แฉสาเหตุการประชุม ก.ตร.ที่มี “เทพเทือก” เป็นประธานล่ม เหตุจาก ผบ.ตร.ไม่ยอมในตำแหน่งการแต่งตั้งรอง ผบ.ตร.ที่ตนเองเสนอชื่อ “วัชรพล ประสานราชกิจ” ขณะเดียวกัน “ชลอ ชูวงศ์” เพื่อนร่วมรุ่น นรต.26 ถือคำสั่งศาลปกครองขู่ หากมีการแต่งตั้งข้ามอาวุโส ส่วนตำแหน่งสำคัญที่ยังไม่สามารถแต่งตั้งได้เนื่องจากติดล็อกที่เก้าอี้รอง ผบ.ตร.ไม่ขยับนั้น ให้นายตำรวจที่จะถูกแต่งตั้งไปปฏิบัติราชการแทนไปก่อน
วันนี้ (6 ก.พ.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่ามีการประชุมพิจารณาคุณสมบัติผู้ได้รับการแต่งตั้งโยกย้ายหรือประชุมกลั่นกรองตำรวจระดับรองผบ.ตร.-ผบก.106 ตำแหน่ง โดยมีรอง ผบ.ตร. และจเรตำรวจแห่งชาติ เข้าร่วมประชุมกลั่นกรอง ที่สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ชั้น 7 โดยใช้เวลาในการประชุมประมาณ 2 ชั่วโมง โดยบรรยากาศในห้องประชุมเป็นไปอย่างเคร่งเครียด มีการถกเถียงในตำแหน่งสำคัญๆ หลายตำแหน่งโดยเฉพาะตำแหน่งรอง ผบ.ตร.ที่ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. พยายามดัน พล.ต.ท.วัชรพล ประสารราชกิจ ผู้ช่วย ผบ.ตร. ขึ้นนั่งในตำแหน่งรอง ผบ.ตร. แต่มีรอง ผบ.ตร.หลายคนไม่เห็นด้วย เห็นว่าไม่ถูกต้องควรให้ตำแหน่งนี้กับ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สไลด์มานั่งในตำแหน่งนี้แทน เพราะมีคำสั่งอนุ ก.ตร.อุทธรณ์ฯ ให้ พล.ต.อ.วิเชียร ได้รับการแต่งแต่งเข้าตำแหน่งหลักในโอกาสแรกที่มีการแต่งตั้ง
ต่อมาเวลา 14.00 น. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง ได้เดินทางมาเป็นประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) เพื่อพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ โดยมีรอง ผบ.ตร. ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมประชุม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศในที่ประชุม ก.ตร.เป็นไปอย่างเคร่งเครียด มีการถกเถียงกันในตำแหน่งรอง ผบ.ตร.กว่า 2 ชั่วโมงก็ไม่ได้ข้อสรุป ประธานต้องสั่งพักการประชุมเป็นเวลา 45 นาที จากนั้นจึงเข้าห้องประชุมต่อ โดยได้สั่งพักการแต่งตั้งตำแหน่งรอง ผบ.ตร.ไว้ก่อน ให้ทำตำแหน่งโยกย้ายในระนาบเดียวกันก่อนเพื่อความรวดเร็ว โดยใช้เวลาประมาณ 10 นาที จึงได้สั่งเลิกกระประชุม โดยนัดประชุมอีกครั้งในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2551
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประเด็นที่มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง คือ ตำแหน่งรอง ผบ.ตร. ซึ่ง พล.ต.อ.พัชรวาท ได้เสนอชื่อ พล.ต.ท.วัชรพล ประสารราชกิจ ผู้ช่วย ผบ.ตร. แต่ ก.ตร.หลายคนไม่เห็นด้วย โดยเห็นว่าตำแหน่งนี้ผู้ที่เหมาะสมน่าจะเป็น พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ประจำ ตร. เนื่องจากก่อนหน้านี้คณะอนุฯ ก.ตร.อุทธรณ์ ได้มีมติให้แต่งตั้ง พล.ต.อ.วิเชียร เข้าตำแหน่งหลักในโอกาสแรกที่มีการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ แต่ พล.ต.อ.พัชรวาท ไม่ยินยอม โดยได้ให้เหตุผลถึงความเหมาะสมต่างๆ จนทำให้เกิดการถกเถียงกันอย่างเคร่งเครียด ซึ่งนอกจากนั้นยังมีปัญหากรณีที่ พล.ต.ท.ชลอ ชูวงศ์ ผู้ช่วยผบ.ตร.อาวุโสอันดับ 1 นำคำสั่งศาลปกครองกลางที่คืนสิทธิ ลำดับอาวุโส ให้เหมือนก่อนที่จะถูก คมช.ย้ายไปเป็นที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรี (ระดับ 9 ) มาแจ้งให้กับ ก.ตร.ทุกคน และขู่จะฟ้องศาลปกครองหากมีการแต่งตั้งข้ามอาวุโส ทำให้ ก.ตร.บางท่านเกรงจะเกิดปัญหาภายหลัง
นายสุเทพ กล่าวภายหลังการประชุมเพียงสั้นๆ ว่า การประชุมมีวาระแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจ แต่ตนจำไม่ได้ เพราะมีจำนวนหลายตำแหน่ง รายละเอียดต่างๆ ให้ไปสอบถาม พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.
