ตำรวจนครบาลเรียกประชุมส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในการรักษาความปลอดภัยให้แก่องค์คณะผู้พิพากษาในคดียึดทรัพย์ “ทักษิณ” และการอารักขารอบบริเวณศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยจะมีการสนธิกำลังร่วมกับทหาร และเทศกิจ ส่วนในวันพิพากษาคดียึดทรัพย์หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดจะต้องเข้ารักษาความสงบเรียบร้อยได้ภายในระยะเวลา 15 นาที และหากบานปลายต้องควบคุมเหตุการณ์ให้ได้ภายใน 1 ชั่วโมง
วันนี้ (22 ก.พ.) เมื่อเวลา 12.30 น.ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย ผบก.ประจำ บช.น. โฆษก บช.น. กล่าวถึงมาตรการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ในวันอ่านคำพิพากษาคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 26 ก.พ.นี้ ว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผบช.น.ได้เรียกตำรวจที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติหน้าที่และรักษาความปลอดภัยองค์คณะผู้พิพากษา โดยได้สรุปประเด็นในการทำงานเพื่อให้ปฏิบัติตรงกันอย่างเคร่งครัดตามแผนที่วางไว้ ซึ่งได้มีการสนธิกำลังกันระหว่างตำรวจ ทหาร และเทศกิจ โดยมีการตั้งด่านตรวจค้นเป็นเวลาหลายวันแล้ว ที่ผ่านมาก็สามารถจับกุมผู้พกพาอาวุธปืนได้ นอกนั้นก็ยังไม่มีการจับกุมอะไรเป็นพิเศษ
พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่า ทั้งนี้ ทาง บช.น.ได้เพิ่มมาตรการปิดถนนบริเวณด้านหลังศาลฎีกา ได้แก่ ถ.ราชินี ถ.หลักเมือง และถ.หับเผย ในเวลา 18.00-06.00 น.ตั้งแต่ 2-3 วันที่ผ่านมาส่วนบริเวณด้านหน้าศาลฎีกาก็มีการตั้งศูนย์รักษาการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมสั่งการให้ผู้กำกับการทุกสถานที่ดูแลบ้านพักองค์คณะผู้พิพากษาเป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลความปลอดภัยองค์คณะผู้พิพากษาแต่ละท่าน ร่วมกับทหาร ทั้งที่ทำงานและบ้านพัก รวมถึงเส้นทางการเดินทางในแต่ละวัน ส่วนกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดูแลศาลฎีกายังคงกำนหดกำลังพลไว้เท่าเดิมคือจำนวน 2 กองร้อยก่อนก่อนแต่ในวันอ่านคำพิพากษาก็ต้องมีการเพิ่มกำลัง รวมทั้งมีการกั้นพื้นที่บริเวณศาลฎีกาห้ามบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปก่อกวน โดยมีกำลังสนับสนุนจาก บก.น.อื่นที่เตรียมพร้อมไว้ตลอดเวลา รวมทั้งประชุมติดตามด้านการข่าวทุกวันแต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานเหตุรุนแรงแต่อย่างใด
“ส่วนการกำหนดพื้นที่ในการชุมนุม ได้กำหนดให้ใช้บริเวณท้องสนามหลวงเป็นหลัก แต่บริเวณศาลห้ามเด็ดขาด แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะมีผู้ชุมนุมจำนวนเท่าใด แต่คาดว่าจะมีจำนวนไม่มากเพราะอาจมีการถ่ายทอดการอ่านคำพิพากษา อย่างไรก็ตาม หากมีเหตุรุนแรงทางตำรวจก็เตรียมแผนปฏิบัติการให้ชุดจู่โจมเร็วเข้ารักษาความปลอดภัยภายใน 15 นาที จากนั้น หากเหตุรุนแรงเพิ่ม ต้องสามารถสนธิกำลังจากทหาร เทศกิจ เพื่อควบคุมเหตุการณ์ได้ภายใน 1 ชั่วโมง และหากจำเป็นต้องขอกำลังสนับสนุนจาก บช.ภ.1, 2, 7 ต้องทำได้ภายในเวลา 3 ชั่วโมง” พล.ต.ต.ปิยะ กล่าว
