“เด็กเร่ร่อน” ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไหร่ภาพที่สังคมวาดเอาไว้ให้พวกเขาก็ยังคงไม่เปลี่ยน ทั้งเกเร ขอทาน ติดยา เนื้อตัวสกปรกมอมแมม และเป็นภาระของสังคม ไม่มีใครที่อยากที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือแม้แต่คิดที่หยิบยื่นน้ำใจเข้าไปให้ความช่วยเหลือ ทำให้โอกาสที่จะก้าวขึ้นมามีชีวิตที่ดีแทบมองไม่เห็น ไม่เพียงแต่เด็กเร่ร่อนเท่านั้นที่ถูกวาดภาพเอาไว้ในทางลบและต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว ยังมีเด็กอีกหนึ่งกลุ่มที่สังคมมองข้ามและปิดกั้นโอกาสนั่นก็คือ “เด็กด้อยโอกาส” แต่ท่ามกลางความโดดเดี่ยว และความหวังอันริบหรี่ของเด็กๆเหล่านั้น ก็ยังมีแสงสว่างจากคนกลุ่มหนึ่งส่องไปที่พวกเขา นำพาพวกเขาไปพบเจอกับสิ่งดีๆและมีชีวิตที่ดี
“เราสบายใจที่ได้ช่วยเหลือชีวิตคน แต่สิ่งที่เราปรารถนาก็คือ ให้โอกาสกับเด็ก ให้อย่างต่อเนื่อง เพราะการทำงานกับเด็กในวัยเล็กๆมันจะมีผลในภายภาคหน้า เขาจะเป็นประชาชนที่มีคุณภาพ สอนให้เขามีศีลธรรม มีความรู้ โตไปเขาจะเป็นผู้ใหญ่ที่ดีเป็นผู้ใหญ่ที่มีแต่ให้ เพราะเขาได้รับการให้มาแล้ว” ความรู้สึกลึกๆของ ด.ต.สมศักดิ์ บุญรัตน์ “ครูตำรวจข้างถนน”
ด.ต.สมศักดิ์ บุญรัตน์ เจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ สังกัดสถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ กองบัญชาการตำรวจนครบาล บุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อสังคมถึง 2 อย่างในเวลาเดียวกัน ทั้งเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์และครูตำรวจข้างถนน
ด.ต.สมศักดิ์บอกกับเราถึงบทบาทครูตำรวจข้างถนนว่า เริ่มทำหน้าที่ครูตำรวจข้างถนนตั้งแต่ยังไม่เกิดเป็นโครงการ ก่อนหน้านี้ปฏิบัติหน้าที่สายตรวจอยู่ที่ สน.ปทุมวัน เวลาที่ออกตรวจท้องที่ก็จะเจอปัญหาเยอะ โดยเฉพาะ เด็กเร่ร่อน ติดยา เด็กพวกนี้จะอยู่ตามตึกร้าง หัวลำโพง ใต้สะพาน ทำให้รู้สึกสงสารและอยากที่จะช่วยเหลือพวกเขาบ้าง เด็กๆเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีปัญหา ไม่เช่นนั้นคงไม่มีชีวิตอย่างนี้ เด็กพวกนี้เป็นเด็กที่มีปัญหาครอบครัวอยู่แล้ว มีผู้ปกครองอยู่ต่างจังหวัด แต่ตัวเองต้องมาอยู่กรุงเทพฯ เด็กส่วนใหญ่มีบ้านเป็นหลักแหล่ง แต่เขาอยู่บ้านไม่ได้ครอบครัวแตกแยก เลยต้องออกมาอยู่ตามลำพังข้างนอก
กระทั่งปี 2544 กองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้ริเริ่มก่อตั้งโครงการครูตำรวจข้างถนน โดยมุ่งเน้นไปในเขตพื้นที่ที่มีเด็กเร่ร่อนอาศัยอยู่จำนวนมาก ปัจจุบันมีสถานีตำรวจที่อยู่ในโครงการทั้งหมด 28 สน.สำหรับสน.บางซื่อก็อยู่ใน 28 สน.นั้นด้วย ทำให้ ด.ต.สมศักดิ์ ไม่รอช้าที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกในโครงการนี้