ด้าน พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าวว่า การประชุมมีการหยิบยกเหตุผลต่างๆ ขึ้นมาอภิปรายในตำแหน่งรองผ บ.ตร. แต่ไม่สามารถหาข้อยุติได้ มีปัญหาเล็กน้อย เพราะผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อในตำแหน่งนี้มีอยู่ด้วยกันหลายคน ยืนยันว่าปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากตัว พล.ต.ท.ชลอ ชูวงศ์ ผู้ช่วย ผบ.ตร. อย่างไรก็ตาม คาดว่าสัปดาห์หน้าจะได้ข้อยุติในตำแหน่งนี้ ส่วนการแต่งตั้งใน ศปก.จชต.นั้นได้ทำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
“วรพงษ์” เตะโด่ง “สุชาติ” พ้นนครบาล
สำหรับรายชื่อข้าราชการตำรวจที่ได้รับการแต่งตั้ง มีทั้งสิ้น 72 นาย ได้แก่ พล.ต.ท.ไถง ปราศจากศัตรู จเรตำรวจ (สบ 8) (นรต.27) สามีนางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู หรือแม่เลี้ยงติ๊ก ที่ปรึกษา รมว.สาธารณสุข เป็น ผบช.ก. และโยก พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผบช.ก. เป็นไป ผบช.น. เด้ง พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.น. (นรต.26) ออกนอกหน่วยเป็น ผบช.ภ.4 พล.ต.ท.อัศวิน ณรงค์พันธ์ ผบช.ภ.4 เป็น ผบช.ภ.2 พล.ต.ท.ธีรยุทธ กิติวัฒน์ ผบช.ภ.2 คนสนิท นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี เป็น จเรตำรวจ (สบ 8) พล.ต.ท.รชต เย็นทรวง ผบช.ภ.6 เป็น ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร. โดยให้ พล.ต.ท.สุรสีห์ สุนทรศาลทูล จเรตำรวจ (สบ 8) เป็น ผบช.ภ.6 พล.ต.ต.พีระ พุ่มพิเชษฐ์ รองผบช.ภ.9 เป็นผบช.ศปก.จชต.
“ชัยยะ” กลับสันติบาล ส่ง “วินัย” เข้ากรุ
พล.ต.ต.สุรพล ธนโกเศศ รอง ผบช.สตม. เป็นรอง ผบช.น. พล.ต.ต.ดำริ โชติเศรษฐ์ รองผบช.น.เป็นรอง ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร. พล.ต.ต.รัฐวิทย์ แสนทวีสุข รอง ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร. เป็นรอง ผบช.สตม. พล.ต.ต.พิทักษ์ จารุสมบัติ รอง ผบช.ส. สลับเก้าอี้กับ พล.ต.ต.ตรีทศ รณฤทธิวิชัย รอง ผบช.สตม. พล.ต.ต.ชัยยะ ศิริอัมพันธ์กุล รอง ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร. สลับเก้าอี้กับ พล.ต.ต.วินัย ทองสอง รอง ผบช.ส. พล.ต.ต.จำนงค์ แก้วศิริ รอง ผบช.ก.สลับเก้าอี้กับ พล.ต.ต.เชิด ชูเวช รองจเร (สบ 7)
“มือปราบหูดำ” คุม บก.น.1
