ย้อนกลับไปเมื่อ 13 ปีที่แล้ว คดีฆาตกรรมพญ.นิชรี มะกรสาร วิสัญญีแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตกเป็นข่าวคึกโครม โดยเมื่อวันที่ 25 ต.ค.2539 เวลาประมาณ 06.00 น. คนร้ายไม่ต่ำกว่า 3 คน ร่วมกันใช้อาวุธปืนสั้นออโตเมติกไม่มีทะเบียนขนาด 11 มม. ยิง พญ.นิชรี รวม 5 นัดจนถึงแก่ความตาย ขณะเดินทางไปทำงานยัง รพ.จุฬาฯ เหตุเกิดในพื้นที่ สน.ห้วยขวาง
หลังเกิดเหตุ พล.ต.ท.โสภณ วาราชนนท์ ผบช.น.ขณะนั้น สั่งระดมชุดสืบสวนมือดีร่วมกันคลี่คลายคดี จนกระทั่งพบว่าการสังหาร พญ.นิชรี มิได้เพิ่งเกิดขึ้น แต่กลุ่มคนร้ายได้มีการวางแผนและติดต่อผู้ลงมือสังหารมาตั้งแต่ต้นปี 2539 แล้ว โดยผู้จ้างวานได้ติดต่อจ้างวานให้ จ.ส.อ.เมตตา เต็มชำนาญ และนายมงคล หรือหมง นกทอง ลงมือสังหารเหยื่อ ทว่า ผู้ได้รับการติดต่อ ทั้ง 2 คนไม่ตกลงยินยอมเพื่อการฆาตกรรมดังกล่าว ซึ่งผู้จ้างวานได้ติดต่อทีมสังหารชุดใหม่ จนกระทั่ง พญ.นิชรี ถูกสังหารในวันที่ 25 ต.ค.2539 ทิ้งช่วงมาราว 10 เดือน
ขณะนั้น พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมมตำรวจ ได้สั่งการให้ชุดสืบสวนของ สน.ห้วยขวาง คือ พ.ต.ท.ไชยวัฒน์ อรัญวัฒน์ สว.สส.สน.ห้วยขวาง ให้ปประสาน พ.ต.ท.ประภาส ปิยะมงคล สว.สส.สน.โชคชัย ทำการสืบสวนหาตัวผู้กระทำผิด โดยมี พ.ต.อ.สุเมธ เรืองสวัสดิ์ ดำรงตำแหน่ง ผกก. สน.ห้วยขวาง และมี พ.ต.ท.ทรงธรรม อัลภาชน์ รอง ผกก.สส.สน.ห้วยขวาง ควบคุมดูแลคดี
การคลี่คลายนคดีดำเนินไปอย่างคืบหน้า และเมื่อได้พยานหลักฐานชัดเจน ตำรวจจึงจับกุมผู้ต้องหาได้รวม 5 คน ประกอบด้วย นายธนศักดิ์ ยิ้มดี หรือใหม่ นายสราวุธ ไชยสิงห์ หรือตั๊ก นายชัชพัฒน์ จิตตธนากร หรือเซ้ง (เสียชีวิตขณะพิจารณาคดี) นายวิเชียร จิตตธนากร หรือม้อน และนายสุขุม เชิดชื่น ซึ่งดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) อันเป็นวุฒิสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งชุดสุดท้ายในสมัยรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา ในขณะนั้น
การที่จะจับกุมนายสุขุม ซึ่งดำรงตำแหน่ง ส.ว.นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากมีเอกสิทธิ์คุ้มครอง และวุฒิสภายังไม่อนุญาตให้ตำรวจดำเนินคดีต่อนายสุขุมอีก เมื่อเวลาผ่านไปในที่สุด นายสุขุมก็สิ้นอิสรภาพ ถูกตำรวจควบคุมตัวมาดำเนินคดี โดยญาติพยายามใช้หลักทรัพย์เป็นวงเงินถึง 30 ล้านบาทในการขอประกันตัว แต่ตำรวจไม่อนุญาต ส.ว.สุขุม จึงต้องพักค้างแรมในห้องขัง สน.ห้วยขวางโดยปริยาย
พล.ต.ต.ทรงธรรม อัลภาชน์ ผบก.เชียงราย ย้อนรำลึกถึงการทำคดีในครั้งนั้นว่า ค่อนข้างยาก ไม่ใช่ยากในการติดตามจับกุมผู้ต้องหา แต่ยากเกี่ยวกับการติดตามหลักฐาน ข้อมูลที่เชื่อมโยงต่างๆ ไปจนถึงมูลเหตุการฆาตกรรม ซึ่งต้องยกให้ พ.ต.อ.ปรีชา ธิมามนตรี รอง ผบก.หน.ศส.บช.น. นักสืบรุ่นลายคราม เป็นผู้คลี่คลายคดีคนสำคัญ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังพบว่าเมื่อผู้ต้องหาสำคัญจะถูกจับกุมได้มีการวิ่งเต้นหาผู้หลักผู้ใหญ่เพื่อไม่ให้ตนเองได้ถูกจับกุม แต่ในที่สุดก็ไม่พ้นมือตำรวจ ในขณะเดียวกัน ตำรวจยังถูกกดดันจากหลายฝ่ายในการจับกุมผู้ต้องหา โดยเฉพาะจากฝ่ายผู้เกี่ยวข้องกับผู้ตาย ทั้งสมาคมวิสัญญีแพทย์ และสมาคมแพทย์ต่างๆ มากมาย แต่การคลี่คลายคดีก็เป็นไปได้ด้วยดี จนสามารถปิดสำนวนคดีส่งฟ้องศาลได้ในที่สุด
อะไรเป็นสาเหตุให้นายสุขุม เชิดชื่น ต้องจ้างวานฆ่า พญ.นิชรี มูลเหตุแค่ พญ.นิชรี ปลดนายสุขุมออกจากตำแหน่งผู้จัดการโรงเรียนโรจนเสรีอนุสรณ์ คงไม่ถึงกับทำให้นายสุขุมต้องจ้างวานฆ่า แต่น่าจะมีอะไรที่ลึกลับซับฐ้อนมากกว่านั้น คงต้องย้อนกลับไปดูตัวตนนายสุขุมที่ “ผู้จัดการรายสัปดาห์” ได้เคยนำเสนอไปเมื่อหลายปีก่อน
“สุขุม เชิดชื่น” ชื่อที่ดังคับฟ้าเมืองไทยหลังตกเป็นผู้ต้องสงสัยของตำรวจว่าเป็นจอมบงการจ้างวานฆ่า แพทย์หญิงนิชรี มะกรสาร สังคมไทยสนใจในตัวเขามากขึ้นเป็นลำดับจากท่ามกลางข่าวหลายกระแสที่ ออกมาสร้างความสับสนพอสมควร
1.ดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิกชื่อดัง สายพรรคการเมืองของนายกรัฐมนตรี (นายบรรหาร ศิลปอาชา)
2.เป็นนักธุรกิจระดับกลางชื่อดังในวงการร้านอาหาร ร้าน(ลูก)นายแกละ และโครงการพัฒนาที่ดิน
3.เป็นหนุ่มรูปงามพราวเสนห์ เป็นที่สนใจของวงการสาวสังคมชั้นสูง
ที่สำคัญร่ำลือกันว่า ผู้ชายคนนี้ผันตัวเองขึ้นมามีฐานะร่ำรวยได้โดยการมีสัมพันธ์กับ 2 แม่-ลูก สาวใหญ่ไฮโซ และส่งเสริมให้เขาได้ดีมาจนถึงทุกวันนี้ แท้จริงแล้วก่อนเหตุการณ์ฆาตกรรมแพทย์หญิงจะเกิดขึ้นนั้น มีคนรู้จักสุขุมไม่มากนัก และยิ่งน้อยลงไปอีกเมื่อเขาตกเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีดังกล่าวเขาเป็นใคร มีวิถีชีวิตความเป็นมาอย่างไร เส้นทางธุรกิจและสัมพันธ์สวาทที่อื้อฉาวเป็นจริงหรือไม่....
