คนร้ายเจ้าเล่ห์ว่าจ้างให้บุคคลทั่วไปไปเปิดบัญชี จากนั้นนำข้อมูลบัตรประชาชนคีย์ข้อมูลขอคืนเงินภาษี หลอกกรรมสรรพากรจนหลงเชื่อคืนเงินให้กว่า 1.5 ล้าน เจ้าตัวอ้างได้แค่ 3 แสน แต่ยอมรับสารภาพกราบขอโทษคนไทยที่นำเงินแผ่นดินไปใช้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ระบุกรมสรรพากรหละหลวมทำให้หลอกเอาเงินมาใช้ได้โดยง่าย ขณะที่ตำรวจเชื่อมีแก๊งลักษณะเช่นนี้อีก
วันนี้ (6 มี.ค.) เมื่อเวลา 11.00 น.ที่กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี (บก.ปศท.) นายวินัย วิทวัสการเวช อธิบดีกรมสรรพากร พล.ต.ท.ไถง ปราศจากศัตรู ผบช.ก. พล.ต.ต.ปัญญา มาเม่น รอง ผบช.ก. พล.ต.ต.โกวิทย์ วงศ์รุ่งโรจน์ ผบก.ปศท. และ พ.ต.อ.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ รอง ผบก.ศตท. (ศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ) ร่วมกันแถลงผลการจับกุมนายพงศ์กรณ์ อภิกุลไพศาล หรือ นายเลิศพงศ์ ผ่องรัตนนันท์ อายุ 42 ปี และ น.ส.บุศรา อุดมพรกุล พร้อมของกลาง คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง เอกสารบันทึกรายชื่อ พร้อมเลขบัตรประชาชน 16 แผ่น สำเนาบัตรประชาชน 28 ฉบับ เอกสารใบนำฝากธนาคาร 3 ซอง สมุดบันทึกชื่อบุคคล รหัสเอทีเอ็ม และเลขบัญชีธนาคาร 3 เล่ม สมุดบัญชีธนาคารต่างๆ จำนวน 86 เล่ม บัตรเอทีเอ็ม 83 ใบ สำเนาทะเบียนบ้าน 30 แผ่น สมุดบัญชีธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารทหารไทย ระบุชื่อน.ส.อภัสนันท์ ศิริพชรพันธ์ และ handy drive 2 อัน
นายวินัย กล่าวว่า การจับกุมครั้งนี้สืบเนื่องจาก กรรมสรรพากรได้ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลการขอคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทางอินเทอร์เน็ต ก็พบความผิดปกติโดยมีข้อมูลใช้ที่อยู่ขอคืนเงินภาษีเป็นที่เดียวกันเป็นจำนวนมาก และอ้างหลักฐานว่ามีเงินได้พึงประเมินจากค่านายหน้าและดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ตามหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่เมื่อตรวจสอบข้อมูลการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ก็ไม่พบว่ามีการส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายของผู้ขอคืนเงินภาษีแต่อย่างใด ทางกรรมสรรพาการจึงประสานไปยัง บก.ปศท. และศตท. ให้ทำการตรวจสอบ จนพบว่าผู้ต้องหาได้ว่าจ้างให้บุคคลอื่นไปเปิดบัญชีเงินฝากธนาคาร พร้อมทำบัตรเอทีเอ็ม โดยอ้างว่าจะนำไปใช้ในการขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ต จากนั้นจะนำบัตรเอทีเอ็มพร้อมรหัสบัตรมาเก็บไว้กับตัว