“ผมทำมาตั้งแต่ปี 2544 จนถึงตอนนี้ก็ประมาณ 8 ปีแล้ว เมื่อก่อนที่ผมยังอยู่ปทุมวัน ละแวกนั้นมีเด็กเยอะ อย่างหัวลำโพง เหนือ ใต้ อีสาน ก็จะมาลงที่นั่น เด็กเยาวชนที่ขึ้นมาจากต่างจังหวัดก็จะมารวมตัวกันตรงนั้น ตามบ้านร้าง รางรถไฟ หรือโบกี้รถไฟเขาก็จะไปพักอาศัยกันตรงนั้น ผมเลยทำต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ เพื่อเป็นการสกัดกั้นไม่ให้เด็กๆไปสู่จุดที่ไม่ดี เมื่อมาอยู่ที่สน.บางซื่อ ก็ไปตามสถานีรถไฟ สนามหลวง สะพานพุทธและตามชุมชนต่างๆ ใหม่ๆเราต้องทำความเข้าใจกับเขาก่อน เข้าไปทำให้เขาอบอุ่น คือเราไม่ได้แต่งเครื่องแบบเข้าไป ถ้าแต่งเครื่องแบบเขาจะกลัว กลัวว่าตำรวจจะจับเขา เราก็จะไปนอกเครื่องแบบไม่ให้เขากลัว”
ด.ต.สมศักดิ์ บอกว่า ทุกๆเย็นจะใช้รถยนต์ ออกตระเวนไปตามถนนหนทางและชุมชนต่างๆ เจอเด็กเร่ร่อนตรงไหนก็จอด อายุของเด็กๆที่ลงพื้นที่เข้าไปสอน มีตั้งแต่อายุ 7 ขวบ-20 กว่าๆ การสอนจะใช้สิ่งของที่มีอยู่รอบตัวที่พอหาได้ ไม่ใช้หนังสือเรียน จะปลูกฝังให้เด็กรู้จักศีลธรรม จริยธรรม และการดำเนินชีวิต เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยมีความดีเป็นเกราะคุ้มกัน ห้องเรียนก็คือธรรมชาติเพราะไม่มีโรงเรียน ทุกครั้งที่เข้าไปสอนก็จะมีขนมไปให้กิน ระหว่างที่เขากินขนมก็สอนเขาไปด้วย ต้องดูว่าเด็กคนไหนเป็นอย่างไรจะต้องใช้ยุทธวิธีไหนในการพูดคุยกับเขา ไม่เพียงแต่ตัวของ ด.ต.สมศักดิ์ เท่านั้นที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อเด็กเร่ร่อน ยากไร้ ครอบครัวของ ด.ต.สมศักดิ์ ทั้งภรรยา ลูกสาว และลูกชาย ต่างก็มาช่วยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการช่วยเหลือเด็กๆเหล่านี้ด้วย ปัจจุบันลูกชายของ ด.ต.สมศักดิ์ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่าง ของศูนย์ฮอนด้า ส่วนลูกสาวประกอบอาชีพเป็นพนักงานฝ่ายการเงินของธนาคารกรุงเทพ สาขาวรจักร ลูกทั้ง 2 คนจะใช้เวลาหลังเลิกงานมาช่วยผู้เป็นพ่อลงพื้นที่สอนเด็กๆแทบทุกวัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยจะเห็นนักในวงการสีกากีเพราะลูกตำรวจส่วนใหญ่คงไม่มาทำอะไรเพื่อสังคมเช่นนี้
ด.ต.สมศักดิ์ เล่าว่า ทีมงานที่ลงพื้นที่ไปด้วยกันก็คือคนในครอบครัว ภรรยา ลูกสาวและลูกชาย ลูกเป็นช่างอยู่ศูนย์ฮอนด้า ก็จะสอนเกี่ยวกับเรื่องเครื่องรถยนต์ต่างๆ ส่วนลูกสาวทำงานแบงก์กรุงเทพลูกสาวเรียนจบมนุษย์ศาสตร์ เอกสื่อสารมวลชน ก็จะสอนเด็กๆร้องเพลงและสอนเกี่ยวกับการเป็นพิธีกร วิธีการพูด จัดกิจกรรมย่อยๆให้เด็กๆ มีไมค์ให้ร้องเพลง หรือสมมติให้ตัวเขาเป็นพิธีกรโดยจะเลือกเรื่องให้เขาพูดสัก 1 เรื่อง ฝึกเขา และจะดูทัศนคติเขาว่า กิจกรรมตรงนี้ที่มอบให้เขาจะทำได้ไหม นอกจากนี้ยังรู้ถึงจิตใจของเขาได้จากคำพูดของเขาที่แสดงออกมาว่าลึกๆแล้วเขาต้องการอะไร ที่สำคัญเด็กเหล่านี้เร่ร่อนอยู่ในสังคมที่โหดร้ายมานานเขาย่อมมองเห็นสิ่งที่ไม่ดีมากมาย เขาก็สามารถบอกเบาะแสเกี่ยวกับอาชญากรรมให้เราได้ มาเป็นสายสืบให้ตำรวจ
