ทันทีที่ นางธิดา ถาวรเศษฐ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) พร้อมด้วย นายนรินทร์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ในฐานะทนายความ นปช. ได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นเงินสด คนละ 6 แสนบาท ขอประกันตัว 7 แกนนำ นปช. ประกอบด้วย นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, นพ.เหวง โตจิราการ, นายก่อแก้ว พิกุลทอง, นายนิสิต สินธุไพร, นายขวัญชัย ไพรพนา, นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย และนายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก จำเลยในคดีก่อการร้าย เมื่อวันที่ 9 ก.พ.ที่ผ่านมา
ทำเอาหลายคนต่างคิดกันไปใน 2 ทาง คือ ทางแรกการยื่นประกันในครั้งนี้ แกนนำทั้งหมด หรือ แกนนำบางคนอาจได้รับการประกันตัว ส่วนแนวทางที่ 2 คือ ศาลยืนยันคำสั่งเดิม คือไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ให้ยกคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยไม่ให้ประกันตัวผู้ต้องหาทั้งหมด
ส่วนการยื่นขอประกันตัวแกนนำ นปช.ในครั้งนี้ ถือว่าพิเศษ และ แปลกกว่าการยื่นประกันตัวในครั้งที่ผ่านๆมา กล่าวคือ ทนายความยื่นขอประกันตัวในวันที่ 8 ก.พ.และศาลนัดไต่สวนในวันที่ 21 ก.พ.โดยที่ในห้วงเวลาจากวันยื่นจนถึงวันนัดไต่สวน ทางกลุ่ม นปช.ได้เคลื่อนไหวกดดันศาลเกิดขึ้นใน 2 ครั้ง คือ วันที่ 13 ก.พ.และ วันที่ 19 ก.พ.ซึ่งแน่นอน การเคลื่อนไหว ทางแกนนำได้พูดวิพากษ์วิจารณ์ กระบวนการยุติธรรม ในหลากหลายรูปแบบ
ขณะที่สายข่าวในรั้วศาลยุติธรรม แจ้งข่าวให้ทราบว่า เห็นคนที่ต้องการปรองดอง และร่วมอยู่ในรัฐบาลขณะนี้ เดินทางไปประสานกับผู้มีอำนาจในศาลอาญา เพื่อขอให้ปล่อยตัวชั่วคราวแกนนำทั้งหมด ก่อนที่ทนายความ จะยื่นขอประกันตัวเมื่อวันที่ 9 ก.พ.โดยการยื่นประกันในครั้งนี้ นางธิดา ถาวรเศษฐ์ ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นเงินสด คนละ 6 แสนบาท โดยคำร้องขอประกันตัวของจำเลยได้เปรียบเทียบกรณีที่ศาลให้ประกันนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ ผู้ต้องหาคดีก่อการร้าย ซึ่งศาลตีราคาประกัน 6 แสนบาท ซึ่งถือเป็นหลักทรัพย์ที่น้อยกว่าทุกครั้งที่เคยยื่นขอประกันคือ คนละ 6 ล้านบาท แต่ศาลกลับยกคำร้อง
อย่างไรก็ตาม หากเราย้อนไปดูในวันที่กลุ่ม นปช.ได้เคลื่อนไหว กดดันศาล ใน 2 ครั้ง นับจากวันยื่นประกันตัว(9 ก.พ)ถึงวันศาลนัดไต่สวน(21 ก.พ.)ถือว่า ไม่ธรรมดา หากสุดท้ายศาลยอมปล่อยตัวชั่วคราวตามที่ร้องขอ
เริ่มจาก 13 ก.พ. 54 กลุ่มคนเสื้อแดงหลายพันคนได้ชุมนุมกดดันศาล บริเวณหน้าศาลอาญา ถ.รัชดา
