การใช้ร่างของตัวเองป้องกันผู้อื่นให้รอดพ้นการถูกสัมผัสจาก’หมูและหมา’ อาจเป็นวีรกรรมพื้นๆ สำหรับคนอื่น แต่สำหรับ’กัส’ (วนัสนันท์ หมัดมณี) กลับเพียงพอแล้วที่จะเรียกมันว่า’ความประทับใจ’ได้อย่างเต็มปาก
“นอกจากมุสลิมจะห้ามกินและโดนตัวหมู หมาก็ห้ามโดนเหมือนกัน มันจะผิดหลักศาสนา เพื่อนคนอื่นพอรู้ว่าศาสนาเรามีข้อห้ามเหล่านี้ เขาจะเอาตัวมาป้องกันเราให้ ทั้งๆที่เขาเองก็กลัวมันกัด ตรงนี้รู้สึกประทับใจมาก จากตอนแรกที่ไม่กล้าจะคุยอะไรก็เริ่มสนิทกันมากขึ้น”นักเรียนจาก โรงเรียนท่าอิฐศึกษา โรงเรียนสอนศาสนาอิสลามคนเดิมย้อนถึงความรู้สึกดีๆหลังผ่านการใช้ชีวิตในค่ายร่วมกันเมื่อไม่นานที่ผ่านมา
‘ความเชื่อและศรัทธาที่ต่างกันนำมาซึ่งความขัดแย้ง’อาจสะท้อนความจริงได้บ้างในบางเหตุการณ์แต่ไม่ใช่ทั้งหมด อย่างน้อยระยะเวลาตลอด 5 วัน นับตั้งแต่เดินทางด้วยรถไฟจากกรุงเทพถึงที่หมายในภาคเหนือ ตามโครงการ’กลับสู่ต้นน้ำ’ของเครือข่ายพุทธิกา ร่วมกับกองทุนส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)ได้ลดทอนความจริงในวลีนี้อย่างชัดเจน
‘กลับสู่ต้นน้ำ’คือโครงการที่ให้เยาวชนหลากศาสนาทั้งพุทธ คริสต์ อิสลามได้ร่วมทำกิจกรรม เริ่มจากการเดินทางขึ้นเหนือเพื่อใช้ชีวิตกับคนในชุมชน เดินสู่ต้นน้ำในหมู่บ้านปกาเกอะญอที่บ้านแม่นิงนอก ต.แม่ศึก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ เรียนรู้เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนเข้าใจถึงวิถีชีวิตที่เรียบง่าย เสมือนการย้อนรอยของศาสดาของแต่ละศาสนา กลับสู่แก่นแท้ของศาสนาตัวเองจากชีวิตจริง
ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะถูกอาจารย์ในแต่ละโรงเรียนคัดเลือกจากการเป็นผู้ที่เคารพและเคร่งครัดในศาสนาของตัวเองเป็นทุนเดิมก่อนแล้ว เนื่องด้วยจะได้ต่อยอดและเข้าใจในวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมถึงกลับมาเล่าสู่กันฟังกับเพื่อนที่โรงเรียน
พระมหาปรกฤษณ์ กนฺตสีโลหรือ’หลวงพี่กบ’ แห่งวัดดุสิตาราม หนึ่งในคณะกรรมการและวิทยากรผู้ร่วมโครงการ เล่าว่า กระบวนการทั้งหมดของค่ายกลับสู่ต้นน้ำ เป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ที่ได้จากการลงมือปฏิบัติ ซึมซับเอาความรู้สึก ก่อนนำเอาสิ่งเหล่านั้นมาไตร่ตรองวิเคราะห์ บนฐานของจิตวิญญาน(ศาสนา)ที่ศาสดาในศาสนาของศาสนิกต่างๆ เป็นผู้ชี้แนวทางให้ปฏิบัติ
“การกลับสู่ต้นน้ำจึงเป็นการนำศาสนิกในศาสนาต่างๆ กลับไปหาศาสดาในศาสนาของศาสนิกผู้นั้นนับถือ โดยยึดหลักที่ว่า ศาสดาในศาสนาต่างๆ คือ ผู้ให้ที่ยิ่งใหญ่ ด้วยการชี้แนวทางสั่งสอนให้ศาสนิกของตน ได้รู้จักปฏิบัติตาม เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขแท้จริงในสังคมวัตถุนิยม เปรียบเสมือนต้นน้ำที่ให้กำเนิดสายน้ำที่ให้ความสุขและสดชื่นกับมวลมนุษย์”
