ยังคงเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยต่อสาธารณชนมาโดยตลอด กับการที่คนระดับอดีตนายกรัฐมนตรี"ทักษิณ ชินวัตร"สามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญๆในคดีพิเศษ ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) โดยเฉพาะครั้งที่ "ทักษิณ"ออกมาให้ข่าวระบุชัดเจนว่า"นายสมชาย นีละไพจิตร"ทนายความชื่อดังตายแล้ว
ทั้งที่ความจริง ณ ห้วงเวลา ขณะนั้น ยังไม่มีใครทราบ หรือยืนยันข้อมูลที่แท้จริงได้เลยว่า"ทนายสมชาย"เสียชีวิตแล้วหรือยัง?
โดยที่ทราบเป็นข้อมูลกว้าง ๆ เท่านั้นว่า"ทนายสมชาย"ถูกคนร้ายอุ้มหายตัวไป และยังไม่ทราบชะตากรรม ทำให้คนที่ถูกจับจ้องเข้าข่ายน่าสงสัยว่าเขาอาจจะรู้เรื่องข้อมูลดิบในคดีทนายสมชายมากที่สุดคงหนีไม่พ้น "พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง" อธิบดีดีเอสไอ(ขณะนั้น) เนื่องจากมีมูลเหตุการหายตัวของทนายสมชาย สืบเนื่องมาจากการเข้าไปช่วยเหลือ 5 ผู้ต้องหาคดีร่วมกันปล้นอาวุธปืนของหน่วยทหารพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2547 และคดีนี้มี "พ.อ.ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ" ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ (สมัยนั้น) เป็นหัวหน้าทีมพนักงานสอบสวนส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ทำการไต่สวนตั้งแต่ต้นปี 2550 และทราบว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช.กำลังเร่งไต่สวนเรื่องนี้ เพื่อชี้มูลความผิดกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้องหลายคน ซึ่งหากมีการชี้มูลวันใด คดีทนายสมชาย น่าจะสรุปได้เร็วขึ้น
หลักฐานสำคัญ ก่อนทนายสมชาย หายตัวไปประมาณ 2 – 3 วัน พบว่ามีหน่วยงานความมั่นคงเข้าไปตรวจสอบทะเบียนราษฎร์ของทนายสมชาย คือ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ - กองปราบปราม โดยใช้รหัสผ่านของผู้บริหารดีเอสไอ ที่เคยรับราชการที่กองปราบปราม มาก่อนที่จะโอนไปดีเอสไอ เข้าไปตรวจสอบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของทนายสมชาย ... โดยไม่ทราบว่าเข้าไปเพื่อวัตถุประสงค์อันใด แต่ในเวลาถัดมาอีกไม่กี่วัน ทนายสมชาย ได้หายตัวไป
นอกจากนี้ในสมัย "ทักษิณ" ยังมีความพยายามจะกวาดล้างปราบปรามปัญหายาเสพติด ซึ่งมีการประกาศสงครามขั้นแตกหักกับยาเสพติดมาโดยตลอด และผลการปราบปรามที่ทวีคูณความรุนแรงส่งผลให้มีการ"ฆ่าตัดตอน"ทำให้ไม่สามารถสาวถึงตัวการใหญ่ในขบวนการค้ายาเสพติดระดับชาติได้ ซึ่งในเรื่องนี้ที่ผ่านมา"ปิยะวัฒก์"ได้พยายามผลักดันให้การ"ฆ่าตัดตอน"ยุคทักษิณ เป็นคดีพิเศษแต่ยังไม่เป็นผลสำเร็จ