วันนี้ "จตุพร พรหมพันธุ์"ขึ้นปราศรัยด้วยลีลาอย่างดุเดือด ว่ากลุ่มแกนนำเสื้อแดงยังคงต้องถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ จึงทำให้ต้องออกมาเพื่อหาเศษความยุติธรรม ว่า ชีวิตคนเสื้อแดงจะมีบ้างหรือไม่ เมื่อเทียบกับกลุ่มอำมาตย์ คนเสื้อเหลือง ซึ่งหากพวกเราไม่ออกมาทวงถามต่อไปแกนนำ นปช. ก็จะถูกขังลืม ซึ่งตนขอบอกว่า ถ้าประเทศนี้ไม่มีความเมตตา ไม่มีความยุติธรรม ก็จะอยู่กันด้วยความสงบ ความปรองดองไม่ได้
นายจตุพร ยังได้กล่าววิจารณ์กระบวนการยุติธรรมทางอาญา ที่ใช้ 2 มาตรฐานการในการดำเนินการกับเสื้อแดง และเสื้อเหลือง
ขณะที่ นายวรวุฒิ วิชัยดิษฐ์ โฆษกแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ได้อ่านจดหมายของแกนนำนปช. ที่ถูกจำคุกในเรือนจำ ใจความว่า กระผมแกนนำ นปช. ผู้ต้องคดีก่อการร้ายจากการชุมนุมทางการเมือง 2553 ซึ่งถูกกักขังนานกว่า 9 เดือนแล้ว ยังไม่ได้รับสิทธิประกันตัว มีความทุกข์ทั้งร่างกายและจิตใจ จึงเขียนจดหมายปรับทุกข์กับผู้พิพากษา ดังนี้
1.ถูกตั้งข้อหาเป็นผู้ก่อการร้าย ทั้งที่ผู้ก่อคดีในจังหวัดชายแดนภายใต้เป็นเพียงผู้ก่อความไม่สงบเท่านั้น
2.การสั่งคดีของดีเอสไอ ซึ่งดีเอสไอให้ข่าวรายวันว่าจะส่งฟ้อง ทั้งที่ยังไม่รวบรวมพยานหลักฐานได้เสร็จ
3.กระบวนการพิจารณาคดี มีการยื้อคดีให้นานกว่าปกติ
4.สิทธิการประกันตัว แม้ผ่านมาแกนนำยังไม่เคยหลบหนีคดีและได้ยื่นประกันตัวหลายครั้ง แต่ก็ไม่เคยได้รับการประกันตัว
5.สองมาตรฐาน แกนนำนปช. ไม่ได้รับการประกันตัว ขณะที่แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งถูกข้อหาก่อการร้ายเช่นกัน ขณะนี้คดีอยู่ในชั้นตำรวจและได้รับการประกันตัว
มาถึงการชุมนุมครั้งที่ 2 ในวัน 19 ก.พ. 2554 คนเสื้อแดงนัดรวมพลที่แยกราชประสงค์ ก่อนเคลื่อนขบวนไปกดดันศาลที่บริเวณหน้าศาลฎีกา
วันนั้น นายจตุพร พรหมพันธุ์ กล่าวว่าการชุมนุมครั้งนี้จะต้องรอดูชะตากรรมของแกนนำ 11 คน ที่ยังถูกคุมตัวว่าจะได้รับการปล่อยตัวหรือไม่ (ซึ่งหากยังไม่ได้รับการปล่อยตัวก็จะกลับมาชุมนุมกันอีกในวันที่ 12 มี.ค. และหากยังไม่ปล่อยตัวอีกก็จะกลับมาชุมนุมกันอีกในวันที่ 19 พ.ค. ซึ่งเป็นวันครบรอบ 1 ปีของการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง)
ขณะที่ นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการประธาน นปช. และนายคารม พลทกลาง ทนาย นปช.ขึ้นอ่านจดหมายจากแกนนำที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ เนื้อหาในจดหมายครั้งนี้ แตกต่างจากครั้งแรก คือแสดงความขอบคุณผู้พิพากษาที่เปิดโอกาสให้มีการไต่สวนคำร้องขอประกันตัว โดยขอให้ใช้มาตรฐานการเดียวกับการให้ประกันตัวแกนนำพันธมิตรฯ และนายวีระ มุสิกพงศ์ และยกคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ในกรณีให้ประกันตัวนายวีระ มุสิกพงศ์ ว่าไม่มีความแตกต่างจากกรณีของพวกตน โดยระบุเหตุผลประกอบ 5 ข้อ คือ
1) นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ตัวแทนเจรจาฝ่ายรัฐบาลให้การกับศาลอุทธรณ์กรณีนายวีระว่า ผู้ต้องหาไม่มีการใช้ความรุนแรงและเห็นด้วยกับแนวทางการปรองดองแห่งชาติที่เสนอโดยนายกรัฐมนตรี ซึ่งพวกตนในฐานะแกนนำ ยืนยันว่าแนวทางสันติวิธีไม่ใช้ความรุนแรงเป็นแนวทางเดียวในการต่อสู้ของ นปช. และข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่มีนายคณิต ณ นคร เป็นประธาน ไม่เคยได้รับการนำไปปฏิบัติ
2) กรมสอบสวนคดีพิเศษจัดให้ผู้ต้องหาที่เป็นแกนนำอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุมที่ไม่มีความรุนแรง ทั้งอัยการและกรมสอบสวนคดีพิเศษไม่คัดค้านการขอปล่อยตัวชั่วคราว
3) พวกตนซึ่งเป็นแกนนำเข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่ทันทีที่ยุติการชุมนุม โดยทราบถึงข้อหาและอัตราโทษ และมีโอกาสที่จะหลบหนีแต่ก็ไม่ได้หลบหนี
4) สถานการณ์ในประเทศดีขึ้น รัฐบาลยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉิน และการชุมนุมของ นปช.ที่ผ่านมาทุกครั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
5) การสอบสวนคดีเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ต้องหาไม่น่าจะไปยุ่งเกี่ยวกับคดีหลักฐานหรือเป็นอุสรรคต่อการดำเนินคดีได้
นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ ยังได้กล่าวปราศรัยที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยวิพากษ์วิจารณ์ศาลว่าความยุติธรรมในทุกวันนี้เกิดขึ้นยาก เพราะสังคมไทยในปัจจุบันยังอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน ซึ่งในต่างประเทศระยะเปลี่ยนผ่านสังคมนี้มักหมายถึง การเปลี่ยนผ่านจากเผด็จการไปสู่ประชาธิปไตย แต่สังคมไทยนั้นมีความซับซ้อน สำหรับเราแล้วหมายถึง ระบบอำมาตยาธิปไตยในปัจจุบันได้เกิดขึ้นต่อจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์พูดได้ว่าสังคมไทยเป็นแบบ "ศักดินา" คนมีชั้น มีวรรณะ ระยะเปลี่ยนผ่านของสังคมอำมาตย์ไม่ได้มีในแง่สังคม การปกครอง แต่มีทั้งในแง่กฎหมาย ซึ่งหน้าที่ของกลุ่มตนคือการเปลี่ยนระบอบอำมาตย์ให้เป็นระบอบประชาธิปไตย สังคมอำมาตย์มองเห็นคนไม่เท่ากัน นอกจากไม่เท่าแล้ว ไพร่เหลืองและแดงต่างก็ถูกปฏิบัติต่างกัน เพราะไพร่เหลืองเป็นไพร่มีสังกัด ไพร่แดงสังกัดทักษิณ และทักษิณเป็นกบฎ เป็นเหตุผลว่าทำไมถึงได้รับการปฏิบัติไม่เท่ากัน
ดังนั้น จากเรื่องราวเหตุการณ์ ที่กล่าวมา แม้การไต่สวนของศาลจะยังไม่ได้ข้อยุติว่า สุดท้ายแล้ว แกนนำทั้ง 7 คน จะได้รับการประกันตัวหรือไม่ แต่จากคำให้การของพยานที่ถือว่าเป็นคุณกันพวกผู้ต้องหา ก็เป็นไปได้ที่พวกผู้ต้องหาจะได้รับความปราณีจากศาล ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น...คงจะสรุปได้ว่า กฎหมู่ อยู่ หรือ กฎหมาย จริงๆๆ
ทำเอาหลายคนต่างคิดกันไปใน 2 ทาง คือ ทางแรกการยื่นประกันในครั้งนี้ แกนนำทั้งหมด หรือ แกนนำบางคนอาจได้รับการประกันตัว ส่วนแนวทางที่ 2 คือ ศาลยืนยันคำสั่งเดิม คือไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ให้ยกคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยไม่ให้ประกันตัวผู้ต้องหาทั้งหมด
ส่วนการยื่นขอประกันตัวแกนนำ นปช.ในครั้งนี้ ถือว่าพิเศษ และ แปลกกว่าการยื่นประกันตัวในครั้งที่ผ่านๆมา กล่าวคือ ทนายความยื่นขอประกันตัวในวันที่ 8 ก.พ.และศาลนัดไต่สวนในวันที่ 21 ก.พ.โดยที่ในห้วงเวลาจากวันยื่นจนถึงวันนัดไต่สวน ทางกลุ่ม นปช.ได้เคลื่อนไหวกดดันศาลเกิดขึ้นใน 2 ครั้ง คือ วันที่ 13 ก.พ.และ วันที่ 19 ก.พ.ซึ่งแน่นอน การเคลื่อนไหว ทางแกนนำได้พูดวิพากษ์วิจารณ์ กระบวนการยุติธรรม ในหลากหลายรูปแบบ
ขณะที่สายข่าวในรั้วศาลยุติธรรม แจ้งข่าวให้ทราบว่า เห็นคนที่ต้องการปรองดอง และร่วมอยู่ในรัฐบาลขณะนี้ เดินทางไปประสานกับผู้มีอำนาจในศาลอาญา เพื่อขอให้ปล่อยตัวชั่วคราวแกนนำทั้งหมด ก่อนที่ทนายความ จะยื่นขอประกันตัวเมื่อวันที่ 9 ก.พ.โดยการยื่นประกันในครั้งนี้ นางธิดา ถาวรเศษฐ์ ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นเงินสด คนละ 6 แสนบาท โดยคำร้องขอประกันตัวของจำเลยได้เปรียบเทียบกรณีที่ศาลให้ประกันนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ ผู้ต้องหาคดีก่อการร้าย ซึ่งศาลตีราคาประกัน 6 แสนบาท ซึ่งถือเป็นหลักทรัพย์ที่น้อยกว่าทุกครั้งที่เคยยื่นขอประกันคือ คนละ 6 ล้านบาท แต่ศาลกลับยกคำร้อง
อย่างไรก็ตาม หากเราย้อนไปดูในวันที่กลุ่ม นปช.ได้เคลื่อนไหว กดดันศาล ใน 2 ครั้ง นับจากวันยื่นประกันตัว(9 ก.พ)ถึงวันศาลนัดไต่สวน(21 ก.พ.)ถือว่า ไม่ธรรมดา หากสุดท้ายศาลยอมปล่อยตัวชั่วคราวตามที่ร้องขอ
เริ่มจาก 13 ก.พ. 54 กลุ่มคนเสื้อแดงหลายพันคนได้ชุมนุมกดดันศาล บริเวณหน้าศาลอาญา ถ.รัชดา
วันนี้ "จตุพร พรหมพันธุ์"ขึ้นปราศรัยด้วยลีลาอย่างดุเดือด ว่ากลุ่มแกนนำเสื้อแดงยังคงต้องถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ จึงทำให้ต้องออกมาเพื่อหาเศษความยุติธรรม ว่า ชีวิตคนเสื้อแดงจะมีบ้างหรือไม่ เมื่อเทียบกับกลุ่มอำมาตย์ คนเสื้อเหลือง ซึ่งหากพวกเราไม่ออกมาทวงถามต่อไปแกนนำ นปช. ก็จะถูกขังลืม ซึ่งตนขอบอกว่า ถ้าประเทศนี้ไม่มีความเมตตา ไม่มีความยุติธรรม ก็จะอยู่กันด้วยความสงบ ความปรองดองไม่ได้