พล.ต.ต.อนันต์ ศรีหิรัญ ผบก.น.1 เป็นรองผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร. พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.3 ขยับมาเป็น ผบก.น.1 พล.ต.ต.ดำริ โชติเศรษฐ์ รอง ผบช.น. เป็นรอง ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร. พล.ต.ต.ณฐนนท์ สิงหรา ณ อยุธยา ผบก.จ.ลำพูน เป็น ผบก.น.3 พล.ต.ต.บุญมี สมสุข ผบก.จ.นครนายก เป็น ผบก.จ.ลำพูน พล.ต.ต.นเรศ นันทโชติ ผบก.จ.อยุธยา เป็น ผบก.จ.นครนายก พล.ต.ต.ชินทัต มีศุข ผบก.จ.ชัยนาท ไปเป็น ผบก.พระนครศรีอยุธยา พล.ต.ต.อนันต์ โตสงวน ผบก.อธ. เป็น ผบก.จ.ชัยนาท พล.ต.ต.สรรพาวุฒิ พิพัฒนพันธุ์ ผบก.สตท.เป็น ผบก.อธ. พ.ต.อ.ยุทธนา ตุงคเสน รอง ผบก.ตชด.ภาค 2 เป็น ผบก.สตท. พล.ต.ต.ชัชวาล สุคนธมาน ผบก.จ.ลำปาง เป็น ผบก.สบส. พล.ต.ต.ปริญญา จันทร์สุริยา ผบก.สบส. เป็น ผบก.จ.แพร่ พล.ต.ต.ชำนาญ รวดเร็ว ผบก.จ.แพร่ เป็น ผบก.จต. พล.ต.ต.เมธี กุศลสร้าง ผบก.จต.เป็น ผบก.จ.น่าน พล.ต.ต.อรรถกิจ กรณ์ทอง ผบก.จ.น่าน เป็น ผบก.จ.ลำปาง
เด้งผู้การเชียงใหม่ “สมหมาย” เสียบแทน
พล.ต.ต.วรวุฒิ นาสมพันธุ์ ผบก.จ.หนองคาย เป็นรอง ผบช.ศปก.จชต. พล.ต.ต.พิสัณห์ อาวีกรวรเทพนิตินันท์ ผบก.จ.เลย เป็น ผบก.จ.หนองคาย พล.ต.ต.อรรถกฤษณ์ ธารีฉัตร ผบก.ทท. เป็น ผบก.จ.เลย พล.ต.ต.อดิศร์ งามจิตสุขศรี ผบก.อก.จต เป็น ผบก.ทท. พล.ต.ต.สุเทพ เดชรักษา ผบก.จ.เชียงใหม่ เป็น ผบก.อก.จต. พล.ต.ต.สมหมาย กองวิสัยสุข ผบก.อก.ภ.3 เป็น ผบก.จ.เชียงใหม่ พล.ต.ต.สุพรรณ ประเสริฐสม ผบก.จ.ร้อยเอ็ด เป็น ผบก.อก.ภ.3 พล.ต.ต.เติมพงษ์ สิทธิประเสริฐ ผบก.จ.สุรินทร์ เป็น ผบก.จ.ร้อยเอ็ด พล.ต.ต.รณพงษ์ ทรายแก้ว ผบก.ประจำ สง.ผบ.ตร. เป็น ผบก.จ.สุรินทร์ พ.ต.อ.สมศักดิ์ จันทะพิงค์ รอง ผบก.รฟ. เป็น ผบก.ประจำ สง.ผบ.ตร. พล.ต.ต.เดชณรงค์ สุทธิชาญบัญชา รองจเร (สบ 7) เป็นรอง ผบช.ศปก.จชต. พล.ต.ต.วิเชียร สิงห์ปรีชา รอง ผบช.ก. เป็นรองจเร (สบ 7) พล.ต.ตศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ผบก.ตปพ. เป็นรองผบช.ก.
พล.ต.ต.ฉันทวิทย์ รามสูตร ผบก.จ.กาญจนบุรี เป็น ผบก.ตปพ. พล.ต.ต.เรวัต กลิ่นเกษร ผบก.จต. เป็น ผบก.ภ.กาญจนบุรี พ.ต.อ.สิทธิพัฒน์ ตันติยานนท์ รอง ผบก.กต.2 จต. เป็นผบก.ประจำ สง.ผบ.ตร. พล.ต.ต.ศักดา เตชะเกรียงไกร ผบก.จต. เป็น ผบก.จ.อุบลราชธานี พล.ต.ต.สมพิศ ชนะมี ผบก.จ.อุบลราชธานี เป็น ผบก.จต. พล.ต.ต.ธัชกร โหละสุต ผบก.อก.ภ.4 เป็น ผบก.จ.ยโสธร
พล.ต.ต.จุติ ธรรมโนวานิช รอง ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร. เป็นรอง ผบช.น. พล.ต.ต.สมพงษ์ ทองวีระประเสริฐ ผบก.จ.ยโสธร เป็น ผบก.จ.ศรีสะเกษ พล.ต.ต.ณัฐวุฒิ พงษ์สิมา ผบก.จ.ศรีสะเกษ เป็น ผบก.อก.ภ.4 พล.ต.ต.ยงยุทธ เจริญวานิช รอง ผบช.ภ.9 เป็นรอง ผบช.ศปก.จชต. พล.ต.ต.ไพฑูรย์ ชูชัยยะ รอง ผบช.ภ.9 เป็นรอง ผบช.ศปก.จชต. พล.ต.ต.ธีระศักดิ์ กลิ่นพงษา รอง ผบช.ภ.9 เป็นรอง ผบช.ศปก.จชต.
