นครบาลประชุมเข้มร่วมกับทหาร เตรียมรับสถานการณ์ชุมนุมเสื้อแดงในวันพรุ่งนี้ (17 ต.ค.) ขณะที่รองโฆษก ตร.เผย ตร.สั่งให้ บช.น.เป็นแม่งานดูแลพื้นที่เขตดุสิต ให้หน่วยวัตถุระเบิดตรวจสอบพื้นที่โดยรอบ เน้นป้องกันและจับตาความเคลื่อนไหวมือที่ 3 ก่อเหตุป่วน พร้อมเตรียมกำลังทหาร-ตำรวจ ดูแลพื้นที่สำคัญหากเกิดความรุนแรง ออก "กฎการใช้กำลัง" ให้เข้าใจการปฏิบัติ
วันนี้ (16 ต.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น.ที่ห้องประชุมใหญ่ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผบช.น. เรียกประชุม รอง ผบช.น. ผบก.ในสังกัดเจ้าหน้าที่ทหาร และ กทม. เพื่อประชุมรับมือสถานการณ์การชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงในวันที่ 17 ตุลาคม นี้
ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม พ.ต.อ.ปิยะ อุทาโย รอง ผบก.อก.บช.น. ในฐานะรองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) เปิดเผยว่า รัฐบาลได้ประกาศ พรก.รักษาความสงบภายใน ในพื้นที่เขตดุสิต ซึ่ง ตร.ได้สั่งการให้ บช.น.เป็นเจ้าภาพในการดูแลในเรื่องนี้ร่วมกับหน่วยกำลังอื่นๆ โดยในส่วนของการดูแลพื้นที่ในเขตดุสิตนั้น จะทำร่วมกันระหว่างตำรวจ ทหาร พลเรือน ส่วนพื้นที่อื่นๆก็ให้กำลังในพื้นที่ตรวจสอบ โดยจะเน้นเรื่องการป้องกันกลุ่มมือที่ 3 ผู้ไม่หวังดี และให้หน่วยตรวจสอบวัตถุระเบิดออกตรวจพื้นที่ดุสิตโดยรอบ
สำหรับวันนี้ได้มีการนัดหมายกำลังตำรวจ ทหาร กทม. และหน่วยอื่นที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ระดับผู้บังคับหมวดขึ้นไปในการประชุม ซึ่งตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา ศูนย์ปฏิบัติการนครบาล (ศปก.น.) ได้มีการเปิดตัวอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของ ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบ (ศอ.รน.) ซึ่งมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นประธาน
พ.ต.อ.ปิยะ กล่าวอีกว่า สำหรับการชุมนุมนั้นสั่งการ ดังนี้ 1.เตรียมกำลังบุคคล สถานที่ให้พร้อมมากที่สุด 2.หากส่อว่าจะเกิดความรุนแรง เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่มีการซักซ้อมเอาไว้ ทั้งการประกาศ การชี้แจง การเจราจร จากเบาไปหาหนัก เบื้องต้นใช้กำลังทั้งสิ้น 44 กองร้อย เป็นทหาร 28 กองร้อย ซึ่งใช้กำลังทั้งทหารบก ทหารเรือและทหารอากาศ และกำลังตำรวจ 16 กองร้อย โดยใช้กำลังจาก กทม. 350 นาย
อย่างไรก็ตาม หากมีสถานการณ์ว่าจะเกิดความรุนแรงก็มีกำลังเตรียมพร้อมเป็นตำรวจ 15 กองร้อย และทหาร 27 กองร้อย ณ ที่ตั้ง โดยได้มีการตั้งจุดตรวจร่วมกันในทุกทางแยกที่มุ่งหน้าเข้าพื้นที่เขตดุสิต ทั้ง แยกวังแดง แยกบานพระรูป แยกวัดเบญฯ แยกนางเลิ้ง แยกเทวกรรม แยกสวนมิสกวัน เป็นต้น