สำหรับกิจกรรมที่สอดแทรกไปในโครงการดังกล่าวนั้นมีอยู่อย่างหลากหลายทั้งการเดินสู่ต้นน้ำ การพักและร่วมใช้ชีวิตกับคนในชุมชน การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดของเพื่อนในแต่ละศาสนา
“กิจกรรมต่างๆ ล้วนนำไปสู่ความเข้าใจในหลักธรรม เข้าถึงแก่นของศาสนา เช่น กิจกรรมเดินย้อนไปสู่ต้นน้ำที่มาจากลักษณะสำคัญของพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาที่ให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ ด้วยการพัฒนาตนเอง เพื่อนำไปสู่การพ้นจากความทุกข์ ผู้จัดจึงออกแบบกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้ที่นำไปสู่ความเข้าใจ และเล็งเห็นความสำคัญของหลักธรรม วิริยะ สติ สมาธิและปัญญา ในระหว่างการเดินทวนกระแสน้ำเพื่อไปสู่ต้นน้ำหรือการจัดให้เยาวชนศาสนาละ 1 คน ได้พักในบ้านของปกาเกอะญอหลังเดียวกัน และไปทำงานร่วมกันกับเจ้าของบ้านที่ไปพักอยู่ด้วยเพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้ว่า มนุษย์ทุกคนล้วนมีความทุกข์ ความเจ็บปวดเหมือนกัน การอยู่ร่วมกัน ต้องอาศัยความรัก ความเมตตา การรู้จักลดตัวตนของตนเองเป็นต้น”
“การเดินทวนน้ำเปรียบได้อีกอย่างกับการเดินทวนกระแสนิยม ผู้ที่เกิดจำเป็นต้องมีสติ มีสมาธิอยู่ตลอดเวลา มิเช่นนั้นอาจถูกกระแสน้ำหรือกระแสนิยมเหล่านั้นพัดพาไปได้”พระมหาปรกฤษณ์ อธิบาย
และหากมองในมุมของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังการผ่านกิจกรรม‘กัส’ ในฐานะเยาวชนที่เข้าร่วม บอกว่า ที่เกิดขึ้นคือทันทีคือการเปลี่ยนทัศนคติ จากที่มองว่าคนต่างศาสนามีวิถีชีวิตที่แตกต่างกันไม่สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสนิทสนมได้ค่อยๆหมดไป
“เราเคยมองว่าคนศาสนาอื่นมักชอบมองว่าพวกอิสลามเป็นคนรุนแรง เพราะสิ่งที่พวกเขารับรู้มามันเป็นแบบนั้น พอได้คุยกันก็รู้ว่าที่ผ่านมาเราคิดผิด ทั้งหมดมันเกิดจากความไม่รู้และคิดไปต่างๆนาๆ”เด็กสาวมุสลิมคนหนึ่งเล่าและย้อนถึงความประทับใจว่า“อย่างที่หมู่บ้านที่ไปอยู่เขาจะเลี้ยงหมู เลี้ยงหมา โดยไม่ได้กั้นคอกไว้ มันเลยเดินเพ่นผ่านไปมา เราก็กลัว เพื่อนก็กลัว แต่เขาก็ยังเอาตัวมาบังๆให้เรา เขาบอกว่าถ้าเขาโดนก็แค่เจ็บตัว แต่เรานี่โดนแล้วจะผิดหลักศาสนาเลย ตรงนี้รู้สึกประทับใจมาก”
ด้าน’เมย์’ ทนิตา เปลี่ยนพันธ์ นักเรียนชั้นม.6 โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ เล่าความเปลี่ยนแปลงของตัวเองภายหลังจากร่วมกิจกรรมเดียวกันนี้ว่า ที่เห็นได้ชัดที่สุดเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านการใช้จ่าย จากเดิมที่ใช้เงินมาก ต้องขอค่าขนมจากผู้ปกครองเพิ่มเติมระหว่างอาทิตย์บ่อยครั้ง แต่เมื่อได้เห็นถึงวิถีชีวิตที่ง่ายๆของชาวบ้านทั้งการกิน การนอน จึงรู้สึกอยากเปลี่ยนแปลงตัวเองบ้าง เกิดการยับยั้งใจที่จะใช้จ่ายเงิน