ปูมชีวิตอันสับสน
กล่าวกันว่า ปูมประวัติชีวิตของสุขุม เชิดชื่น ในช่วงวัยเด็กจนถึงก่อนเข้าสู่วัยทำงานนั้นค่อนข้างมีประวัติเลือนลางและสับสน มีที่มาจากหลายแหล่ง โดยไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจน ไม่มีคำยืนยันคำบอกเล่าจากนามบุคคลที่น่าเชื่อถือ แม้กระทั่งคนคุ้นเคยที่รู้จักเขามานานร่วม 20 ปีก็ยังปฏิเสธที่จะบอกเล่าเรื่องราวในส่วนนี้ เพราะไม่รู้ถึงที่มาแต่อย่างไร บางกระแสลือกันว่าเขาเป็นจิ๊กโก๋หรือเด็กเลวที่เติบโตมาจากการเป็นเด็กขายหนังสือพิมพ์ข้างถนนตรอกจันท์ มีแหล่งกำเนิดในครอบครัวไหหลำที่ตั้งรกรากย่านซอยเจริญกรุง 85 หลังจากนั้นไปทำงานบริษัทชิปปิ้ง ก่อนไปขุดทองภาคใต้ในสมัยเหมืองแร่ เฟื่องฟูจนมีเงินทุนกลับมาเปิดบริษัทขนส่งในกรุงเทพฯ กระแสข่าวปีกนี้ระบุว่า เงินทุนหลายล้านบาทที่เขานำกลับมาเป็นเงินที่ได้มาอย่าง ผิดสังเกต จากคนงานกว่า 2,800 คน!!! จริงหรือเท็จก็อาจเป็นเพียงคำกล่าวที่ซ้ำเติมเขาเท่านั้น
อีกกระแสหนึ่งค่อนข้างสับสนในประวัติการศึกษา โดยกล่าวในท่วงทำนองเดียวกันในช่วงต้นว่า เขาเป็นคนจังหวัดสมุทรสงคราม มีพ่อทำธุรกิจโรงเลื่อยและเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ แต่ประเด็นที่ขัดแย้งกัน คือ หลังจากนั้นเขาไปศึกษาต่อต่างประเทศจบปริญญาตรี จากสิงคโปร์ ขณะที่บางแหล่งบอกว่าเขาจบจากฮ่องกง และบางแหล่งบอกว่าเขาจบปริญญาโทจากสหรัฐอเมริกา?
อย่างไรก็ตาม ครั้งหนึ่งสุขุมเคยกล่าวถึงชีวิตช่วงนี้กับผู้ร่วมงานในบริษัทเล็กๆ ที่เขาเลิกกิจการไปแล้วว่า พื้นเพเดิมเขาเป็นคนสมุทรสงคราม เป็นลูกชายคนเดียวของบ้าน พ่อเป็นคนจีนมีอาชีพทำสวนมะนาว ตอนเด็กๆ เขาไม่ได้สบายต้องใช้ชีวิตอย่างลำบาก วิ่งเก็บมะนาวในสวนส่งตลาด ต่อมาบิดาขยับขยายอาชีพไปทำโรงเลื่อย และตัวเขาเองหลังจากจบการศึกษาในเมืองไทยแล้ว ทางครอบครัวส่งไปเรียนต่างประเทศ จนจบการศึกษาระดับปริญญาโทจากประเทศสหรัฐอเมริกา
หลังจากจบการศึกษา โชติ เชิดชื่น ผู้เป็นพ่อให้เขาออกไปเก็บประสบการณ์ในการทำงานนอกบริษัทก่อนด้วยการเข้าทำงานเกี่ยวกับชิปปิ้งที่ท่าเรือคลองเตย เป็นคำบอกเล่าสั้นๆ ที่ออกจากปากสุขุมเอง แต่ก็ไม่มีหลักฐานใดยืนยันคำพูดของเขามากนัก โดยเฉพาะเอกสารการศึกษาในเมืองไทยปรากฏเด่นชัด หรือกระทั่งพื้นเพบ้านเกิดของเขาอยู่แห่งไหนกันแน่
“ผมไม่รู้จักตระกูลเชิดชื่น ไม่รู้จริงๆ อาจจะเคยอยู่ในจังหวัดนี้แล้ว ผมไม่รู้ก็เป็นไปได้” วิโรจน์ ณ บางช้าง อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดสมุทรสงคราม ผู้มีพื้นเพอยู่ในจังหวัดนี้กล่าวเป็นเสียงเดียวกับข้าราชการ, นักหนังสือพิมพ์ และนักธุรกิจเก่าแก่ของจังหวัดนี้หลายท่านว่า พวกเขาไม่รู้จัก ทั้งสุขม และโชติ เชิดชื่น ขณะที่กลุ่มนักธุรกิจโรงเลื่อยไม้เก่าแก่ซึ่งตามคำบอกเล่าของสุขุมว่า พ่อเขาทำธุรกิจโรงเลื่อยไม้ของจังหวัดสมุทรสงครามก็ไม่สามารถให้ความกระจ่างต่อเรื่องนี้ได้ โรงเลื่อยไม้ของจังหวัดสมุทรสงคามมีหลายโรงแต่ที่จัดว่าเก่าแก่และทำมานานจัดว่ามีเพียง 3 ราย คือ 1.โรงเลื่อยไม้เพ็ชรรัตน์ 2.โชติกพาณิชย์ และ 3.แสงวาณิชย์ 2 ใน 3 คือ โรงเลื่อยไม้เพ็ชรรัตน์ และโรงเลื่อยไม้โชติกพาณิชย์ กล่าวใน
ท่วงทำนองเดียวกันว่า ในช่วงเวลา 30-40 ปี พวกเขาไม่เคยรู้จักคนทำไม้ชื่อ โชติ เชิดชื่น ขณะที่ทางด้านโรงเลื่อยไม้แสงวาณิชย์ซึ่งจัดว่าเป็นโรงเลื่อยไม้เก่าแก่และเป็นที่ชุมนุมของคนทำไม้ชาวจีน โดยภรรยาของสมชาย แสงวาณิชย์ เจ้าของกิจการกล่าวว่า ไม่เคยได้ยินชื่อโชติ เชิดชื่น หรือตระกูลเชิดชื่นอย่างแน่นอน แต่ให้ข้อสังเกตว่ามีความเป็นไปได้ว่าตระกูล เชิดชื่น อาจเคยอยู่ที่ อ.อัมพวา หรือ อ.บางคนที เพราะสองอำเภอนี้เมื่อ 30 ปีที่แล้ว เคยนิยมปลูกสวนมะนาว และมีโรงเรื่อยไม้ชื่อพนาชัย ตั้งอยู่โดยมีหุ้นส่วนชาวจีนจำนวนมากเข้ามาถือหุ้น แต่เจ้าของกิจการไม่เคยมีชื่อโชติ และต่อมาได้ขายตกทอดให้กับผู้อื่น จนล่าสุดได้ขายให้กับคนกรุงเทพฯ และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเลื่อยไม้บางคนที ซึ่งใกล้เคียงกับรายละเอียดตามที่สุขุมเคยกล่าวไว้มากที่สุด
ความไม่ชัดเจนของประวัติแหล่งที่มาของ “สุขุม เชิดชื่น” ยังคงสับสนจับต้นจนปลายไม่ถูก ขณะที่ผู้ใกล้ชิดสุขุมให้ข้อสังเกตถึงชีวประวัติของบุคคลนี้ว่า อาจมีปัญหาเรื่องประวัติการศึกษา ทำให้เขาต้องโลโปรไฟล์ชีวิตประวัติในช่วงที่กำลังศึกษาอยู่ในเมืองไทยทำให้ไม่มีใครรู้เรื่องส่วนตัวของเขาอย่างชัดเจน ความสับสนในประวัติส่วนตัวของสุขุมยังมีอีกหลายประการ คือ ผู้ใกล้ชิดระบุว่าสุขุมไม่ใช่ลูกคนเดียว แต่เขามีพี่น้อง 3 คน โดยเขาเป็นลูกชายคนโตและมีน้องสาวอีก 2 คน
อย่างไรก็ตาม สำหรับประวัติตามบันทึกที่เขาเสนอต่อรัฐสภาในการอ้างเกียรติประวัติในการรับตำแหน่งวุฒิสมาชิก ซึ่งเป็นหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของเขาเพียงชิ้นเดียวได้บันทึกไว้ว่า สำหรับประวัติของ สุขุม เชิดชื่น ตามที่แจ้งไว้ในทำเนียบวุฒิสภาระบุว่า เกิดวันที่ 16 พฤษภาคม 2497 จบปริญญาตรีสาขาบริหารธุรกิจ จากประเทศสิงคโปร์ มีอาชีพเป็นนักธุรกิจ มีตำแหน่งเป็นประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ขนส่งสินค้าแห่งประเทศไทย ที่สภาผู้ขนส่งสินค้าแห่งประเทศไทย ประสบการณ์เคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีสำนักนายกรัฐมนตรี ปี 2538 และงานอดิเรก คือ เล่นกอล์ฟ และแบดมินตัน แต่ที่น่าแปลก คือ ชื่อสภาองค์การนายจ้างผู้ขนส่งสินค้าแห่งประเทศไทย ที่เขาอ้างว่าเป็นประธานนั้น เท่าที่ ผู้จัดการรายสัปดาห์ ตรวจสอบจากผู้ประกอบการรายใหญ่ทั้งทางน้ำและบนบก ไม่มีใครรู้จักองค์กรนี้!