“2-3 วันก็จะหมุนเวียนกลับไปที่เดิม เพราะมันมีหลายที่ เด็กเขาก็เร่ร่อนไปเรื่อยคำว่าเร่ร่อนคือเขาอยู่ได้หลายที่ การไปเยี่ยมเขาเราก็เหมือนติดตาม ติดตามลักษณะนิสัยเขาท่าทีเขาทัศนคติเขาเปลี่ยนแปลงไปในทางไหนถ้าเขารับสังคมได้เราก็จะให้เขาเลือกว่าจะไปทางไหน อยากฝึกอาชีพเราก็นำพาเขาไป ถ้าเขาอยากเรียนเราก็ส่งเขาเรียน ถ้าอยากกลับบ้านเราก็ส่งเขากลับบ้าน เด็กๆที่อยากเรียนเราจะส่งเขาไปเรียนที่จังหวัดชัยนาท เงินที่ส่งก็ “เงินเดือนตัวเอง” และก็มีผู้ใหญ่ใจดีใจบุญที่เขามามอบให้ด้วย เราก็นำเงินตรงนั้นมาเป็นทุนการศึกษาให้กับเด็กที่เราส่งไปเรียนเป็นรายๆ สมุด ดินสอ ปากกาที่ได้มาเราก็นำไปมอบให้กับโรงเรียนและกับตัวของเด็กเอง เพื่อให้เขามีชั้นเรียนสูงๆขึ้น”
ไม่เพียงแต่ส่งเสียให้เด็กๆได้เรียนสูงๆเพื่อมีชีวิตที่ดีขึ้น ด.ต.สมศักดิ์ ยังคอยหาอาชีพให้เด็กๆได้ทำหากคนใดไม่อยากเรียนก็ให้ประกอบอาชีพ หรือถ้าเด็กคนไหนตั้งใจและใฝ่ดีก็จะพาไปบวชเรียนที่วัดโพธิ์งาม จ.ชัยนาท ซึ่งเป็นบ้านเกิดของด.ต.สมศักดิ์เอง ที่ผ่านมามีเด็กเร่ร่อนจำนวนไม่น้อยที่ผ่านการฝึกอาชีพจนออกไปประกอบอาชีพต่างๆหารายได้ให้กับตัวเองและครอบครัว อีกส่วนหนึ่งก็บวชเรียนจนจบนักธรรมตรี โท เอก บางคนยังมีวุฒิมัธยมพ่วงไปด้วย เมื่อเด็กพวกนี้กลับไปสู่ครอบครัว มีอาชีพติดตัวก็สามารถไปต่อทางอื่นๆได้ ถ้าขาดเหลือก็ช่วยจัดหาให้
“เด็กที่ส่งไปเรียนที่ชัยนาทตอนนี้มีอยู่ประมาณ 5-6 คน ต้องจ่ายเงินทุกวันวันละ 60 บาท 5 วัน เดือนๆนึงก็2-3 พัน ถ้าไม่มีคนบริจาคให้เราก็เอาตังค์ของเราเองให้เขา ก็พอไหวครอบครัวเข้าใจ เมื่อเราออกสื่อไป ก็มีผู้ใหญ่ใจดีติดต่อเข้ามาบริจาคเงิน เสื้อผ้า สมุดดินสอ ปากกา เราก็รวบรวมส่งไปรษณีย์ไปให้เด็กๆที่เราส่งกลับบ้านนอกไปเรียน เงินเราก็เอาไว้ให้เป็นทุนการศึกษาของเขา ถ้าเป็นสมุดดินสอก็เอาไว้ให้เขาใช้เป็นอุปกรณ์ในการเรียน เงินก็ให้อาจารย์ไว้ฝากบัญชีเขา ให้เขาใช้วันละ 10 บาท ส่วนเรื่องการฝึกอาชีพ ต้องดูว่าอยากจะฝึกอาชีพอะไร ตลาดต้องการขนาดไหน ส่วนมากจะสอนให้เขาไปนวดแผนไทยมากกว่า พาเขาไปฝึกสถานที่ที่เขาฝึกกันโดยออกค่าเรียนให้ ออกค่าที่พักให้ เพราะการเรียนส่วนใหญ่ไม่เกิน 10 วัน วันละ 4-5 ชั่วโมง ฝึกจบออกมาเขาก็สามารถทำมาหากินได้ บางคนก็อยากอยู่ร้านเสริมสวยเราก็พาไปเป็นลูกน้องก่อน หัดสระไดร์ เพราะก่อนที่เราจะพาเขาไปฝากเรารู้แล้วว่าร้านไหนต้องการเด็ก ต้องการช่าง เพราะช่างดีๆบางคนก็คิดค่าจ้างแพงเขาก็ไม่อยากเอา เราก็พาเด็กไปแนะนำ ค่าจ้างเล็กๆน้อยๆเด็กมันก็เอา ทิ๊ปอีกต่างหาก อย่างเด็กๆที่เคยฝึกนวด เมื่อไปเร่ร่อนหรืออยู่ตามข้างถนนอีกเขาก็สามารถนวดแม่ค้าได้ 10-20 บาทเป็นค่าแรง หลายๆรายก็ได้เป็นร้อย ที่ถนนข้าวสารเป็นเด็กๆที่ได้รับการฝึกจากผมไปเกือบทั้งนั้น”
ด.ต.สมศักดิ์ เล่าต่อว่า เรื่องผู้บังคับบัญชาบางท่านก็ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดีพียงแต่คำพูดเปิดไฟเขียวให้เราทำงานตรงนี้เราก็ภาคภูมิใจแล้ว ไม่เข้ามาขวาง ไม่ต้องไม่พอใจ หยิบยื่นความสนับสนุนรอยยิ้มให้กับคนทำงาน ไม่ต้องการที่จะให้มาสนับสนุนเรื่องเงินทอง เพราะผ่านมาหลายปีรู้ดีว่าคนที่เข่ามาช่วยต้องการอะไร
