แม้วันนี้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ จะเกษียณอายุราชการไปแล้วก็ตามที โดยที่ อดีต ผบ.ตร.ผู้นี้ได้พูดเสียงดังฟังชัด ครั้งขึ้นยืนบนแท่นรับการเคารพจากขบวนสวนสนาม หลังพิธีตรวจพลสวนสนามที่ทางโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จัดให้เนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 30 ก.ย.ที่ผ่านมา ว่า ตลอดช่วงเวลาที่รับราชการ สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุผลสำเร็จ เป็นที่ประจักษ์ยอมรับของบุคคลทั่วไปได้เป็นอย่างดี ตนขอฝากให้พวกเราทุกคน มีความตั้งใจ มุ่งมั่น ที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ และมีจิตสำนึกในการทำงาน
จากการให้โอวาทของ พล.ต.อ.พัชรวาท วันนี้ประชาชนส่วนใหญ่ เขายังสับสนว่า สรุปแล้ว อดีต ผบ.ตร.ท่านนี้เป็นตำรวจมือสะอาดตลอดชีวิตราชการทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตจริงหรือไม่
แต่สำหรับชีวิตจริงวันนี้ พล.ต.อ.พัชรวาท เขายังมีข้อกล่าวหาเรื่อง ซื้อขายตำแหน่งในการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ที่รอวันพิสูจน์ทราบว่า “เขาผิด หรือเขาถูกใส่ร้าย”
รายงานผลสอบดังกล่าว เป็นหนังสือลับมาก มีจำนวน 46 หน้า ลงวันที่ 9 กันยายน 2552 เรื่องตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณี นายศิริโชค โสภา ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเมื่อวันพุธที่ 12 สิงหาคม 2552 โดยอนุกรรมการ ก.ตร.ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2552 ซึ่งได้ทำการบันทึกปากคำของผู้ให้ถ้อยคำที่เกี่ยวข้อง รวม 37 ปาก และสรุปผลคำให้การของผู้ให้ถ้อยคำ ได้ดังนี้
“วีระยศ” แฉขั้นตอนเรียกรับ-จ่ายเงิน
พ.ต.ท.วีระยศ ชื่นกลิ่นธูปศิริ รอง ผกก.ปป.สภ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ให้ถ้อยคำเมื่อวันที่ 21 ส.ค.2552 โดยระบุว่า ผู้ให้ถ้อยคำเคยลาออกไปลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และก่อนที่ผู้ให้ถ้อยคำจะมาดำรงตำแหน่งปัจจุบัน ผู้ให้ถ้อยคำดำรงตำแหน่ง รอง ผกก.(ป) สภ.เมือง จ.นครปฐม ผู้ให้ถ้อยคำรับราชการในตำแหน่ง รอง ผกก.รวมเวลา 13 ปี แต่ไม่ได้รับการแต่งตั้งให้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ทั้งที่ผู้ให้ถ้อยคำมีอาวุโสอยู่ในลำดับที่ 3 ของตำรวจภูธรภาค 7 ผู้ให้ถ้อยคำจึงร้องทุกข์ต่อ อนุ ก.ตร.เกี่ยวกับการร้องทุกข์ เพื่อให้เยียวยาแก้ไขให้เป็นไปตามกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการแต่งตั้ง ซึ่งได้กำหนดให้พิจารณาจากข้าราชการตำรวจที่มีอาวุโสในลำดับต้นๆ ร้อยละ 25 ขณะนี้เรื่องร้องทุกข์ของผู้ให้ถ้อยคำยังอยู่ระหว่างการพิจารณา เมื่อประมาณ 2 เดือน ก่อนหน้านี้ ผู้ให้ถ้อยคำได้พูดคุยกับข้าราชการตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรภาค 7 ที่ห้องประชุม จ.เพชรบุรี และได้รับทราบข้อมูลจากเพื่อนข้าราชการตำรวจว่า การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในครั้งนี้มีการเรียกรับเงิน เพื่อแลกเปลี่ยนกับการแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งที่ดี
ชี้ “อีจ่อย-บุญเรือง” เอี่ยวตั้งตำรวจภาค 7
ส่วนในการแต่งตั้งเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างของสำนักงานตำรวจแห่งชาตินั้น ผู้ให้ถ้อยคำไม่แน่ใจว่า ผบช.ภ.7 ได้มอบให้ พล.ต.ต.ศักดิ์ชัย เป็นผู้ดำเนินการหรือไม่ แต่ทราบว่า มีคนมาวิ่งเต้นกับ พล.ต.ต.ศักดิ์ชัย นอกจากนี้ผู้ให้ถ้อยคำทราบว่า พล.ต.ท.บุญเรือง ผลพานิชย์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจในครั้งนี้ เนื่องจาก พล.ต.ท.บุญเรือง เป็นหัวหน้าสำนักงาน ผบ.ตร.ซึ่งผู้ให้ถ้อยคำเคยมาตามเรื่องการบรรจุผู้ให้ถ้อยคำกลับเข้ารับราชการตำรวจภายหลังจากที่ผู้ให้ถ้อยคำลาออกไปลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.