“รัฐบาลได้เน้นย้ำในเรื่องแนวทางการปฏิบัติ โดยจะมีการแจก “กฎการใช้กำลัง” ให้แก่เจ้าหน้าที่ทุกคน ซึ่งในแผ่นพับนี้จะมีการชี้แจงแผนการทำงานอย่างชัดเจน ทั้งในเรื่องหน้าที่ผู้ต้องปฏิบัติและรับผิดชอบในส่วนนั้นๆ โดยแบ่งเป็นว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร เช่น เจรจาอยู่ที่ไหน หากมีการประกาศใครเป็นผู้ประกาศ หากประกาศไม่ได้ผลแล้วผลักดันใครรับผิดชอบ ซึ่งจะชัดเจนทั้งในเรื่องการใช้น้ำ การใช้คลื่นเสียง การใช้แก๊สน้ำตา ซึ่ง ศอ.รส.กำหนดชันเจน” รองโฆษก ตร.กล่าว
พ.ต.อ.ปิยะ กล่าวต่อว่า สำหรับข้อห่วงใยที่ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รรท.ผบ.ตร. และพล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผบช.น. เน้นย้ำ เป็นห่วงคือ ให้ทุกคนช่วยกันสอดส่องดูแลป้องกันมือที่ 3 ที่อาจก่อความวุ่นวาย, ขอให้ผู้ชุมนุมใช้สิทธิภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งชุมนุมได้ แต่ขอให้ชุมนุมอย่างสงบปราศจากอาวุธ, แกนนำอย่าทำผิดเงื่อนไขประกันตัว ซึ่งแกนนำบางคนที่ได้รับการประกันตัว มีเงื่อนไขว่า 1.ห้ามเดินทางออกนอกประเทศ 2.ห้ามทำการยั่วยุ ระดม ปลุกปั่น 3.ต้องไม่กระทำการใดที่เป็นการขัดขวางการทำงานของพนักงานสอบสวน หากมีการทำผิดจะมี รอง ผบช.น. ฝ่ายกฎหมายและสอบสวน คอยตรวจสอบ ส่วน ศปก.น.อยู่ภายใต้ ศอ.รส.ที่เป็นผู้ดูแลความสงบเรียบร้อยทั้งหมด โดยมีแม่ทัพภาคที่ 1 ดูแลกำลังร่วมกับ ผบช.น. และพล.ต.ต.วรศักดิ์ นพสิทธิพร รอง ผบช.น. โดยมีศูนย์อยู่ที่กองทัพบก
วันนี้ (16 ต.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น.ที่ห้องประชุมใหญ่ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผบช.น. เรียกประชุม รอง ผบช.น. ผบก.ในสังกัดเจ้าหน้าที่ทหาร และ กทม. เพื่อประชุมรับมือสถานการณ์การชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงในวันที่ 17 ตุลาคม นี้
ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม พ.ต.อ.ปิยะ อุทาโย รอง ผบก.อก.บช.น. ในฐานะรองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) เปิดเผยว่า รัฐบาลได้ประกาศ พรก.รักษาความสงบภายใน ในพื้นที่เขตดุสิต ซึ่ง ตร.ได้สั่งการให้ บช.น.เป็นเจ้าภาพในการดูแลในเรื่องนี้ร่วมกับหน่วยกำลังอื่นๆ โดยในส่วนของการดูแลพื้นที่ในเขตดุสิตนั้น จะทำร่วมกันระหว่างตำรวจ ทหาร พลเรือน ส่วนพื้นที่อื่นๆก็ให้กำลังในพื้นที่ตรวจสอบ โดยจะเน้นเรื่องการป้องกันกลุ่มมือที่ 3 ผู้ไม่หวังดี และให้หน่วยตรวจสอบวัตถุระเบิดออกตรวจพื้นที่ดุสิตโดยรอบ
