การชุมนุมใหญ่ของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ดีเดย์นัดรวมพลกันในวันที่ 14 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยประกาศว่าครั้งนี้จะเป็นสงครามครั้งสุดท้าย มีการปลุกระดมมวลชนจากทั่วทุกสารทิศ ว่ากันว่าจะเป็นคลื่นมหาชนเรือนแสน เรือนล้าน เข้ากรุง เพื่อหมายจะเผด็จศึกกับรัฐบาลขั้นเด็ดขาด
สร้างความพรั่นพรึงให้กับทุกภาคส่วน เพราะมีกลิ่นชั่วๆ ของใครบางคนที่เตรียมก่อวินาศกรรม เพื่อหวังให้สถานการณ์รุนแรง ถึงขั้นนองเลือด โดยมีเป้าหมายให้รัฐบาลรับผิดชอบด้วยการลาออกหรือยุบสภา หรือเป็นชนวนเหตุให้ทหารออกมาทำการรัฐประหารอีกรอบ
รัฐบาลจึงได้ พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 11-23 มี.ค.ครอบคลุมพื้นที่กทม.ในพื้นที่ กทม.ทั้งหมดและปริมณฑล 7 จังหวัด นอกจากนี้ตั้งศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย หรือ ศอ.รส.ภายในกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบัญชาการเหตุการณ์
แต่ทว่าทันทีที่แกนนำสามเกลอหัวขวดเป่านกหวีดเริ่มการชุมนุม คนเสื้อแดงจากส่วนภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ หรือ อีสาน ต่างทยอยตบเท้าเข้ากทม.อย่างครึกครื้น ท่ามกลางบรรยากาศการรักษาความปลอดภัย การตั้งด่านตรวจ บนถนนทุกเส้น ที่รายรอบ กทม.
แม้จะจำนวนคนจะไม่มากตามที่แกนนำ รวมถึง “นายใหญ่” พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คุยโม้ไว้ก็ตามที แต่ก็ยังคงมีตัวเลขผู้ชุมนุมร่วมแสนคน มากพอที่จะก่อให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวาย หากรัฐบาลไม่มีแผนการรับมือที่ดีพอ
แต่จนแล้วจนรอด แม้จะมีคนร่วมจำนวนมาก แต่กลับไร้พลังในการกดดัน นั่นเพราะแกนนำขาดการวางยุทธศาสตร์ในการเคลื่อนไหวที่มีความชัดเจน ขาดเหตุผลในการเคลื่อนไหว ประเด็นต่างๆที่ขุดขึ้นมากล่าวหาโจมตีรัฐบาล ก็มีแต่เรื่องซ้ำซาก เดิมๆ ไม่มีเรื่องใหม่ จึงไม่มีน้ำหนักพอที่จะกดดันให้รัฐบาลต้องชดใช้ด้วยการยุบสภา ตามที่กลุ่มคนเสื้อแดง หรือ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการ
แม้จะอาศัยจังหวะเคลื่อนไหวภายหลังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษายึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่กลับไม่สามารถสร้างอารมณ์ร่วมของมวลชน ที่เคยรักและศรัทธาอดีตนายกฯ นั่นเพราะคงไม่มีใครที่จะเอาชีวิตเข้าแลกเพื่อปกป้องทรัพย์สินของคนรวยที่ไม่รู้จักพอ และได้มาโดยมิชอบ
แม้วันนี้สถานการณ์การชุมนุมจะเริ่มจางลง ผู้คนที่มาชุมนุมเริ่มเบื่อหน่าย กับการต่อสู้ที่ไร้เป้าหมาย ไร้ทิศทาง ขณะที่แกนนำเริ่มหมดมุก จึงทำให้ผู้ชุมนุมบางส่วนทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนา ทำให้รัฐบาล รวมถึงทหาร ตำรวจ เริ่มหายใจหายคอได้มากขึ้น
แต่มีบางคนที่กลับต้องผิดหวังซ้ำซาก นั่นคือ พ.ต.ท.ทักษิณท่อน้ำเลี้ยงสำคัญที่ทำให้กลุ่มคนเสื้อแดงยังคงเคลื่อนไหวอยู่ได้ ซึ่งรายนี้เรียกว่าเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เพราะนอกจากต้องถูกยึดทรัพย์ไปจำนวนมหาศาล อันเป็นผลจากการใช้อำนาจโดยมิชอบ และหวังใช้โอกาสนี้เป็นชนวนเหตุให้คนที่เคยรัก เคยศรัทธาลุกฮือขึ้นมา ต้องสูญเสียเงินไปจำนวนไม่น้อยไปกับการชุมนุมเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง แต่กลับได้ม็อบห่วยๆ ที่ไร้พลัง