หากมองย้อนกลับไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งอยู่ในช่วงที่ "พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง" เป็นอธิบดี ตั้งแต่ในสมัยพรรคพลังประชาชน เป็นรัฐบาล จวบจนปัจจุบันพรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐบาล กุมอำนาจเบ็ดเสร็จในการบริหารประเทศ โดยได้ส่ง "พีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค" ควบคุมดูแลงานกระทรวงยุติธรรม ท่ามกลางกระแสข่าวจะโยกย้าย "ทวี สอดส่อง" มาตลอดแต่จนแล้วจนรอดก็ไม่ถูกโยกย้าย โดยจุดนี้หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าการทำงานอยู่บนผลประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ แต่ในที่สุดเมื่องานสำเร็จครบทุกจุดมุ่งหมาย "ทวี" ก็มิอาจทานกระแสการเมืองได้ จึงถูกเด้งไปเป็นรองปลัดกระทรวงยุติธรรม มีผล 15 ต.ค.52
และหากมองให้ลึกลงไปอีก จะเห็นได้ว่าการที่ "ทวี" นั่งดูแลดีเอสไอที่ผ่านมา เขาทำงานโปร่งใสแค่ไหนนั้น คำตอบชัดเจนในตัวอยู่แล้ว แม้ที่ผ่านมาทุกคนจะมองข้ามในความจริงจังกับการทำงานของ "ปิยะวัฒก์"แต่ในความคุกรุ่นของการทำงานร่วมกันแล้ว ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้กับคำว่า "ปิยะวัฒก์"คือศัตรูหมายเลข 1 ที่คอยขวางงานที่ส่อไปในทางที่ไม่ชอบธรรม แม้ "ทวี" จะถูกโยกย้ายออกจากตำแหน่ง และมีการแต่งตั้ง "ธาริต เพ็งดิษฐ์"มาดูแลดีเอสไอแทน แต่ในสถานการณ์ภาวะนิ่งบนความน่ากลัวกับระบบการทำงานในดีเอสไอแล้ว สะท้อนให้เห็นว่า ใครก็ตามที่ทำตัวเป็นประโยชน์ปิดหูปิดตา ก้มหน้าทำงานตามบัญชาแล้วเก้าอี้ที่นั่งอยู่จะไม่กระเทือน ซึ่งการที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ความไว้วางใจ เชื่อมือในการทำงาน กับ "ธาริต เพ็งดิษฐ์" สานต่องานดีเอสไอแทน "ทวี สอดส่อง" โดยให้เหตุผลว่า "ธาริต เพ็งดิษฐ์" เคยเป็นลูกหม้อเก่าดีเอสไอมาก่อนงานน่าจะเดินไปได้ดีกว่าที่เป็นอยู่
และคงจะเป็นก้างขวางคอ "ทวี" เสมอมาหรือไม่ มิอาจทราบได้ แต่ทุกครั้งที่ "ปิยะวัฒก์" มีความชัดเจนไม่ตอบสนองงาน เช่นปัญหาล่าสุดที่ได้ประกาศหักดิบชนกับปัญหาบุกรุกป่าสบกก ยืนยันเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ แต่ "ทวี" เห็นว่าเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน และพยายามสั่งให้ พ.อ.ปิยะวัฒก์ สอบสวนเพิ่มเติมไปในประเด็นเป็นเขตปฏิรูป รวมทั้งการสั่งการให้ดำเนินคดีกับประจักษ์พยานสำคัญเพียงรายเดียวที่เห็นกลุ่มนายทุนเข้าไปดูพื้นที่บุกรุกก่อนแล้วหลายครั้ง ซึ่ง "ปิยะวัฒก์" ไม่ยอมปฏิบัติตาม เพราะเห็นว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มิหนำซ้ำยังถูกขู่ว่า หากไม่ปฏิบัติตามจะถูกสอบสวนทางวินัย จนเป็นเหตุให้ "ทวี" สั่งทิ้งทวน เสนอย้าย "ปิยะวัฒก์" ไปเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีพิเศษ
เมื่อลำดับเหตุการณ์ดูภาพรวมที่ "ปิยะวัฒก์" ได้รับความไว้วางใจมอบหมายให้ดูแลคดีสำคัญในหลายคดีของดีเอสไอแล้ว ภาพยิ่งชัดเจนขึ้นในความคาใจขุ่นมัวระหว่าง "ทวี" กับ "ปิยะวัฒก์"การใช้อำนาจตามหน้าที่ด้วยความชอบธรรม บนความคลุมเครือซึ่งแอบแฝงอยู่กับความไม่ชอบธรรม ก่อนที่ "ทวี" จะถูกพิษการเมือง พ่นให้พ้นตำแหน่งอธิบดีดีเอสไอ เพราะเหตุใด ทำไม"ทวี" ต้องเสนอย้าย "ปิยะวัฒก์" มองต่างมุมได้หลายอย่าง หรืออาจเป็นเพราะว่า "ปิยะวัฒก์" มีข้อมูลแน่นในคดีพิเศษหลายคดี
อาทิ..คดีฆาตกรรมนายพงษ์เทพ และนางอำไพพรรณ รู้คงประเสริฐ สองสามีภริยาที่ถูกคนร้าย ซึ่งเชื่อว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อาวุธปืนนานาชนิดระดมยิงเสียชีวิตบนเส้นทางสายตาก – แม่สอด จากนั้นได้กลั่นแกล้งนำกล่องพัสดุไปรษณีย์ที่ภายในมีรองเท้าสตรี และมียาเสพติดซุกซ่อนอยู่ภายในส้นรองเท้า ไปวางไว้ที่พื้นรถด้านคนขับภายหลังที่บุคคลทั้งสองเสียชีวิตแล้ว เหตุเกิดขึ้นในช่วงของการประกาศสงครามกับยาเสพติด เมื่อปี พ.ศ. 2546 ซึ่งเป็นช่วงที่ "ทักษิณ ชินวัตร" เป็นนายกรัฐมนตรี คดีนี้เจอหลักฐานเด็ดสามารถพิสูจน์ความบริสุทธิ์ให้กับคนทั้งสองได้สำเร็จ ซึ่งคดีมีพยานหลักฐานน่าเชื่อว่าเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเป็นการกลั่นแกล้งให้บุคคลทั้งสองได้รับโทษทางอาญา ซึ่งได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงแล้ว
นอกจากนี้ "ปิยะวัฒก์" ยังดูแลคดีเจ้าหน้าที่ทหารกองกำลังผาเมืองนำตัวนายสุรศักดิ์ ไฝเอ้ย ไปฆ่าโดยการใช้อาวุธปืนเอ็ม 16 ยิงที่ศีรษะ ที่บริเวณขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย แล้ววางแผนเป็นการวิสามัญฆาตกรรมอันเนื่องมาจากการปะทะกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารเรื่องยาเสพติด โดยคดีนี้ผลการสอบสวนเชื่อว่าเป็นการร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน มิใช่การวิสามัญฆาตกรรม โดยได้ส่งสำนวนให้อัยการทหารดำเนินคดีไปแล้ว คดีนี้ศาลทหารประทับฟ้องคดีไว้พิจารณาแล้วเช่นกัน
ล่าสุดมีคดีฆาตกรรมพระสุพจน์ฯ ที่ "ปิยะวัฒก์" รับคดีต่อจาก พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันตชัย ที่เริ่มทำคดีตั้งแต่แรก ซึ่ง "ปิยะวัฒก์" สามารถทำคดีได้มีความคืบหน้าเป็นลำดับ แถมไปพบข้อมูลที่มีการสร้างหลักฐานเท็จเพื่อเบี่ยงเบนเป็นประเด็นชู้สาว มีการสร้างไฟล์ใหม่เข้าไปในฮาร์ดดิสก์ของพระสุพจน์ รวมทั้งภาพอนาจารที่พบในฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการคัดลอกไฟล์เข้าไปหลังพนักงานสอบสวนชุด "ปิยะวัฒก์"ดูแลตรวจพบหลักฐานทั้งหมดเพื่อรวบรวมไว้แล้ว
เมื่อถึงเวลานี้ คงจะพอเห็นภาพชัดเจนว่า เหตุใด "ทวี" ต้องเสนอย้าย "ปิยะวัฒก์" พ้นจากตำแหน่งผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ หรือเพื่อต้องการส่งคนของตัวเองเข้ามาเคลียร์คดีสำคัญให้อยู่ในกรอบทิศทางเดียวกัน ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ!