ไต่บันไดสาวไฮโซ
ภาพของสุขุมปรากฏชัดเจนมากที่สุดในช่วงเข้ามาทำงานบริษัทชิปปิ้ง ก่อนผันตัวเองไปมีความสัมพันธ์กับสองแม่-ลูกเศรษฐินีไฮโซ เจ้าของโรงงานผลิตถุงมือยาง และได้ส่งเสริมให้เข้าก้าวกระโดดขยายเครือข่ายธุรกิจออกไปอย่างมากในระยะ 10 ปีหลัง จากนั้นข้อต่อทางธุรกิจในส่วนนี้มีความชัดเจนหรือสับสนอย่างไร
“กรรณิกา อมตวณิชย์” อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคความหวังใหม่ ผู้ซึ่งมีมารดาชื่อ “สุวลัย อมตวณิชย์” อดีตเคยทำกิจการโรงงานผลิตถุงมือยาง และปัจจุบันมีสถานะเป็นแม่บุญธรรมของสุขุม เปิดเผยกับผู้จัดการรายสัปดาห์ ถึงเส้นทางดำเนินธุรกิจของสุขุมกับครอบครัวอมตวาณิชย์ว่า เริ่มขึ้นเมื่อประมาณปี 2520 โดยบริษัท ซีเคชิปปิ้ง อันเป็นบริษัทของโชติ เชิดชื่นซึ่งมีสุขุมเป็นผู้ดำเนินการ ได้เข้ามาทำธุรกิจส่งสินค้าให้กับโรงงานผลิตถุงมือยางของกลุ่มอมตวณิชย์ โดยทำหน้าที่จัดการออกสินค้าที่การท่าเรือเพื่อส่งออกไปยังประเทศเยอรมนี และอังกฤษ หลังจากนั้นไม่นานนักกลุ่มตระกูลเชิดชื่นกับอมตวณิชย์จึงได้ร่วมทุนกันทำธุรกิจโรงงานผลิตถุงมือยางโดยมีสัดส่วนการถือหุ้นฝ่ายละ 50% แต่หลังจากกิจการดำเนินงานไปได้ประมาณ 1 ปี กลุ่มอมตวณิชย์ได้ถอนหุ้นออกคงเหลือแต่กลุ่มเชิดชื่น
กรรณิกากล่าวว่า หลังจากนั้นจึงได้มีการร่วมทุนทำธุรกิจอีกหลายอย่างเช่นร้านอาหารนายแกละโดยคงสัดส่วนฝ่ายละ 50% เช่นเดิม นอกจากนี้ยังได้มีการร่วมทุนกันดำเนินกิจการโรงเรียนโรจน์เสรีอนุสรณ์ โดยแบ่งเป็นผู้ถือหุ้น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มฉลวย-พญ.นิชรี มะกรสาร 2.กลุ่มสุวลัย-สุขุม และ 3.กลุ่มปิฏฑะ-แสงทอง นอกจากนี้ยังมีธุรกิจอื่นที่เธออาจไม่รู้เพราะไปอยู่ต่างประเทศหลายปี แต่เธอปฏิเสธข่าวความสัมพันธ์ระหว่างสุขุมกับเธอ และกับแม่ของเธอ โดยยืนยันว่าสองตระกูลนี้มีความสัมพันธ์กันสองอย่าง คือ 1.ทำธุรกิจร่วมกัน และ 2.สุขุมนับถือแม่ของเธอเป็นแม่บุญธรรมเพราะทำธุรกิจกันมานาน ให้ความเคารพซื่อสัตย์ต่อกันสม่ำเสมอ ไม่มีเป็นอย่างอื่นตามที่เป็นข่าว
เติบโตอย่างก้าวกระโดด
ในเส้นทางธูรกิจ จากธุรกิจแรกๆ คือ ธุรกิจผลิตถุงมือยาง ในนามบริษัท พาราวู้ด จำกัด การลงทุนเริ่มแรกได้ร่วมหุ้นกับ สุวลัย อมวณิชย์ เจ้าของกิจการลงทุนหลายอย่าง แต่เนื่องจากกิจการไม่ประสบผลนัก ผู้ถือรายอื่นได้ขายหุ้นให้กับสุขุมไปดำเนินการต่อว่ากันว่า สุขุมเติบโตในธุรกิจอย่างมากในยุคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เฟื่องฟู โดยเครือข่ายธุรกิจในมือ สุขุม เชิดชื่น ที่เข้าไปลงทุนหลายธุรกิจประกอบด้วย ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ โครงการชะอำ รอยัล บีช โครงการพัฒนาที่ดินที่จังหวัดเพชรบุรี โดยเข้าร่วมหุ้นลงทุนกับ รศ.ฉลวย มะกรสาร แม่ของ พญ.นิชรี มะกรสาร โครงการรัชดา รอยัล ปาร์ค (สุขุม เชิดชื่นทาวเวอร์) เป็นอาคารสำนักงานสูง 15 ชั้น เป็นอาคารสำนักงาน ซึ่งทั้ง 2 โครงการยังไม่เสร็จเรียบร้อย บริษัท สุขุม จำกัด ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นที่ปรึกษาและรับวางแผนงานให้กับธุรกิจเรียลเอสเตท การเป็นนายหน้าซื้อขายบ้าน-ที่ดินธุรกิจขายรถยนต์ และให้บริการสินเชื่อลิสซิ่ง ได้แก่ บริษัท ออโต้บาห์น จำกัด ทำกิจการค้าขายรถยนต์โดยนำเข้ารถระดับหรูอย่างจากัวร์ เดมเลอร์ เบนซ์ มาจำหน่ายให้นักธุรกิจ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ 2530 มีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ในส่วนของการบริการสินเชื่อลิสซิ่งแก่ธุรกิจรถจักรยานยนต์และรถยนต์ ใช้บริษัท มิลเลี่ยน กรุ๊ป จำกัด เข้าดำเนินการ ซึ่งบริษัทนี้ยังเข้าไปถือหุ้นในโครงการชะอำ รอยัล บีชด้วย
ธุรกิจร้านอาหาร ร้านครัวอัปสร ซึ่งตั้งอยู่บริเวณถนนสุขุมวิท คือการเริ่มในกิจการประเภทนี้ ต่อมาได้เปิดร้านอาหาร นายแกละ ขึ้นที่ถนนรัชดาฯ โดยดึงเจ้าของร้านนายแกละเข้ามาเปิดดำเนินการก่อนที่จะโอนมาทำเองทั้งหมดในชื่อร้านลูกนายแกละ
ธุรกิจนำเข้าและส่งออก บริษัท ซี.เค.รอยัล จำกัด ให้บริการด้านนำเข้าและส่งออกสินค้าหรือชิปปิ้งกับผู้ประกอบการ โรงเรียนโรจน์เสรีอนุสรณ์ ซึ่งเป็นการเข้าลงทุนร่วมกับ รศ.ฉลวย มะกรสาร นอกจากนี้ยังมีกิจการด้านหนังสือพิมพ์ที่เพิ่งจะล้มเลิกไปเนื่องจากไม่ประสบผลสำเร็จคือ หนังสือพิมพ์มหาราษฎร์ โดยใช้เงินไปประมาณ 10 ล้านบาท หนังสือพิมพ์ฉบับนี้มี ปรีชา สามัคคีธรรม อดีตนักข่าว และนายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย เป็นบรรณาธิการ ซึ่งเป็นช่วงปลายของชีวิตเขา ก่อนจะเสียชีวิตเมื่อไม่นานมานี้ และโครงการบริการขนส่งทางน้ำ โดยใช้เรือเฟอร์รี่รับส่งผู้โดยสารจากชะอำไปบางแสน แต่จนถึงขณะนี้โครงการดังกล่าวก็ไม่มีรูปธรรมชัดเจน
ภาพลักษณ์และเส้นทางการเมือง