ชะตากรรมของ พ.ต.ท.ทักษิณ จึงน่าสงสารกว่าใคร แต่กลับไม่น่าเห็นใจแม้แต่น้อย หากเทียบกับสิ่งที่เคยทำไว้ เมื่อยังมีอำนาจ ซึ่งกรรมกำลังไล่ตามหลัง พ.ต.ท.ทักษิณ ยิ่งกว่าติดจรวด เพราะนอกจากคดียึดทรัพย์แล้ว ยังมีคดีอาญาอีกมากที่รอวันพิพากษา รวมถึงกระบวนการถอดยศและริบเครื่องราชฯ ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการมายาวนานร่วมปี
แต่ทว่ากระบวนการถอดยศ จนถึงวันนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป ว่าจะเสร็จสิ้นเมื่อใด แม้ว่าก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 26 ต.ค.2552 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา มีหนังสือถึง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.)เรื่อง แนวทางการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตถอดยศตำรวจและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2551 ให้ลงโทษจำคุก 2 ปี
โดยหนังสือดังกล่าว คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้ว มีความเห็นว่า “ เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก ไม่ว่าเป็นคำพิพากษาของศาลใด ย่อมอยู่ในหลักเกณฑ์ตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ.2547 ให้ถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณได้ รวมไปถึงการเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ.2548” จึงสามารถดำเนินถอดยศพ.ต.ท.ทักษิณ ไปได้เลย
แต่ปรากฏว่าจนแล้วจนรอด ตร.ยังคงส่งเรื่องให้ฝ่ายกฎหมายไปพิจารณาอีกครั้ง โดยพล.ต.อ.ปทีป ระบุว่า มีผู้มาร้องเรียนซึ่งเป็นประเด็นในข้อกฎหมาย จึงต้องพิจาณาอย่างละเอียดรอบคอบ จึงส่งเรื่องห้ฝ่ายกฎหมายพิจารณาอย่างถี่ถ้วน สอดคล้องกับ พล.ต.ต.โชติกร ศรีมันตร ผู้บังคับการกองทะเบียนพล ( ผบก.ทพ . ) กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ กองทะเบียนพล ได้ส่งเรื่องให้ฝ่ายกฎหมายพิจารณาในข้อกฎหมาย ทราบว่า ทางฝ่ายกฎหมายของตร.จะส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ ซึ่งยังไม่ทราบว่าได้มีการส่งไปหรือยัง
“ปกติในเดือนมี.ค.กองทะเบียนพลจะรวบรวมเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินการถอดยศ ไปให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการในช่วงเดือนเม.ย. หากเรื่องยังอยู่ที่สำนักงานกฤษฎีกาก็อาจจะไม่ทันเดือนเม.ย.นี้” ผบก.ทพ. กล่าว
จากถ้อยแถลงดังกล่าวแสดงว่าโอกาสที่เราจะเห็น พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกถอดยศ คงไม่ใช่เร็ววันนี้ อย่างแน่นอน แม้จะมองในแง่ดีว่าที่ตำรวจประวิงเวลาให้ล่าช้าออกไป เพราะไม่ต้องการให้เรื่องนี้กลายเป็นเงื่อนไขให้กลุ่มคนเสื้อแดงเอาไปเป็นประเด็นในการเคลื่อนไหว แต่หากมองในแง่ของการเป็นเจ้าพนักงาน ผู้พิทักษ์รักษากฎหมาย กรณีจะกลายเป็นบรรทัดฐาน ให้ตำรวจถูกมองว่าสองมาตรฐาน หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ได้
เพราะกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นอดีตข้าราชการตำรวจ และเคยเป็นนายกรัฐมนตรี แต่เมื่อกระทำผิดกฎหมาย และถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุก จึงเข้าเงื่อนไขตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ.๒๕๔๗ มิหนำซ้ำยังได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการจาก สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นควรให้ถอดยศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงไม่น่าจะต้องมีการพิจารณาข้อกฎหมายอะไรกันอีกแล้ว...
กระบวนการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ดำเนินมาแรมปี สุดท้ายจะจบลงเช่นไร จะกลายเป็นมวยล้มต้มคนดูอีกหรือไม่ หรือจะเป็นการซื้อเวลาไปเรื่อยๆ เพื่อรอวันที่พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง...ต้องคอยดู
สร้างความพรั่นพรึงให้กับทุกภาคส่วน เพราะมีกลิ่นชั่วๆ ของใครบางคนที่เตรียมก่อวินาศกรรม เพื่อหวังให้สถานการณ์รุนแรง ถึงขั้นนองเลือด โดยมีเป้าหมายให้รัฐบาลรับผิดชอบด้วยการลาออกหรือยุบสภา หรือเป็นชนวนเหตุให้ทหารออกมาทำการรัฐประหารอีกรอบ
รัฐบาลจึงได้ พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 11-23 มี.ค.ครอบคลุมพื้นที่กทม.ในพื้นที่ กทม.ทั้งหมดและปริมณฑล 7 จังหวัด นอกจากนี้ตั้งศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย หรือ ศอ.รส.ภายในกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบัญชาการเหตุการณ์
แต่ทว่าทันทีที่แกนนำสามเกลอหัวขวดเป่านกหวีดเริ่มการชุมนุม คนเสื้อแดงจากส่วนภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ หรือ อีสาน ต่างทยอยตบเท้าเข้ากทม.อย่างครึกครื้น ท่ามกลางบรรยากาศการรักษาความปลอดภัย การตั้งด่านตรวจ บนถนนทุกเส้น ที่รายรอบ กทม.
แม้จะจำนวนคนจะไม่มากตามที่แกนนำ รวมถึง “นายใหญ่” พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คุยโม้ไว้ก็ตามที แต่ก็ยังคงมีตัวเลขผู้ชุมนุมร่วมแสนคน มากพอที่จะก่อให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวาย หากรัฐบาลไม่มีแผนการรับมือที่ดีพอ
แต่จนแล้วจนรอด แม้จะมีคนร่วมจำนวนมาก แต่กลับไร้พลังในการกดดัน นั่นเพราะแกนนำขาดการวางยุทธศาสตร์ในการเคลื่อนไหวที่มีความชัดเจน ขาดเหตุผลในการเคลื่อนไหว ประเด็นต่างๆที่ขุดขึ้นมากล่าวหาโจมตีรัฐบาล ก็มีแต่เรื่องซ้ำซาก เดิมๆ ไม่มีเรื่องใหม่ จึงไม่มีน้ำหนักพอที่จะกดดันให้รัฐบาลต้องชดใช้ด้วยการยุบสภา ตามที่กลุ่มคนเสื้อแดง หรือ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการ
แม้จะอาศัยจังหวะเคลื่อนไหวภายหลังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษายึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่กลับไม่สามารถสร้างอารมณ์ร่วมของมวลชน ที่เคยรักและศรัทธาอดีตนายกฯ นั่นเพราะคงไม่มีใครที่จะเอาชีวิตเข้าแลกเพื่อปกป้องทรัพย์สินของคนรวยที่ไม่รู้จักพอ และได้มาโดยมิชอบ
แม้วันนี้สถานการณ์การชุมนุมจะเริ่มจางลง ผู้คนที่มาชุมนุมเริ่มเบื่อหน่าย กับการต่อสู้ที่ไร้เป้าหมาย ไร้ทิศทาง ขณะที่แกนนำเริ่มหมดมุก จึงทำให้ผู้ชุมนุมบางส่วนทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนา ทำให้รัฐบาล รวมถึงทหาร ตำรวจ เริ่มหายใจหายคอได้มากขึ้น
แต่มีบางคนที่กลับต้องผิดหวังซ้ำซาก นั่นคือ พ.ต.ท.ทักษิณท่อน้ำเลี้ยงสำคัญที่ทำให้กลุ่มคนเสื้อแดงยังคงเคลื่อนไหวอยู่ได้ ซึ่งรายนี้เรียกว่าเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เพราะนอกจากต้องถูกยึดทรัพย์ไปจำนวนมหาศาล อันเป็นผลจากการใช้อำนาจโดยมิชอบ และหวังใช้โอกาสนี้เป็นชนวนเหตุให้คนที่เคยรัก เคยศรัทธาลุกฮือขึ้นมา ต้องสูญเสียเงินไปจำนวนไม่น้อยไปกับการชุมนุมเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง แต่กลับได้ม็อบห่วยๆ ที่ไร้พลัง
ชะตากรรมของ พ.ต.ท.ทักษิณ จึงน่าสงสารกว่าใคร แต่กลับไม่น่าเห็นใจแม้แต่น้อย หากเทียบกับสิ่งที่เคยทำไว้ เมื่อยังมีอำนาจ ซึ่งกรรมกำลังไล่ตามหลัง พ.ต.ท.ทักษิณ ยิ่งกว่าติดจรวด เพราะนอกจากคดียึดทรัพย์แล้ว ยังมีคดีอาญาอีกมากที่รอวันพิพากษา รวมถึงกระบวนการถอดยศและริบเครื่องราชฯ ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการมายาวนานร่วมปี
