หลายคนได้เห็นภาพของ"นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์"อดีตนายกรัฐมนตรี สวมเสื้อโปโลสีแดงและมีพวงมาลัยสีแดงคล้องคอขึ้นปราศรัยบนเวทีคนเสื้อแดงที่ทำเนียบรัฐบาล สวมบท"แดงถ่อย"แทนผู้เป็นพี่เมียนาม"นักโทษชายทักษิณ ชินวัตร"ที่เริ่มหมดมุกของดปราศรัยผ่านวิดีโอลิงก์มาสู่พลพรรคเสื้อแดง(กะยาจก) 1 วัน
สำหรับ"สมชาย วงศ์สวัสดิ์"ถือเป็นนายกคนแรก คนเดียว ที่ไม่มีโอกาสได้เข้าไปสัมผัสบรรยากาศแห่งอำนาจเต็ม ด้วยการนั่งทำงานในทำเนียบรัฐบาล และที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้น หลังเขาหมดซึ่งอำนาจ และหวนกลับมาขึ้นเวทีม็อบแดงถ่อย เพื่อทวงอำนาจคืนให้กับ อาชญากรโกงชาติ "นักโทษชายทักษิณ"เขาก็มีโอกาสได้เพียงยืนตะโกนด้านนอกทำเนียบรัฐบาลเท่านั้น
และหากจะถอดรหัสประเด็นคำพูดของ"สมชาย"ถือว่า สวนทางกับพฤติกรรมที่"ชายกระโปรง"ผู้นี้ได้กระทำลงไปครั้งที่เขานั่ง นายกรัฐมนตรี
เริ่มจากการพูดปลอบใจตนเองของ"นายสมชาย"โดยที่เขากล่าวว่า แม้จะเป็นนายกฯที่ไม่มีโอกาสนั่งทำเนียบเลย แต่ก็ไม่เป็นไร เพราะทำเนียบของตนอยู่ที่ดอนเมือง ในประวัติศาสตร์จะจารึกไว้ว่าสนามบินดอนเมืองสามารถบัญชาการการทำงานของรัฐบาลอย่างเต็มที่เหมือนกัน
"ชายกระโปรง"ผู้นี้ ยังไม่ได้สำนึกในความชั่วที่เขาได้กระทำลงไป โดยเขากล้าโกหกแบบหน้าตายว่า...."ตนไม่เคยคิดจะทำร้ายคนไทยด้วยกันเลย ท่านคงจำได้ ตอนที่มีคนยึดทำเนียบ นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกฯทำถูกต้องในการประกาศภาวะฉุกเฉิน พอตนเข้ามาคิดว่ามีประกาศไว้ก็ดี แต่ไม่มีคนทำงานตามประกาศก็ลำบาก ก็คิดว่าอยากจะใช้วิธีที่พูดจาปราศรัยกัน ตนจะเจรจาแต่ไม่ใช่ยอมหรือไม่ยอม แต่จะพูดกันฉันคนชาติเดียวกัน ตนจึงยกเลิกประกาศเพื่อให้เกิดการทำร้ายระหว่างคนไทยด้วยกัน แต่คนที่เข้าไปยึดทำเนียบตอนนั้นกับเราเปรียบเทียบกันไม่ได้ คือเรา(ม็อบแดงถ่อย)ไม่ทำผิดกฎหมายเราไม่ทำร้าย ไม่เกะกะระราน เรานั่งเป็นระเบียบเรียบร้อย
เขายังโกหก อีกว่า ตอนที่เขาเป็นนายกฯบอกเสมอว่าตามรัฐธรรมนูญสามารถชุมนุมได้ โดยสงบ ปราศจากอาวุธ และคนไทยทุกคนสามารถทำได้ แต่ก็แปลกที่เขา กลับไม่ได้กล่าวถึงการสลายการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 7 ต.ค.2551 แต่อย่างใด ทั้งที่เป็นเหตุการณ์สำคัญในช่วงที่เขาเป็นนายกฯโดยมีการใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบปรามอย่างป่าเถื่อนจนมีผู้เสียชีวิต-บาดเจ็บและพิการจำนวนมาก
ย้อนไปดูหลักฐานในการกระทำความผิดของ"นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์"ต่อกรณีการสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551
ถือว่าไม่ธรรมดา....