การก้าวขึ้นมาสู่นักธุรกิจระดับพันล้านของ สุขุม เชิดชื่น จากพื้นฐานของครอบครัวที่ไม่ได้ร่ำรวยนัก จนสู่เส้นทางความสำเร็จถือว่าเป็นคนที่มีความสามารถในการบริหารคนหนึ่งหากดูจากการขยายเครือข่ายธุรกิจออกไป พนักงานผู้ใกล้ชิดกับสขุมเล่าให้ ผู้จัดการรายสัปดาห์ ฟังว่า การทำงานของเขาจะเป็นลักษณะ ONE MAN SHOW ตัดสินใจทุกอย่างด้วยความั่นใจของตนเอง ออกจะเป็นคนที่ใจร้อนและชอบให้คนอื่นทำตามคำสั่ง ภาพโดยรวมการบริหารงานมีความสามารถระดับหนึ่ง โดยมีวาทศิลป์ในการโน้มน้าวเป็นตัวนำ ลักษณะนิสัยของสุขุมเขาเป็นคนที่มีความทะเยอทะยาน รวยด้วยน้ำใจ และพร้อมที่จ่ายหากเรื่องดังกล่าวนำมาซึ่งเป้าหมายที่เขาต้องการ ชอบให้ลูกน้องเอาใจ การใช้จ่ายเงินค่อนข้างมือเติบ โดยบุคลิกมีความเป็นเพลย์บอยอยู่ในตัว ว่ากันว่าครั้งหนึ่งเคยให้รางวัลนักร้องห้องอาหารเป็นพวงมาลัยคนเดียวถึง 3 แสนบาท และชอบนั่งรถโรลส์รอยซ์ที่มีหมายเลขทะเบียน 1111
ความใฝ่ฝันในความทะเยอทะยานของเขาคือ บทบาททางการเมือง เขาได้กำหนดเส้นทางชีวิตที่จะมุ่งไปสู่เส้นทางดังกล่าวให้ได้ การสร้างฐานเริ่มต้นการเข้าไปคลุกคลีกับวงไฮโซ และกลุ่มการเมือง ซึ่งการทำหนังสือพิมพ์มหาราษฎร์คือเป้าหมายหนึ่งในการปูฐานไปสู่งานการเมือง ตามแผนที่วางไว้ให้กับชีวิต ระยะหลังมีการเดินทางขึ้นล่องภาคอีสานบ่อยครั้ง เพื่อปูทางสู่สนามการเลือกตั้งงานทางด้านกีฬาเป็นอีกส่วนหนึ่งที่เขาเข้าไปสร้างฐาน คือการทุ่มเงินกว่า 10 ล้านบาท สร้างที่ทำการสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาให้ฟรี ปัจจุบัน เสธ.ม่อย ก็ตกเป็นข่าวอื้อฉาวในคดีที่เชียงใหม่
นอกจากนี้ สุขุมยังเป็นผู้หนึ่งที่เข้าไปคลุกคลีกับวงการประกวดนางงาม เคยเป็นสปอนเซอร์ส่ง น้องอ้วน หรือ อารีวรรณ จตุทอง จนได้ตำแหน่งรองนางสาวไทยในปี 2537 ซึ่งต่อมาเมื่อน้องอ้วนไปแต่งงาน เธอก็มีปัญหาข่าวอื้อฉาวบนหน้าหนังสือพิมพ์หน้าหนึ่ง
13 ปีถัดมา ณ วันที่ 26 มิ.ย.2552 คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ระบุว่า ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือแล้วเห็นว่า โจทก์มีพยานซึ่งจำเลยที่ 4 ชักชวนมาทำหน้าที่ดูต้นทางให้จำเลยที่ 1 และ 2 ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย ซึ่งแม้จะเป็นผู้ร่วมกระทำผิดด้วย แต่ไม่ถูกดำเนินคดี ดังนั้น ศาลจำต้องรับฟังคำเบิกความพยานปากนี้ด้วยความระมัดระวัง เห็นว่าพยานโจทก์ปากดังกล่าวเบิกความถึงรายละเอียดตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2547 ที่ชักชวนให้ไปดูบ้านผู้ตาย โดยมีจำเลยที่ 1 และ 2 ติดตามไปด้วยแต่ไม่พบรถผู้ตาย จึงนัดหมายลงมืออีกครั้ง เวลา 05.00 น. วันที่ 25 ตุลาคม 2547 ซึ่งพบรถยนต์ผู้ตายอยู่ในบ้าน จำเลยที่ 1 จึงลงมือยิง แล้ว จำเลยที่ 2 ขับรถหลบหนี ซึ่งแม้พยานไม่ได้ยื่นยันว่าจำเลยที่ 1, 2 และ 4 เป็นคนยิงผู้ตาย แต่ระหว่างยืนดูต้นทางที่บริเวณปากซอยทวีมิตร 9 ได้ยินเสียงปืนดังขึ้นติดต่อกัน 4 นัด และต่อมาได้ยินอีก 1 นัด ซึ่งคำเบิกความดังกล่าวสอดคล้องกับคำรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1, 2 และ 4 ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงมือยิงผู้ตาย มีจำเลยที่ 2 ขับรถหลบหนี อีกทั้งจำเลยยังพาไปชี้จุดเกิดเหตุ ไปขอขมาภาพผู้ตายต่อหน้านายตำรวจชั้นผู้ใหญ่และสื่อมวลชน แม้ภายหลังจำเลยที่ 1, 2 และ 4 จะกลับคำให้การภายหลัง อ้างว่าถูกทำร้ายร่างกายบังคับให้รับสารภาพนั้น จากผลตรวจร่างกายไม่พบว่ามีบาดแผลถูกทำร้ายแต่อย่างใด แต่เชื่อว่าคำให้การในชั้นสอบสวนที่ให้การหลังเกิดเหตุทันทีเป็นจริงยิ่งกว่า รับฟังได้อย่างปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยที่ 1, 2 และ 4 กระทำผิดตามฟ้องจริง ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยฐานฆ่าผู้อื่นตามมาตรา 289 (4) ป.อาญา นั้นชอบแล้ว อุทธรณ์ที่ 1, 2 และ 4 ฟังไม่ขึ้น
ส่วนจำเลยที่ 5 กระทำผิดฐานเป็นผู้จ้างวานฆ่าหรือไม่นั้น โจทก์มีพนักงานสอบสวนชั้นผู้ใหญ่เบิกความสอดคล้องต้องกัน ว่าหลังเกิดเหตุได้สอบปากคำครอบครัวของผู้ตายให้การถึงเรื่องที่จำเลยที่ 5 มีความขัดแย้งทางธุรกิจกับนางฉลวย และผู้ตายกำลังตรวจสอบเรื่องการซื้อขายที่ดิน อ.แก่งกระจาย จ.เพชรบุรี มูลค่าหลายร้อยล้าน จนมีเรื่องฟ้องร้องในคดีแพ่งหลายคดี ประกอบกับได้ความจาก จ.ส.อ.เมตตา หรือกรุณา เต็มชำนาญ คนสนิทจำเลยที่ 5 และนายมงคล หรือหมง นกทอง ที่จำเลยที่ 5 เคยติดต่อว่าจ้างให้ฆ่าผู้ตายครั้งแรก เบิกความ ยืนยันว่า จำเลยที่ 5 เคยใช้จ้างวานให้ไปฆ่าผู้ตายภายในงานเลี้ยงครบรอบ 50 ปี โรงเรียนโรจนเสรีอนุสรณ์ ที่โรงแรมเอเชีย แต่ไม่นายมงคลไม่ได้ลงมือ ขณะที่ก่อนเกิดเหตุผู้ตายเคยพูดกับเพื่อนร่วมงานว่าหากเป็นอะไรไป เชื่อว่าน่าจะเกิดจากฝีมือของจำเลยที่ 5 ซึ่งก่อนเกิดเหตุผู้ตายไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นขึ้นรถของผู้ตาย จึงเชื่อว่าการที่ครอบครัวผู้ตายมีเรื่องฟ้องร้องกับจำเลยที่ 5 ดังกล่าวน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่ง แสดงให้เห็นว่าจะกระทบต่อประโยชน์ชื่อเสียงและสถานะทางสังคมของจำเลยที่ 5 จึงเกิดความขุ่นเคืองและว่าจ้างให้จำเลยที่ 1, 2 และ 4 ฆ่าผู้ตาย การกระทำของจำเลยที่ 5 จึงเปรียบเสมือนเป็นตัวการกระทำผิด พิพากษาให้ประหารชีวิตจำเลยที่ 5 สถานเดียว