นอกจากภารกิจข้างต้นแล้ว ด.ต.สมศักดิ์ ยังจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อสร้างความรักและความอบอุ่นให้แก่เด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดงานวันเด็ก วันแม่ วันพ่อ หรือแม้กระทั่งวันเกิด ด.ต.สมศักดิ์จะทำประวัติของเด็กเร่ร่อนเอาไว้ทุกคน เมื่อถึงวันเกิดก็จะซื้อเค้กและจัดงานเล็กๆให้ โดยซื้อเค้กจากเซเว่นฯก้อนละไม่กี่บาทมานั่งกินกันข้างถนน และในวัน ที่ 14 ก.พ. 52 วันแห่งความรักที่ใกล้จะถึงนี้ ด.ต.สมศักดิ์ จะจัดกิจกรรมครั้งใหญ่เป็นพิเศษ ภายในชุมชนอาเซียน ย่านถนนประดิพัทธ์ มีการชวนเด็กทั่วกรุงเทพฯ เด็กเร่ร่อน รวมถึงเด็กด้อยโอกาสหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงตามชุมชนประมาณ 300-400 คนมาร่วมงาน
“ตอนนี้เด็กเขารู้แล้วว่าเราจะจัดงานตรงไหน เขาจะบอกงานพ่อ พ่อให้เขาจะรู้กัน แล้วเขาก็จะมารวมตัวกันเยอะๆ จะมีหมออาสามาช่วยเขามาดูแลเด็กๆบางคนที่เป็นโรคประจำตัว หรือโรคอื่นๆ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายจะมียาจากองค์กรเภสัชมาให้ด้วย มีก๋วยเตี๋ยวจากคุณทองสุขผู้ใหญ่ใจดีเขาก็มาทำให้ รุ่นพี่ที่ผ่านการฝึกไปก็จะมาช่วยดูแลรุ่นน้อง ชีวิตของเด็กๆเหล่านี้เขาไม่ต้องการดอกกุหลาบดอกละ 700-800 เราจะให้หัวใจเขาโดยใช้กระดาษตัดออกมาและให้เขาเขียนความต้องการมาว่าเขาต้องการอะไร แล้วเราก็จะมารวบรวมประเมินผล เราก็จะรู้จิตใจเขาว่าเขาชอบอะไรไม่ชอบอะไร เราพยายามจะเข้าถึงจิตใจเขาให้มากที่สุด”
“เราสบายใจที่ได้ช่วยเหลือชีวิตคน แต่สิ่งที่เราปรารถนาก็คือ ให้โอกาสกับเด็ก ให้อย่างต่อเนื่อง เพราะการทำงานกับเด็กในวัยเล็กๆมันจะมีผลในภายภาคหน้า เขาจะเป็นประชาชนที่มีคุณภาพ ให้เขามีศีลธรรม มีความรู้ โตไปเขาจะเป็นผู้ใหญ่ที่ดีเป็นผู้ใหญ่ที่มีแต่ให้ เพราะเขาได้รับการให้มาแล้ว และสิ่งสำคัญคือครอบครัว ครอบครัวอบอุ่นหรือไม่ เราต้องวิ่งไปหาครอบครัวเขา ผมพูดออกจากใจจริงไม่ได้ว่าหน่วยงานไหน เพราะทุกคนช่วยกันอยู่แล้ว เพราะเราก็มีเครือข่ายที่ช่วยกันทำตรงนี้อยู่แล้ว เช่นกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มูลนิธิต่างๆ สำนักงานปปส. กทม.ซึ่งผอ.ก็ได้ให้การสนับสนุนงานนี้ หากใครที่อยากจะมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเด็กเร่ร่อนเหล่านี้สามารถบริจาคได้ที่เบอร์โทรศัพท์ของผมโดยตรง 08-9608-9845 ทุนการศึกษาก็มอบให้กับเด็กคนไหนก็ได้ ไปโรงเรียนวันละ 10 บาท 50 บาท ช่วยต่อชีวิตที่ดีให้กับเขา”
คำถามที่ว่า ตำรวจดีๆยังมีเหลืออยู่ในเมืองไทยหรือไม่ คำบอกเล่าของดต.สมศักดิ์เชื่อว่า น่าจะเป็นคำตอบได้เป็นอย่างดี ส่วนตำรวจที่ยังจ้องหาผลประโยชน์ ทั้งยศ อำนาจ และเงินตราใส่ตัว ก็ยังคงมีต่อไป โดยเป็น ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ได้เพียงแค่เครื่องแบบบ่งบอกเท่านั้น แต่ในข้อเท็จจริงแล้ว ล้วนเป็นเพียงแค่"ทาส"นักการเมืองน้ำเน่าเสียมากกว่า ที่จะคอยรับใช้สัมคมและประชาชน!