อธิบดีกรมสรรพากรกล่าวต่อว่า จากนั้นผู้ต้องหาได้นำรายชื่อบุคคลที่ว่าจ้างให้ไปเปิดบัญชีกว่า 100 ราย ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และขอคืนเงินภาษี หลอกลวงกรมสรรพากร ด้วยการแจ้งที่อยู่ผู้ขอคืนภาษีเป็นเท็จ โดยใช้ที่อยู่ของผู้ต้องหา หรือบ้านร้างใกล้เคียงที่ไม่มีคนอยู่อาศัย นอกจากนี้ยังแสดงจข้อความเป็นเท็จ ในแบบแสดงรายการภาษีว่า ได้ค่านายหน้าจากบริษัท ยูนีทลีโอ จำกัด มีดอกเบี้ยจาก ธ.กรุงไทย ธ.กรุงเทพ และธ.ออมสิน ทั้งๆ ที่คนเหล่านั้นไม่ได้มีที่อยู่ดังกล่าว และไม่เคยได้เงินค่านายหน้า หรือดอกเบี้ยจากธนาคาร และก็ไม่เคยยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีด้วย
“การกระทำดังกล่าวทำให้กรรมสรรพากรหลงเชื่อ คืนภาษีให้ตามที่อยู่ที่แจ้งคืนไว้ โดยในการสั่งจ่ายเป็นเช็ค ได้ระบุชื่อ และขีดคร่อมนำเข้าบัญชีเงินฝากธนาครของผู้ที่ได้รับคืนภาษี จากนั้นผู้ต้องหาซึ่งมีสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารพร้อมบัตรเอทีเอ็มเหล่านั้นอยู่ ได้นำเช็คดังกล่าว ไปเข้าบัญชี และเอาบัตรเอทีเอ็มไปเบิกถอนเงินจากตู้เอทีเอ็มได้ ซึ่งทำให้กรมสรรพากรได้รับความเสียหายเป็นเงินกว่า 1.5 ล้านบาท” นายวินัยระบุ
นายวินัยกล่าวต่อว่า หลังจากทราบเรื่องทั้งหมด เมื่อวานนี้ (5 มี.ค.) เมื่อเวลาประมาณ 18.00 น. เจ้าหน้าที่ได้นำหมายค้นของศาลจังหวัดตลิ่งชัน ลงวันที่ 5 มี.ค.52 เข้าจับกุมผู้ต้องหา ได้ที่บ้านเลขที่ 43/135 หรือ 10/135 หมู่ 9 หมู่บ้านสินทรัพย์นครการ์เด้น ถนนกาญจนภิเษก แขวงและเขตบางแค กทม. ก่อนนำตัวมาสอบปากคำและดำเนินคดี
เบื้องต้น นายพงศ์กรให้การรับสารภาพว่า ก่อนอื่นต้องขอกราบขอโทษคนไทยที่เอาเงินจของแผ่นดินมาใช้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยตนเริ่มทำมาตั้งแต่ปี 48-49 ที่กรมสรรพากรให้มีการยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก เนื่องจากเห็นว่าการยื่นแบบทางเน็ตดังกล่าวมีความหละหลวม ขอคืนเท่าไหร่มักจะได้เท่านั้นก็เลยลองยื่นดูไป 3 พันบาท และได้คืนเงินจำนวนดังกล่าวมา นอกจากนี้ ในเรื่องของเช็คก็ยังเป็นเช็คที่กรรมสรรพากรส่งมาให้นั้นไม่ได้ลงทะเบียน และส่งไปตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ ทำให้สามารถนำไปเข้าบัญชี และใช้เอทีเอ็มกดเงินออกมาได้
“ผมลองจ้างคนอื่นไปเปิดบัญชีดูรายละ 1,000 บาท จากนั้นนำบัญชีมาพร้อมกับเลขบัตรประชาชนไปทำการขอคืนภาษี โดยจะขอคืนรายละ 3-4 พันบาท นอกจากนี้ หากใครสามารถชักชวนคนอื่นมาได้ก็จะได้ค่านายหน้าอีกคนละ 500 บาท โดยตอนนี้ผมมีชื่อบัญชีอยู่ประมาณ 40 คน และตั้งแต่เริ่มทำมา ผมได้เงินมาประมาณ 3 แสนบาทเท่านั้น” นายพงศ์กรสารภาพ
ด้าน พ.ต.อ.พิสิษฐ์ กล่าวว่า คนร้ายได้ทำการรับซื้อเลขบัตรประชาชน เมื่อได้มาแล้วจะนำมาปลอมแปลงไปขอยืนคืนภาษี เท่าที่ตรวจสอบมาประมาณ 1 เดือน พบว่า มีวงเงินที่คนร้ายได้ไปประมาณ 5 แสน แต่น่าจะมีสูงถึง 1.5 ล้านบาท นอกจากนี้ยังเชื่อว่ายังมีกลุ่มคนร้ายที่มีพฤติกรรมแบบนี้อยู่อีก
อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นตำรวจได้แจ้งข้อหาร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือประชาชน อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และข้อหาร่วมกันฉ้อโกง ก่อนจะนำตัวมอบให้พนักงานสอบสวน บก.ปศท.ดำเนินคดีต่อไป
วันนี้ (6 มี.ค.) เมื่อเวลา 11.00 น.ที่กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี (บก.ปศท.) นายวินัย วิทวัสการเวช อธิบดีกรมสรรพากร พล.ต.ท.ไถง ปราศจากศัตรู ผบช.ก. พล.ต.ต.ปัญญา มาเม่น รอง ผบช.ก. พล.ต.ต.โกวิทย์ วงศ์รุ่งโรจน์ ผบก.ปศท. และ พ.ต.อ.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ รอง ผบก.ศตท. (ศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ) ร่วมกันแถลงผลการจับกุมนายพงศ์กรณ์ อภิกุลไพศาล หรือ นายเลิศพงศ์ ผ่องรัตนนันท์ อายุ 42 ปี และ น.ส.บุศรา อุดมพรกุล พร้อมของกลาง คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง เอกสารบันทึกรายชื่อ พร้อมเลขบัตรประชาชน 16 แผ่น สำเนาบัตรประชาชน 28 ฉบับ เอกสารใบนำฝากธนาคาร 3 ซอง สมุดบันทึกชื่อบุคคล รหัสเอทีเอ็ม และเลขบัญชีธนาคาร 3 เล่ม สมุดบัญชีธนาคารต่างๆ จำนวน 86 เล่ม บัตรเอทีเอ็ม 83 ใบ สำเนาทะเบียนบ้าน 30 แผ่น สมุดบัญชีธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารทหารไทย ระบุชื่อน.ส.อภัสนันท์ ศิริพชรพันธ์ และ handy drive 2 อัน
นายวินัย กล่าวว่า การจับกุมครั้งนี้สืบเนื่องจาก กรรมสรรพากรได้ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลการขอคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทางอินเทอร์เน็ต ก็พบความผิดปกติโดยมีข้อมูลใช้ที่อยู่ขอคืนเงินภาษีเป็นที่เดียวกันเป็นจำนวนมาก และอ้างหลักฐานว่ามีเงินได้พึงประเมินจากค่านายหน้าและดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ตามหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่เมื่อตรวจสอบข้อมูลการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ก็ไม่พบว่ามีการส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายของผู้ขอคืนเงินภาษีแต่อย่างใด ทางกรรมสรรพาการจึงประสานไปยัง บก.ปศท. และศตท. ให้ทำการตรวจสอบ จนพบว่าผู้ต้องหาได้ว่าจ้างให้บุคคลอื่นไปเปิดบัญชีเงินฝากธนาคาร พร้อมทำบัตรเอทีเอ็ม โดยอ้างว่าจะนำไปใช้ในการขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ต จากนั้นจะนำบัตรเอทีเอ็มพร้อมรหัสบัตรมาเก็บไว้กับตัว
อธิบดีกรมสรรพากรกล่าวต่อว่า จากนั้นผู้ต้องหาได้นำรายชื่อบุคคลที่ว่าจ้างให้ไปเปิดบัญชีกว่า 100 ราย ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และขอคืนเงินภาษี หลอกลวงกรมสรรพากร ด้วยการแจ้งที่อยู่ผู้ขอคืนภาษีเป็นเท็จ โดยใช้ที่อยู่ของผู้ต้องหา หรือบ้านร้างใกล้เคียงที่ไม่มีคนอยู่อาศัย นอกจากนี้ยังแสดงจข้อความเป็นเท็จ ในแบบแสดงรายการภาษีว่า ได้ค่านายหน้าจากบริษัท ยูนีทลีโอ จำกัด มีดอกเบี้ยจาก ธ.กรุงไทย ธ.กรุงเทพ และธ.ออมสิน ทั้งๆ ที่คนเหล่านั้นไม่ได้มีที่อยู่ดังกล่าว และไม่เคยได้เงินค่านายหน้า หรือดอกเบี้ยจากธนาคาร และก็ไม่เคยยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีด้วย