พล.ต.ต.สุรเจตน์ ธรรมธำรง ผบก.ตท. เป็น ผบก.ประจำ สง.ผบ.ตร.(ILEA) พล.ต.ต.วิสนุ ปราสาททองโสถ ผบก.ประจำ สง.ผบ.ตร.(ILEA) เป็น ผบก.ตท. พล.ต.ต.ทรงธรรม อัลภาชน์ ผบก.ประจำ สง.ผบ.ตร.สลับตำแหน่งกับ พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ ผบก.จ.เชียงราย พล.ต.ต.ติณภัทร ภุมรินทร์ ผบก.ตม.กทม. สลับตำแหน่งกับ พล.ต.ต.เพิ่มพูน ชิดชอบ ผบก.กต. 2 จต. พล.ต.ต.มณสัณ สุขกนิษฐ์ รอง จตร.(สบ 7) เป็นรอง ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร.พล.ต.ต.พจนารถ หวลมานพ รอง ผบช.ประจำ ส.ผบ.ตร.เป็นรองจเร (สบ 7) พ.ต.อ.ครรชิต วงศ์ใหญ่ รอง ผบก.สอบสวน บช.ปส. เป็น ผบก.ประจำ สง.ผบ.ตร.
ขณะที่ตำแหน่งในศูนย์ปฏิบัติการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พล.ต.ต.พีระ พุ่มพิเชฏฐ์ รอง ผบช.ภ.9 ทำหน้าที่ รอง ผบ.ศปก.ตร.สน. นรต. 30 ขึ้นเป็น ผบช.ศปก.จชต.คนแรก โดยมี พล.ต.ต.ยงยุทธ เจริญวานิช พล.ต.ต.ไพฑูรย์ ชูชัยยะ พล.ต.ต.ธีระศักดิ์ กลิ่นพงษา รอง ผบช.ภ.9 โยกมาเป็นรอง ผบช.ศปก.จชต. พล.ต.ต.เดชณรงค์ สุทธิชาญบัญชา รองจเรตำรวจเป็น รอง ผบช.ศปก.จชต. ขณะที่ ระดับผู้บังคับการมี พ.ต.อ.สันติ มะลิขาว รอง ผบก.กำลังพล ช่วยราชการ ศปก.ตร.สน. ขยับขึ้นเป็น ผู้บังคับการศูนย์ฝึกอบรม พ.ต.อ.สมควร คัมภีระ รอง ผบก.หัวหน้าศูนย์ความมั่นคง ภ.9 ขึ้นเป็น ผบก.สืบสวนสอบสวน พ.ต.อ.วันชาติ คำเครือคง รอง ผบก.ประจำ ศปก.ตร.สน. ขึ้นเป็น ผบก.อก.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมดังกล่าวติดขัดปัญหาเมื่อที่ประชุมไม่สามารถลงมติแต่งตั้งรอง ผบ.ตร.ได้ ทำให้ไม่สามารถแต่งตั้งไล่ระนาบจากผู้ช่วย ผบ.ตร.ถึง ผบก.ที่เกี่ยวโยงกันได้รวม 10 นาย แต่ ก.ตร.มีมติเห็นชอบตามรายชื่อที่บอร์ดกลั่นกรองเสนอ แต่เนื่องจากยังแต่งตั้งไม่ได้ ก.ตร.จึงเห็นชอบให้ทั้งหมดปฏิบัติราชการแทน (ปรท.) ตามตำแหน่งที่บอร์ดกลั่นกรองเห็นชอบไปก่อน โดยให้ พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ปรท. เป็น ผบช.ภ.5 และให้ พล.ต.ท.สถาพร ดวงแก้ว ปรท.ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร. ให้ พล.ต.ต.พีระพงษ์ ดามาพงศ์ ปรท.ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร.แทนตำแหน่ง พล.ต.ท.สมคิด พล.ต.ต.วรเวทย์ วินิตเนตยานนท์ รอง ผบช.ภ.8 ปรท.ผบช.ประจำฯ พล.ต.ต.เดชา บุตรน้ำเพชร ผบก.อก.ภ.8 ปรท.รอง ผบช.ภ.8 พล.ต.ต.ศราวุธ พีรานนท์ ผบก.นครศรีธรรมราช ปรท.ผบก.อก.ภ.8 พล.ต.ต.อภิรักษ์ หงษ์ทอง ผบก.ภูเก็ต ปรท.ผบก.นครศรีธรรมราช และให้ พ.ต.อ.พิกัด ตันติพงศ์ รองผบก.สุราษฎร์ธานี ปรท.ผบก.ภูเก็ต
อย่างไรก็ตาม หากที่ประชุม ก.ตร.มีมติแต่งตั้งรอง ผบ.ตร.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ พล.ต.ท.สุวัฒน์ ธำรงศรีสกุล จเรตำรวจ (สบ 9) โยกไปเป็นผู้ช่วย ผบ.ตร. และเห็นชอบให้ พล.ต.ท.สถาพร ดวงแก้ว ผบช.ภ.5 ขึ้นเป็นจเรตำรวจ (สบ 9) ทั้งนี้ จะมีผลต่อเมื่อ ก.ตร.ครั้งต่อไป แต่งตั้งผู้ช่วย ผบ.ตร.คนใดคนหนึ่งเป็นรอง ผบ.ตร. จากนั้น ก.ตร.ก็จะมีมติอนุมัติแต่งตั้งโยกย้ายตำแหน่งดังกล่าวอีกครั้ง