โดยเฉพาะจากคำให้ถ้อยคำของ"พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ”ผบ.ตร.ที่ยืนยันต่อคณะกรรมการสิทธิฯและถือเป็นหลักฐานสำคัญที่อยู่ในมือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)โดยระบุชัดเจนว่าเป็นฝีมือ “ชายเลือดเย็น”สั่งเข่นฆ่าผู้บริสุทธิ์หน้าสภา วัน 7 ตุลาทมิฬ
พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.ให้ถ้อยคำว่า"ในคืนวันที่ 6 ตุลาคม 2551 เวลาประมาณ 23.00 น. นายบุญทรง ไม่ทราบนามสกุล เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้ประสานมา เพื่อขอให้ผู้ให้ถ้อยคำเดินทางไปเข้าร่วมประชุมกับคณะรัฐมนตรี ที่อาคารสนามบินดอนเมือง เมื่อผู้ให้ถ้อยคำเดินทางไปถึง คณะรัฐมนตรีพร้อมแล้ว โดยมี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายวราวุธ ศิลปอาชา บุตรชายของนายบรรหาร ศิลปอาชา และบุคคลอื่นๆ อีกหลายคน ผู้ให้ถ้อยคำจำไม่ได้ทั้งหมด ยกเว้นนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ยังมาไม่ถึง พล.อ.ชวลิต สอบถามผู้ให้ถ้อยคำว่ามีวิธีการใดที่คณะรัฐมนตรีจะเข้าไปประชุมรัฐสภาในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ได้ผู้ให้ถ้อยคำแถลงชี้แจงต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีว่า 1.จะดันเข้าไปได้อย่างไร มีประชาชนจำนวนมากมาย หากดันเข้าไป จะมีคนได้รับบาดเจ็บหรือเปล่า
2.เปลี่ยนที่ประชุมได้หรือไม่ เนื่องจากมีสถานที่ที่จะสามารถใช้ในการประชุมเป็นจำนวนมากมาย หากจะยืนยันว่าจะประชุมวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ก็สามารถเปลี่ยนสถานที่ประชุมได้ เนื่องจากก่อนหน้าที่จะเข้ามาประชุม ผู้ให้ถ้อยคำได้โทรศัพท์สอบถามเลขาธิการรัฐสภา ผู้ให้ถ้อยคำจำชื่อและนามสกุลจริงไม่ได้ จำได้เพียงชื่อเล่นว่า “น้าหมู” หรือนางสุวิมล ผู้ให้ถ้อยคำแจ้งขอให้ เสนอแนะต่อรัฐบาลเพื่อขอให้เปลี่ยนสถานที่ประชุมไม่ทราบว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ เลขาธิการรัฐสภาแจ้งกับผู้ให้ถ้อยคำว่า หากจะเปลี่ยนก็ทำได้ง่ายมาก เพียงส่งข่าวผ่านทาง SMS 3.ตามรัฐธรรมนูญ รัฐบาลต้องแถลงนโยบายภายใน 15 วัน ฉะนั้น จึงสามารถประชุมได้ถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2551 และรัฐธรรมนูญก็มิได้บัญญัติความผิดได้
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไม่รับข้อเสนอของผู้ให้ถ้อยคำ และยืนยันจะประชุมที่รัฐสภาในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 พล.อ.ชวลิต จึงสั่งการให้ผู้ให้ถ้อยคำปฏิบัติให้ได้ และได้เรียกผู้ให้ถ้อยคำเข้าไปในห้องเล็กอีกห้องหนึ่ง มี พล.ต.อ.โกวิท รองนายกรัฐมนตรีไปด้วย และสั่งการให้ผู้ให้ถ้อยคำไปดำเนินการ ผู้ให้ถ้อยคำได้ออกจากห้องประชุมห้องเล็กนั้น แต่ยังไม่กลับเพราะต้องการพบนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ขณะนั้นนายกรัฐมนตรียังมาไม่ถึง....พอนายกรัฐมนตรี(นายสมชาย)มาถึง พร้อมกับ พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ให้ถ้อยคำถามนายกรัฐมนตรีว่า จะเอายังไง “นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ผู้ให้ถ้อยคำรีบไป ผู้ให้ถ้อยคำพยายามอธิบายนายกรัฐมนตรี แต่นายกรัฐมนตรีสั่งผู้ให้ถ้อยคำให้รับไปปฏิบัติ”
สำหรับพฤติกรรมที่ถือว่าเลือดเย็น และโกหกแบบสุด สุด ของ"ชายกระโปรง"ผู้นี้ เมื่อครั้งระหว่างแถลงนโยบายในรัฐสภาโดยเขากล้าพูดว่า ได้เข้าไปรัฐสภาโดยใช้ประตูด้านข้างเมื่อเวลาประมาณ 09.30 น.ขณะนั้นไม่มีเหตุการณ์รุนแรงแต่อย่างใด ในขณะที่แถลงนโยบาย ผู้ให้ถ้อยคำได้ยิน สมาชิกวุฒิสภาพูดประท้วง แต่เป็นการตะโกนโดยไม่ได้ทำตามระเบียบของรัฐสภา จับความไม่ได้ว่าสมาชิกวุฒิสภาพูดประท้วงแต่เป็นการตะโกนโดยไม่ได้ทำตามระเบียบของรัฐสภา จับความไม่ได้ว่าสมาชิกวุฒิสภา ผู้นั้นประท้วงเรื่องใดบ้าง ผู้ให้ถอยคำแถลงนโยบายเสร็จ เวลา 11.30 น.ระหว่างนั้น ไม่ได้ยินเสียงระเบิดแต่อย่างใด เมื่อแถลงเสร็จแล้วจึงมีผู้มารายงานให้ทราบนั้น เห็นว่าขณะที่นายสมชาย เดินทางเข้าไปในรัฐสภาแม้จะไม่มีเหตุการณ์รุนแรงอย่างใดแล้วก็ตาม แต่หากสังเกตสภาพพื้นถนน ก็ย่อมจะพบร่องรอยของการสลายการชุมนุมที่พื้นถนนเต็มไปด้วยขวดน้ำตกเกลื่อนกลาดเต็มไปหมด และน่าจะทราบว่าเกิดอะไรขึ้น หรือหากไม่ทราบ ก็สามารถสั่งการให้ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องรายงาน