“พัชรวาท” ป้อง “บุญเรือง” โยน “สุวัฒน์” ดูคนเดียว
พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.ให้ถ้อยคำเมื่อวันที่ 21 ส.ค.2552 การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับรองผู้บังคับการลงมาในการปรับโครงสร้างใหม่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ นั้น ถือเป็นเหตุพิเศษตามที่ ก.ตร.กำหนด โดย ก.ตร.ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 6/2552 เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.2552 ให้ความเห็นชอบให้ผู้ให้ถ้อยคำในฐานะ ผบ.ตร.มีอำนาจแต่งตั้งตามมาตรา 56 แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 โดยร่วมกับจเรตำรวจแห่งชาติ และ รองผบ.ตร.ทุกท่านร่วมกันพิจารณาและให้ความเห็นชอบ และ ก.ตร.ได้อนุมัติให้ยกเว้นหลักเกณฑ์ตามกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2549 ในวาะแต่งตั้งประจำปี 2551 ผู้ให้ถ้อยคำได้มอบหมายให้ พล.ต.ท.สุวัฒน์ จันทร์อินธิกุล ทำหน้าที่ดำเนินการในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจเพียงคนเดียว ผู้ให้ถ้อยคำไม่ได้มอบหมายให้ พล.ต.ท.บุญเรือง ผลพานิชย์ ผู้ช่วย ผบ.ตร.เข้าไปดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในครั้งนี้แต่อย่างใด ในปี 2551 ผู้ให้ถ้อยคำมีอำนาจการแต่งตั้งเฉพาะตำแหน่งต่าง ๆ ที่สังกัดอยู่ในสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเท่านั้น ส่วนของกองบัญชาการต่าง ๆ ผู้ให้ถ้อยคำไม่มีอำนาจเข้าไปยุ่งเกี่ยว เนื่องจากเป็นอำนาจของผู้บัญชาการ แต่หากกองบัญชาการต่าง ๆมีความจำเป็นต้องขอยกเว้นคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ต่างๆ ตามกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการแต่งตั้ง ผู้ให้ถ้อยคำก็จะนำเสนอต่อ ก.ตร.เพื่อพิจารณาเป็นรายๆ ไป เท่านั้น ผู้ให้ถ้อยคำขอยืนยันว่า ไม่มีการซื้อขายตำแหน่งแต่อย่างใด
“บุญเรือง” แหลวิ่งเต้นซื้อตำแหน่งชั่วช้า
พล.ต.ท.บุญเรือง ผลพานิชย์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ถ้อยคำเมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2552 ว่า ผู้ให้ถ้อยคำไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับรองผู้บังคับการลงมาในการปรับโครงสร้างใหม่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่อย่างใด ผู้ให้ถ้อยคำทราบว่า การแต่งตั้งดังกล่าว ผบ.ตร.มอบหมายให้ พล.ต.ท.สุวัฒน์ จันทร์อิทธิกุล ผู้ช่วย ผบ.ตร.ซึ่งรับผิดชอบงานกำลังพล และผู้บังคับการกองกำลังพลเป็นผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบบัญชีแต่งตั้งเพื่อเสนอ ผบ.ตร.พิจารณา แต่ไม่ทราบว่า ขั้นตอนการแต่งตั้งดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนใด เนื่องจากไม่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ในปี 2551 ผู้ให้ถ้อยคำไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจแต่อย่างใด เรื่องการวิ่งเต้นซื้อขายตำแหน่งนั้น ผู้ให้ถ้อยคำเคยได้ยินมาช้านานและขอยืนยันว่าการกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งที่ชั่วช้าเลวทราม ผู้ให้ถ้อยคำและ ผบ.ตร.ได้เคยคุยกันจะไม่กระทำโดยเด็ดขาด
พบพยานหลักฐานวิ่งเต้นซื้อเก้าอี้
อนุกรรมการ ก.ตร.ได้พิจารณาคำให้การของผู้ให้ถ้อยคำทั้งหมดแล้ว เห็นว่า กรณีการจัดเตรียมบัญชี เพื่อแต่งตั้งข้าราชการตำรวจระดับ รอง ผบก.ลงมา เข้าสู่ตำแหน่งตามโครงสร้างใหม่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีขึ้นประมาณเดือนกันยายน 2552 นั้น ยังดำเนินการไม่เสร็จสิ้น และทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็เพียงให้แต่ละกองบัญชาการจัดทำเป็นบัญชีข้อมูลมิใช่บัญชีการแต่งตั้ง เนื่องจากการแต่งตั้งครั้งนี้ เป็นอำนาจของ ตร.โดยถือเป็นเหตุพิเศษตามมาตรา 56 แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ที่ ก.ตร.อนุมัติให้ไว้ ส่วนการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจระดับ รอง ผบก.ลงมาถึงระดับ สว.ในวาระแต่งตั้งประจำปี 2551 ของกองบัญชาการต่างๆ ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีพยานหลักฐานส่อไปในทางมิชอบ ซึ่งสรุปได้ดังนี้
ประเด็นที่ 1 มีการแทรกแซงอำนาจของผู้บัญชาการในการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับ รอง ผบก.ลงมาถึงระดับ สว.ของแต่ละกองบัญชาการในวาระการแต่งตั้งประจำปี 2551 หรือไม่