“การกระทำดังกล่าวทำให้กรรมสรรพากรหลงเชื่อ คืนภาษีให้ตามที่อยู่ที่แจ้งคืนไว้ โดยในการสั่งจ่ายเป็นเช็ค ได้ระบุชื่อ และขีดคร่อมนำเข้าบัญชีเงินฝากธนาครของผู้ที่ได้รับคืนภาษี จากนั้นผู้ต้องหาซึ่งมีสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารพร้อมบัตรเอทีเอ็มเหล่านั้นอยู่ ได้นำเช็คดังกล่าว ไปเข้าบัญชี และเอาบัตรเอทีเอ็มไปเบิกถอนเงินจากตู้เอทีเอ็มได้ ซึ่งทำให้กรมสรรพากรได้รับความเสียหายเป็นเงินกว่า 1.5 ล้านบาท” นายวินัยระบุ
นายวินัยกล่าวต่อว่า หลังจากทราบเรื่องทั้งหมด เมื่อวานนี้ (5 มี.ค.) เมื่อเวลาประมาณ 18.00 น. เจ้าหน้าที่ได้นำหมายค้นของศาลจังหวัดตลิ่งชัน ลงวันที่ 5 มี.ค.52 เข้าจับกุมผู้ต้องหา ได้ที่บ้านเลขที่ 43/135 หรือ 10/135 หมู่ 9 หมู่บ้านสินทรัพย์นครการ์เด้น ถนนกาญจนภิเษก แขวงและเขตบางแค กทม. ก่อนนำตัวมาสอบปากคำและดำเนินคดี
เบื้องต้น นายพงศ์กรให้การรับสารภาพว่า ก่อนอื่นต้องขอกราบขอโทษคนไทยที่เอาเงินจของแผ่นดินมาใช้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยตนเริ่มทำมาตั้งแต่ปี 48-49 ที่กรมสรรพากรให้มีการยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก เนื่องจากเห็นว่าการยื่นแบบทางเน็ตดังกล่าวมีความหละหลวม ขอคืนเท่าไหร่มักจะได้เท่านั้นก็เลยลองยื่นดูไป 3 พันบาท และได้คืนเงินจำนวนดังกล่าวมา นอกจากนี้ ในเรื่องของเช็คก็ยังเป็นเช็คที่กรรมสรรพากรส่งมาให้นั้นไม่ได้ลงทะเบียน และส่งไปตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ ทำให้สามารถนำไปเข้าบัญชี และใช้เอทีเอ็มกดเงินออกมาได้
“ผมลองจ้างคนอื่นไปเปิดบัญชีดูรายละ 1,000 บาท จากนั้นนำบัญชีมาพร้อมกับเลขบัตรประชาชนไปทำการขอคืนภาษี โดยจะขอคืนรายละ 3-4 พันบาท นอกจากนี้ หากใครสามารถชักชวนคนอื่นมาได้ก็จะได้ค่านายหน้าอีกคนละ 500 บาท โดยตอนนี้ผมมีชื่อบัญชีอยู่ประมาณ 40 คน และตั้งแต่เริ่มทำมา ผมได้เงินมาประมาณ 3 แสนบาทเท่านั้น” นายพงศ์กรสารภาพ
ด้าน พ.ต.อ.พิสิษฐ์ กล่าวว่า คนร้ายได้ทำการรับซื้อเลขบัตรประชาชน เมื่อได้มาแล้วจะนำมาปลอมแปลงไปขอยืนคืนภาษี เท่าที่ตรวจสอบมาประมาณ 1 เดือน พบว่า มีวงเงินที่คนร้ายได้ไปประมาณ 5 แสน แต่น่าจะมีสูงถึง 1.5 ล้านบาท นอกจากนี้ยังเชื่อว่ายังมีกลุ่มคนร้ายที่มีพฤติกรรมแบบนี้อยู่อีก
อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นตำรวจได้แจ้งข้อหาร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือประชาชน อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และข้อหาร่วมกันฉ้อโกง ก่อนจะนำตัวมอบให้พนักงานสอบสวน บก.ปศท.ดำเนินคดีต่อไป