หลังเกิดเหตุ พล.ต.ท.โสภณ วาราชนนท์ ผบช.น.ขณะนั้น สั่งระดมชุดสืบสวนมือดีร่วมกันคลี่คลายคดี จนกระทั่งพบว่าการสังหาร พญ.นิชรี มิได้เพิ่งเกิดขึ้น แต่กลุ่มคนร้ายได้มีการวางแผนและติดต่อผู้ลงมือสังหารมาตั้งแต่ต้นปี 2539 แล้ว โดยผู้จ้างวานได้ติดต่อจ้างวานให้ จ.ส.อ.เมตตา เต็มชำนาญ และนายมงคล หรือหมง นกทอง ลงมือสังหารเหยื่อ ทว่า ผู้ได้รับการติดต่อ ทั้ง 2 คนไม่ตกลงยินยอมเพื่อการฆาตกรรมดังกล่าว ซึ่งผู้จ้างวานได้ติดต่อทีมสังหารชุดใหม่ จนกระทั่ง พญ.นิชรี ถูกสังหารในวันที่ 25 ต.ค.2539 ทิ้งช่วงมาราว 10 เดือน
ขณะนั้น พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมมตำรวจ ได้สั่งการให้ชุดสืบสวนของ สน.ห้วยขวาง คือ พ.ต.ท.ไชยวัฒน์ อรัญวัฒน์ สว.สส.สน.ห้วยขวาง ให้ปประสาน พ.ต.ท.ประภาส ปิยะมงคล สว.สส.สน.โชคชัย ทำการสืบสวนหาตัวผู้กระทำผิด โดยมี พ.ต.อ.สุเมธ เรืองสวัสดิ์ ดำรงตำแหน่ง ผกก. สน.ห้วยขวาง และมี พ.ต.ท.ทรงธรรม อัลภาชน์ รอง ผกก.สส.สน.ห้วยขวาง ควบคุมดูแลคดี
การคลี่คลายนคดีดำเนินไปอย่างคืบหน้า และเมื่อได้พยานหลักฐานชัดเจน ตำรวจจึงจับกุมผู้ต้องหาได้รวม 5 คน ประกอบด้วย นายธนศักดิ์ ยิ้มดี หรือใหม่ นายสราวุธ ไชยสิงห์ หรือตั๊ก นายชัชพัฒน์ จิตตธนากร หรือเซ้ง (เสียชีวิตขณะพิจารณาคดี) นายวิเชียร จิตตธนากร หรือม้อน และนายสุขุม เชิดชื่น ซึ่งดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) อันเป็นวุฒิสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งชุดสุดท้ายในสมัยรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา ในขณะนั้น
การที่จะจับกุมนายสุขุม ซึ่งดำรงตำแหน่ง ส.ว.นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากมีเอกสิทธิ์คุ้มครอง และวุฒิสภายังไม่อนุญาตให้ตำรวจดำเนินคดีต่อนายสุขุมอีก เมื่อเวลาผ่านไปในที่สุด นายสุขุมก็สิ้นอิสรภาพ ถูกตำรวจควบคุมตัวมาดำเนินคดี โดยญาติพยายามใช้หลักทรัพย์เป็นวงเงินถึง 30 ล้านบาทในการขอประกันตัว แต่ตำรวจไม่อนุญาต ส.ว.สุขุม จึงต้องพักค้างแรมในห้องขัง สน.ห้วยขวางโดยปริยาย
พล.ต.ต.ทรงธรรม อัลภาชน์ ผบก.เชียงราย ย้อนรำลึกถึงการทำคดีในครั้งนั้นว่า ค่อนข้างยาก ไม่ใช่ยากในการติดตามจับกุมผู้ต้องหา แต่ยากเกี่ยวกับการติดตามหลักฐาน ข้อมูลที่เชื่อมโยงต่างๆ ไปจนถึงมูลเหตุการฆาตกรรม ซึ่งต้องยกให้ พ.ต.อ.ปรีชา ธิมามนตรี รอง ผบก.หน.ศส.บช.น. นักสืบรุ่นลายคราม เป็นผู้คลี่คลายคดีคนสำคัญ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังพบว่าเมื่อผู้ต้องหาสำคัญจะถูกจับกุมได้มีการวิ่งเต้นหาผู้หลักผู้ใหญ่เพื่อไม่ให้ตนเองได้ถูกจับกุม แต่ในที่สุดก็ไม่พ้นมือตำรวจ ในขณะเดียวกัน ตำรวจยังถูกกดดันจากหลายฝ่ายในการจับกุมผู้ต้องหา โดยเฉพาะจากฝ่ายผู้เกี่ยวข้องกับผู้ตาย ทั้งสมาคมวิสัญญีแพทย์ และสมาคมแพทย์ต่างๆ มากมาย แต่การคลี่คลายคดีก็เป็นไปได้ด้วยดี จนสามารถปิดสำนวนคดีส่งฟ้องศาลได้ในที่สุด
อะไรเป็นสาเหตุให้นายสุขุม เชิดชื่น ต้องจ้างวานฆ่า พญ.นิชรี มูลเหตุแค่ พญ.นิชรี ปลดนายสุขุมออกจากตำแหน่งผู้จัดการโรงเรียนโรจนเสรีอนุสรณ์ คงไม่ถึงกับทำให้นายสุขุมต้องจ้างวานฆ่า แต่น่าจะมีอะไรที่ลึกลับซับฐ้อนมากกว่านั้น คงต้องย้อนกลับไปดูตัวตนนายสุขุมที่ “ผู้จัดการรายสัปดาห์” ได้เคยนำเสนอไปเมื่อหลายปีก่อน
“สุขุม เชิดชื่น” ชื่อที่ดังคับฟ้าเมืองไทยหลังตกเป็นผู้ต้องสงสัยของตำรวจว่าเป็นจอมบงการจ้างวานฆ่า แพทย์หญิงนิชรี มะกรสาร สังคมไทยสนใจในตัวเขามากขึ้นเป็นลำดับจากท่ามกลางข่าวหลายกระแสที่ ออกมาสร้างความสับสนพอสมควร
1.ดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิกชื่อดัง สายพรรคการเมืองของนายกรัฐมนตรี (นายบรรหาร ศิลปอาชา)
2.เป็นนักธุรกิจระดับกลางชื่อดังในวงการร้านอาหาร ร้าน(ลูก)นายแกละ และโครงการพัฒนาที่ดิน
3.เป็นหนุ่มรูปงามพราวเสนห์ เป็นที่สนใจของวงการสาวสังคมชั้นสูง
ที่สำคัญร่ำลือกันว่า ผู้ชายคนนี้ผันตัวเองขึ้นมามีฐานะร่ำรวยได้โดยการมีสัมพันธ์กับ 2 แม่-ลูก สาวใหญ่ไฮโซ และส่งเสริมให้เขาได้ดีมาจนถึงทุกวันนี้ แท้จริงแล้วก่อนเหตุการณ์ฆาตกรรมแพทย์หญิงจะเกิดขึ้นนั้น มีคนรู้จักสุขุมไม่มากนัก และยิ่งน้อยลงไปอีกเมื่อเขาตกเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีดังกล่าวเขาเป็นใคร มีวิถีชีวิตความเป็นมาอย่างไร เส้นทางธุรกิจและสัมพันธ์สวาทที่อื้อฉาวเป็นจริงหรือไม่....