ประเด็นที่ 2 การแต่งตั้งโยกย้ายสับเปลี่ยนหมุนเวียนออกนอกหน่วยกองบัญชาการ หรือออกนอกกองบังคับการในระดับตำแหน่งเท่าเดิม โดยขอยกเว้นหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง นั้น ได้พิจารณาอย่างเป็นธรรม และเป็นไปตามเงื่อนไข ของหลักเกณฑ์การแต่งตั้งหรือไม่อย่างไร
ประเด็นที่ 3 การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับ รอง ผบก.ลงมาถึงระดับ สว.มีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริต หรือเป็นการแสวงประโยชน์โดยมิชอบหรือไม่
การตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ความว่า การพิจารณาแต่งตั้งให้ข้าราชการตำรวจ ระดับ รองผบก.ลงมา จะต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 มาตรา 54(3) และมาตรา 55(3) กล่าวคือให้เป็นอำนาจของผู้บัญชาการพิจารณาแต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจในกองบัญชาการนั้น (ถ้าเป็นหน่วยในสังกัด สำนักงานของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นอำนาจของ ผบ.ตร.) ส่วนกรณีการแต่งตั้งสับเปลี่ยนหมุนเวียนออกนอกกองบัญชาการ (ข้ามกองบัญชาการ) ให้ผู้บัญชาการหน่วยที่ส่งตัวออกและหน่วยที่รับตัวเข้าทำความตกลงกัน โดยให้ผู้บัญชาการหน่วยที่รับตัวเข้าเป็นผู้ออกคำสั่งแต่งตั้ง นอกจากนี้กระบวนการและวิธีการพิจารณาแต่งตั้ง จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎ ก.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับสารวัตร ถึง จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2549 อีกด้วย
แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่า ในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับรอง ผบก.ลงมา ถึงระดับ สว.วาระประจำปี 2551 ผู้บัญชาการซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจในวาระประจำปี 2551 คือ พล.ต.ท.สถาพร ดวงแก้ว รับผิดชอบพิจรรณาแต่งตั้งฯ ของตำรวจภูธรภาค 2 พล.ต.ท.รชต เย็นทรวง รับผิดชอบพิจารณาแต่งตั้งฯ ของตำรวจภูธรภาค 6 พล.ต.ท.เกรียงศักดิ์ สุริโย รับผิดชอบพิจารณาแต่งตั้ง ของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน พล.ต.ท.ฉลอง สนใจ รับผิดชอบพิจารณาแต่งตั้ง ของตำรวจภูธรภาค 1 พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว รับผิดชอบพิจารณาแต่งตั้ง ของกองบัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ท.บรรจง ตันศยานนท์ รับผิดชอบพิจารณาแต่งตั้ง ของจเรตำรวจ พล.ต.ท.กฤษฎา พันธุ์คงชื่น รับผิดชอบพิจารณาแต่งตั้งฯ ของตำรวจภูธรภาค 3 พล.ต.ท.ธีระเดช รอดโพธิ์ทอง รับผิดชอบพิจารณาแต่งตั้ง ของกองบัญชาการตำรวจสันติบาล พล.ต.ท.ถวิล สุรเชษฐพงษ์ รับผิดชอบพิจารณาแต่งตั้ง ของตำรวจภูธรภาค 7 ได้ให้ถ้อยคำในทำนองเดียวกันว่าทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยการประสานจาก พล.ต.ต.ชนาภัทร เชยสมบัติ ผู้บังคับการกองกำลังพล และหรือ พล.ต.ท.สุวัฒน์ จันทร์อินธิกุล ผู้ช่วย ผบ.ตร.ส่งบัญชีรายชื่อข้าราชการตำรวจ พร้อมระบุตำแหน่งที่ต้องการให้แต่งตั้งไปให้แต่ละกองบัญชาการพิจารณาแต่งตั้ง โดยบางกองบัญชาการการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจระดับ รอง ผบก.และ ผกก. นั้นทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่งบัญชีรายชื่อข้าราชการตำรวจไปให้พิจารณาแต่งตั้งเต็มตามจำนวนตำแหน่งที่ว่างทั้งหมด
ตั้งข้ามหัวอาวุโสโซ้ยตำแหน่งใหญ่
นอกจากนี้ ยังมีบัญชีรายชื่อข้าราชการตำรวจที่ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่งไปให้แต่งตั้งหมุนเวียนในระดับเดียวกันข้ามกองบัญชาการ เป็นเหตุให้ผู้บัญชาการหน่วยที่ส่งตัวออก เพื่อแต่งตั้งแลกตัวกัน โดยข้าราชการตำรวจที่ถูกย้ายออกมิได้สมัครใจ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแต่ครอบครัว และนอกจากนี้ยังพบว่า มีนโยบายจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติห้ามมิให้พิจารณาแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่ง รอง ผกก.(สส) เลื่อนดำรงตำแหน่งสูงขึ้นเป็น ผกก.ในการแต่งตั้งครั้งนี้ ทั้ง ๆ ที่ รอง ผกก.(สส) บางคนมีอาวุโสสูงที่อยู่ในข่ายควรได้รับการพิจารณา ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมและน่าจะขัดต่อความมุ่งหมายของกฎหมายที่ข้าราชการตำรวจทุกตำแหน่งน่าจะได้รับสิทธิในการเลื่อนตำแหน่งเท่าเทียมกัน ในประเด็นนี้ อนุกรรมการ ก.ตร.มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ เชื่อได้ว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติเข้าไปแทรกแซงอำนาจของผู้บัญชาการในการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับ รอง ผบก.ลงมา ถึงระดับ สว.ในวาระประจำปี 2551