นอกจากนั้นในระหว่างการแถลงนโยบายของรัฐบาล นางสาวรสนา โตสิตระกูล และ นายประสงค์ นุรักษ์ สมาชิกวุฒิสภา ลุกขึ้นประท้วง โดย นายประสงค์ แถลงว่า ไม่เห็นด้วยที่นายกรัฐมนตรีแถลงว่าจะให้ประชาชนมีส่วนร่วม เพราะข้างนอกรัฐสภามีประชาชนจำนวนมากได้รับบาดเจ็บจากการประท้วงและถูกปิดไมโครโฟน น.ส.รสนา จึงยกมือขออนุญาตประธานสภาแล้วแถลงว่า “ดิฉันคิดว่านายกรัฐมนตรีมาแถลงนโยบายในวันนี้ไม่ถูกต้อง เพราะข้างนอกมีประชาชนได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก นโยบายของท่านเป็นกระดาษแต่คนบาดเจ็บข้างนอกเป็นของจริง ท่านจะให้สภาเป็นตรายาง รับรองรัฐบาลเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง”แล้วก็ถูกปิดไมโครโฟนเช่นกัน แต่ น.ส.รสนา ยังคงพูดต่อไปแม้ถูกปิดไมโครโฟน
โดยข้อสรุปในสำนวน ระบุว่า"การสลายการชุมนุมในช่วงเช้า ฉะนั้น นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้สั่งการให้มีการสลายการชุมนุม และ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการสลายการชุมนุมและสั่งการให้มีการสลายการชุมนุม รวมทั้งรัฐมนตรีที่อยู่ด้วยในการประชุมคณะรัฐมนตรี แต่มิได้คัดค้านการใช้กำลังและระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุม ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นในการสลายการชุมนุม ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิต่อมนุษยชนและละเมิดต่อกฎหมาย เมื่อ นายสมชาย นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีทราบว่า ผลของการสลายการชุมนุมในช่วงเช้าเป็นเช่นใดแล้ว กลับปล่อยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังและระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุมอีกในช่วงบ่าย ช่วงเย็น และช่วงกลางคืน จนเป็นเหตุให้มีประชาชนได้รับบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัสจำนวนมาก และมีผู้เสียชีวิตด้วย โดยมิได้ห้ามปรามหรือมีมติหรือคำสั่งระงับยับยั้งการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ได้กระทำเกิดกว่าความจำเป็น การกระทำของ นายสมชาย และ พล.อ.ชวลิต รวมทั้งรัฐมนตรีที่อยู่ด้วยในการประชุมคณะรัฐมนตรี แต่มิได้คัดค้านการใช้กำลังและระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุ เข้าข่ายเป็นการปฏิบัติและหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด เมื่อปรากฎว่ามีประชาชนได้รับบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัสเป็นจำนวนมาก และมีผู้เสียชีวิตด้วยจากกการกระทำที่เกินความจำเป็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจดังกล่าว ซึ่งถือเป็นการละเมิดกฎหมายการกระทำของนายสมชาย นายกรัฐมนตรี พล.อ.ชวลิต รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่อยู่ด้วยในการประชุมคณะรัฐมนตรี แต่มิได้คัดค้านการสลายการชุมนุม เข้าข่ายเป็นความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้บุคคลอื่นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส, ฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157, 295, 297, 288, 84"
จากผลการกระทำของ"นายสมชาย"ที่มีหลักฐานดังปรากฎในคำให้การดังกล่าวข้างต้น ทำให้เมื่อวันที่ 16 มี.ค.ที่ผ่านมาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ป.ป.ช.โดยมีนายวิชา มหาคุณ ประธานอนุกรรมการไต่สวน มีมติตั้งข้อกล่าวหาบุคคลที่เกี่ยวข้องในการสั่งสลายการชุมนุม ซึ่งก่อให้เกิดการบาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิต รวม 7 คน ประกอบด้วย