ทั้งที่ความจริง ณ ห้วงเวลา ขณะนั้น ยังไม่มีใครทราบ หรือยืนยันข้อมูลที่แท้จริงได้เลยว่า"ทนายสมชาย"เสียชีวิตแล้วหรือยัง?
โดยที่ทราบเป็นข้อมูลกว้าง ๆ เท่านั้นว่า"ทนายสมชาย"ถูกคนร้ายอุ้มหายตัวไป และยังไม่ทราบชะตากรรม ทำให้คนที่ถูกจับจ้องเข้าข่ายน่าสงสัยว่าเขาอาจจะรู้เรื่องข้อมูลดิบในคดีทนายสมชายมากที่สุดคงหนีไม่พ้น "พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง" อธิบดีดีเอสไอ(ขณะนั้น) เนื่องจากมีมูลเหตุการหายตัวของทนายสมชาย สืบเนื่องมาจากการเข้าไปช่วยเหลือ 5 ผู้ต้องหาคดีร่วมกันปล้นอาวุธปืนของหน่วยทหารพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2547 และคดีนี้มี "พ.อ.ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ" ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ (สมัยนั้น) เป็นหัวหน้าทีมพนักงานสอบสวนส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ทำการไต่สวนตั้งแต่ต้นปี 2550 และทราบว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช.กำลังเร่งไต่สวนเรื่องนี้ เพื่อชี้มูลความผิดกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้องหลายคน ซึ่งหากมีการชี้มูลวันใด คดีทนายสมชาย น่าจะสรุปได้เร็วขึ้น
หลักฐานสำคัญ ก่อนทนายสมชาย หายตัวไปประมาณ 2 – 3 วัน พบว่ามีหน่วยงานความมั่นคงเข้าไปตรวจสอบทะเบียนราษฎร์ของทนายสมชาย คือ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ - กองปราบปราม โดยใช้รหัสผ่านของผู้บริหารดีเอสไอ ที่เคยรับราชการที่กองปราบปราม มาก่อนที่จะโอนไปดีเอสไอ เข้าไปตรวจสอบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของทนายสมชาย ... โดยไม่ทราบว่าเข้าไปเพื่อวัตถุประสงค์อันใด แต่ในเวลาถัดมาอีกไม่กี่วัน ทนายสมชาย ได้หายตัวไป
นอกจากนี้ในสมัย "ทักษิณ" ยังมีความพยายามจะกวาดล้างปราบปรามปัญหายาเสพติด ซึ่งมีการประกาศสงครามขั้นแตกหักกับยาเสพติดมาโดยตลอด และผลการปราบปรามที่ทวีคูณความรุนแรงส่งผลให้มีการ"ฆ่าตัดตอน"ทำให้ไม่สามารถสาวถึงตัวการใหญ่ในขบวนการค้ายาเสพติดระดับชาติได้ ซึ่งในเรื่องนี้ที่ผ่านมา"ปิยะวัฒก์"ได้พยายามผลักดันให้การ"ฆ่าตัดตอน"ยุคทักษิณ เป็นคดีพิเศษแต่ยังไม่เป็นผลสำเร็จ
หากมองย้อนกลับไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งอยู่ในช่วงที่ "พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง" เป็นอธิบดี ตั้งแต่ในสมัยพรรคพลังประชาชน เป็นรัฐบาล จวบจนปัจจุบันพรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐบาล กุมอำนาจเบ็ดเสร็จในการบริหารประเทศ โดยได้ส่ง "พีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค" ควบคุมดูแลงานกระทรวงยุติธรรม