ประเด็นที่ 2 การแต่งตั้งโยกย้ายสับเปลี่ยนหมุนเวียนออกนอกหน่วยกองบัญชาการหรือ ออกนอกกองบังคับการในระดับตำแหน่งเท่าเดิม โดยขอยกเว้นหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง นั้น ได้พิจารณาอย่างเป็นธรรมและเป็นไปตามเงื่อนไขของหลักเกณฑ์การแต่งตั้งหรือไม่อย่างไร
ประเด็นนี้ อนุกรรมการ ก.ตร.ได้ตรวจสอบหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง ตาม กฎ ก.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2549 ลักษณะที่ 2 บทที่ 2 หลักเกณฑ์การแต่งตั้งสับเปลี่ยนหมุนเวียนในตำแหน่งเท่าเดิม ข้อ 14 กำหนดไว้พอสรุปได้ว่าการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจสับเปลี่ยนหมุนเวียนในตำแหน่งเท่าเดิม ข้อ 14 กำหนดไว้พอสรุปได้ว่า การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจสับเปลี่ยนหมุนเวียนในระดับตำแหน่งเท่าเดิมตั้งแต่ระดับ รอง ผบก.ลงมา ถึง ระดับ สว.ให้กระทำเท่าที่จำเป็น เพื่อประโยชน์แก่ทางราชการอย่างยิ่ง โดยให้แสดงเหตุผลความจำเป็นในการแต่งตั้งเป็นลายลักษณ์อักษร และผู้นั้นจะต้องดำรงตำแหน่งสุดท้ายมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี เว้นแต่ เป็นการแต่งตั้งเลื่อนระดับชั้นของตำแหน่งเป็นกรณีมีเหตุผลความจำเป็นเพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ หรือข้าราชการตำรวจที่จะแต่งตั้งถูกลงโทษทางวินัย หรือถูกตั้งกรรมการวินัยอย่างร้ายแรง หรือมีเหตุผลความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ โดยได้รับความเห็นชอบจาก ผบ.ตร.ก่อน ซึ่งปรากฎข้อเท็จจริงว่าในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับ ผบก.ลงมา ถึง ระดับ สว.ในวาระแต่งตั้งประจำปี 2551 ผบ.ตร.อนุมัติให้แต่งตั้งสับเปลี่ยนหมุนเวียนข้าราชการตำรวจที่ดำรงตำแหน่งนั้นยังไม่ครบกำหนด 2 ปี ไปทั้งสิ้นรวม 2,912 คน โดยแยกเป็นอนุมัติเพื่อประโยชน์ทางราชการ 2,702 คน เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ 207 คน และอนุมัติให้ขยายเวลาดำรงตำแหน่ง 3 คน ซึ่งการอนุมัตินี้ ผบ.ตร.อนุมัติตามบัญชีที่แต่ละกองบัญชาการ หรือหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอมา
มติเอกฉันท์เด็ก “ป๊อด” เรียกรับประโยชน์
ประเด็นที่ 3 การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับ รอง ผบก.ลงมาถึงระดับ สว.มีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริต หรือเป็นการแสวงประโยชน์โดยมิชอบหรือไม่ ประเด็นนี้ไม่มีผู้ให้ถ้อยคำคนใดยืนยันว่า มีผู้ใดรับเงินหรือผลประโยชน์อื่นใดจากการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจ ระดับรอง ผบก.ลงมา ถึง ระดับ สว.ในวาระประจำปี 2551 แต่จากการที่มีการเข้าไปแทรกแซงการแต่งตั้งและการขอยกเว้นหลักเกณฑ์การแต่งตั้งตามที่ปรากฎรายละเอียดในประเด็นที่ 1 และประเด็นที่ 2 ประกอบกับมีกรณีให้ผู้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าไปมีส่วนจัดทำบัญชีแต่งตั้ง เช่น กรณีของตำรวจภูธรภาค 7 มีผู้ให้ถ้อยคำและคนยืนยันว่าทราบว่า พล.ต.ต.ศักดิ์ชัย ตันบุญเอก ผบก.ภ.จว.นครปฐม ซึ่งเป็นเพื่อน ผบช.ภ.7 และ ผบ.ตร.เป็นผู้จัดทำบัญชีแต่งตั้งของตำรวจภูธรภาค 7 หรือการย้ายสับเปลี่ยนหมุนเวียนข้าราชการตำรวจของตำรวจภูธรภาค 4 และตำรวจภูธรภาค 2 จากสถานีตำรวจที่มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจออกไปเกือบหมดนี้ อนุกรรมการ ก.ตร.ฯ มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าในประเด็นที่ 3 นี้น่าเชื่อว่าจะมีการทุจริต หรือแสวงหาประโยชน์จากการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
จากการพิจารณาพยานหลักฐานในประเด็นที่ 1 ประเด็นที่ 2 และประเด็นที่ 3 อนุกรรมการ ก.ตร.เสียงข้างมากได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องนี้กระทำในเวลาจำกัด การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับ รอง ผบก.ลงมาถึงระดับ สว.ในวาะประจำปี 2551 มีจำนวนมากเอกสารที่เกี่ยวข้องก็มีจำนวนมาก และที่สำคัญมีเกี่ยวข้องตั้งแต่ ระดับ ผบ.ตร.ลงมาจนถึง ผบช.ทุกหน่วยในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อีกทั้งอนุกรรมการ ก.ตร.ชุดนี้ไม่มีอำนาจเรียกบุคคลมาให้ปากคำหรือเรียกเอกสารจากบุคคลใดมาพิจารณาได้ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย จึงเห็นควรสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 84 และกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ. 2547