แต่ทว่ากระบวนการถอดยศ จนถึงวันนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป ว่าจะเสร็จสิ้นเมื่อใด แม้ว่าก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 26 ต.ค.2552 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา มีหนังสือถึง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.)เรื่อง แนวทางการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตถอดยศตำรวจและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2551 ให้ลงโทษจำคุก 2 ปี
โดยหนังสือดังกล่าว คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้ว มีความเห็นว่า “ เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก ไม่ว่าเป็นคำพิพากษาของศาลใด ย่อมอยู่ในหลักเกณฑ์ตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ.2547 ให้ถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณได้ รวมไปถึงการเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ.2548” จึงสามารถดำเนินถอดยศพ.ต.ท.ทักษิณ ไปได้เลย
แต่ปรากฏว่าจนแล้วจนรอด ตร.ยังคงส่งเรื่องให้ฝ่ายกฎหมายไปพิจารณาอีกครั้ง โดยพล.ต.อ.ปทีป ระบุว่า มีผู้มาร้องเรียนซึ่งเป็นประเด็นในข้อกฎหมาย จึงต้องพิจาณาอย่างละเอียดรอบคอบ จึงส่งเรื่องห้ฝ่ายกฎหมายพิจารณาอย่างถี่ถ้วน สอดคล้องกับ พล.ต.ต.โชติกร ศรีมันตร ผู้บังคับการกองทะเบียนพล ( ผบก.ทพ . ) กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ กองทะเบียนพล ได้ส่งเรื่องให้ฝ่ายกฎหมายพิจารณาในข้อกฎหมาย ทราบว่า ทางฝ่ายกฎหมายของตร.จะส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ ซึ่งยังไม่ทราบว่าได้มีการส่งไปหรือยัง
“ปกติในเดือนมี.ค.กองทะเบียนพลจะรวบรวมเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินการถอดยศ ไปให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการในช่วงเดือนเม.ย. หากเรื่องยังอยู่ที่สำนักงานกฤษฎีกาก็อาจจะไม่ทันเดือนเม.ย.นี้” ผบก.ทพ. กล่าว
จากถ้อยแถลงดังกล่าวแสดงว่าโอกาสที่เราจะเห็น พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกถอดยศ คงไม่ใช่เร็ววันนี้ อย่างแน่นอน แม้จะมองในแง่ดีว่าที่ตำรวจประวิงเวลาให้ล่าช้าออกไป เพราะไม่ต้องการให้เรื่องนี้กลายเป็นเงื่อนไขให้กลุ่มคนเสื้อแดงเอาไปเป็นประเด็นในการเคลื่อนไหว แต่หากมองในแง่ของการเป็นเจ้าพนักงาน ผู้พิทักษ์รักษากฎหมาย กรณีจะกลายเป็นบรรทัดฐาน ให้ตำรวจถูกมองว่าสองมาตรฐาน หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ได้
เพราะกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นอดีตข้าราชการตำรวจ และเคยเป็นนายกรัฐมนตรี แต่เมื่อกระทำผิดกฎหมาย และถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุก จึงเข้าเงื่อนไขตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ.๒๕๔๗ มิหนำซ้ำยังได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการจาก สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นควรให้ถอดยศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงไม่น่าจะต้องมีการพิจารณาข้อกฎหมายอะไรกันอีกแล้ว...
กระบวนการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ดำเนินมาแรมปี สุดท้ายจะจบลงเช่นไร จะกลายเป็นมวยล้มต้มคนดูอีกหรือไม่ หรือจะเป็นการซื้อเวลาไปเรื่อยๆ เพื่อรอวันที่พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง...ต้องคอยดู