นายจตุพร ยังได้กล่าววิจารณ์กระบวนการยุติธรรมทางอาญา ที่ใช้ 2 มาตรฐานการในการดำเนินการกับเสื้อแดง และเสื้อเหลือง
ขณะที่ นายวรวุฒิ วิชัยดิษฐ์ โฆษกแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ได้อ่านจดหมายของแกนนำนปช. ที่ถูกจำคุกในเรือนจำ ใจความว่า กระผมแกนนำ นปช. ผู้ต้องคดีก่อการร้ายจากการชุมนุมทางการเมือง 2553 ซึ่งถูกกักขังนานกว่า 9 เดือนแล้ว ยังไม่ได้รับสิทธิประกันตัว มีความทุกข์ทั้งร่างกายและจิตใจ จึงเขียนจดหมายปรับทุกข์กับผู้พิพากษา ดังนี้
1.ถูกตั้งข้อหาเป็นผู้ก่อการร้าย ทั้งที่ผู้ก่อคดีในจังหวัดชายแดนภายใต้เป็นเพียงผู้ก่อความไม่สงบเท่านั้น
2.การสั่งคดีของดีเอสไอ ซึ่งดีเอสไอให้ข่าวรายวันว่าจะส่งฟ้อง ทั้งที่ยังไม่รวบรวมพยานหลักฐานได้เสร็จ
3.กระบวนการพิจารณาคดี มีการยื้อคดีให้นานกว่าปกติ
4.สิทธิการประกันตัว แม้ผ่านมาแกนนำยังไม่เคยหลบหนีคดีและได้ยื่นประกันตัวหลายครั้ง แต่ก็ไม่เคยได้รับการประกันตัว
5.สองมาตรฐาน แกนนำนปช. ไม่ได้รับการประกันตัว ขณะที่แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งถูกข้อหาก่อการร้ายเช่นกัน ขณะนี้คดีอยู่ในชั้นตำรวจและได้รับการประกันตัว
มาถึงการชุมนุมครั้งที่ 2 ในวัน 19 ก.พ. 2554 คนเสื้อแดงนัดรวมพลที่แยกราชประสงค์ ก่อนเคลื่อนขบวนไปกดดันศาลที่บริเวณหน้าศาลฎีกา
วันนั้น นายจตุพร พรหมพันธุ์ กล่าวว่าการชุมนุมครั้งนี้จะต้องรอดูชะตากรรมของแกนนำ 11 คน ที่ยังถูกคุมตัวว่าจะได้รับการปล่อยตัวหรือไม่ (ซึ่งหากยังไม่ได้รับการปล่อยตัวก็จะกลับมาชุมนุมกันอีกในวันที่ 12 มี.ค. และหากยังไม่ปล่อยตัวอีกก็จะกลับมาชุมนุมกันอีกในวันที่ 19 พ.ค. ซึ่งเป็นวันครบรอบ 1 ปีของการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง)
ขณะที่ นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการประธาน นปช. และนายคารม พลทกลาง ทนาย นปช.ขึ้นอ่านจดหมายจากแกนนำที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ เนื้อหาในจดหมายครั้งนี้ แตกต่างจากครั้งแรก คือแสดงความขอบคุณผู้พิพากษาที่เปิดโอกาสให้มีการไต่สวนคำร้องขอประกันตัว โดยขอให้ใช้มาตรฐานการเดียวกับการให้ประกันตัวแกนนำพันธมิตรฯ และนายวีระ มุสิกพงศ์ และยกคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ในกรณีให้ประกันตัวนายวีระ มุสิกพงศ์ ว่าไม่มีความแตกต่างจากกรณีของพวกตน โดยระบุเหตุผลประกอบ 5 ข้อ คือ
1) นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ตัวแทนเจรจาฝ่ายรัฐบาลให้การกับศาลอุทธรณ์กรณีนายวีระว่า ผู้ต้องหาไม่มีการใช้ความรุนแรงและเห็นด้วยกับแนวทางการปรองดองแห่งชาติที่เสนอโดยนายกรัฐมนตรี ซึ่งพวกตนในฐานะแกนนำ ยืนยันว่าแนวทางสันติวิธีไม่ใช้ความรุนแรงเป็นแนวทางเดียวในการต่อสู้ของ นปช. และข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่มีนายคณิต ณ นคร เป็นประธาน ไม่เคยได้รับการนำไปปฏิบัติ
2) กรมสอบสวนคดีพิเศษจัดให้ผู้ต้องหาที่เป็นแกนนำอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุมที่ไม่มีความรุนแรง ทั้งอัยการและกรมสอบสวนคดีพิเศษไม่คัดค้านการขอปล่อยตัวชั่วคราว
3) พวกตนซึ่งเป็นแกนนำเข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่ทันทีที่ยุติการชุมนุม โดยทราบถึงข้อหาและอัตราโทษ และมีโอกาสที่จะหลบหนีแต่ก็ไม่ได้หลบหนี
4) สถานการณ์ในประเทศดีขึ้น รัฐบาลยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉิน และการชุมนุมของ นปช.ที่ผ่านมาทุกครั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
5) การสอบสวนคดีเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ต้องหาไม่น่าจะไปยุ่งเกี่ยวกับคดีหลักฐานหรือเป็นอุสรรคต่อการดำเนินคดีได้
นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ ยังได้กล่าวปราศรัยที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยวิพากษ์วิจารณ์ศาลว่าความยุติธรรมในทุกวันนี้เกิดขึ้นยาก เพราะสังคมไทยในปัจจุบันยังอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน ซึ่งในต่างประเทศระยะเปลี่ยนผ่านสังคมนี้มักหมายถึง การเปลี่ยนผ่านจากเผด็จการไปสู่ประชาธิปไตย แต่สังคมไทยนั้นมีความซับซ้อน สำหรับเราแล้วหมายถึง ระบบอำมาตยาธิปไตยในปัจจุบันได้เกิดขึ้นต่อจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์พูดได้ว่าสังคมไทยเป็นแบบ "ศักดินา" คนมีชั้น มีวรรณะ ระยะเปลี่ยนผ่านของสังคมอำมาตย์ไม่ได้มีในแง่สังคม การปกครอง แต่มีทั้งในแง่กฎหมาย ซึ่งหน้าที่ของกลุ่มตนคือการเปลี่ยนระบอบอำมาตย์ให้เป็นระบอบประชาธิปไตย สังคมอำมาตย์มองเห็นคนไม่เท่ากัน นอกจากไม่เท่าแล้ว ไพร่เหลืองและแดงต่างก็ถูกปฏิบัติต่างกัน เพราะไพร่เหลืองเป็นไพร่มีสังกัด ไพร่แดงสังกัดทักษิณ และทักษิณเป็นกบฎ เป็นเหตุผลว่าทำไมถึงได้รับการปฏิบัติไม่เท่ากัน
ดังนั้น จากเรื่องราวเหตุการณ์ ที่กล่าวมา แม้การไต่สวนของศาลจะยังไม่ได้ข้อยุติว่า สุดท้ายแล้ว แกนนำทั้ง 7 คน จะได้รับการประกันตัวหรือไม่ แต่จากคำให้การของพยานที่ถือว่าเป็นคุณกันพวกผู้ต้องหา ก็เป็นไปได้ที่พวกผู้ต้องหาจะได้รับความปราณีจากศาล ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น...คงจะสรุปได้ว่า กฎหมู่ อยู่ หรือ กฎหมาย จริงๆๆ