วันนี้ (6 ก.พ.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่ามีการประชุมพิจารณาคุณสมบัติผู้ได้รับการแต่งตั้งโยกย้ายหรือประชุมกลั่นกรองตำรวจระดับรองผบ.ตร.-ผบก.106 ตำแหน่ง โดยมีรอง ผบ.ตร. และจเรตำรวจแห่งชาติ เข้าร่วมประชุมกลั่นกรอง ที่สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ชั้น 7 โดยใช้เวลาในการประชุมประมาณ 2 ชั่วโมง โดยบรรยากาศในห้องประชุมเป็นไปอย่างเคร่งเครียด มีการถกเถียงในตำแหน่งสำคัญๆ หลายตำแหน่งโดยเฉพาะตำแหน่งรอง ผบ.ตร.ที่ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. พยายามดัน พล.ต.ท.วัชรพล ประสารราชกิจ ผู้ช่วย ผบ.ตร. ขึ้นนั่งในตำแหน่งรอง ผบ.ตร. แต่มีรอง ผบ.ตร.หลายคนไม่เห็นด้วย เห็นว่าไม่ถูกต้องควรให้ตำแหน่งนี้กับ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สไลด์มานั่งในตำแหน่งนี้แทน เพราะมีคำสั่งอนุ ก.ตร.อุทธรณ์ฯ ให้ พล.ต.อ.วิเชียร ได้รับการแต่งแต่งเข้าตำแหน่งหลักในโอกาสแรกที่มีการแต่งตั้ง
ต่อมาเวลา 14.00 น. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง ได้เดินทางมาเป็นประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) เพื่อพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ โดยมีรอง ผบ.ตร. ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมประชุม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศในที่ประชุม ก.ตร.เป็นไปอย่างเคร่งเครียด มีการถกเถียงกันในตำแหน่งรอง ผบ.ตร.กว่า 2 ชั่วโมงก็ไม่ได้ข้อสรุป ประธานต้องสั่งพักการประชุมเป็นเวลา 45 นาที จากนั้นจึงเข้าห้องประชุมต่อ โดยได้สั่งพักการแต่งตั้งตำแหน่งรอง ผบ.ตร.ไว้ก่อน ให้ทำตำแหน่งโยกย้ายในระนาบเดียวกันก่อนเพื่อความรวดเร็ว โดยใช้เวลาประมาณ 10 นาที จึงได้สั่งเลิกกระประชุม โดยนัดประชุมอีกครั้งในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2551
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประเด็นที่มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง คือ ตำแหน่งรอง ผบ.ตร. ซึ่ง พล.ต.อ.พัชรวาท ได้เสนอชื่อ พล.ต.ท.วัชรพล ประสารราชกิจ ผู้ช่วย ผบ.ตร. แต่ ก.ตร.หลายคนไม่เห็นด้วย โดยเห็นว่าตำแหน่งนี้ผู้ที่เหมาะสมน่าจะเป็น พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ประจำ ตร. เนื่องจากก่อนหน้านี้คณะอนุฯ ก.ตร.อุทธรณ์ ได้มีมติให้แต่งตั้ง พล.ต.อ.วิเชียร เข้าตำแหน่งหลักในโอกาสแรกที่มีการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ แต่ พล.ต.อ.พัชรวาท ไม่ยินยอม โดยได้ให้เหตุผลถึงความเหมาะสมต่างๆ จนทำให้เกิดการถกเถียงกันอย่างเคร่งเครียด ซึ่งนอกจากนั้นยังมีปัญหากรณีที่ พล.ต.ท.ชลอ ชูวงศ์ ผู้ช่วยผบ.ตร.อาวุโสอันดับ 1 นำคำสั่งศาลปกครองกลางที่คืนสิทธิ ลำดับอาวุโส ให้เหมือนก่อนที่จะถูก คมช.ย้ายไปเป็นที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรี (ระดับ 9 ) มาแจ้งให้กับ ก.ตร.ทุกคน และขู่จะฟ้องศาลปกครองหากมีการแต่งตั้งข้ามอาวุโส ทำให้ ก.ตร.บางท่านเกรงจะเกิดปัญหาภายหลัง
นายสุเทพ กล่าวภายหลังการประชุมเพียงสั้นๆ ว่า การประชุมมีวาระแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจ แต่ตนจำไม่ได้ เพราะมีจำนวนหลายตำแหน่ง รายละเอียดต่างๆ ให้ไปสอบถาม พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.