1.นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งเรียกประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษและมีมติให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดำเนินการเปิดทางให้สมาชิกรัฐบาลเข้าประชุมในวันที่ 7 ต.ค.51 จนมีผู้บาดเจ็บแต่ก็ยังมิได้ยับยั้งมิให้เกิดความรุนแรงขึ้นอีก จึงแจ้งข้อกล่าวหาเกี่ยวกับความผิดทางอาญา ตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 157
2.พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ในฐานะรองนายกรัฐมตรี และได้รับการมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้เป็นผู้รับผิดชอบเหตุการณ์และเหตุการณ์และสั่งการสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ดำเนินการทุกวิถีทางในอันที่ผลักดันกลุ่มผู้ชุมนุม โดยใช้แก็สน้ำตา แม้ลาออกจากตำแหน่งในเวลา 09.00น.ก็ถือว่ามีส่วนรับผิดชอบในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงแจ้งข้อกล่าวหาเกี่ยวกับความผิดทางอาญา ตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 157
3.พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ในฐานะผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งรับผิดชอบตามอำนาจหน้าที่ แม้ได้ความว่ามีการมอบหมายให้มีผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน และแต่งตั้งผู้บัญชาการเหตุการณ์ใหแป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง แต่ก็ต้องให้ความสำคัญติดตามความเคลื่อนไหวในการชุมนุมอย่างใกล้ชิด เมื่อเกิดเหตุรุนแรง ขาขาด แขนขาด ก็ต้องยับยั้งไม่ให้เหตุการณ์ลุกลามต่อไป จึงแจ้งข้อกล่าวหาทางวินัยฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความอุตสาหะ เอาใจใส่ระมัดระวังรักษาประโยชน์ของทางราชการ ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ
4.พล.ต.อ.วิโรจน์ พหลเวชช์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้รับมอบหมายหน้าที่จากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้สั่งและปฏิบัติราชการแทน ได้รับทราบนโยบายและควบคุมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยในการสลายฝูงชน จึงแจ้งข้อกล่าวหาความผิดทางวินัย เช่นเดียวกับผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
5.พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ในฐานะผู้บัญชาการเหตุการณ์ ตามแผนกรกฎ 48 เป็นผู้ควบคุมสั่งการทุกเหตุการ์ที่มีการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและฝูงชนจนเกิดการบาดเจ็บสาหัสและถึงแก่ความตายและเว้นไม่หยุดยั้งการกระทำอันรุนแรงที่เกิดขึ้น จึงแจ้งข้อกล่าวหาทั้งทางวินัย และทางอาญา ฐานกระทำหรือละเว้นการกระทำใดๆอันเกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
6.พล.ต.ต.ลิขิต กลิ่นอวล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ได้รับมอบหมายให้มีภารกิจเปิดทางให้สมาชิกสภาเข้าประชุมด้านในประตูปราสาทเทวฤทธิ์ โดยเป็นผู้รับผิดชอบในการสลายฝูงชนจนเกิดความรุนแรง แจ้งข้อกล่าวหาทั้งทางวินัยและอาญา
7.พล.ต.ต.เอกรัตน์ มีปรีชา รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาลได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์แทน พลตำรวจตรีอำนวย นิ่มมะโน ซึ่งขอลาไปงานศพบิดา ในวันที่ 7 ต.ค.โดยสั่งให้มีการสลายฝูงชนในเวลา 16.00น.-17.00น.จนมีผู้เสียชีวิต จึงแจ้งข้อกล่าวหาทั้งทางวินัยและทางอาญ
ดังนั้น จากหลักฐานที่กล่าวมา ถือว่า เพียงพอหรือยัง ที่จะจับโกหก"ชายกระโปรง"ผู้นี้ อีกทั้ง ใครกันคือ ผู้จุดความรุนแรง เฆ่นฆ่า ประชาชนผู้บริสุทธิ์....