ส่วนในเรื่องมุมมองทางศาสนานั้น ‘เมย์’ มองว่า การทำกิจกรรมในครั้งนี้ทำให้รู้สึกยอมรับในความต่างและเปิดใจรับรู้เรื่องราวของคนอื่นๆมากขึ้น
“ชาวบ้านปกาเกอะญอที่ไปอยู่ด้วยบางคนเป็นคริสต์เหมือนกัน บางทีพวกหนูก็คุยกันไม่รู้เรื่องเพราะพูดคนละภาษากัน แต่เห็นเขาทำพิธีก็รู้สึกว่ามีหลายอย่างที่เหมือนกัน เช่น การทำพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณที่มีลักษณะคล้ายกัน แสดงให้เห็นว่าถึงอยู่คนละที่แต่เรื่องหลักและพิธีของศาสนาไม่ต่างกัน”
ขณะที่หลวงพี่กบ ได้มองถึงจุดสำเร็จโครงการว่า ไม่ได้คิดถึงการเปลี่ยนแปลงในเชิงพฤติกรรมอย่างถาวรแต่อย่างน้อยอยากให้เยาวชนมีประสบการณ์และเข้าใจถึงความสุขที่แท้จริงและได้ตะหนักว่า ศาสนาเป็นรากฐานของการปฏิบัติที่นำไปสู่ความสุขที่แท้จริง
“จากผลการประเมินภายหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมไปแล้ว 1 และ 2 เดือน พบว่าเยาวชนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในลักษณะที่มีการนำเอาหลักธรรมต่างๆมาปรับใช้บ้างโดยมีพฤติกรรมเด่นชัดในเรื่องที่เยาวชนผู้นั้นได้หยิบยกมาไตร่ตรองด้วยตนเอง”
กิจกรรมเหล่านี้เป็นเพียงแค่กระบวนการเรียนรู้ส่วนหนึ่ง ที่หากขาดการกระตุ้นเตือนและสานต่ออย่างเป็นระบบ กระแสสังคมก็จะค่อยๆ กลบและฝังร่องรอยแห่งความทรงจำอันดีเหล่านี้ไปในที่สุด
“นอกจากมุสลิมจะห้ามกินและโดนตัวหมู หมาก็ห้ามโดนเหมือนกัน มันจะผิดหลักศาสนา เพื่อนคนอื่นพอรู้ว่าศาสนาเรามีข้อห้ามเหล่านี้ เขาจะเอาตัวมาป้องกันเราให้ ทั้งๆที่เขาเองก็กลัวมันกัด ตรงนี้รู้สึกประทับใจมาก จากตอนแรกที่ไม่กล้าจะคุยอะไรก็เริ่มสนิทกันมากขึ้น”นักเรียนจาก โรงเรียนท่าอิฐศึกษา โรงเรียนสอนศาสนาอิสลามคนเดิมย้อนถึงความรู้สึกดีๆหลังผ่านการใช้ชีวิตในค่ายร่วมกันเมื่อไม่นานที่ผ่านมา
‘ความเชื่อและศรัทธาที่ต่างกันนำมาซึ่งความขัดแย้ง’อาจสะท้อนความจริงได้บ้างในบางเหตุการณ์แต่ไม่ใช่ทั้งหมด อย่างน้อยระยะเวลาตลอด 5 วัน นับตั้งแต่เดินทางด้วยรถไฟจากกรุงเทพถึงที่หมายในภาคเหนือ ตามโครงการ’กลับสู่ต้นน้ำ’ของเครือข่ายพุทธิกา ร่วมกับกองทุนส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)ได้ลดทอนความจริงในวลีนี้อย่างชัดเจน
‘กลับสู่ต้นน้ำ’คือโครงการที่ให้เยาวชนหลากศาสนาทั้งพุทธ คริสต์ อิสลามได้ร่วมทำกิจกรรม เริ่มจากการเดินทางขึ้นเหนือเพื่อใช้ชีวิตกับคนในชุมชน เดินสู่ต้นน้ำในหมู่บ้านปกาเกอะญอที่บ้านแม่นิงนอก ต.แม่ศึก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ เรียนรู้เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนเข้าใจถึงวิถีชีวิตที่เรียบง่าย เสมือนการย้อนรอยของศาสดาของแต่ละศาสนา กลับสู่แก่นแท้ของศาสนาตัวเองจากชีวิตจริง
ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะถูกอาจารย์ในแต่ละโรงเรียนคัดเลือกจากการเป็นผู้ที่เคารพและเคร่งครัดในศาสนาของตัวเองเป็นทุนเดิมก่อนแล้ว เนื่องด้วยจะได้ต่อยอดและเข้าใจในวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมถึงกลับมาเล่าสู่กันฟังกับเพื่อนที่โรงเรียน
พระมหาปรกฤษณ์ กนฺตสีโลหรือ’หลวงพี่กบ’ แห่งวัดดุสิตาราม หนึ่งในคณะกรรมการและวิทยากรผู้ร่วมโครงการ เล่าว่า กระบวนการทั้งหมดของค่ายกลับสู่ต้นน้ำ เป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ที่ได้จากการลงมือปฏิบัติ ซึมซับเอาความรู้สึก ก่อนนำเอาสิ่งเหล่านั้นมาไตร่ตรองวิเคราะห์ บนฐานของจิตวิญญาน(ศาสนา)ที่ศาสดาในศาสนาของศาสนิกต่างๆ เป็นผู้ชี้แนวทางให้ปฏิบัติ
“การกลับสู่ต้นน้ำจึงเป็นการนำศาสนิกในศาสนาต่างๆ กลับไปหาศาสดาในศาสนาของศาสนิกผู้นั้นนับถือ โดยยึดหลักที่ว่า ศาสดาในศาสนาต่างๆ คือ ผู้ให้ที่ยิ่งใหญ่ ด้วยการชี้แนวทางสั่งสอนให้ศาสนิกของตน ได้รู้จักปฏิบัติตาม เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขแท้จริงในสังคมวัตถุนิยม เปรียบเสมือนต้นน้ำที่ให้กำเนิดสายน้ำที่ให้ความสุขและสดชื่นกับมวลมนุษย์”
สำหรับกิจกรรมที่สอดแทรกไปในโครงการดังกล่าวนั้นมีอยู่อย่างหลากหลายทั้งการเดินสู่ต้นน้ำ การพักและร่วมใช้ชีวิตกับคนในชุมชน การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดของเพื่อนในแต่ละศาสนา
“กิจกรรมต่างๆ ล้วนนำไปสู่ความเข้าใจในหลักธรรม เข้าถึงแก่นของศาสนา เช่น กิจกรรมเดินย้อนไปสู่ต้นน้ำที่มาจากลักษณะสำคัญของพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาที่ให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ ด้วยการพัฒนาตนเอง เพื่อนำไปสู่การพ้นจากความทุกข์ ผู้จัดจึงออกแบบกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้ที่นำไปสู่ความเข้าใจ และเล็งเห็นความสำคัญของหลักธรรม วิริยะ สติ สมาธิและปัญญา ในระหว่างการเดินทวนกระแสน้ำเพื่อไปสู่ต้นน้ำหรือการจัดให้เยาวชนศาสนาละ 1 คน ได้พักในบ้านของปกาเกอะญอหลังเดียวกัน และไปทำงานร่วมกันกับเจ้าของบ้านที่ไปพักอยู่ด้วยเพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้ว่า มนุษย์ทุกคนล้วนมีความทุกข์ ความเจ็บปวดเหมือนกัน การอยู่ร่วมกัน ต้องอาศัยความรัก ความเมตตา การรู้จักลดตัวตนของตนเองเป็นต้น”
“การเดินทวนน้ำเปรียบได้อีกอย่างกับการเดินทวนกระแสนิยม ผู้ที่เกิดจำเป็นต้องมีสติ มีสมาธิอยู่ตลอดเวลา มิเช่นนั้นอาจถูกกระแสน้ำหรือกระแสนิยมเหล่านั้นพัดพาไปได้”พระมหาปรกฤษณ์ อธิบาย
และหากมองในมุมของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังการผ่านกิจกรรม‘กัส’ ในฐานะเยาวชนที่เข้าร่วม บอกว่า ที่เกิดขึ้นคือทันทีคือการเปลี่ยนทัศนคติ จากที่มองว่าคนต่างศาสนามีวิถีชีวิตที่แตกต่างกันไม่สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสนิทสนมได้ค่อยๆหมดไป
“เราเคยมองว่าคนศาสนาอื่นมักชอบมองว่าพวกอิสลามเป็นคนรุนแรง เพราะสิ่งที่พวกเขารับรู้มามันเป็นแบบนั้น พอได้คุยกันก็รู้ว่าที่ผ่านมาเราคิดผิด ทั้งหมดมันเกิดจากความไม่รู้และคิดไปต่างๆนาๆ”เด็กสาวมุสลิมคนหนึ่งเล่าและย้อนถึงความประทับใจว่า“อย่างที่หมู่บ้านที่ไปอยู่เขาจะเลี้ยงหมู เลี้ยงหมา โดยไม่ได้กั้นคอกไว้ มันเลยเดินเพ่นผ่านไปมา เราก็กลัว เพื่อนก็กลัว แต่เขาก็ยังเอาตัวมาบังๆให้เรา เขาบอกว่าถ้าเขาโดนก็แค่เจ็บตัว แต่เรานี่โดนแล้วจะผิดหลักศาสนาเลย ตรงนี้รู้สึกประทับใจมาก”
ด้าน’เมย์’ ทนิตา เปลี่ยนพันธ์ นักเรียนชั้นม.6 โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ เล่าความเปลี่ยนแปลงของตัวเองภายหลังจากร่วมกิจกรรมเดียวกันนี้ว่า ที่เห็นได้ชัดที่สุดเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านการใช้จ่าย จากเดิมที่ใช้เงินมาก ต้องขอค่าขนมจากผู้ปกครองเพิ่มเติมระหว่างอาทิตย์บ่อยครั้ง แต่เมื่อได้เห็นถึงวิถีชีวิตที่ง่ายๆของชาวบ้านทั้งการกิน การนอน จึงรู้สึกอยากเปลี่ยนแปลงตัวเองบ้าง เกิดการยับยั้งใจที่จะใช้จ่ายเงิน
ส่วนในเรื่องมุมมองทางศาสนานั้น ‘เมย์’ มองว่า การทำกิจกรรมในครั้งนี้ทำให้รู้สึกยอมรับในความต่างและเปิดใจรับรู้เรื่องราวของคนอื่นๆมากขึ้น
“ชาวบ้านปกาเกอะญอที่ไปอยู่ด้วยบางคนเป็นคริสต์เหมือนกัน บางทีพวกหนูก็คุยกันไม่รู้เรื่องเพราะพูดคนละภาษากัน แต่เห็นเขาทำพิธีก็รู้สึกว่ามีหลายอย่างที่เหมือนกัน เช่น การทำพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณที่มีลักษณะคล้ายกัน แสดงให้เห็นว่าถึงอยู่คนละที่แต่เรื่องหลักและพิธีของศาสนาไม่ต่างกัน”
ขณะที่หลวงพี่กบ ได้มองถึงจุดสำเร็จโครงการว่า ไม่ได้คิดถึงการเปลี่ยนแปลงในเชิงพฤติกรรมอย่างถาวรแต่อย่างน้อยอยากให้เยาวชนมีประสบการณ์และเข้าใจถึงความสุขที่แท้จริงและได้ตะหนักว่า ศาสนาเป็นรากฐานของการปฏิบัติที่นำไปสู่ความสุขที่แท้จริง
“จากผลการประเมินภายหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมไปแล้ว 1 และ 2 เดือน พบว่าเยาวชนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในลักษณะที่มีการนำเอาหลักธรรมต่างๆมาปรับใช้บ้างโดยมีพฤติกรรมเด่นชัดในเรื่องที่เยาวชนผู้นั้นได้หยิบยกมาไตร่ตรองด้วยตนเอง”
กิจกรรมเหล่านี้เป็นเพียงแค่กระบวนการเรียนรู้ส่วนหนึ่ง ที่หากขาดการกระตุ้นเตือนและสานต่ออย่างเป็นระบบ กระแสสังคมก็จะค่อยๆ กลบและฝังร่องรอยแห่งความทรงจำอันดีเหล่านี้ไปในที่สุด