วันนี้ (22 ก.พ.) เมื่อเวลา 12.30 น.ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย ผบก.ประจำ บช.น. โฆษก บช.น. กล่าวถึงมาตรการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ในวันอ่านคำพิพากษาคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 26 ก.พ.นี้ ว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผบช.น.ได้เรียกตำรวจที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติหน้าที่และรักษาความปลอดภัยองค์คณะผู้พิพากษา โดยได้สรุปประเด็นในการทำงานเพื่อให้ปฏิบัติตรงกันอย่างเคร่งครัดตามแผนที่วางไว้ ซึ่งได้มีการสนธิกำลังกันระหว่างตำรวจ ทหาร และเทศกิจ โดยมีการตั้งด่านตรวจค้นเป็นเวลาหลายวันแล้ว ที่ผ่านมาก็สามารถจับกุมผู้พกพาอาวุธปืนได้ นอกนั้นก็ยังไม่มีการจับกุมอะไรเป็นพิเศษ
พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่า ทั้งนี้ ทาง บช.น.ได้เพิ่มมาตรการปิดถนนบริเวณด้านหลังศาลฎีกา ได้แก่ ถ.ราชินี ถ.หลักเมือง และถ.หับเผย ในเวลา 18.00-06.00 น.ตั้งแต่ 2-3 วันที่ผ่านมาส่วนบริเวณด้านหน้าศาลฎีกาก็มีการตั้งศูนย์รักษาการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมสั่งการให้ผู้กำกับการทุกสถานที่ดูแลบ้านพักองค์คณะผู้พิพากษาเป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลความปลอดภัยองค์คณะผู้พิพากษาแต่ละท่าน ร่วมกับทหาร ทั้งที่ทำงานและบ้านพัก รวมถึงเส้นทางการเดินทางในแต่ละวัน ส่วนกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดูแลศาลฎีกายังคงกำนหดกำลังพลไว้เท่าเดิมคือจำนวน 2 กองร้อยก่อนก่อนแต่ในวันอ่านคำพิพากษาก็ต้องมีการเพิ่มกำลัง รวมทั้งมีการกั้นพื้นที่บริเวณศาลฎีกาห้ามบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปก่อกวน โดยมีกำลังสนับสนุนจาก บก.น.อื่นที่เตรียมพร้อมไว้ตลอดเวลา รวมทั้งประชุมติดตามด้านการข่าวทุกวันแต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานเหตุรุนแรงแต่อย่างใด
“ส่วนการกำหนดพื้นที่ในการชุมนุม ได้กำหนดให้ใช้บริเวณท้องสนามหลวงเป็นหลัก แต่บริเวณศาลห้ามเด็ดขาด แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะมีผู้ชุมนุมจำนวนเท่าใด แต่คาดว่าจะมีจำนวนไม่มากเพราะอาจมีการถ่ายทอดการอ่านคำพิพากษา อย่างไรก็ตาม หากมีเหตุรุนแรงทางตำรวจก็เตรียมแผนปฏิบัติการให้ชุดจู่โจมเร็วเข้ารักษาความปลอดภัยภายใน 15 นาที จากนั้น หากเหตุรุนแรงเพิ่ม ต้องสามารถสนธิกำลังจากทหาร เทศกิจ เพื่อควบคุมเหตุการณ์ได้ภายใน 1 ชั่วโมง และหากจำเป็นต้องขอกำลังสนับสนุนจาก บช.ภ.1, 2, 7 ต้องทำได้ภายในเวลา 3 ชั่วโมง” พล.ต.ต.ปิยะ กล่าว