สอบวินัยร้ายแรง “พัชรวาท” จ่อเชือดอาญา
อนุกรรมการ ก.ตร.เสียงข้างน้อยจำนวน 1 เสียง เห็นว่าในประเด็นที่ 1 เรื่องการแทรกแซงการแต่งตั้งและประเด็นที่ 2 เรื่องการยกเว้นหลักเกณฑ์การแต่งตั้งเพื่อแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจนั้น
จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น เห็นว่า ผบ.ตร.เป็นผู้สั่งการให้มีการดำเนินการตามประเด็นที่ 1 และประเด็นที่ 2 เป็นเหตุให้ข้าราชการตำรวจและครอบครัวได้รับความเดือดร้อน อันอาจมีผลกระทบต่อขวัญกำลังใจ ในการปฏิบัติหน้าที่การกระทำดังกล่าวถึงแม้น่าเชื่อว่า มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ก็ตามแต่เพื่อความรอบคอบ จึงเห็นควรตั้งกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ผบ.ตร.หากการสอบสวนมีความชัดเจนในความผิดคดีอาญาดังกล่าว ก็ควรให้มีการดำเนินคดีอาญาไปตามอำนาจหน้าที่
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลผลสรุปทั้งหมดคณะอนุกรรมการ ก.ตร. ได้นำเสนอนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี รับทราบแล้ว แต่จนถึงขณะนี้ นายสุเทพ ยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ กับผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดเห็นควรตั้งกรรมการสอบวินัย แต่เหตุการณ์กลับส่อไปให้เห็นว่าเป็นการเตะถ่วงเวลา ยื้อเอาผิดกับผู้ที่กระทำการส่อไปในทางทุจริต
จากการให้โอวาทของ พล.ต.อ.พัชรวาท วันนี้ประชาชนส่วนใหญ่ เขายังสับสนว่า สรุปแล้ว อดีต ผบ.ตร.ท่านนี้เป็นตำรวจมือสะอาดตลอดชีวิตราชการทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตจริงหรือไม่
แต่สำหรับชีวิตจริงวันนี้ พล.ต.อ.พัชรวาท เขายังมีข้อกล่าวหาเรื่อง ซื้อขายตำแหน่งในการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ที่รอวันพิสูจน์ทราบว่า “เขาผิด หรือเขาถูกใส่ร้าย”
รายงานผลสอบดังกล่าว เป็นหนังสือลับมาก มีจำนวน 46 หน้า ลงวันที่ 9 กันยายน 2552 เรื่องตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณี นายศิริโชค โสภา ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเมื่อวันพุธที่ 12 สิงหาคม 2552 โดยอนุกรรมการ ก.ตร.ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2552 ซึ่งได้ทำการบันทึกปากคำของผู้ให้ถ้อยคำที่เกี่ยวข้อง รวม 37 ปาก และสรุปผลคำให้การของผู้ให้ถ้อยคำ ได้ดังนี้
“วีระยศ” แฉขั้นตอนเรียกรับ-จ่ายเงิน
พ.ต.ท.วีระยศ ชื่นกลิ่นธูปศิริ รอง ผกก.ปป.สภ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ให้ถ้อยคำเมื่อวันที่ 21 ส.ค.2552 โดยระบุว่า ผู้ให้ถ้อยคำเคยลาออกไปลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และก่อนที่ผู้ให้ถ้อยคำจะมาดำรงตำแหน่งปัจจุบัน ผู้ให้ถ้อยคำดำรงตำแหน่ง รอง ผกก.(ป) สภ.เมือง จ.นครปฐม ผู้ให้ถ้อยคำรับราชการในตำแหน่ง รอง ผกก.รวมเวลา 13 ปี แต่ไม่ได้รับการแต่งตั้งให้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ทั้งที่ผู้ให้ถ้อยคำมีอาวุโสอยู่ในลำดับที่ 3 ของตำรวจภูธรภาค 7 ผู้ให้ถ้อยคำจึงร้องทุกข์ต่อ อนุ ก.ตร.เกี่ยวกับการร้องทุกข์ เพื่อให้เยียวยาแก้ไขให้เป็นไปตามกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการแต่งตั้ง ซึ่งได้กำหนดให้พิจารณาจากข้าราชการตำรวจที่มีอาวุโสในลำดับต้นๆ ร้อยละ 25 ขณะนี้เรื่องร้องทุกข์ของผู้ให้ถ้อยคำยังอยู่ระหว่างการพิจารณา เมื่อประมาณ 2 เดือน ก่อนหน้านี้ ผู้ให้ถ้อยคำได้พูดคุยกับข้าราชการตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรภาค 7 ที่ห้องประชุม จ.เพชรบุรี และได้รับทราบข้อมูลจากเพื่อนข้าราชการตำรวจว่า การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในครั้งนี้มีการเรียกรับเงิน เพื่อแลกเปลี่ยนกับการแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งที่ดี
ชี้ “อีจ่อย-บุญเรือง” เอี่ยวตั้งตำรวจภาค 7
ส่วนในการแต่งตั้งเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างของสำนักงานตำรวจแห่งชาตินั้น ผู้ให้ถ้อยคำไม่แน่ใจว่า ผบช.ภ.7 ได้มอบให้ พล.ต.ต.ศักดิ์ชัย เป็นผู้ดำเนินการหรือไม่ แต่ทราบว่า มีคนมาวิ่งเต้นกับ พล.ต.ต.ศักดิ์ชัย นอกจากนี้ผู้ให้ถ้อยคำทราบว่า พล.ต.ท.บุญเรือง ผลพานิชย์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจในครั้งนี้ เนื่องจาก พล.ต.ท.บุญเรือง เป็นหัวหน้าสำนักงาน ผบ.ตร.ซึ่งผู้ให้ถ้อยคำเคยมาตามเรื่องการบรรจุผู้ให้ถ้อยคำกลับเข้ารับราชการตำรวจภายหลังจากที่ผู้ให้ถ้อยคำลาออกไปลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.