สำหรับ"สมชาย วงศ์สวัสดิ์"ถือเป็นนายกคนแรก คนเดียว ที่ไม่มีโอกาสได้เข้าไปสัมผัสบรรยากาศแห่งอำนาจเต็ม ด้วยการนั่งทำงานในทำเนียบรัฐบาล และที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้น หลังเขาหมดซึ่งอำนาจ และหวนกลับมาขึ้นเวทีม็อบแดงถ่อย เพื่อทวงอำนาจคืนให้กับ อาชญากรโกงชาติ "นักโทษชายทักษิณ"เขาก็มีโอกาสได้เพียงยืนตะโกนด้านนอกทำเนียบรัฐบาลเท่านั้น
และหากจะถอดรหัสประเด็นคำพูดของ"สมชาย"ถือว่า สวนทางกับพฤติกรรมที่"ชายกระโปรง"ผู้นี้ได้กระทำลงไปครั้งที่เขานั่ง นายกรัฐมนตรี
เริ่มจากการพูดปลอบใจตนเองของ"นายสมชาย"โดยที่เขากล่าวว่า แม้จะเป็นนายกฯที่ไม่มีโอกาสนั่งทำเนียบเลย แต่ก็ไม่เป็นไร เพราะทำเนียบของตนอยู่ที่ดอนเมือง ในประวัติศาสตร์จะจารึกไว้ว่าสนามบินดอนเมืองสามารถบัญชาการการทำงานของรัฐบาลอย่างเต็มที่เหมือนกัน
"ชายกระโปรง"ผู้นี้ ยังไม่ได้สำนึกในความชั่วที่เขาได้กระทำลงไป โดยเขากล้าโกหกแบบหน้าตายว่า...."ตนไม่เคยคิดจะทำร้ายคนไทยด้วยกันเลย ท่านคงจำได้ ตอนที่มีคนยึดทำเนียบ นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกฯทำถูกต้องในการประกาศภาวะฉุกเฉิน พอตนเข้ามาคิดว่ามีประกาศไว้ก็ดี แต่ไม่มีคนทำงานตามประกาศก็ลำบาก ก็คิดว่าอยากจะใช้วิธีที่พูดจาปราศรัยกัน ตนจะเจรจาแต่ไม่ใช่ยอมหรือไม่ยอม แต่จะพูดกันฉันคนชาติเดียวกัน ตนจึงยกเลิกประกาศเพื่อให้เกิดการทำร้ายระหว่างคนไทยด้วยกัน แต่คนที่เข้าไปยึดทำเนียบตอนนั้นกับเราเปรียบเทียบกันไม่ได้ คือเรา(ม็อบแดงถ่อย)ไม่ทำผิดกฎหมายเราไม่ทำร้าย ไม่เกะกะระราน เรานั่งเป็นระเบียบเรียบร้อย
เขายังโกหก อีกว่า ตอนที่เขาเป็นนายกฯบอกเสมอว่าตามรัฐธรรมนูญสามารถชุมนุมได้ โดยสงบ ปราศจากอาวุธ และคนไทยทุกคนสามารถทำได้ แต่ก็แปลกที่เขา กลับไม่ได้กล่าวถึงการสลายการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 7 ต.ค.2551 แต่อย่างใด ทั้งที่เป็นเหตุการณ์สำคัญในช่วงที่เขาเป็นนายกฯโดยมีการใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบปรามอย่างป่าเถื่อนจนมีผู้เสียชีวิต-บาดเจ็บและพิการจำนวนมาก
ย้อนไปดูหลักฐานในการกระทำความผิดของ"นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์"ต่อกรณีการสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551
ถือว่าไม่ธรรมดา....
