุ้ยขึ้นมาเเพิ่มมากขึ้น ข้อกล่าวหาที่ระบุว่า พระยันตระ มีเพศสัมพันธ์กับนางแก้วตา (ขอสงวนนามสกุล) บนดาดฟ้าเรือเดินสมุทรไวกิ้งไลน์ ระหว่างทางจากกรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ไปยังกรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ รวมทั้งข้อกล่าวหาว่า พระยันตระจับต้องกายนางสาวซูซานด้วยความกำหนัด ณ กุฏิริมน้ำ วัดป่าสุญญตาราม เมืองบันดานูน ประเทศออสเตรเลีย พระยันตระเข้าไปหานางสาวอีวา ในรถตู้ของเธอบนท้องถนนกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย และร่วมหลับนอนกับนางสาวอีวา และพร่ำพูดถึงความรัก ต่ออีวาทางโทรศัพท์ ซึ่งมีหลักฐานเป็นเทปบันทึกเสียง
นอกเหนือจากข้อกล่าวหาทั้งหมดเบื้องต้นแล้ว ยังมีหลักฐานที่บรรดาสื่อในขณะนั้นนำออกมาเปิดเผย อาทิ สลิปบัตรเครดิต ที่โยมอุปัฏฐากถวายให้ แต่ในสลิปบัตรเครดิตถูกระบุว่า ผู้ถือบัตรนำไปใช้ในสถานบริการทางเพศ สถานบริการอาบอบนวดในประเทศออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ รวมทั้งหลักฐานการเปิดโรงแรม และเช่ารถร่วมกับสตรีเพียงสองต่อสอง
ข่าวและพยานหลักฐานต่างๆ ที่ถูกนำเสนอออกมาในขณะนั้น กลับกลายเป็น “วิกฤตศรัทธา” ที่บั่นทอนจิตใจพุทธศาสนิกชนทั้งที่ศรัทธา และไม่ศรัทธาพระยันตระยิ่งนัก บางรายมีผู้สูงอายุที่หลงศรัทธาอย่างหาที่สุดไม่ได้ ถึงกับเกิดอาการ “ช็อก” ต่อข่าวที่เกิดขึ้น ลูกหลานต้องพาส่งเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ตามตึกรามบ้านช่อง ที่เคยเห็นภาพพระยันตระ ตั้งอยู่บนหิ้งพระ กลับถูกนำไปทิ้ง รถเก็บขยะของ กทม. จะมีทั้งกรอบรูป ภาพพระยันตระ นับสิบภาพต่อคันต่อเที่ยวที่ประชาชนนำไปทิ้ง
สุดท้ายราวปี 2537 พระยันตระถูกฟ้องร้องหลายข้อหา รวมทั้งถูกตั้งอธิกรณ์(ข้อกล่าวหาผิดวินัยร้ายแรง)ว่า ล่วงละเมิดเมถุนธรรม ต้องอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นพระภิกษุ ตามพระธรรมวินัย ซึ่งในที่สุด มหาเถรสมาคมได้พิจารณาอธิกรณ์ดังกล่าวแล้ว ปรับให้พระยันตระ เป็นปาราชิก ไม่สามารถดำรงตนในฐานะพระภิกษุได้อีกต่อไป ต้องสึกจากความเป็นพระ
แม้เมื่อมหาเถรสมาคม ได้พิจารณาปรับอธิกรณ์ (ข้อกล่าวหา) ดังกล่าวกับพระยันตระให้เป็น “อดีตพระยันตระ” แล้ว แต่อดีตพระยันตระ กลับไม่ยอมรับ มติมหาเถรสมาคมดังกล่าว ทั้งยังยืนยันว่า ยังคงความเป็นพระอยู่อย่างบริบูณ์ จากนั้นจึงได้หันไปนุ่งห่มผ้าที่คล้ายจีวร ทว่า ถูกย้อมไปเป็นสีเขียวเข้มแทน ซึ่งเป็นที่มาของฉายา “จิ้งเขียว” อีกสมญาหนึ่งของอดีตพระยันตระ นอกเหนือจาก “สมียันดะ” เป็นต้น
จุดที่ทำให้อดีตพระยันตระต้องระเห็จออกนอกประเทศ ก็มาจากมติมหาเถรสมาคมดังกล่าว ที่อดีตพระยันตระ พูดวิพากษ์วิจารณ์และก้าวล่วงไปถึงขั้นหมิ่นองค์สมเด็จพระสังฆราชฯ ทำให้ต้องถูกดำเนินคดีดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเจ้าตัวพร้อมบริวารจำนวนหนึ่ง จึงต้องหลบหนีออกนอกประเทศไปในที่สุด ตั้งแต่บัดนั้นจวบจนปัจจุบัน
13-14 ปีที่ผ่านมา ไม่มีใครได้พูดถึง “อดีตพระยันตระ” แม้แต่น้อย นอกเสียจากในวงเหล้าบางวง ที่อาจจะวกเข้าไปพุดคุยกับเพื่อนร่วมวงบ้าง แต่ก็มักเป็นเรื่องในทางลบของอดีตพระยันตระเสียเป็นส่วนใหญ่ เรียกว่าเอามาประกอบเป็นเรื่องโจ๊กขำๆ กันเล่น
อดีตพระยันตระ เดิมชื่อวินัย ละอองสุวรรณ เป็นชาว อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ออกปฏิบัติตนเป็นนักพรตฤๅษีอยู่หลายปี จนเข้าอุปสมบทที่วัดรัตนาราม อ.ปากพนัง ในคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกาย เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2517 จากนั้นออกเดินทางแสดงพระธรรมเทศนาจนมีชื่อเสียง และผู้คนศรัทธากันทั้งประเทศ ปัจจุบันอดีตพระยันตระใช้ชีวิตอย่างสุขสบายในสหรัฐอเมริกา และยังคงมีญาติโยมรวมทั้งลูกศิษย์ลูกหาที่ยังคงศรัทธาติดตามรับใช้กันอย่างใกล้ชิด
วันนี้ กลับมีภาพและข่าวของอดีตพระยันตระปรากฏขึ้นมาอีก ทำให้ต้องนึกถึงคดีความที่เกิดขึ้นเกี่ยวพันกับอดีตพระผู้นี้ แม้ปัจจุบันอดีตพระยันตระ จะยังคงหลบหนีคดีความทางอาญาไปใช้ชีวิตอยู่เมืองนอกได้ แต่เชื่อว่า “ผลแห่งกรรม” ที่อดีตพระยันตระทำขึ้นไว้บนความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนนั้น ไม่สามารถที่จะหลบหนีไปได้พ้นทั้งภพนี้...และภพหน้า!