“พัชรวาท” ป้อง “บุญเรือง” โยน “สุวัฒน์” ดูคนเดียว
พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.ให้ถ้อยคำเมื่อวันที่ 21 ส.ค.2552 การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับรองผู้บังคับการลงมาในการปรับโครงสร้างใหม่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ นั้น ถือเป็นเหตุพิเศษตามที่ ก.ตร.กำหนด โดย ก.ตร.ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 6/2552 เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.2552 ให้ความเห็นชอบให้ผู้ให้ถ้อยคำในฐานะ ผบ.ตร.มีอำนาจแต่งตั้งตามมาตรา 56 แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 โดยร่วมกับจเรตำรวจแห่งชาติ และ รองผบ.ตร.ทุกท่านร่วมกันพิจารณาและให้ความเห็นชอบ และ ก.ตร.ได้อนุมัติให้ยกเว้นหลักเกณฑ์ตามกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2549 ในวาะแต่งตั้งประจำปี 2551 ผู้ให้ถ้อยคำได้มอบหมายให้ พล.ต.ท.สุวัฒน์ จันทร์อินธิกุล ทำหน้าที่ดำเนินการในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจเพียงคนเดียว ผู้ให้ถ้อยคำไม่ได้มอบหมายให้ พล.ต.ท.บุญเรือง ผลพานิชย์ ผู้ช่วย ผบ.ตร.เข้าไปดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในครั้งนี้แต่อย่างใด ในปี 2551 ผู้ให้ถ้อยคำมีอำนาจการแต่งตั้งเฉพาะตำแหน่งต่าง ๆ ที่สังกัดอยู่ในสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเท่านั้น ส่วนของกองบัญชาการต่าง ๆ ผู้ให้ถ้อยคำไม่มีอำนาจเข้าไปยุ่งเกี่ยว เนื่องจากเป็นอำนาจของผู้บัญชาการ แต่หากกองบัญชาการต่าง ๆมีความจำเป็นต้องขอยกเว้นคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ต่างๆ ตามกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการแต่งตั้ง ผู้ให้ถ้อยคำก็จะนำเสนอต่อ ก.ตร.เพื่อพิจารณาเป็นรายๆ ไป เท่านั้น ผู้ให้ถ้อยคำขอยืนยันว่า ไม่มีการซื้อขายตำแหน่งแต่อย่างใด
“บุญเรือง” แหลวิ่งเต้นซื้อตำแหน่งชั่วช้า
พล.ต.ท.บุญเรือง ผลพานิชย์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ถ้อยคำเมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2552 ว่า ผู้ให้ถ้อยคำไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับรองผู้บังคับการลงมาในการปรับโครงสร้างใหม่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่อย่างใด ผู้ให้ถ้อยคำทราบว่า การแต่งตั้งดังกล่าว ผบ.ตร.มอบหมายให้ พล.ต.ท.สุวัฒน์ จันทร์อิทธิกุล ผู้ช่วย ผบ.ตร.ซึ่งรับผิดชอบงานกำลังพล และผู้บังคับการกองกำลังพลเป็นผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบบัญชีแต่งตั้งเพื่อเสนอ ผบ.ตร.พิจารณา แต่ไม่ทราบว่า ขั้นตอนการแต่งตั้งดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนใด เนื่องจากไม่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ในปี 2551 ผู้ให้ถ้อยคำไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจแต่อย่างใด เรื่องการวิ่งเต้นซื้อขายตำแหน่งนั้น ผู้ให้ถ้อยคำเคยได้ยินมาช้านานและขอยืนยันว่าการกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งที่ชั่วช้าเลวทราม ผู้ให้ถ้อยคำและ ผบ.ตร.ได้เคยคุยกันจะไม่กระทำโดยเด็ดขาด
พบพยานหลักฐานวิ่งเต้นซื้อเก้าอี้
อนุกรรมการ ก.ตร.ได้พิจารณาคำให้การของผู้ให้ถ้อยคำทั้งหมดแล้ว เห็นว่า กรณีการจัดเตรียมบัญชี เพื่อแต่งตั้งข้าราชการตำรวจระดับ รอง ผบก.ลงมา เข้าสู่ตำแหน่งตามโครงสร้างใหม่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีขึ้นประมาณเดือนกันยายน 2552 นั้น ยังดำเนินการไม่เสร็จสิ้น และทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็เพียงให้แต่ละกองบัญชาการจัดทำเป็นบัญชีข้อมูลมิใช่บัญชีการแต่งตั้ง เนื่องจากการแต่งตั้งครั้งนี้ เป็นอำนาจของ ตร.โดยถือเป็นเหตุพิเศษตามมาตรา 56 แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ที่ ก.ตร.อนุมัติให้ไว้ ส่วนการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจระดับ รอง ผบก.ลงมาถึงระดับ สว.ในวาระแต่งตั้งประจำปี 2551 ของกองบัญชาการต่างๆ ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีพยานหลักฐานส่อไปในทางมิชอบ ซึ่งสรุปได้ดังนี้
ประเด็นที่ 1 มีการแทรกแซงอำนาจของผู้บัญชาการในการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับ รอง ผบก.ลงมาถึงระดับ สว.ของแต่ละกองบัญชาการในวาระการแต่งตั้งประจำปี 2551 หรือไม่
ประเด็นที่ 2 การแต่งตั้งโยกย้ายสับเปลี่ยนหมุนเวียนออกนอกหน่วยกองบัญชาการ หรือออกนอกกองบังคับการในระดับตำแหน่งเท่าเดิม โดยขอยกเว้นหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง นั้น ได้พิจารณาอย่างเป็นธรรม และเป็นไปตามเงื่อนไข ของหลักเกณฑ์การแต่งตั้งหรือไม่อย่างไร
ประเด็นที่ 3 การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับ รอง ผบก.ลงมาถึงระดับ สว.มีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริต หรือเป็นการแสวงประโยชน์โดยมิชอบหรือไม่
การตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ความว่า การพิจารณาแต่งตั้งให้ข้าราชการตำรวจ ระดับ รองผบก.ลงมา จะต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 มาตรา 54(3) และมาตรา 55(3) กล่าวคือให้เป็นอำนาจของผู้บัญชาการพิจารณาแต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจในกองบัญชาการนั้น (ถ้าเป็นหน่วยในสังกัด สำนักงานของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นอำนาจของ ผบ.ตร.) ส่วนกรณีการแต่งตั้งสับเปลี่ยนหมุนเวียนออกนอกกองบัญชาการ (ข้ามกองบัญชาการ) ให้ผู้บัญชาการหน่วยที่ส่งตัวออกและหน่วยที่รับตัวเข้าทำความตกลงกัน โดยให้ผู้บัญชาการหน่วยที่รับตัวเข้าเป็นผู้ออกคำสั่งแต่งตั้ง นอกจากนี้กระบวนการและวิธีการพิจารณาแต่งตั้ง จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎ ก.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับสารวัตร ถึง จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2549 อีกด้วย
แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่า ในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับรอง ผบก.ลงมา ถึงระดับ สว.วาระประจำปี 2551 ผู้บัญชาการซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจในวาระประจำปี 2551 คือ พล.ต.ท.สถาพร ดวงแก้ว รับผิดชอบพิจรรณาแต่งตั้งฯ ของตำรวจภูธรภาค 2 พล.ต.ท.รชต เย็นทรวง รับผิดชอบพิจารณาแต่งตั้งฯ ของตำรวจภูธรภาค 6 พล.ต.ท.เกรียงศักดิ์ สุริโย รับผิดชอบพิจารณาแต่งตั้ง ของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน พล.ต.ท.ฉลอง สนใจ รับผิดชอบพิจารณาแต่งตั้ง ของตำรวจภูธรภาค 1 พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว รับผิดชอบพิจารณาแต่งตั้ง ของกองบัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ท.บรรจง ตันศยานนท์ รับผิดชอบพิจารณาแต่งตั้ง ของจเรตำรวจ พล.ต.ท.กฤษฎา พันธุ์คงชื่น รับผิดชอบพิจารณาแต่งตั้งฯ ของตำรวจภูธรภาค 3 พล.ต.ท.ธีระเดช รอดโพธิ์ทอง รับผิดชอบพิจารณาแต่งตั้ง ของกองบัญชาการตำรวจสันติบาล พล.ต.ท.ถวิล สุรเชษฐพงษ์ รับผิดชอบพิจารณาแต่งตั้ง ของตำรวจภูธรภาค 7 ได้ให้ถ้อยคำในทำนองเดียวกันว่าทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยการประสานจาก พล.ต.ต.ชนาภัทร เชยสมบัติ ผู้บังคับการกองกำลังพล และหรือ พล.ต.ท.สุวัฒน์ จันทร์อินธิกุล ผู้ช่วย ผบ.ตร.ส่งบัญชีรายชื่อข้าราชการตำรวจ พร้อมระบุตำแหน่งที่ต้องการให้แต่งตั้งไปให้แต่ละกองบัญชาการพิจารณาแต่งตั้ง โดยบางกองบัญชาการการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจระดับ รอง ผบก.และ ผกก. นั้นทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่งบัญชีรายชื่อข้าราชการตำรวจไปให้พิจารณาแต่งตั้งเต็มตามจำนวนตำแหน่งที่ว่างทั้งหมด
ตั้งข้ามหัวอาวุโสโซ้ยตำแหน่งใหญ่
นอกจากนี้ ยังมีบัญชีรายชื่อข้าราชการตำรวจที่ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่งไปให้แต่งตั้งหมุนเวียนในระดับเดียวกันข้ามกองบัญชาการ เป็นเหตุให้ผู้บัญชาการหน่วยที่ส่งตัวออก เพื่อแต่งตั้งแลกตัวกัน โดยข้าราชการตำรวจที่ถูกย้ายออกมิได้สมัครใจ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแต่ครอบครัว และนอกจากนี้ยังพบว่า มีนโยบายจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติห้ามมิให้พิจารณาแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่ง รอง ผกก.(สส) เลื่อนดำรงตำแหน่งสูงขึ้นเป็น ผกก.ในการแต่งตั้งครั้งนี้ ทั้ง ๆ ที่ รอง ผกก.(สส) บางคนมีอาวุโสสูงที่อยู่ในข่ายควรได้รับการพิจารณา ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมและน่าจะขัดต่อความมุ่งหมายของกฎหมายที่ข้าราชการตำรวจทุกตำแหน่งน่าจะได้รับสิทธิในการเลื่อนตำแหน่งเท่าเทียมกัน ในประเด็นนี้ อนุกรรมการ ก.ตร.มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ เชื่อได้ว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติเข้าไปแทรกแซงอำนาจของผู้บัญชาการในการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับ รอง ผบก.ลงมา ถึงระดับ สว.ในวาระประจำปี 2551
ประเด็นที่ 2 การแต่งตั้งโยกย้ายสับเปลี่ยนหมุนเวียนออกนอกหน่วยกองบัญชาการหรือ ออกนอกกองบังคับการในระดับตำแหน่งเท่าเดิม โดยขอยกเว้นหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง นั้น ได้พิจารณาอย่างเป็นธรรมและเป็นไปตามเงื่อนไขของหลักเกณฑ์การแต่งตั้งหรือไม่อย่างไร