ด้าน พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าวว่า การประชุมมีการหยิบยกเหตุผลต่างๆ ขึ้นมาอภิปรายในตำแหน่งรองผ บ.ตร. แต่ไม่สามารถหาข้อยุติได้ มีปัญหาเล็กน้อย เพราะผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อในตำแหน่งนี้มีอยู่ด้วยกันหลายคน ยืนยันว่าปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากตัว พล.ต.ท.ชลอ ชูวงศ์ ผู้ช่วย ผบ.ตร. อย่างไรก็ตาม คาดว่าสัปดาห์หน้าจะได้ข้อยุติในตำแหน่งนี้ ส่วนการแต่งตั้งใน ศปก.จชต.นั้นได้ทำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
“วรพงษ์” เตะโด่ง “สุชาติ” พ้นนครบาล
สำหรับรายชื่อข้าราชการตำรวจที่ได้รับการแต่งตั้ง มีทั้งสิ้น 72 นาย ได้แก่ พล.ต.ท.ไถง ปราศจากศัตรู จเรตำรวจ (สบ 8) (นรต.27) สามีนางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู หรือแม่เลี้ยงติ๊ก ที่ปรึกษา รมว.สาธารณสุข เป็น ผบช.ก. และโยก พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผบช.ก. เป็นไป ผบช.น. เด้ง พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.น. (นรต.26) ออกนอกหน่วยเป็น ผบช.ภ.4 พล.ต.ท.อัศวิน ณรงค์พันธ์ ผบช.ภ.4 เป็น ผบช.ภ.2 พล.ต.ท.ธีรยุทธ กิติวัฒน์ ผบช.ภ.2 คนสนิท นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี เป็น จเรตำรวจ (สบ 8) พล.ต.ท.รชต เย็นทรวง ผบช.ภ.6 เป็น ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร. โดยให้ พล.ต.ท.สุรสีห์ สุนทรศาลทูล จเรตำรวจ (สบ 8) เป็น ผบช.ภ.6 พล.ต.ต.พีระ พุ่มพิเชษฐ์ รองผบช.ภ.9 เป็นผบช.ศปก.จชต.
“ชัยยะ” กลับสันติบาล ส่ง “วินัย” เข้ากรุ
พล.ต.ต.สุรพล ธนโกเศศ รอง ผบช.สตม. เป็นรอง ผบช.น. พล.ต.ต.ดำริ โชติเศรษฐ์ รองผบช.น.เป็นรอง ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร. พล.ต.ต.รัฐวิทย์ แสนทวีสุข รอง ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร. เป็นรอง ผบช.สตม. พล.ต.ต.พิทักษ์ จารุสมบัติ รอง ผบช.ส. สลับเก้าอี้กับ พล.ต.ต.ตรีทศ รณฤทธิวิชัย รอง ผบช.สตม. พล.ต.ต.ชัยยะ ศิริอัมพันธ์กุล รอง ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร. สลับเก้าอี้กับ พล.ต.ต.วินัย ทองสอง รอง ผบช.ส. พล.ต.ต.จำนงค์ แก้วศิริ รอง ผบช.ก.สลับเก้าอี้กับ พล.ต.ต.เชิด ชูเวช รองจเร (สบ 7)
“มือปราบหูดำ” คุม บก.น.1
พล.ต.ต.อนันต์ ศรีหิรัญ ผบก.น.1 เป็นรองผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร. พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.3 ขยับมาเป็น ผบก.น.1 พล.ต.ต.ดำริ โชติเศรษฐ์ รอง ผบช.น. เป็นรอง ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร. พล.ต.ต.ณฐนนท์ สิงหรา ณ อยุธยา ผบก.จ.ลำพูน เป็น ผบก.น.3 พล.ต.ต.บุญมี สมสุข ผบก.จ.นครนายก เป็น ผบก.จ.ลำพูน พล.ต.ต.นเรศ นันทโชติ ผบก.จ.อยุธยา เป็น ผบก.จ.นครนายก พล.ต.ต.ชินทัต มีศุข ผบก.จ.ชัยนาท ไปเป็น ผบก.พระนครศรีอยุธยา พล.ต.ต.อนันต์ โตสงวน ผบก.อธ. เป็น ผบก.จ.ชัยนาท พล.ต.ต.สรรพาวุฒิ พิพัฒนพันธุ์ ผบก.สตท.เป็น ผบก.อธ. พ.ต.อ.ยุทธนา ตุงคเสน รอง ผบก.ตชด.ภาค 2 เป็น ผบก.สตท. พล.ต.ต.ชัชวาล สุคนธมาน ผบก.จ.ลำปาง เป็น ผบก.สบส. พล.ต.ต.ปริญญา จันทร์สุริยา ผบก.สบส. เป็น ผบก.จ.แพร่ พล.ต.ต.ชำนาญ รวดเร็ว ผบก.จ.แพร่ เป็น ผบก.จต. พล.ต.ต.เมธี กุศลสร้าง ผบก.จต.เป็น ผบก.จ.น่าน พล.ต.ต.อรรถกิจ กรณ์ทอง ผบก.จ.น่าน เป็น ผบก.จ.ลำปาง