ท่ามกลางกระแสข่าวจะโยกย้าย "ทวี สอดส่อง" มาตลอดแต่จนแล้วจนรอดก็ไม่ถูกโยกย้าย โดยจุดนี้หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าการทำงานอยู่บนผลประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ แต่ในที่สุดเมื่องานสำเร็จครบทุกจุดมุ่งหมาย "ทวี" ก็มิอาจทานกระแสการเมืองได้ จึงถูกเด้งไปเป็นรองปลัดกระทรวงยุติธรรม มีผล 15 ต.ค.52
และหากมองให้ลึกลงไปอีก จะเห็นได้ว่าการที่ "ทวี" นั่งดูแลดีเอสไอที่ผ่านมา เขาทำงานโปร่งใสแค่ไหนนั้น คำตอบชัดเจนในตัวอยู่แล้ว แม้ที่ผ่านมาทุกคนจะมองข้ามในความจริงจังกับการทำงานของ "ปิยะวัฒก์"แต่ในความคุกรุ่นของการทำงานร่วมกันแล้ว ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้กับคำว่า "ปิยะวัฒก์"คือศัตรูหมายเลข 1 ที่คอยขวางงานที่ส่อไปในทางที่ไม่ชอบธรรม แม้ "ทวี" จะถูกโยกย้ายออกจากตำแหน่ง และมีการแต่งตั้ง "ธาริต เพ็งดิษฐ์"มาดูแลดีเอสไอแทน แต่ในสถานการณ์ภาวะนิ่งบนความน่ากลัวกับระบบการทำงานในดีเอสไอแล้ว สะท้อนให้เห็นว่า ใครก็ตามที่ทำตัวเป็นประโยชน์ปิดหูปิดตา ก้มหน้าทำงานตามบัญชาแล้วเก้าอี้ที่นั่งอยู่จะไม่กระเทือน ซึ่งการที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ความไว้วางใจ เชื่อมือในการทำงาน กับ "ธาริต เพ็งดิษฐ์" สานต่องานดีเอสไอแทน "ทวี สอดส่อง" โดยให้เหตุผลว่า "ธาริต เพ็งดิษฐ์" เคยเป็นลูกหม้อเก่าดีเอสไอมาก่อนงานน่าจะเดินไปได้ดีกว่าที่เป็นอยู่
และคงจะเป็นก้างขวางคอ "ทวี" เสมอมาหรือไม่ มิอาจทราบได้ แต่ทุกครั้งที่ "ปิยะวัฒก์" มีความชัดเจนไม่ตอบสนองงาน เช่นปัญหาล่าสุดที่ได้ประกาศหักดิบชนกับปัญหาบุกรุกป่าสบกก ยืนยันเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ แต่ "ทวี" เห็นว่าเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน และพยายามสั่งให้ พ.อ.ปิยะวัฒก์ สอบสวนเพิ่มเติมไปในประเด็นเป็นเขตปฏิรูป รวมทั้งการสั่งการให้ดำเนินคดีกับประจักษ์พยานสำคัญเพียงรายเดียวที่เห็นกลุ่มนายทุนเข้าไปดูพื้นที่บุกรุกก่อนแล้วหลายครั้ง ซึ่ง "ปิยะวัฒก์" ไม่ยอมปฏิบัติตาม เพราะเห็นว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มิหนำซ้ำยังถูกขู่ว่า หากไม่ปฏิบัติตามจะถูกสอบสวนทางวินัย จนเป็นเหตุให้ "ทวี" สั่งทิ้งทวน เสนอย้าย "ปิยะวัฒก์" ไปเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีพิเศษ
เมื่อลำดับเหตุการณ์ดูภาพรวมที่ "ปิยะวัฒก์" ได้รับความไว้วางใจมอบหมายให้ดูแลคดีสำคัญในหลายคดีของดีเอสไอแล้ว ภาพยิ่งชัดเจนขึ้นในความคาใจขุ่นมัวระหว่าง "ทวี" กับ "ปิยะวัฒก์"การใช้อำนาจตามหน้าที่ด้วยความชอบธรรม บนความคลุมเครือซึ่งแอบแฝงอยู่กับความไม่ชอบธรรม ก่อนที่ "ทวี" จะถูกพิษการเมือง พ่นให้พ้นตำแหน่งอธิบดีดีเอสไอ เพราะเหตุใด ทำไม"ทวี" ต้องเสนอย้าย "ปิยะวัฒก์" มองต่างมุมได้หลายอย่าง หรืออาจเป็นเพราะว่า "ปิยะวัฒก์" มีข้อมูลแน่นในคดีพิเศษหลายคดี