“เราสบายใจที่ได้ช่วยเหลือชีวิตคน แต่สิ่งที่เราปรารถนาก็คือ ให้โอกาสกับเด็ก ให้อย่างต่อเนื่อง เพราะการทำงานกับเด็กในวัยเล็กๆมันจะมีผลในภายภาคหน้า เขาจะเป็นประชาชนที่มีคุณภาพ สอนให้เขามีศีลธรรม มีความรู้ โตไปเขาจะเป็นผู้ใหญ่ที่ดีเป็นผู้ใหญ่ที่มีแต่ให้ เพราะเขาได้รับการให้มาแล้ว” ความรู้สึกลึกๆของ ด.ต.สมศักดิ์ บุญรัตน์ “ครูตำรวจข้างถนน”
ด.ต.สมศักดิ์ บุญรัตน์ เจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ สังกัดสถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ กองบัญชาการตำรวจนครบาล บุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อสังคมถึง 2 อย่างในเวลาเดียวกัน ทั้งเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์และครูตำรวจข้างถนน
ด.ต.สมศักดิ์บอกกับเราถึงบทบาทครูตำรวจข้างถนนว่า เริ่มทำหน้าที่ครูตำรวจข้างถนนตั้งแต่ยังไม่เกิดเป็นโครงการ ก่อนหน้านี้ปฏิบัติหน้าที่สายตรวจอยู่ที่ สน.ปทุมวัน เวลาที่ออกตรวจท้องที่ก็จะเจอปัญหาเยอะ โดยเฉพาะ เด็กเร่ร่อน ติดยา เด็กพวกนี้จะอยู่ตามตึกร้าง หัวลำโพง ใต้สะพาน ทำให้รู้สึกสงสารและอยากที่จะช่วยเหลือพวกเขาบ้าง เด็กๆเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีปัญหา ไม่เช่นนั้นคงไม่มีชีวิตอย่างนี้ เด็กพวกนี้เป็นเด็กที่มีปัญหาครอบครัวอยู่แล้ว มีผู้ปกครองอยู่ต่างจังหวัด แต่ตัวเองต้องมาอยู่กรุงเทพฯ เด็กส่วนใหญ่มีบ้านเป็นหลักแหล่ง แต่เขาอยู่บ้านไม่ได้ครอบครัวแตกแยก เลยต้องออกมาอยู่ตามลำพังข้างนอก
กระทั่งปี 2544 กองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้ริเริ่มก่อตั้งโครงการครูตำรวจข้างถนน โดยมุ่งเน้นไปในเขตพื้นที่ที่มีเด็กเร่ร่อนอาศัยอยู่จำนวนมาก ปัจจุบันมีสถานีตำรวจที่อยู่ในโครงการทั้งหมด 28 สน.สำหรับสน.บางซื่อก็อยู่ใน 28 สน.นั้นด้วย ทำให้ ด.ต.สมศักดิ์ ไม่รอช้าที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกในโครงการนี้
“ผมทำมาตั้งแต่ปี 2544 จนถึงตอนนี้ก็ประมาณ 8 ปีแล้ว เมื่อก่อนที่ผมยังอยู่ปทุมวัน ละแวกนั้นมีเด็กเยอะ อย่างหัวลำโพง เหนือ ใต้ อีสาน ก็จะมาลงที่นั่น เด็กเยาวชนที่ขึ้นมาจากต่างจังหวัดก็จะมารวมตัวกันตรงนั้น ตามบ้านร้าง รางรถไฟ หรือโบกี้รถไฟเขาก็จะไปพักอาศัยกันตรงนั้น ผมเลยทำต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ เพื่อเป็นการสกัดกั้นไม่ให้เด็กๆไปสู่จุดที่ไม่ดี เมื่อมาอยู่ที่สน.บางซื่อ ก็ไปตามสถานีรถไฟ สนามหลวง สะพานพุทธและตามชุมชนต่างๆ ใหม่ๆเราต้องทำความเข้าใจกับเขาก่อน เข้าไปทำให้เขาอบอุ่น คือเราไม่ได้แต่งเครื่องแบบเข้าไป ถ้าแต่งเครื่องแบบเขาจะกลัว กลัวว่าตำรวจจะจับเขา เราก็จะไปนอกเครื่องแบบไม่ให้เขากลัว”
ด.ต.สมศักดิ์ บอกว่า ทุกๆเย็นจะใช้รถยนต์ ออกตระเวนไปตามถนนหนทางและชุมชนต่างๆ เจอเด็กเร่ร่อนตรงไหนก็จอด อายุของเด็กๆที่ลงพื้นที่เข้าไปสอน มีตั้งแต่อายุ 7 ขวบ-20 กว่าๆ การสอนจะใช้สิ่งของที่มีอยู่รอบตัวที่พอหาได้ ไม่ใช้หนังสือเรียน จะปลูกฝังให้เด็กรู้จักศีลธรรม จริยธรรม และการดำเนินชีวิต เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยมีความดีเป็นเกราะคุ้มกัน ห้องเรียนก็คือธรรมชาติเพราะไม่มีโรงเรียน ทุกครั้งที่เข้าไปสอนก็จะมีขนมไปให้กิน ระหว่างที่เขากินขนมก็สอนเขาไปด้วย ต้องดูว่าเด็กคนไหนเป็นอย่างไรจะต้องใช้ยุทธวิธีไหนในการพูดคุยกับเขา ไม่เพียงแต่ตัวของ ด.ต.สมศักดิ์ เท่านั้นที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อเด็กเร่ร่อน ยากไร้ ครอบครัวของ ด.ต.สมศักดิ์ ทั้งภรรยา ลูกสาว และลูกชาย ต่างก็มาช่วยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการช่วยเหลือเด็กๆเหล่านี้ด้วย ปัจจุบันลูกชายของ ด.ต.สมศักดิ์ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่าง ของศูนย์ฮอนด้า ส่วนลูกสาวประกอบอาชีพเป็นพนักงานฝ่ายการเงินของธนาคารกรุงเทพ สาขาวรจักร ลูกทั้ง 2 คนจะใช้เวลาหลังเลิกงานมาช่วยผู้เป็นพ่อลงพื้นที่สอนเด็กๆแทบทุกวัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยจะเห็นนักในวงการสีกากีเพราะลูกตำรวจส่วนใหญ่คงไม่มาทำอะไรเพื่อสังคมเช่นนี้
ด.ต.สมศักดิ์ เล่าว่า ทีมงานที่ลงพื้นที่ไปด้วยกันก็คือคนในครอบครัว ภรรยา ลูกสาวและลูกชาย ลูกเป็นช่างอยู่ศูนย์ฮอนด้า ก็จะสอนเกี่ยวกับเรื่องเครื่องรถยนต์ต่างๆ ส่วนลูกสาวทำงานแบงก์กรุงเทพลูกสาวเรียนจบมนุษย์ศาสตร์ เอกสื่อสารมวลชน ก็จะสอนเด็กๆร้องเพลงและสอนเกี่ยวกับการเป็นพิธีกร วิธีการพูด จัดกิจกรรมย่อยๆให้เด็กๆ มีไมค์ให้ร้องเพลง หรือสมมติให้ตัวเขาเป็นพิธีกรโดยจะเลือกเรื่องให้เขาพูดสัก 1 เรื่อง ฝึกเขา และจะดูทัศนคติเขาว่า กิจกรรมตรงนี้ที่มอบให้เขาจะทำได้ไหม นอกจากนี้ยังรู้ถึงจิตใจของเขาได้จากคำพูดของเขาที่แสดงออกมาว่าลึกๆแล้วเขาต้องการอะไร ที่สำคัญเด็กเหล่านี้เร่ร่อนอยู่ในสังคมที่โหดร้ายมานานเขาย่อมมองเห็นสิ่งที่ไม่ดีมากมาย เขาก็สามารถบอกเบาะแสเกี่ยวกับอาชญากรรมให้เราได้ มาเป็นสายสืบให้ตำรวจ
“2-3 วันก็จะหมุนเวียนกลับไปที่เดิม เพราะมันมีหลายที่ เด็กเขาก็เร่ร่อนไปเรื่อยคำว่าเร่ร่อนคือเขาอยู่ได้หลายที่ การไปเยี่ยมเขาเราก็เหมือนติดตาม ติดตามลักษณะนิสัยเขาท่าทีเขาทัศนคติเขาเปลี่ยนแปลงไปในทางไหนถ้าเขารับสังคมได้เราก็จะให้เขาเลือกว่าจะไปทางไหน อยากฝึกอาชีพเราก็นำพาเขาไป ถ้าเขาอยากเรียนเราก็ส่งเขาเรียน ถ้าอยากกลับบ้านเราก็ส่งเขากลับบ้าน เด็กๆที่อยากเรียนเราจะส่งเขาไปเรียนที่จังหวัดชัยนาท เงินที่ส่งก็ “เงินเดือนตัวเอง” และก็มีผู้ใหญ่ใจดีใจบุญที่เขามามอบให้ด้วย เราก็นำเงินตรงนั้นมาเป็นทุนการศึกษาให้กับเด็กที่เราส่งไปเรียนเป็นรายๆ สมุด ดินสอ ปากกาที่ได้มาเราก็นำไปมอบให้กับโรงเรียนและกับตัวของเด็กเอง เพื่อให้เขามีชั้นเรียนสูงๆขึ้น”
ไม่เพียงแต่ส่งเสียให้เด็กๆได้เรียนสูงๆเพื่อมีชีวิตที่ดีขึ้น ด.ต.สมศักดิ์ ยังคอยหาอาชีพให้เด็กๆได้ทำหากคนใดไม่อยากเรียนก็ให้ประกอบอาชีพ หรือถ้าเด็กคนไหนตั้งใจและใฝ่ดีก็จะพาไปบวชเรียนที่วัดโพธิ์งาม จ.ชัยนาท ซึ่งเป็นบ้านเกิดของด.ต.สมศักดิ์เอง ที่ผ่านมามีเด็กเร่ร่อนจำนวนไม่น้อยที่ผ่านการฝึกอาชีพจนออกไปประกอบอาชีพต่างๆหารายได้ให้กับตัวเองและครอบครัว อีกส่วนหนึ่งก็บวชเรียนจนจบนักธรรมตรี โท เอก บางคนยังมีวุฒิมัธยมพ่วงไปด้วย เมื่อเด็กพวกนี้กลับไปสู่ครอบครัว มีอาชีพติดตัวก็สามารถไปต่อทางอื่นๆได้ ถ้าขาดเหลือก็ช่วยจัดหาให้
“เด็กที่ส่งไปเรียนที่ชัยนาทตอนนี้มีอยู่ประมาณ 5-6 คน ต้องจ่ายเงินทุกวันวันละ 60 บาท 5 วัน เดือนๆนึงก็2-3 พัน ถ้าไม่มีคนบริจาคให้เราก็เอาตังค์ของเราเองให้เขา ก็พอไหวครอบครัวเข้าใจ เมื่อเราออกสื่อไป ก็มีผู้ใหญ่ใจดีติดต่อเข้ามาบริจาคเงิน เสื้อผ้า สมุดดินสอ ปากกา เราก็รวบรวมส่งไปรษณีย์ไปให้เด็กๆที่เราส่งกลับบ้านนอกไปเรียน เงินเราก็เอาไว้ให้เป็นทุนการศึกษาของเขา ถ้าเป็นสมุดดินสอก็เอาไว้ให้เขาใช้เป็นอุปกรณ์ในการเรียน เงินก็ให้อาจารย์ไว้ฝากบัญชีเขา ให้เขาใช้วันละ 10 บาท ส่วนเรื่องการฝึกอาชีพ ต้องดูว่าอยากจะฝึกอาชีพอะไร ตลาดต้องการขนาดไหน ส่วนมากจะสอนให้เขาไปนวดแผนไทยมากกว่า พาเขาไปฝึกสถานที่ที่เขาฝึกกันโดยออกค่าเรียนให้ ออกค่าที่พักให้ เพราะการเรียนส่วนใหญ่ไม่เกิน 10 วัน วันละ 4-5 ชั่วโมง ฝึกจบออกมาเขาก็สามารถทำมาหากินได้ บางคนก็อยากอยู่ร้านเสริมสวยเราก็พาไปเป็นลูกน้องก่อน หัดสระไดร์ เพราะก่อนที่เราจะพาเขาไปฝากเรารู้แล้วว่าร้านไหนต้องการเด็ก ต้องการช่าง เพราะช่างดีๆบางคนก็คิดค่าจ้างแพงเขาก็ไม่อยากเอา เราก็พาเด็กไปแนะนำ ค่าจ้างเล็กๆน้อยๆเด็กมันก็เอา ทิ๊ปอีกต่างหาก อย่างเด็กๆที่เคยฝึกนวด เมื่อไปเร่ร่อนหรืออยู่ตามข้างถนนอีกเขาก็สามารถนวดแม่ค้าได้ 10-20 บาทเป็นค่าแรง หลายๆรายก็ได้เป็นร้อย ที่ถนนข้าวสารเป็นเด็กๆที่ได้รับการฝึกจากผมไปเกือบทั้งนั้น”
ด.ต.สมศักดิ์ เล่าต่อว่า เรื่องผู้บังคับบัญชาบางท่านก็ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดีพียงแต่คำพูดเปิดไฟเขียวให้เราทำงานตรงนี้เราก็ภาคภูมิใจแล้ว ไม่เข้ามาขวาง ไม่ต้องไม่พอใจ หยิบยื่นความสนับสนุนรอยยิ้มให้กับคนทำงาน ไม่ต้องการที่จะให้มาสนับสนุนเรื่องเงินทอง เพราะผ่านมาหลายปีรู้ดีว่าคนที่เข่ามาช่วยต้องการอะไร