เด้งผู้การเชียงใหม่ “สมหมาย” เสียบแทน
พล.ต.ต.วรวุฒิ นาสมพันธุ์ ผบก.จ.หนองคาย เป็นรอง ผบช.ศปก.จชต. พล.ต.ต.พิสัณห์ อาวีกรวรเทพนิตินันท์ ผบก.จ.เลย เป็น ผบก.จ.หนองคาย พล.ต.ต.อรรถกฤษณ์ ธารีฉัตร ผบก.ทท. เป็น ผบก.จ.เลย พล.ต.ต.อดิศร์ งามจิตสุขศรี ผบก.อก.จต เป็น ผบก.ทท. พล.ต.ต.สุเทพ เดชรักษา ผบก.จ.เชียงใหม่ เป็น ผบก.อก.จต. พล.ต.ต.สมหมาย กองวิสัยสุข ผบก.อก.ภ.3 เป็น ผบก.จ.เชียงใหม่ พล.ต.ต.สุพรรณ ประเสริฐสม ผบก.จ.ร้อยเอ็ด เป็น ผบก.อก.ภ.3 พล.ต.ต.เติมพงษ์ สิทธิประเสริฐ ผบก.จ.สุรินทร์ เป็น ผบก.จ.ร้อยเอ็ด พล.ต.ต.รณพงษ์ ทรายแก้ว ผบก.ประจำ สง.ผบ.ตร. เป็น ผบก.จ.สุรินทร์ พ.ต.อ.สมศักดิ์ จันทะพิงค์ รอง ผบก.รฟ. เป็น ผบก.ประจำ สง.ผบ.ตร. พล.ต.ต.เดชณรงค์ สุทธิชาญบัญชา รองจเร (สบ 7) เป็นรอง ผบช.ศปก.จชต. พล.ต.ต.วิเชียร สิงห์ปรีชา รอง ผบช.ก. เป็นรองจเร (สบ 7) พล.ต.ตศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ผบก.ตปพ. เป็นรองผบช.ก.
พล.ต.ต.ฉันทวิทย์ รามสูตร ผบก.จ.กาญจนบุรี เป็น ผบก.ตปพ. พล.ต.ต.เรวัต กลิ่นเกษร ผบก.จต. เป็น ผบก.ภ.กาญจนบุรี พ.ต.อ.สิทธิพัฒน์ ตันติยานนท์ รอง ผบก.กต.2 จต. เป็นผบก.ประจำ สง.ผบ.ตร. พล.ต.ต.ศักดา เตชะเกรียงไกร ผบก.จต. เป็น ผบก.จ.อุบลราชธานี พล.ต.ต.สมพิศ ชนะมี ผบก.จ.อุบลราชธานี เป็น ผบก.จต. พล.ต.ต.ธัชกร โหละสุต ผบก.อก.ภ.4 เป็น ผบก.จ.ยโสธร
พล.ต.ต.จุติ ธรรมโนวานิช รอง ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร. เป็นรอง ผบช.น. พล.ต.ต.สมพงษ์ ทองวีระประเสริฐ ผบก.จ.ยโสธร เป็น ผบก.จ.ศรีสะเกษ พล.ต.ต.ณัฐวุฒิ พงษ์สิมา ผบก.จ.ศรีสะเกษ เป็น ผบก.อก.ภ.4 พล.ต.ต.ยงยุทธ เจริญวานิช รอง ผบช.ภ.9 เป็นรอง ผบช.ศปก.จชต. พล.ต.ต.ไพฑูรย์ ชูชัยยะ รอง ผบช.ภ.9 เป็นรอง ผบช.ศปก.จชต. พล.ต.ต.ธีระศักดิ์ กลิ่นพงษา รอง ผบช.ภ.9 เป็นรอง ผบช.ศปก.จชต.
พล.ต.ต.สุรเจตน์ ธรรมธำรง ผบก.ตท. เป็น ผบก.ประจำ สง.ผบ.ตร.(ILEA) พล.ต.ต.วิสนุ ปราสาททองโสถ ผบก.ประจำ สง.ผบ.ตร.(ILEA) เป็น ผบก.ตท. พล.ต.ต.ทรงธรรม อัลภาชน์ ผบก.ประจำ สง.ผบ.ตร.สลับตำแหน่งกับ พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ ผบก.จ.เชียงราย พล.ต.ต.ติณภัทร ภุมรินทร์ ผบก.ตม.กทม. สลับตำแหน่งกับ พล.ต.ต.เพิ่มพูน ชิดชอบ ผบก.กต. 2 จต. พล.ต.ต.มณสัณ สุขกนิษฐ์ รอง จตร.(สบ 7) เป็นรอง ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร.พล.ต.ต.พจนารถ หวลมานพ รอง ผบช.ประจำ ส.ผบ.ตร.เป็นรองจเร (สบ 7) พ.ต.อ.ครรชิต วงศ์ใหญ่ รอง ผบก.สอบสวน บช.ปส. เป็น ผบก.ประจำ สง.ผบ.ตร.