ปูมชีวิตอันสับสน
กล่าวกันว่า ปูมประวัติชีวิตของสุขุม เชิดชื่น ในช่วงวัยเด็กจนถึงก่อนเข้าสู่วัยทำงานนั้นค่อนข้างมีประวัติเลือนลางและสับสน มีที่มาจากหลายแหล่ง โดยไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจน ไม่มีคำยืนยันคำบอกเล่าจากนามบุคคลที่น่าเชื่อถือ แม้กระทั่งคนคุ้นเคยที่รู้จักเขามานานร่วม 20 ปีก็ยังปฏิเสธที่จะบอกเล่าเรื่องราวในส่วนนี้ เพราะไม่รู้ถึงที่มาแต่อย่างไร บางกระแสลือกันว่าเขาเป็นจิ๊กโก๋หรือเด็กเลวที่เติบโตมาจากการเป็นเด็กขายหนังสือพิมพ์ข้างถนนตรอกจันท์ มีแหล่งกำเนิดในครอบครัวไหหลำที่ตั้งรกรากย่านซอยเจริญกรุง 85 หลังจากนั้นไปทำงานบริษัทชิปปิ้ง ก่อนไปขุดทองภาคใต้ในสมัยเหมืองแร่ เฟื่องฟูจนมีเงินทุนกลับมาเปิดบริษัทขนส่งในกรุงเทพฯ กระแสข่าวปีกนี้ระบุว่า เงินทุนหลายล้านบาทที่เขานำกลับมาเป็นเงินที่ได้มาอย่าง ผิดสังเกต จากคนงานกว่า 2,800 คน!!! จริงหรือเท็จก็อาจเป็นเพียงคำกล่าวที่ซ้ำเติมเขาเท่านั้น
อีกกระแสหนึ่งค่อนข้างสับสนในประวัติการศึกษา โดยกล่าวในท่วงทำนองเดียวกันในช่วงต้นว่า เขาเป็นคนจังหวัดสมุทรสงคราม มีพ่อทำธุรกิจโรงเลื่อยและเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ แต่ประเด็นที่ขัดแย้งกัน คือ หลังจากนั้นเขาไปศึกษาต่อต่างประเทศจบปริญญาตรี จากสิงคโปร์ ขณะที่บางแหล่งบอกว่าเขาจบจากฮ่องกง และบางแหล่งบอกว่าเขาจบปริญญาโทจากสหรัฐอเมริกา?
อย่างไรก็ตาม ครั้งหนึ่งสุขุมเคยกล่าวถึงชีวิตช่วงนี้กับผู้ร่วมงานในบริษัทเล็กๆ ที่เขาเลิกกิจการไปแล้วว่า พื้นเพเดิมเขาเป็นคนสมุทรสงคราม เป็นลูกชายคนเดียวของบ้าน พ่อเป็นคนจีนมีอาชีพทำสวนมะนาว ตอนเด็กๆ เขาไม่ได้สบายต้องใช้ชีวิตอย่างลำบาก วิ่งเก็บมะนาวในสวนส่งตลาด ต่อมาบิดาขยับขยายอาชีพไปทำโรงเลื่อย และตัวเขาเองหลังจากจบการศึกษาในเมืองไทยแล้ว ทางครอบครัวส่งไปเรียนต่างประเทศ จนจบการศึกษาระดับปริญญาโทจากประเทศสหรัฐอเมริกา
หลังจากจบการศึกษา โชติ เชิดชื่น ผู้เป็นพ่อให้เขาออกไปเก็บประสบการณ์ในการทำงานนอกบริษัทก่อนด้วยการเข้าทำงานเกี่ยวกับชิปปิ้งที่ท่าเรือคลองเตย เป็นคำบอกเล่าสั้นๆ ที่ออกจากปากสุขุมเอง แต่ก็ไม่มีหลักฐานใดยืนยันคำพูดของเขามากนัก โดยเฉพาะเอกสารการศึกษาในเมืองไทยปรากฏเด่นชัด หรือกระทั่งพื้นเพบ้านเกิดของเขาอยู่แห่งไหนกันแน่
“ผมไม่รู้จักตระกูลเชิดชื่น ไม่รู้จริงๆ อาจจะเคยอยู่ในจังหวัดนี้แล้ว ผมไม่รู้ก็เป็นไปได้” วิโรจน์ ณ บางช้าง อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดสมุทรสงคราม ผู้มีพื้นเพอยู่ในจังหวัดนี้กล่าวเป็นเสียงเดียวกับข้าราชการ, นักหนังสือพิมพ์ และนักธุรกิจเก่าแก่ของจังหวัดนี้หลายท่านว่า พวกเขาไม่รู้จัก ทั้งสุขม และโชติ เชิดชื่น ขณะที่กลุ่มนักธุรกิจโรงเลื่อยไม้เก่าแก่ซึ่งตามคำบอกเล่าของสุขุมว่า พ่อเขาทำธุรกิจโรงเลื่อยไม้ของจังหวัดสมุทรสงครามก็ไม่สามารถให้ความกระจ่างต่อเรื่องนี้ได้ โรงเลื่อยไม้ของจังหวัดสมุทรสงคามมีหลายโรงแต่ที่จัดว่าเก่าแก่และทำมานานจัดว่ามีเพียง 3 ราย คือ 1.โรงเลื่อยไม้เพ็ชรรัตน์ 2.โชติกพาณิชย์ และ 3.แสงวาณิชย์ 2 ใน 3 คือ โรงเลื่อยไม้เพ็ชรรัตน์ และโรงเลื่อยไม้โชติกพาณิชย์ กล่าวใน
ท่วงทำนองเดียวกันว่า ในช่วงเวลา 30-40 ปี พวกเขาไม่เคยรู้จักคนทำไม้ชื่อ โชติ เชิดชื่น ขณะที่ทางด้านโรงเลื่อยไม้แสงวาณิชย์ซึ่งจัดว่าเป็นโรงเลื่อยไม้เก่าแก่และเป็นที่ชุมนุมของคนทำไม้ชาวจีน โดยภรรยาของสมชาย แสงวาณิชย์ เจ้าของกิจการกล่าวว่า ไม่เคยได้ยินชื่อโชติ เชิดชื่น หรือตระกูลเชิดชื่นอย่างแน่นอน แต่ให้ข้อสังเกตว่ามีความเป็นไปได้ว่าตระกูล เชิดชื่น อาจเคยอยู่ที่ อ.อัมพวา หรือ อ.บางคนที เพราะสองอำเภอนี้เมื่อ 30 ปีที่แล้ว เคยนิยมปลูกสวนมะนาว และมีโรงเรื่อยไม้ชื่อพนาชัย ตั้งอยู่โดยมีหุ้นส่วนชาวจีนจำนวนมากเข้ามาถือหุ้น แต่เจ้าของกิจการไม่เคยมีชื่อโชติ และต่อมาได้ขายตกทอดให้กับผู้อื่น จนล่าสุดได้ขายให้กับคนกรุงเทพฯ และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเลื่อยไม้บางคนที ซึ่งใกล้เคียงกับรายละเอียดตามที่สุขุมเคยกล่าวไว้มากที่สุด
ความไม่ชัดเจนของประวัติแหล่งที่มาของ “สุขุม เชิดชื่น” ยังคงสับสนจับต้นจนปลายไม่ถูก ขณะที่ผู้ใกล้ชิดสุขุมให้ข้อสังเกตถึงชีวประวัติของบุคคลนี้ว่า อาจมีปัญหาเรื่องประวัติการศึกษา ทำให้เขาต้องโลโปรไฟล์ชีวิตประวัติในช่วงที่กำลังศึกษาอยู่ในเมืองไทยทำให้ไม่มีใครรู้เรื่องส่วนตัวของเขาอย่างชัดเจน ความสับสนในประวัติส่วนตัวของสุขุมยังมีอีกหลายประการ คือ ผู้ใกล้ชิดระบุว่าสุขุมไม่ใช่ลูกคนเดียว แต่เขามีพี่น้อง 3 คน โดยเขาเป็นลูกชายคนโตและมีน้องสาวอีก 2 คน
อย่างไรก็ตาม สำหรับประวัติตามบันทึกที่เขาเสนอต่อรัฐสภาในการอ้างเกียรติประวัติในการรับตำแหน่งวุฒิสมาชิก ซึ่งเป็นหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของเขาเพียงชิ้นเดียวได้บันทึกไว้ว่า สำหรับประวัติของ สุขุม เชิดชื่น ตามที่แจ้งไว้ในทำเนียบวุฒิสภาระบุว่า เกิดวันที่ 16 พฤษภาคม 2497 จบปริญญาตรีสาขาบริหารธุรกิจ จากประเทศสิงคโปร์ มีอาชีพเป็นนักธุรกิจ มีตำแหน่งเป็นประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ขนส่งสินค้าแห่งประเทศไทย ที่สภาผู้ขนส่งสินค้าแห่งประเทศไทย ประสบการณ์เคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีสำนักนายกรัฐมนตรี ปี 2538 และงานอดิเรก คือ เล่นกอล์ฟ และแบดมินตัน แต่ที่น่าแปลก คือ ชื่อสภาองค์การนายจ้างผู้ขนส่งสินค้าแห่งประเทศไทย ที่เขาอ้างว่าเป็นประธานนั้น เท่าที่ ผู้จัดการรายสัปดาห์ ตรวจสอบจากผู้ประกอบการรายใหญ่ทั้งทางน้ำและบนบก ไม่มีใครรู้จักองค์กรนี้!
