กรมศุลกากรแถลงจับกุมไม้ซุง ไม้แปรรูป น้ำมันดีเซล สุราต่างประเทศ เลื่อยโซ่ยนต์ น้ำยาแอร์ คอมเพรสเซอร์ หลีกเลี่ยงภาษีอากร และสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญาอื่นๆ รวมมูลกว่า 33 ล้านบาท
เมื่อเวลา 12.00 น.วันนี้ (26 ต.ค.) ที่กรมศุลกากร นายสมชาย พูลสวัสดิ์ รองอธิบดีกรมศุลกากรด้านปราบปราม แถลงข่าวจับกุมไม้ซุง ไม้แปรรูป น้ำมันดีเซล สุราต่างประเทศ เลื่อยโซ่ยนต์ น้ำยาแอร์ คอมเพรสเซอร์ หลีกเลี่ยงภาษีอากร และสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญาอื่นๆ รวมมูลกว่า 33 ล้านบาท
นายสมชายเปิดเผยว่า ตามนโยบายของนายสมชัย สัจจพงษ์ อธิบดีกรมศุลกากร ที่ให้เร่งรัดปราบปรามสินค้าลักลอบหลีกเลี่ยงอากรข้อห้าม และสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา จึงได้วางแผนจับกุมผู้กระทำผิดในคดีต่างๆ ได้จำนวนมาก โดยในวันที่ 24 ต.ค.ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่กรมศุลกากร ได้ทำการตรวจค้นเรือโชคสุวรรณ ภายในอ่าวไทย ห่างจากเกาะหนู จ.สงขลา ประมาณ 10 ไมล์ทะเล ผลปรากฏว่าพบน้ำมันดีเซลเถื่อนหลบหนีภาษี ปริมาณ 15,000 ลิตร มูลค่า 3.5 ล้านบาท
นายสมชายกล่าวต่อว่า นอกจากนี้เจ้าหน้าที่สามารถจับกุมสินค้าหนีภาษีชนิดอื่นได้อีกจำนวนมาก ได้แก่ เครื่องเลื่อยโซ่ยนต์ จำนวน 700 เครื่อง มูลค่า 10.5 ล้านบาท ไม้ซุง ไม้ท่อนแปรรูป บรรจุอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุต จำนวน 2 ตู้ น้ำหนักรวม 60,500 บาท มูลค่า 5.6 ล้านบาท สุราต่างประเทศยี่ห้อต่างๆ เช่น จอห์นนีวอล์กเกอร์ เรดเลเบิล แบล็กเลเบิล และโกลด์เลเบิล แจ็กเเดเนียล ไวน์ต่างประเทศยี่ห้อต่างๆ จำนวนรวม 1,154 ขวด มูลค่ากว่า 2.5 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังมีหอมหัวใหญ่ลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศ 500 กระสอบ น้ำหนัก 5,000 กิโลกรัม มูลค่า 300,000 บาท ยาแก้อักเสบ ยาสำหรับสัตว์ มูลค่า 2.5ล้านบาท คอมเพรสเซอร์แอร์รถยนต์ และน้ำยาแอร์ R12 มูลค่า 2 ล้านบาท และยังสามารถจับกุมสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เช่น น้ำหอม กระเป๋า แว่นตา เสื้อผ้า รวมจำนวน 8,433 ชิ้น มูลค่า 6.1 ล้านบาท
นายสมชายกล่าวด้วยว่า กรณีนี้เป็นความผิดฐานสำแดงเท็จ หลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามข้อกำกัด และนำหรือพาของที่ยังไม่ไดเสียภาษี หรือของต้องห้าม ของต้องกำกัด หรือของที่ยังไม่ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักร หรือรับซื้อไว้ด้วยประการใดๆ ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามหรือข้อกำกัด อันเป็นความผิดตามมาตรา 99,27 และมาตรา 27 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 และมาตรา 16, 17 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482, พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537, พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534, พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ,พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ซึ่งเจ้าหน้าที่จะนำของกลางส่งกรมศุลกากรดำเนินคดีต่อไป
เมื่อเวลา 12.00 น.วันนี้ (26 ต.ค.) ที่กรมศุลกากร นายสมชาย พูลสวัสดิ์ รองอธิบดีกรมศุลกากรด้านปราบปราม แถลงข่าวจับกุมไม้ซุง ไม้แปรรูป น้ำมันดีเซล สุราต่างประเทศ เลื่อยโซ่ยนต์ น้ำยาแอร์ คอมเพรสเซอร์ หลีกเลี่ยงภาษีอากร และสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญาอื่นๆ รวมมูลกว่า 33 ล้านบาท
นายสมชายเปิดเผยว่า ตามนโยบายของนายสมชัย สัจจพงษ์ อธิบดีกรมศุลกากร ที่ให้เร่งรัดปราบปรามสินค้าลักลอบหลีกเลี่ยงอากรข้อห้าม และสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา จึงได้วางแผนจับกุมผู้กระทำผิดในคดีต่างๆ ได้จำนวนมาก โดยในวันที่ 24 ต.ค.ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่กรมศุลกากร ได้ทำการตรวจค้นเรือโชคสุวรรณ ภายในอ่าวไทย ห่างจากเกาะหนู จ.สงขลา ประมาณ 10 ไมล์ทะเล ผลปรากฏว่าพบน้ำมันดีเซลเถื่อนหลบหนีภาษี ปริมาณ 15,000 ลิตร มูลค่า 3.5 ล้านบาท
นายสมชายกล่าวต่อว่า นอกจากนี้เจ้าหน้าที่สามารถจับกุมสินค้าหนีภาษีชนิดอื่นได้อีกจำนวนมาก ได้แก่ เครื่องเลื่อยโซ่ยนต์ จำนวน 700 เครื่อง มูลค่า 10.5 ล้านบาท ไม้ซุง ไม้ท่อนแปรรูป บรรจุอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุต จำนวน 2 ตู้ น้ำหนักรวม 60,500 บาท มูลค่า 5.6 ล้านบาท สุราต่างประเทศยี่ห้อต่างๆ เช่น จอห์นนีวอล์กเกอร์ เรดเลเบิล แบล็กเลเบิล และโกลด์เลเบิล แจ็กเเดเนียล ไวน์ต่างประเทศยี่ห้อต่างๆ จำนวนรวม 1,154 ขวด มูลค่ากว่า 2.5 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังมีหอมหัวใหญ่ลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศ 500 กระสอบ น้ำหนัก 5,000 กิโลกรัม มูลค่า 300,000 บาท ยาแก้อักเสบ ยาสำหรับสัตว์ มูลค่า 2.5ล้านบาท คอมเพรสเซอร์แอร์รถยนต์ และน้ำยาแอร์ R12 มูลค่า 2 ล้านบาท และยังสามารถจับกุมสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เช่น น้ำหอม กระเป๋า แว่นตา เสื้อผ้า รวมจำนวน 8,433 ชิ้น มูลค่า 6.1 ล้านบาท
นายสมชายกล่าวด้วยว่า กรณีนี้เป็นความผิดฐานสำแดงเท็จ หลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามข้อกำกัด และนำหรือพาของที่ยังไม่ไดเสียภาษี หรือของต้องห้าม ของต้องกำกัด หรือของที่ยังไม่ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักร หรือรับซื้อไว้ด้วยประการใดๆ ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามหรือข้อกำกัด อันเป็นความผิดตามมาตรา 99,27 และมาตรา 27 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 และมาตรา 16, 17 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482, พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537, พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534, พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ,พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ซึ่งเจ้าหน้าที่จะนำของกลางส่งกรมศุลกากรดำเนินคดีต่อไป