ขณะที่ตำแหน่งในศูนย์ปฏิบัติการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พล.ต.ต.พีระ พุ่มพิเชฏฐ์ รอง ผบช.ภ.9 ทำหน้าที่ รอง ผบ.ศปก.ตร.สน. นรต. 30 ขึ้นเป็น ผบช.ศปก.จชต.คนแรก โดยมี พล.ต.ต.ยงยุทธ เจริญวานิช พล.ต.ต.ไพฑูรย์ ชูชัยยะ พล.ต.ต.ธีระศักดิ์ กลิ่นพงษา รอง ผบช.ภ.9 โยกมาเป็นรอง ผบช.ศปก.จชต. พล.ต.ต.เดชณรงค์ สุทธิชาญบัญชา รองจเรตำรวจเป็น รอง ผบช.ศปก.จชต. ขณะที่ ระดับผู้บังคับการมี พ.ต.อ.สันติ มะลิขาว รอง ผบก.กำลังพล ช่วยราชการ ศปก.ตร.สน. ขยับขึ้นเป็น ผู้บังคับการศูนย์ฝึกอบรม พ.ต.อ.สมควร คัมภีระ รอง ผบก.หัวหน้าศูนย์ความมั่นคง ภ.9 ขึ้นเป็น ผบก.สืบสวนสอบสวน พ.ต.อ.วันชาติ คำเครือคง รอง ผบก.ประจำ ศปก.ตร.สน. ขึ้นเป็น ผบก.อก.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมดังกล่าวติดขัดปัญหาเมื่อที่ประชุมไม่สามารถลงมติแต่งตั้งรอง ผบ.ตร.ได้ ทำให้ไม่สามารถแต่งตั้งไล่ระนาบจากผู้ช่วย ผบ.ตร.ถึง ผบก.ที่เกี่ยวโยงกันได้รวม 10 นาย แต่ ก.ตร.มีมติเห็นชอบตามรายชื่อที่บอร์ดกลั่นกรองเสนอ แต่เนื่องจากยังแต่งตั้งไม่ได้ ก.ตร.จึงเห็นชอบให้ทั้งหมดปฏิบัติราชการแทน (ปรท.) ตามตำแหน่งที่บอร์ดกลั่นกรองเห็นชอบไปก่อน โดยให้ พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ปรท. เป็น ผบช.ภ.5 และให้ พล.ต.ท.สถาพร ดวงแก้ว ปรท.ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร. ให้ พล.ต.ต.พีระพงษ์ ดามาพงศ์ ปรท.ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร.แทนตำแหน่ง พล.ต.ท.สมคิด พล.ต.ต.วรเวทย์ วินิตเนตยานนท์ รอง ผบช.ภ.8 ปรท.ผบช.ประจำฯ พล.ต.ต.เดชา บุตรน้ำเพชร ผบก.อก.ภ.8 ปรท.รอง ผบช.ภ.8 พล.ต.ต.ศราวุธ พีรานนท์ ผบก.นครศรีธรรมราช ปรท.ผบก.อก.ภ.8 พล.ต.ต.อภิรักษ์ หงษ์ทอง ผบก.ภูเก็ต ปรท.ผบก.นครศรีธรรมราช และให้ พ.ต.อ.พิกัด ตันติพงศ์ รองผบก.สุราษฎร์ธานี ปรท.ผบก.ภูเก็ต
อย่างไรก็ตาม หากที่ประชุม ก.ตร.มีมติแต่งตั้งรอง ผบ.ตร.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ พล.ต.ท.สุวัฒน์ ธำรงศรีสกุล จเรตำรวจ (สบ 9) โยกไปเป็นผู้ช่วย ผบ.ตร. และเห็นชอบให้ พล.ต.ท.สถาพร ดวงแก้ว ผบช.ภ.5 ขึ้นเป็นจเรตำรวจ (สบ 9) ทั้งนี้ จะมีผลต่อเมื่อ ก.ตร.ครั้งต่อไป แต่งตั้งผู้ช่วย ผบ.ตร.คนใดคนหนึ่งเป็นรอง ผบ.ตร. จากนั้น ก.ตร.ก็จะมีมติอนุมัติแต่งตั้งโยกย้ายตำแหน่งดังกล่าวอีกครั้ง