โดยเฉพาะจากคำให้ถ้อยคำของ"พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ”ผบ.ตร.ที่ยืนยันต่อคณะกรรมการสิทธิฯและถือเป็นหลักฐานสำคัญที่อยู่ในมือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)โดยระบุชัดเจนว่าเป็นฝีมือ “ชายเลือดเย็น”สั่งเข่นฆ่าผู้บริสุทธิ์หน้าสภา วัน 7 ตุลาทมิฬ
พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.ให้ถ้อยคำว่า"ในคืนวันที่ 6 ตุลาคม 2551 เวลาประมาณ 23.00 น. นายบุญทรง ไม่ทราบนามสกุล เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้ประสานมา เพื่อขอให้ผู้ให้ถ้อยคำเดินทางไปเข้าร่วมประชุมกับคณะรัฐมนตรี ที่อาคารสนามบินดอนเมือง เมื่อผู้ให้ถ้อยคำเดินทางไปถึง คณะรัฐมนตรีพร้อมแล้ว โดยมี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายวราวุธ ศิลปอาชา บุตรชายของนายบรรหาร ศิลปอาชา และบุคคลอื่นๆ อีกหลายคน ผู้ให้ถ้อยคำจำไม่ได้ทั้งหมด ยกเว้นนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ยังมาไม่ถึง พล.อ.ชวลิต สอบถามผู้ให้ถ้อยคำว่ามีวิธีการใดที่คณะรัฐมนตรีจะเข้าไปประชุมรัฐสภาในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ได้ผู้ให้ถ้อยคำแถลงชี้แจงต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีว่า 1.จะดันเข้าไปได้อย่างไร มีประชาชนจำนวนมากมาย หากดันเข้าไป จะมีคนได้รับบาดเจ็บหรือเปล่า
2.เปลี่ยนที่ประชุมได้หรือไม่ เนื่องจากมีสถานที่ที่จะสามารถใช้ในการประชุมเป็นจำนวนมากมาย หากจะยืนยันว่าจะประชุมวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ก็สามารถเปลี่ยนสถานที่ประชุมได้ เนื่องจากก่อนหน้าที่จะเข้ามาประชุม ผู้ให้ถ้อยคำได้โทรศัพท์สอบถามเลขาธิการรัฐสภา ผู้ให้ถ้อยคำจำชื่อและนามสกุลจริงไม่ได้ จำได้เพียงชื่อเล่นว่า “น้าหมู” หรือนางสุวิมล ผู้ให้ถ้อยคำแจ้งขอให้ เสนอแนะต่อรัฐบาลเพื่อขอให้เปลี่ยนสถานที่ประชุมไม่ทราบว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ เลขาธิการรัฐสภาแจ้งกับผู้ให้ถ้อยคำว่า หากจะเปลี่ยนก็ทำได้ง่ายมาก เพียงส่งข่าวผ่านทาง SMS 3.ตามรัฐธรรมนูญ รัฐบาลต้องแถลงนโยบายภายใน 15 วัน ฉะนั้น จึงสามารถประชุมได้ถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2551 และรัฐธรรมนูญก็มิได้บัญญัติความผิดได้
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไม่รับข้อเสนอของผู้ให้ถ้อยคำ และยืนยันจะประชุมที่รัฐสภาในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 พล.อ.ชวลิต จึงสั่งการให้ผู้ให้ถ้อยคำปฏิบัติให้ได้ และได้เรียกผู้ให้ถ้อยคำเข้าไปในห้องเล็กอีกห้องหนึ่ง มี พล.ต.อ.โกวิท รองนายกรัฐมนตรีไปด้วย และสั่งการให้ผู้ให้ถ้อยคำไปดำเนินการ ผู้ให้ถ้อยคำได้ออกจากห้องประชุมห้องเล็กนั้น แต่ยังไม่กลับเพราะต้องการพบนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ขณะนั้นนายกรัฐมนตรียังมาไม่ถึง....พอนายกรัฐมนตรี(นายสมชาย)มาถึง พร้อมกับ พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ให้ถ้อยคำถามนายกรัฐมนตรีว่า จะเอายังไง “นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ผู้ให้ถ้อยคำรีบไป ผู้ให้ถ้อยคำพยายามอธิบายนายกรัฐมนตรี แต่นายกรัฐมนตรีสั่งผู้ให้ถ้อยคำให้รับไปปฏิบัติ”
สำหรับพฤติกรรมที่ถือว่าเลือดเย็น และโกหกแบบสุด สุด ของ"ชายกระโปรง"ผู้นี้ เมื่อครั้งระหว่างแถลงนโยบายในรัฐสภาโดยเขากล้าพูดว่า ได้เข้าไปรัฐสภาโดยใช้ประตูด้านข้างเมื่อเวลาประมาณ 09.30 น.ขณะนั้นไม่มีเหตุการณ์รุนแรงแต่อย่างใด ในขณะที่แถลงนโยบาย ผู้ให้ถ้อยคำได้ยิน สมาชิกวุฒิสภาพูดประท้วง แต่เป็นการตะโกนโดยไม่ได้ทำตามระเบียบของรัฐสภา จับความไม่ได้ว่าสมาชิกวุฒิสภาพูดประท้วงแต่เป็นการตะโกนโดยไม่ได้ทำตามระเบียบของรัฐสภา จับความไม่ได้ว่าสมาชิกวุฒิสภา ผู้นั้นประท้วงเรื่องใดบ้าง ผู้ให้ถอยคำแถลงนโยบายเสร็จ เวลา 11.30 น.ระหว่างนั้น ไม่ได้ยินเสียงระเบิดแต่อย่างใด เมื่อแถลงเสร็จแล้วจึงมีผู้มารายงานให้ทราบนั้น เห็นว่าขณะที่นายสมชาย เดินทางเข้าไปในรัฐสภาแม้จะไม่มีเหตุการณ์รุนแรงอย่างใดแล้วก็ตาม แต่หากสังเกตสภาพพื้นถนน ก็ย่อมจะพบร่องรอยของการสลายการชุมนุมที่พื้นถนนเต็มไปด้วยขวดน้ำตกเกลื่อนกลาดเต็มไปหมด และน่าจะทราบว่าเกิดอะไรขึ้น หรือหากไม่ทราบ ก็สามารถสั่งการให้ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องรายงาน