ไต่บันไดสาวไฮโซ
ภาพของสุขุมปรากฏชัดเจนมากที่สุดในช่วงเข้ามาทำงานบริษัทชิปปิ้ง ก่อนผันตัวเองไปมีความสัมพันธ์กับสองแม่-ลูกเศรษฐินีไฮโซ เจ้าของโรงงานผลิตถุงมือยาง และได้ส่งเสริมให้เข้าก้าวกระโดดขยายเครือข่ายธุรกิจออกไปอย่างมากในระยะ 10 ปีหลัง จากนั้นข้อต่อทางธุรกิจในส่วนนี้มีความชัดเจนหรือสับสนอย่างไร
“กรรณิกา อมตวณิชย์” อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคความหวังใหม่ ผู้ซึ่งมีมารดาชื่อ “สุวลัย อมตวณิชย์” อดีตเคยทำกิจการโรงงานผลิตถุงมือยาง และปัจจุบันมีสถานะเป็นแม่บุญธรรมของสุขุม เปิดเผยกับผู้จัดการรายสัปดาห์ ถึงเส้นทางดำเนินธุรกิจของสุขุมกับครอบครัวอมตวาณิชย์ว่า เริ่มขึ้นเมื่อประมาณปี 2520 โดยบริษัท ซีเคชิปปิ้ง อันเป็นบริษัทของโชติ เชิดชื่นซึ่งมีสุขุมเป็นผู้ดำเนินการ ได้เข้ามาทำธุรกิจส่งสินค้าให้กับโรงงานผลิตถุงมือยางของกลุ่มอมตวณิชย์ โดยทำหน้าที่จัดการออกสินค้าที่การท่าเรือเพื่อส่งออกไปยังประเทศเยอรมนี และอังกฤษ หลังจากนั้นไม่นานนักกลุ่มตระกูลเชิดชื่นกับอมตวณิชย์จึงได้ร่วมทุนกันทำธุรกิจโรงงานผลิตถุงมือยางโดยมีสัดส่วนการถือหุ้นฝ่ายละ 50% แต่หลังจากกิจการดำเนินงานไปได้ประมาณ 1 ปี กลุ่มอมตวณิชย์ได้ถอนหุ้นออกคงเหลือแต่กลุ่มเชิดชื่น
กรรณิกากล่าวว่า หลังจากนั้นจึงได้มีการร่วมทุนทำธุรกิจอีกหลายอย่างเช่นร้านอาหารนายแกละโดยคงสัดส่วนฝ่ายละ 50% เช่นเดิม นอกจากนี้ยังได้มีการร่วมทุนกันดำเนินกิจการโรงเรียนโรจน์เสรีอนุสรณ์ โดยแบ่งเป็นผู้ถือหุ้น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มฉลวย-พญ.นิชรี มะกรสาร 2.กลุ่มสุวลัย-สุขุม และ 3.กลุ่มปิฏฑะ-แสงทอง นอกจากนี้ยังมีธุรกิจอื่นที่เธออาจไม่รู้เพราะไปอยู่ต่างประเทศหลายปี แต่เธอปฏิเสธข่าวความสัมพันธ์ระหว่างสุขุมกับเธอ และกับแม่ของเธอ โดยยืนยันว่าสองตระกูลนี้มีความสัมพันธ์กันสองอย่าง คือ 1.ทำธุรกิจร่วมกัน และ 2.สุขุมนับถือแม่ของเธอเป็นแม่บุญธรรมเพราะทำธุรกิจกันมานาน ให้ความเคารพซื่อสัตย์ต่อกันสม่ำเสมอ ไม่มีเป็นอย่างอื่นตามที่เป็นข่าว
เติบโตอย่างก้าวกระโดด
ในเส้นทางธูรกิจ จากธุรกิจแรกๆ คือ ธุรกิจผลิตถุงมือยาง ในนามบริษัท พาราวู้ด จำกัด การลงทุนเริ่มแรกได้ร่วมหุ้นกับ สุวลัย อมวณิชย์ เจ้าของกิจการลงทุนหลายอย่าง แต่เนื่องจากกิจการไม่ประสบผลนัก ผู้ถือรายอื่นได้ขายหุ้นให้กับสุขุมไปดำเนินการต่อว่ากันว่า สุขุมเติบโตในธุรกิจอย่างมากในยุคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เฟื่องฟู โดยเครือข่ายธุรกิจในมือ สุขุม เชิดชื่น ที่เข้าไปลงทุนหลายธุรกิจประกอบด้วย ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ โครงการชะอำ รอยัล บีช โครงการพัฒนาที่ดินที่จังหวัดเพชรบุรี โดยเข้าร่วมหุ้นลงทุนกับ รศ.ฉลวย มะกรสาร แม่ของ พญ.นิชรี มะกรสาร โครงการรัชดา รอยัล ปาร์ค (สุขุม เชิดชื่นทาวเวอร์) เป็นอาคารสำนักงานสูง 15 ชั้น เป็นอาคารสำนักงาน ซึ่งทั้ง 2 โครงการยังไม่เสร็จเรียบร้อย บริษัท สุขุม จำกัด ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นที่ปรึกษาและรับวางแผนงานให้กับธุรกิจเรียลเอสเตท การเป็นนายหน้าซื้อขายบ้าน-ที่ดินธุรกิจขายรถยนต์ และให้บริการสินเชื่อลิสซิ่ง ได้แก่ บริษัท ออโต้บาห์น จำกัด ทำกิจการค้าขายรถยนต์โดยนำเข้ารถระดับหรูอย่างจากัวร์ เดมเลอร์ เบนซ์ มาจำหน่ายให้นักธุรกิจ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ 2530 มีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ในส่วนของการบริการสินเชื่อลิสซิ่งแก่ธุรกิจรถจักรยานยนต์และรถยนต์ ใช้บริษัท มิลเลี่ยน กรุ๊ป จำกัด เข้าดำเนินการ ซึ่งบริษัทนี้ยังเข้าไปถือหุ้นในโครงการชะอำ รอยัล บีชด้วย
ธุรกิจร้านอาหาร ร้านครัวอัปสร ซึ่งตั้งอยู่บริเวณถนนสุขุมวิท คือการเริ่มในกิจการประเภทนี้ ต่อมาได้เปิดร้านอาหาร นายแกละ ขึ้นที่ถนนรัชดาฯ โดยดึงเจ้าของร้านนายแกละเข้ามาเปิดดำเนินการก่อนที่จะโอนมาทำเองทั้งหมดในชื่อร้านลูกนายแกละ
ธุรกิจนำเข้าและส่งออก บริษัท ซี.เค.รอยัล จำกัด ให้บริการด้านนำเข้าและส่งออกสินค้าหรือชิปปิ้งกับผู้ประกอบการ โรงเรียนโรจน์เสรีอนุสรณ์ ซึ่งเป็นการเข้าลงทุนร่วมกับ รศ.ฉลวย มะกรสาร นอกจากนี้ยังมีกิจการด้านหนังสือพิมพ์ที่เพิ่งจะล้มเลิกไปเนื่องจากไม่ประสบผลสำเร็จคือ หนังสือพิมพ์มหาราษฎร์ โดยใช้เงินไปประมาณ 10 ล้านบาท หนังสือพิมพ์ฉบับนี้มี ปรีชา สามัคคีธรรม อดีตนักข่าว และนายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย เป็นบรรณาธิการ ซึ่งเป็นช่วงปลายของชีวิตเขา ก่อนจะเสียชีวิตเมื่อไม่นานมานี้ และโครงการบริการขนส่งทางน้ำ โดยใช้เรือเฟอร์รี่รับส่งผู้โดยสารจากชะอำไปบางแสน แต่จนถึงขณะนี้โครงการดังกล่าวก็ไม่มีรูปธรรมชัดเจน
ภาพลักษณ์และเส้นทางการเมือง
