อธิบดีกรมศุลกากรแถลงโชว์ผลการจับกุมของหนีภาษีส่งท้ายได้ทั้งพืชผลการเกษตร เลื่อยยนต์ ดีวีดีเถื่อนมูลค่ารวมกว่า 38 ล้าน
วันนี้ (30 ก.ย.) เมื่อเวลา 12.15 น. นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ อธิบดีกรมศุลกากร แถลงการจับกุมพืชไร่ ประเภทข้าวสารลักลอบนำเข้ามาในประเทศ และสินค้าต้องห้ามข้อกำกัดในการนำเข้าประเภทเลื่อย บาร์เลื่อย และดีวีดีเกมส์ และภาพยนตร์ละเมิดลิขสิทธิ์ รวมมูลค่ากว่า 38 ล้านบาท
นายวิสุทธิ์เปิดเผยว่า การจับกุมในครั้งนี้เป็นนโยบายสำคัญของกรมศุลกากรในการเร่งรัดการปราบปรามสินค้าลักลอบหลีกเลี่ยงภาษีอากร ข้อห้าม ข้อจำกัด และสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่จับกุมตั้งแต่วันที่ 24-29 ก.ย. จนสามารถจับผู้กระทำผิดได้หลายรายด้วยกันดังนี้
รายแรก เมื่อวานนี้ (29 ก.ย.) เจ้าหน้าที่สำนักสืบสวนและปราบปรามทำการตรวจค้นรถบรรทุกพ่วง หมายเลขทะเบียน 81-8686 สุพรรณบุรี หมายเลขทะเบียน 81-1108 จันทบุรี และหมายเลขทะเบียน 81-1701 สระแก้ว ที่บริเวณถนนสาย 317 ต.ตามูล อ.สอยดาว จ.จันทบุรี ก็พบข้าวสารที่ลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศ จำนวน 2,400 กระสอบ น้ำหนักรวม 120,000 กิโลกรัม รวมมูลค่ากว่า 3 ล้านบาท จึงยึดไว้เป็นของกลาง
นายวิสุทธิ์กล่าวต่อว่า ในวันเดียวกัน เจ้าหน้าที่สำนักสืบสวนและปราบปราม และเจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรมุกดาหาร ได้ทำการตรวจสอบสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าเลขที่ A102-05209-02441 สำแดงชนิดสินค้าเป็นเครื่องเลื่อยขนาดเล็ก แต่จากากรตรวจสอบพบว่าเป้นเลื่อยโซ่ยนต์ จำนวน 103 เครื่อง บาร์เลื่อยจำนวน 1,100 ชิ้น มูลค่า 800,000 บาท ซึ่งถือว่าเป็นของควบคุมการนำเข้าตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 จึงยึดไว้เป็นของกลาง นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ศูนย์ป้องกันและปราบปรามของศุลกากรปราณบุรี ยังสามารถตรวจยึดแผ่นดีวีดีเกมส์ และภาพยนตร์ละเมิดลิขสิทธิ์ ไว้ได้อีก 42,100 แผ่น มูลค่า 35 ล้านบาท
นายวิสุทธิ์กล่าวด้วยว่า กรณีนี้เป็นความผิดฐานสำแดงเท็จ หลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามข้อกำกัด และนำหรือพาของที่ยังไม่ได้เสียภาษีหรือของต้องห้าม ของต้องกำกัด หรือของที่ยังไม่ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักร หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามหรือข้อกำกัด อันเป็นความผิดตามมาตรา 99,27 และมาตรา 27 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 และมาตรา 16, 17 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482, พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537, พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534, พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงไว้ส่งดำเนินคดีต่อไป
วันนี้ (30 ก.ย.) เมื่อเวลา 12.15 น. นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ อธิบดีกรมศุลกากร แถลงการจับกุมพืชไร่ ประเภทข้าวสารลักลอบนำเข้ามาในประเทศ และสินค้าต้องห้ามข้อกำกัดในการนำเข้าประเภทเลื่อย บาร์เลื่อย และดีวีดีเกมส์ และภาพยนตร์ละเมิดลิขสิทธิ์ รวมมูลค่ากว่า 38 ล้านบาท
นายวิสุทธิ์เปิดเผยว่า การจับกุมในครั้งนี้เป็นนโยบายสำคัญของกรมศุลกากรในการเร่งรัดการปราบปรามสินค้าลักลอบหลีกเลี่ยงภาษีอากร ข้อห้าม ข้อจำกัด และสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่จับกุมตั้งแต่วันที่ 24-29 ก.ย. จนสามารถจับผู้กระทำผิดได้หลายรายด้วยกันดังนี้
รายแรก เมื่อวานนี้ (29 ก.ย.) เจ้าหน้าที่สำนักสืบสวนและปราบปรามทำการตรวจค้นรถบรรทุกพ่วง หมายเลขทะเบียน 81-8686 สุพรรณบุรี หมายเลขทะเบียน 81-1108 จันทบุรี และหมายเลขทะเบียน 81-1701 สระแก้ว ที่บริเวณถนนสาย 317 ต.ตามูล อ.สอยดาว จ.จันทบุรี ก็พบข้าวสารที่ลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศ จำนวน 2,400 กระสอบ น้ำหนักรวม 120,000 กิโลกรัม รวมมูลค่ากว่า 3 ล้านบาท จึงยึดไว้เป็นของกลาง
นายวิสุทธิ์กล่าวต่อว่า ในวันเดียวกัน เจ้าหน้าที่สำนักสืบสวนและปราบปราม และเจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรมุกดาหาร ได้ทำการตรวจสอบสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าเลขที่ A102-05209-02441 สำแดงชนิดสินค้าเป็นเครื่องเลื่อยขนาดเล็ก แต่จากากรตรวจสอบพบว่าเป้นเลื่อยโซ่ยนต์ จำนวน 103 เครื่อง บาร์เลื่อยจำนวน 1,100 ชิ้น มูลค่า 800,000 บาท ซึ่งถือว่าเป็นของควบคุมการนำเข้าตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 จึงยึดไว้เป็นของกลาง นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ศูนย์ป้องกันและปราบปรามของศุลกากรปราณบุรี ยังสามารถตรวจยึดแผ่นดีวีดีเกมส์ และภาพยนตร์ละเมิดลิขสิทธิ์ ไว้ได้อีก 42,100 แผ่น มูลค่า 35 ล้านบาท
นายวิสุทธิ์กล่าวด้วยว่า กรณีนี้เป็นความผิดฐานสำแดงเท็จ หลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามข้อกำกัด และนำหรือพาของที่ยังไม่ได้เสียภาษีหรือของต้องห้าม ของต้องกำกัด หรือของที่ยังไม่ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักร หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามหรือข้อกำกัด อันเป็นความผิดตามมาตรา 99,27 และมาตรา 27 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 และมาตรา 16, 17 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482, พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537, พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534, พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงไว้ส่งดำเนินคดีต่อไป