นอกจากนั้นในระหว่างการแถลงนโยบายของรัฐบาล นางสาวรสนา โตสิตระกูล และ นายประสงค์ นุรักษ์ สมาชิกวุฒิสภา ลุกขึ้นประท้วง โดย นายประสงค์ แถลงว่า ไม่เห็นด้วยที่นายกรัฐมนตรีแถลงว่าจะให้ประชาชนมีส่วนร่วม เพราะข้างนอกรัฐสภามีประชาชนจำนวนมากได้รับบาดเจ็บจากการประท้วงและถูกปิดไมโครโฟน น.ส.รสนา จึงยกมือขออนุญาตประธานสภาแล้วแถลงว่า “ดิฉันคิดว่านายกรัฐมนตรีมาแถลงนโยบายในวันนี้ไม่ถูกต้อง เพราะข้างนอกมีประชาชนได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก นโยบายของท่านเป็นกระดาษแต่คนบาดเจ็บข้างนอกเป็นของจริง ท่านจะให้สภาเป็นตรายาง รับรองรัฐบาลเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง”แล้วก็ถูกปิดไมโครโฟนเช่นกัน แต่ น.ส.รสนา ยังคงพูดต่อไปแม้ถูกปิดไมโครโฟน
โดยข้อสรุปในสำนวน ระบุว่า"การสลายการชุมนุมในช่วงเช้า ฉะนั้น นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้สั่งการให้มีการสลายการชุมนุม และ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการสลายการชุมนุมและสั่งการให้มีการสลายการชุมนุม รวมทั้งรัฐมนตรีที่อยู่ด้วยในการประชุมคณะรัฐมนตรี แต่มิได้คัดค้านการใช้กำลังและระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุม ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นในการสลายการชุมนุม ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิต่อมนุษยชนและละเมิดต่อกฎหมาย เมื่อ นายสมชาย นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีทราบว่า ผลของการสลายการชุมนุมในช่วงเช้าเป็นเช่นใดแล้ว กลับปล่อยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังและระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุมอีกในช่วงบ่าย ช่วงเย็น และช่วงกลางคืน จนเป็นเหตุให้มีประชาชนได้รับบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัสจำนวนมาก และมีผู้เสียชีวิตด้วย โดยมิได้ห้ามปรามหรือมีมติหรือคำสั่งระงับยับยั้งการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ได้กระทำเกิดกว่าความจำเป็น การกระทำของ นายสมชาย และ พล.อ.ชวลิต รวมทั้งรัฐมนตรีที่อยู่ด้วยในการประชุมคณะรัฐมนตรี แต่มิได้คัดค้านการใช้กำลังและระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุ เข้าข่ายเป็นการปฏิบัติและหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด เมื่อปรากฎว่ามีประชาชนได้รับบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัสเป็นจำนวนมาก และมีผู้เสียชีวิตด้วยจากกการกระทำที่เกินความจำเป็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจดังกล่าว ซึ่งถือเป็นการละเมิดกฎหมายการกระทำของนายสมชาย นายกรัฐมนตรี พล.อ.ชวลิต รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่อยู่ด้วยในการประชุมคณะรัฐมนตรี แต่มิได้คัดค้านการสลายการชุมนุม เข้าข่ายเป็นความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้บุคคลอื่นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส, ฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157, 295, 297, 288, 84"
จากผลการกระทำของ"นายสมชาย"ที่มีหลักฐานดังปรากฎในคำให้การดังกล่าวข้างต้น ทำให้เมื่อวันที่ 16 มี.ค.ที่ผ่านมาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ป.ป.ช.โดยมีนายวิชา มหาคุณ ประธานอนุกรรมการไต่สวน มีมติตั้งข้อกล่าวหาบุคคลที่เกี่ยวข้องในการสั่งสลายการชุมนุม ซึ่งก่อให้เกิดการบาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิต รวม 7 คน ประกอบด้วย