การก้าวขึ้นมาสู่นักธุรกิจระดับพันล้านของ สุขุม เชิดชื่น จากพื้นฐานของครอบครัวที่ไม่ได้ร่ำรวยนัก จนสู่เส้นทางความสำเร็จถือว่าเป็นคนที่มีความสามารถในการบริหารคนหนึ่งหากดูจากการขยายเครือข่ายธุรกิจออกไป พนักงานผู้ใกล้ชิดกับสขุมเล่าให้ ผู้จัดการรายสัปดาห์ ฟังว่า การทำงานของเขาจะเป็นลักษณะ ONE MAN SHOW ตัดสินใจทุกอย่างด้วยความั่นใจของตนเอง ออกจะเป็นคนที่ใจร้อนและชอบให้คนอื่นทำตามคำสั่ง ภาพโดยรวมการบริหารงานมีความสามารถระดับหนึ่ง โดยมีวาทศิลป์ในการโน้มน้าวเป็นตัวนำ ลักษณะนิสัยของสุขุมเขาเป็นคนที่มีความทะเยอทะยาน รวยด้วยน้ำใจ และพร้อมที่จ่ายหากเรื่องดังกล่าวนำมาซึ่งเป้าหมายที่เขาต้องการ ชอบให้ลูกน้องเอาใจ การใช้จ่ายเงินค่อนข้างมือเติบ โดยบุคลิกมีความเป็นเพลย์บอยอยู่ในตัว ว่ากันว่าครั้งหนึ่งเคยให้รางวัลนักร้องห้องอาหารเป็นพวงมาลัยคนเดียวถึง 3 แสนบาท และชอบนั่งรถโรลส์รอยซ์ที่มีหมายเลขทะเบียน 1111
ความใฝ่ฝันในความทะเยอทะยานของเขาคือ บทบาททางการเมือง เขาได้กำหนดเส้นทางชีวิตที่จะมุ่งไปสู่เส้นทางดังกล่าวให้ได้ การสร้างฐานเริ่มต้นการเข้าไปคลุกคลีกับวงไฮโซ และกลุ่มการเมือง ซึ่งการทำหนังสือพิมพ์มหาราษฎร์คือเป้าหมายหนึ่งในการปูฐานไปสู่งานการเมือง ตามแผนที่วางไว้ให้กับชีวิต ระยะหลังมีการเดินทางขึ้นล่องภาคอีสานบ่อยครั้ง เพื่อปูทางสู่สนามการเลือกตั้งงานทางด้านกีฬาเป็นอีกส่วนหนึ่งที่เขาเข้าไปสร้างฐาน คือการทุ่มเงินกว่า 10 ล้านบาท สร้างที่ทำการสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาให้ฟรี ปัจจุบัน เสธ.ม่อย ก็ตกเป็นข่าวอื้อฉาวในคดีที่เชียงใหม่
นอกจากนี้ สุขุมยังเป็นผู้หนึ่งที่เข้าไปคลุกคลีกับวงการประกวดนางงาม เคยเป็นสปอนเซอร์ส่ง น้องอ้วน หรือ อารีวรรณ จตุทอง จนได้ตำแหน่งรองนางสาวไทยในปี 2537 ซึ่งต่อมาเมื่อน้องอ้วนไปแต่งงาน เธอก็มีปัญหาข่าวอื้อฉาวบนหน้าหนังสือพิมพ์หน้าหนึ่ง
13 ปีถัดมา ณ วันที่ 26 มิ.ย.2552 คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ระบุว่า ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือแล้วเห็นว่า โจทก์มีพยานซึ่งจำเลยที่ 4 ชักชวนมาทำหน้าที่ดูต้นทางให้จำเลยที่ 1 และ 2 ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย ซึ่งแม้จะเป็นผู้ร่วมกระทำผิดด้วย แต่ไม่ถูกดำเนินคดี ดังนั้น ศาลจำต้องรับฟังคำเบิกความพยานปากนี้ด้วยความระมัดระวัง เห็นว่าพยานโจทก์ปากดังกล่าวเบิกความถึงรายละเอียดตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2547 ที่ชักชวนให้ไปดูบ้านผู้ตาย โดยมีจำเลยที่ 1 และ 2 ติดตามไปด้วยแต่ไม่พบรถผู้ตาย จึงนัดหมายลงมืออีกครั้ง เวลา 05.00 น. วันที่ 25 ตุลาคม 2547 ซึ่งพบรถยนต์ผู้ตายอยู่ในบ้าน จำเลยที่ 1 จึงลงมือยิง แล้ว จำเลยที่ 2 ขับรถหลบหนี ซึ่งแม้พยานไม่ได้ยื่นยันว่าจำเลยที่ 1, 2 และ 4 เป็นคนยิงผู้ตาย แต่ระหว่างยืนดูต้นทางที่บริเวณปากซอยทวีมิตร 9 ได้ยินเสียงปืนดังขึ้นติดต่อกัน 4 นัด และต่อมาได้ยินอีก 1 นัด ซึ่งคำเบิกความดังกล่าวสอดคล้องกับคำรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1, 2 และ 4 ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงมือยิงผู้ตาย มีจำเลยที่ 2 ขับรถหลบหนี อีกทั้งจำเลยยังพาไปชี้จุดเกิดเหตุ ไปขอขมาภาพผู้ตายต่อหน้านายตำรวจชั้นผู้ใหญ่และสื่อมวลชน แม้ภายหลังจำเลยที่ 1, 2 และ 4 จะกลับคำให้การภายหลัง อ้างว่าถูกทำร้ายร่างกายบังคับให้รับสารภาพนั้น จากผลตรวจร่างกายไม่พบว่ามีบาดแผลถูกทำร้ายแต่อย่างใด แต่เชื่อว่าคำให้การในชั้นสอบสวนที่ให้การหลังเกิดเหตุทันทีเป็นจริงยิ่งกว่า รับฟังได้อย่างปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยที่ 1, 2 และ 4 กระทำผิดตามฟ้องจริง ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยฐานฆ่าผู้อื่นตามมาตรา 289 (4) ป.อาญา นั้นชอบแล้ว อุทธรณ์ที่ 1, 2 และ 4 ฟังไม่ขึ้น
ส่วนจำเลยที่ 5 กระทำผิดฐานเป็นผู้จ้างวานฆ่าหรือไม่นั้น โจทก์มีพนักงานสอบสวนชั้นผู้ใหญ่เบิกความสอดคล้องต้องกัน ว่าหลังเกิดเหตุได้สอบปากคำครอบครัวของผู้ตายให้การถึงเรื่องที่จำเลยที่ 5 มีความขัดแย้งทางธุรกิจกับนางฉลวย และผู้ตายกำลังตรวจสอบเรื่องการซื้อขายที่ดิน อ.แก่งกระจาย จ.เพชรบุรี มูลค่าหลายร้อยล้าน จนมีเรื่องฟ้องร้องในคดีแพ่งหลายคดี ประกอบกับได้ความจาก จ.ส.อ.เมตตา หรือกรุณา เต็มชำนาญ คนสนิทจำเลยที่ 5 และนายมงคล หรือหมง นกทอง ที่จำเลยที่ 5 เคยติดต่อว่าจ้างให้ฆ่าผู้ตายครั้งแรก เบิกความ ยืนยันว่า จำเลยที่ 5 เคยใช้จ้างวานให้ไปฆ่าผู้ตายภายในงานเลี้ยงครบรอบ 50 ปี โรงเรียนโรจนเสรีอนุสรณ์ ที่โรงแรมเอเชีย แต่ไม่นายมงคลไม่ได้ลงมือ ขณะที่ก่อนเกิดเหตุผู้ตายเคยพูดกับเพื่อนร่วมงานว่าหากเป็นอะไรไป เชื่อว่าน่าจะเกิดจากฝีมือของจำเลยที่ 5 ซึ่งก่อนเกิดเหตุผู้ตายไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นขึ้นรถของผู้ตาย จึงเชื่อว่าการที่ครอบครัวผู้ตายมีเรื่องฟ้องร้องกับจำเลยที่ 5 ดังกล่าวน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่ง แสดงให้เห็นว่าจะกระทบต่อประโยชน์ชื่อเสียงและสถานะทางสังคมของจำเลยที่ 5 จึงเกิดความขุ่นเคืองและว่าจ้างให้จำเลยที่ 1, 2 และ 4 ฆ่าผู้ตาย การกระทำของจำเลยที่ 5 จึงเปรียบเสมือนเป็นตัวการกระทำผิด พิพากษาให้ประหารชีวิตจำเลยที่ 5 สถานเดียว