นอกจากภารกิจข้างต้นแล้ว ด.ต.สมศักดิ์ ยังจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อสร้างความรักและความอบอุ่นให้แก่เด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดงานวันเด็ก วันแม่ วันพ่อ หรือแม้กระทั่งวันเกิด ด.ต.สมศักดิ์จะทำประวัติของเด็กเร่ร่อนเอาไว้ทุกคน เมื่อถึงวันเกิดก็จะซื้อเค้กและจัดงานเล็กๆให้ โดยซื้อเค้กจากเซเว่นฯก้อนละไม่กี่บาทมานั่งกินกันข้างถนน และในวัน ที่ 14 ก.พ. 52 วันแห่งความรักที่ใกล้จะถึงนี้ ด.ต.สมศักดิ์ จะจัดกิจกรรมครั้งใหญ่เป็นพิเศษ ภายในชุมชนอาเซียน ย่านถนนประดิพัทธ์ มีการชวนเด็กทั่วกรุงเทพฯ เด็กเร่ร่อน รวมถึงเด็กด้อยโอกาสหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงตามชุมชนประมาณ 300-400 คนมาร่วมงาน
“ตอนนี้เด็กเขารู้แล้วว่าเราจะจัดงานตรงไหน เขาจะบอกงานพ่อ พ่อให้เขาจะรู้กัน แล้วเขาก็จะมารวมตัวกันเยอะๆ จะมีหมออาสามาช่วยเขามาดูแลเด็กๆบางคนที่เป็นโรคประจำตัว หรือโรคอื่นๆ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายจะมียาจากองค์กรเภสัชมาให้ด้วย มีก๋วยเตี๋ยวจากคุณทองสุขผู้ใหญ่ใจดีเขาก็มาทำให้ รุ่นพี่ที่ผ่านการฝึกไปก็จะมาช่วยดูแลรุ่นน้อง ชีวิตของเด็กๆเหล่านี้เขาไม่ต้องการดอกกุหลาบดอกละ 700-800 เราจะให้หัวใจเขาโดยใช้กระดาษตัดออกมาและให้เขาเขียนความต้องการมาว่าเขาต้องการอะไร แล้วเราก็จะมารวบรวมประเมินผล เราก็จะรู้จิตใจเขาว่าเขาชอบอะไรไม่ชอบอะไร เราพยายามจะเข้าถึงจิตใจเขาให้มากที่สุด”
“เราสบายใจที่ได้ช่วยเหลือชีวิตคน แต่สิ่งที่เราปรารถนาก็คือ ให้โอกาสกับเด็ก ให้อย่างต่อเนื่อง เพราะการทำงานกับเด็กในวัยเล็กๆมันจะมีผลในภายภาคหน้า เขาจะเป็นประชาชนที่มีคุณภาพ ให้เขามีศีลธรรม มีความรู้ โตไปเขาจะเป็นผู้ใหญ่ที่ดีเป็นผู้ใหญ่ที่มีแต่ให้ เพราะเขาได้รับการให้มาแล้ว และสิ่งสำคัญคือครอบครัว ครอบครัวอบอุ่นหรือไม่ เราต้องวิ่งไปหาครอบครัวเขา ผมพูดออกจากใจจริงไม่ได้ว่าหน่วยงานไหน เพราะทุกคนช่วยกันอยู่แล้ว เพราะเราก็มีเครือข่ายที่ช่วยกันทำตรงนี้อยู่แล้ว เช่นกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มูลนิธิต่างๆ สำนักงานปปส. กทม.ซึ่งผอ.ก็ได้ให้การสนับสนุนงานนี้ หากใครที่อยากจะมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเด็กเร่ร่อนเหล่านี้สามารถบริจาคได้ที่เบอร์โทรศัพท์ของผมโดยตรง 08-9608-9845 ทุนการศึกษาก็มอบให้กับเด็กคนไหนก็ได้ ไปโรงเรียนวันละ 10 บาท 50 บาท ช่วยต่อชีวิตที่ดีให้กับเขา”
คำถามที่ว่า ตำรวจดีๆยังมีเหลืออยู่ในเมืองไทยหรือไม่ คำบอกเล่าของดต.สมศักดิ์เชื่อว่า น่าจะเป็นคำตอบได้เป็นอย่างดี ส่วนตำรวจที่ยังจ้องหาผลประโยชน์ ทั้งยศ อำนาจ และเงินตราใส่ตัว ก็ยังคงมีต่อไป โดยเป็น ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ได้เพียงแค่เครื่องแบบบ่งบอกเท่านั้น แต่ในข้อเท็จจริงแล้ว ล้วนเป็นเพียงแค่"ทาส"นักการเมืองน้ำเน่าเสียมากกว่า ที่จะคอยรับใช้สัมคมและประชาชน!