1.นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งเรียกประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษและมีมติให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดำเนินการเปิดทางให้สมาชิกรัฐบาลเข้าประชุมในวันที่ 7 ต.ค.51 จนมีผู้บาดเจ็บแต่ก็ยังมิได้ยับยั้งมิให้เกิดความรุนแรงขึ้นอีก จึงแจ้งข้อกล่าวหาเกี่ยวกับความผิดทางอาญา ตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 157
2.พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ในฐานะรองนายกรัฐมตรี และได้รับการมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้เป็นผู้รับผิดชอบเหตุการณ์และเหตุการณ์และสั่งการสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ดำเนินการทุกวิถีทางในอันที่ผลักดันกลุ่มผู้ชุมนุม โดยใช้แก็สน้ำตา แม้ลาออกจากตำแหน่งในเวลา 09.00น.ก็ถือว่ามีส่วนรับผิดชอบในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงแจ้งข้อกล่าวหาเกี่ยวกับความผิดทางอาญา ตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 157
3.พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ในฐานะผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งรับผิดชอบตามอำนาจหน้าที่ แม้ได้ความว่ามีการมอบหมายให้มีผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน และแต่งตั้งผู้บัญชาการเหตุการณ์ใหแป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง แต่ก็ต้องให้ความสำคัญติดตามความเคลื่อนไหวในการชุมนุมอย่างใกล้ชิด เมื่อเกิดเหตุรุนแรง ขาขาด แขนขาด ก็ต้องยับยั้งไม่ให้เหตุการณ์ลุกลามต่อไป จึงแจ้งข้อกล่าวหาทางวินัยฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความอุตสาหะ เอาใจใส่ระมัดระวังรักษาประโยชน์ของทางราชการ ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ
4.พล.ต.อ.วิโรจน์ พหลเวชช์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้รับมอบหมายหน้าที่จากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้สั่งและปฏิบัติราชการแทน ได้รับทราบนโยบายและควบคุมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยในการสลายฝูงชน จึงแจ้งข้อกล่าวหาความผิดทางวินัย เช่นเดียวกับผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
5.พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ในฐานะผู้บัญชาการเหตุการณ์ ตามแผนกรกฎ 48 เป็นผู้ควบคุมสั่งการทุกเหตุการ์ที่มีการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและฝูงชนจนเกิดการบาดเจ็บสาหัสและถึงแก่ความตายและเว้นไม่หยุดยั้งการกระทำอันรุนแรงที่เกิดขึ้น จึงแจ้งข้อกล่าวหาทั้งทางวินัย และทางอาญา ฐานกระทำหรือละเว้นการกระทำใดๆอันเกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
6.พล.ต.ต.ลิขิต กลิ่นอวล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ได้รับมอบหมายให้มีภารกิจเปิดทางให้สมาชิกสภาเข้าประชุมด้านในประตูปราสาทเทวฤทธิ์ โดยเป็นผู้รับผิดชอบในการสลายฝูงชนจนเกิดความรุนแรง แจ้งข้อกล่าวหาทั้งทางวินัยและอาญา
7.พล.ต.ต.เอกรัตน์ มีปรีชา รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาลได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์แทน พลตำรวจตรีอำนวย นิ่มมะโน ซึ่งขอลาไปงานศพบิดา ในวันที่ 7 ต.ค.โดยสั่งให้มีการสลายฝูงชนในเวลา 16.00น.-17.00น.จนมีผู้เสียชีวิต จึงแจ้งข้อกล่าวหาทั้งทางวินัยและทางอาญ
ดังนั้น จากหลักฐานที่กล่าวมา ถือว่า เพียงพอหรือยัง ที่จะจับโกหก"ชายกระโปรง"ผู้นี้ อีกทั้ง ใครกันคือ ผู้จุดความรุนแรง เฆ่นฆ่า ประชาชนผู้บริสุทธิ์....