ประเด็นนี้ อนุกรรมการ ก.ตร.ได้ตรวจสอบหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง ตาม กฎ ก.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2549 ลักษณะที่ 2 บทที่ 2 หลักเกณฑ์การแต่งตั้งสับเปลี่ยนหมุนเวียนในตำแหน่งเท่าเดิม ข้อ 14 กำหนดไว้พอสรุปได้ว่าการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจสับเปลี่ยนหมุนเวียนในตำแหน่งเท่าเดิม ข้อ 14 กำหนดไว้พอสรุปได้ว่า การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจสับเปลี่ยนหมุนเวียนในระดับตำแหน่งเท่าเดิมตั้งแต่ระดับ รอง ผบก.ลงมา ถึง ระดับ สว.ให้กระทำเท่าที่จำเป็น เพื่อประโยชน์แก่ทางราชการอย่างยิ่ง โดยให้แสดงเหตุผลความจำเป็นในการแต่งตั้งเป็นลายลักษณ์อักษร และผู้นั้นจะต้องดำรงตำแหน่งสุดท้ายมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี เว้นแต่ เป็นการแต่งตั้งเลื่อนระดับชั้นของตำแหน่งเป็นกรณีมีเหตุผลความจำเป็นเพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ หรือข้าราชการตำรวจที่จะแต่งตั้งถูกลงโทษทางวินัย หรือถูกตั้งกรรมการวินัยอย่างร้ายแรง หรือมีเหตุผลความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ โดยได้รับความเห็นชอบจาก ผบ.ตร.ก่อน ซึ่งปรากฎข้อเท็จจริงว่าในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับ ผบก.ลงมา ถึง ระดับ สว.ในวาระแต่งตั้งประจำปี 2551 ผบ.ตร.อนุมัติให้แต่งตั้งสับเปลี่ยนหมุนเวียนข้าราชการตำรวจที่ดำรงตำแหน่งนั้นยังไม่ครบกำหนด 2 ปี ไปทั้งสิ้นรวม 2,912 คน โดยแยกเป็นอนุมัติเพื่อประโยชน์ทางราชการ 2,702 คน เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ 207 คน และอนุมัติให้ขยายเวลาดำรงตำแหน่ง 3 คน ซึ่งการอนุมัตินี้ ผบ.ตร.อนุมัติตามบัญชีที่แต่ละกองบัญชาการ หรือหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอมา
มติเอกฉันท์เด็ก “ป๊อด” เรียกรับประโยชน์
ประเด็นที่ 3 การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับ รอง ผบก.ลงมาถึงระดับ สว.มีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริต หรือเป็นการแสวงประโยชน์โดยมิชอบหรือไม่ ประเด็นนี้ไม่มีผู้ให้ถ้อยคำคนใดยืนยันว่า มีผู้ใดรับเงินหรือผลประโยชน์อื่นใดจากการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจ ระดับรอง ผบก.ลงมา ถึง ระดับ สว.ในวาระประจำปี 2551 แต่จากการที่มีการเข้าไปแทรกแซงการแต่งตั้งและการขอยกเว้นหลักเกณฑ์การแต่งตั้งตามที่ปรากฎรายละเอียดในประเด็นที่ 1 และประเด็นที่ 2 ประกอบกับมีกรณีให้ผู้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าไปมีส่วนจัดทำบัญชีแต่งตั้ง เช่น กรณีของตำรวจภูธรภาค 7 มีผู้ให้ถ้อยคำและคนยืนยันว่าทราบว่า พล.ต.ต.ศักดิ์ชัย ตันบุญเอก ผบก.ภ.จว.นครปฐม ซึ่งเป็นเพื่อน ผบช.ภ.7 และ ผบ.ตร.เป็นผู้จัดทำบัญชีแต่งตั้งของตำรวจภูธรภาค 7 หรือการย้ายสับเปลี่ยนหมุนเวียนข้าราชการตำรวจของตำรวจภูธรภาค 4 และตำรวจภูธรภาค 2 จากสถานีตำรวจที่มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจออกไปเกือบหมดนี้ อนุกรรมการ ก.ตร.ฯ มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าในประเด็นที่ 3 นี้น่าเชื่อว่าจะมีการทุจริต หรือแสวงหาประโยชน์จากการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
จากการพิจารณาพยานหลักฐานในประเด็นที่ 1 ประเด็นที่ 2 และประเด็นที่ 3 อนุกรรมการ ก.ตร.เสียงข้างมากได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องนี้กระทำในเวลาจำกัด การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับ รอง ผบก.ลงมาถึงระดับ สว.ในวาะประจำปี 2551 มีจำนวนมากเอกสารที่เกี่ยวข้องก็มีจำนวนมาก และที่สำคัญมีเกี่ยวข้องตั้งแต่ ระดับ ผบ.ตร.ลงมาจนถึง ผบช.ทุกหน่วยในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อีกทั้งอนุกรรมการ ก.ตร.ชุดนี้ไม่มีอำนาจเรียกบุคคลมาให้ปากคำหรือเรียกเอกสารจากบุคคลใดมาพิจารณาได้ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย จึงเห็นควรสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 84 และกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ. 2547
สอบวินัยร้ายแรง “พัชรวาท” จ่อเชือดอาญา
อนุกรรมการ ก.ตร.เสียงข้างน้อยจำนวน 1 เสียง เห็นว่าในประเด็นที่ 1 เรื่องการแทรกแซงการแต่งตั้งและประเด็นที่ 2 เรื่องการยกเว้นหลักเกณฑ์การแต่งตั้งเพื่อแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจนั้น
จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น เห็นว่า ผบ.ตร.เป็นผู้สั่งการให้มีการดำเนินการตามประเด็นที่ 1 และประเด็นที่ 2 เป็นเหตุให้ข้าราชการตำรวจและครอบครัวได้รับความเดือดร้อน อันอาจมีผลกระทบต่อขวัญกำลังใจ ในการปฏิบัติหน้าที่การกระทำดังกล่าวถึงแม้น่าเชื่อว่า มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ก็ตามแต่เพื่อความรอบคอบ จึงเห็นควรตั้งกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ผบ.ตร.หากการสอบสวนมีความชัดเจนในความผิดคดีอาญาดังกล่าว ก็ควรให้มีการดำเนินคดีอาญาไปตามอำนาจหน้าที่
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลผลสรุปทั้งหมดคณะอนุกรรมการ ก.ตร. ได้นำเสนอนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี รับทราบแล้ว แต่จนถึงขณะนี้ นายสุเทพ ยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ กับผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดเห็นควรตั้งกรรมการสอบวินัย แต่เหตุการณ์กลับส่อไปให้เห็นว่าเป็นการเตะถ่วงเวลา ยื้อเอาผิดกับผู้ที่กระทำการส่อไปในทางทุจริต