สำหรับวันนี้ได้มีการนัดหมายกำลังตำรวจ ทหาร กทม. และหน่วยอื่นที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ระดับผู้บังคับหมวดขึ้นไปในการประชุม ซึ่งตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา ศูนย์ปฏิบัติการนครบาล (ศปก.น.) ได้มีการเปิดตัวอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของ ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบ (ศอ.รน.) ซึ่งมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นประธาน
พ.ต.อ.ปิยะ กล่าวอีกว่า สำหรับการชุมนุมนั้นสั่งการ ดังนี้ 1.เตรียมกำลังบุคคล สถานที่ให้พร้อมมากที่สุด 2.หากส่อว่าจะเกิดความรุนแรง เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่มีการซักซ้อมเอาไว้ ทั้งการประกาศ การชี้แจง การเจราจร จากเบาไปหาหนัก เบื้องต้นใช้กำลังทั้งสิ้น 44 กองร้อย เป็นทหาร 28 กองร้อย ซึ่งใช้กำลังทั้งทหารบก ทหารเรือและทหารอากาศ และกำลังตำรวจ 16 กองร้อย โดยใช้กำลังจาก กทม. 350 นาย
อย่างไรก็ตาม หากมีสถานการณ์ว่าจะเกิดความรุนแรงก็มีกำลังเตรียมพร้อมเป็นตำรวจ 15 กองร้อย และทหาร 27 กองร้อย ณ ที่ตั้ง โดยได้มีการตั้งจุดตรวจร่วมกันในทุกทางแยกที่มุ่งหน้าเข้าพื้นที่เขตดุสิต ทั้ง แยกวังแดง แยกบานพระรูป แยกวัดเบญฯ แยกนางเลิ้ง แยกเทวกรรม แยกสวนมิสกวัน เป็นต้น
“รัฐบาลได้เน้นย้ำในเรื่องแนวทางการปฏิบัติ โดยจะมีการแจก “กฎการใช้กำลัง” ให้แก่เจ้าหน้าที่ทุกคน ซึ่งในแผ่นพับนี้จะมีการชี้แจงแผนการทำงานอย่างชัดเจน ทั้งในเรื่องหน้าที่ผู้ต้องปฏิบัติและรับผิดชอบในส่วนนั้นๆ โดยแบ่งเป็นว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร เช่น เจรจาอยู่ที่ไหน หากมีการประกาศใครเป็นผู้ประกาศ หากประกาศไม่ได้ผลแล้วผลักดันใครรับผิดชอบ ซึ่งจะชัดเจนทั้งในเรื่องการใช้น้ำ การใช้คลื่นเสียง การใช้แก๊สน้ำตา ซึ่ง ศอ.รส.กำหนดชันเจน” รองโฆษก ตร.กล่าว
พ.ต.อ.ปิยะ กล่าวต่อว่า สำหรับข้อห่วงใยที่ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รรท.ผบ.ตร. และพล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผบช.น. เน้นย้ำ เป็นห่วงคือ ให้ทุกคนช่วยกันสอดส่องดูแลป้องกันมือที่ 3 ที่อาจก่อความวุ่นวาย, ขอให้ผู้ชุมนุมใช้สิทธิภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งชุมนุมได้ แต่ขอให้ชุมนุมอย่างสงบปราศจากอาวุธ, แกนนำอย่าทำผิดเงื่อนไขประกันตัว ซึ่งแกนนำบางคนที่ได้รับการประกันตัว มีเงื่อนไขว่า 1.ห้ามเดินทางออกนอกประเทศ 2.ห้ามทำการยั่วยุ ระดม ปลุกปั่น 3.ต้องไม่กระทำการใดที่เป็นการขัดขวางการทำงานของพนักงานสอบสวน หากมีการทำผิดจะมี รอง ผบช.น. ฝ่ายกฎหมายและสอบสวน คอยตรวจสอบ ส่วน ศปก.น.อยู่ภายใต้ ศอ.รส.ที่เป็นผู้ดูแลความสงบเรียบร้อยทั้งหมด โดยมีแม่ทัพภาคที่ 1 ดูแลกำลังร่วมกับ ผบช.น. และพล.ต.ต.วรศักดิ์ นพสิทธิพร รอง ผบช.น. โดยมีศูนย์อยู่ที่กองทัพบก