อาทิ..คดีฆาตกรรมนายพงษ์เทพ และนางอำไพพรรณ รู้คงประเสริฐ สองสามีภริยาที่ถูกคนร้าย ซึ่งเชื่อว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อาวุธปืนนานาชนิดระดมยิงเสียชีวิตบนเส้นทางสายตาก – แม่สอด จากนั้นได้กลั่นแกล้งนำกล่องพัสดุไปรษณีย์ที่ภายในมีรองเท้าสตรี และมียาเสพติดซุกซ่อนอยู่ภายในส้นรองเท้า ไปวางไว้ที่พื้นรถด้านคนขับภายหลังที่บุคคลทั้งสองเสียชีวิตแล้ว เหตุเกิดขึ้นในช่วงของการประกาศสงครามกับยาเสพติด เมื่อปี พ.ศ. 2546 ซึ่งเป็นช่วงที่ "ทักษิณ ชินวัตร" เป็นนายกรัฐมนตรี คดีนี้เจอหลักฐานเด็ดสามารถพิสูจน์ความบริสุทธิ์ให้กับคนทั้งสองได้สำเร็จ ซึ่งคดีมีพยานหลักฐานน่าเชื่อว่าเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเป็นการกลั่นแกล้งให้บุคคลทั้งสองได้รับโทษทางอาญา ซึ่งได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงแล้ว
นอกจากนี้ "ปิยะวัฒก์" ยังดูแลคดีเจ้าหน้าที่ทหารกองกำลังผาเมืองนำตัวนายสุรศักดิ์ ไฝเอ้ย ไปฆ่าโดยการใช้อาวุธปืนเอ็ม 16 ยิงที่ศีรษะ ที่บริเวณขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย แล้ววางแผนเป็นการวิสามัญฆาตกรรมอันเนื่องมาจากการปะทะกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารเรื่องยาเสพติด โดยคดีนี้ผลการสอบสวนเชื่อว่าเป็นการร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน มิใช่การวิสามัญฆาตกรรม โดยได้ส่งสำนวนให้อัยการทหารดำเนินคดีไปแล้ว คดีนี้ศาลทหารประทับฟ้องคดีไว้พิจารณาแล้วเช่นกัน
ล่าสุดมีคดีฆาตกรรมพระสุพจน์ฯ ที่ "ปิยะวัฒก์" รับคดีต่อจาก พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันตชัย ที่เริ่มทำคดีตั้งแต่แรก ซึ่ง "ปิยะวัฒก์" สามารถทำคดีได้มีความคืบหน้าเป็นลำดับ แถมไปพบข้อมูลที่มีการสร้างหลักฐานเท็จเพื่อเบี่ยงเบนเป็นประเด็นชู้สาว มีการสร้างไฟล์ใหม่เข้าไปในฮาร์ดดิสก์ของพระสุพจน์ รวมทั้งภาพอนาจารที่พบในฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการคัดลอกไฟล์เข้าไปหลังพนักงานสอบสวนชุด "ปิยะวัฒก์"ดูแลตรวจพบหลักฐานทั้งหมดเพื่อรวบรวมไว้แล้ว
เมื่อถึงเวลานี้ คงจะพอเห็นภาพชัดเจนว่า เหตุใด "ทวี" ต้องเสนอย้าย "ปิยะวัฒก์" พ้นจากตำแหน่งผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ หรือเพื่อต้องการส่งคนของตัวเองเข้ามาเคลียร์คดีสำคัญให้อยู่ในกรอบทิศทางเดียวกัน ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ!