ดีเอสไอรวบเจ้าของบริษัทแชร์ข้าวสาร “สมคิดธุรกิจ” หลังพบแอบหลบมากบดานใน กทม. เจ้าหน้าที่อายัด บ้าน ที่ดินแต่ยังไม่พอจ่ายคืนเสียหายหลายสิบล้านบาท
วันที่ 21 ม.ค.ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พ.อ.ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ เปิดเผยว่า ดีเอสไอได้จับกุมตัว นายสมคิด แต่งตั้ง กรรมการผู้จัดการบริษัท สมคิดธุรกิจ จำกัด และนางสาวอัญชลี คาบเพ็ชร ผู้ต้องหาในคดีร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ซึ่งศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้มีคำสั่งให้ออกหมายจับเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2550 และวันที่ 22 มกราคม 2551 ตามลำดับ ได้ที่บ้านเลขที่ 9 ซอยโกสุมรวมใจ 2 แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ ซึ่งเปิดเป็นบริษัท ไบโอเมท เน็ตเวิร์ค จำกัด โดยคดีนี้ดีเอสไอได้รับสำนวนจาก สภ.แม่ปิง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2550 มีผู้เสียหายกว่า 800 รายมูลค่าความเสียหายหลายสิบล้านบาท
พ.อ.ปิยะวัฒก์ กล่าวอีกว่า บริษัท สมคิดธุรกิจ จำกัด ถือเป็นคดีแชร์ข้าวสารในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในเวลาใกล้เคียงกับคดีของบริษัท โกลเด้นท์ เกท กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ร่วมทุนค้าปลีก จำกัด และบริษัท อีซี่เน็ตเวิร์คมาร์เก๊ตติ้ง จำกัด ซึ่งทั้ง 3 คดีขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นศาลแล้ว โดยมีข้อเท็จจริงและพฤติการณ์การกระทำความผิดที่คล้ายคลึงกัน อาทิ มีการโฆษณาต่อประชาชนว่าประกอบธุรกิจขายข้าวสาร และสมุนไพรคาวตอง และชักชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมลงทุนในลักษณะการขายหุ้นในราคาหุ้นละ 650บาท และสัญญาว่าเมื่อครบกำหนด 25 วัน จะคืนเงินตามราคาหุ้นๆ ละ 650 บาท รวมกับค่าตอบแทนเป็นผลกำไรหุ้นละ 550 บาท รวมเป็นเงินที่ได้รับเมื่อครบ 25 วัน จำนวนหุ้นละ 1,200 บาท เมื่อผู้ลงทุนได้รับผลกำไรในวันที่ 25 แล้วถือว่าการลงทุนเสร็จสิ้น หากประสงค์จะลงทุนเพิ่มจะต้องเริ่มกระบวนการใหม่อีกครั้งในลักษณะเป็นวงรอบ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้พยายามโน้มน้าวให้ผู้ลงทุนหลงเชื่อโดยการให้สิทธิแก่ผู้ลงทุนซื้อข้าวสารซึ่งวางขายอยู่ ณ ที่ทำการของบริษัทฯ ในราคากระสอบละ 800บาท ซึ่งราคาถูกกว่าราคาขายปกติ คือกระสอบละ 850บาท เมื่อซื้อข้าวสารแล้วยังสามารถฝากขายไว้กับบริษัทฯ ได้อีก จากการโฆษณาทำให้มีประชาชนหลงเชื่อและร่วมลงทุนโดยการซื้อหุ้นเป็นจำนวนมาก ต่อมาเมื่อถึงกำหนดที่จะได้รับค่าตอบแทนปรากฏว่าบริษัทฯ ไม่ยอมจ่ายค่าตอบแทนใดๆ ให้แก่ผู้เสียหาย
พ.อ.ปิยะวัฒก์ กล่าวอีกว่า ดีเอสไอได้สรุปสำนวนคดีนายสมคิดส่งให้พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษดำเนินคดีตามกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2551 ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นศาล นอกจากนี้ จะส่งดำเนินคดีฟอกเงิน และคดีล้มละลาย โดยก่อนหน้านี้ได้อายัดทรัพย์สินของนายสมคิดและผู้ร่วมขบวนการไว้ ได้แก่ ที่ดิน บ้านและรถยนต์ แต่มีจำนวนไม่เพียงพอต่อความเสียหายที่ประชาชนร้องเรียนไว้ สำหรับคดีนี้มีโทษจำคุก 5-10 ปี ปรับ 500,000-1,000,000 บาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดีเอสไอได้ตรวจค้นรถยนต์ที่ผู้ต้องหาให้การว่าเป็นรถยนต์ของบุตรสาวพบ สมุดเงินฝากธนาคารไทยพาณิชย์ 2 เล่ม สมุดเงินฝากธนาคารกรุงเทพ 1 เล่ม และบัตรเครดิตของธนาคารกรุงเทพ 1 ใบ ทั้งนี้ บัญชีเงินฝากของผู้ต้องหามีเงินฝากเพียงหลักพันและหลักหมื่นบาทเท่านั้น และยังพบแผ่นพับเชิญชวนให้ประชาชนนำเงินมาร่วมลงทุนในธุรกิจแชร์ข้าวสาร ดีเอสไอจึงนำซิมการ์ดโทรศัพท์ของผู้ต้องหาทั้ง 2 ราย ไปตรวจสอบขยายผลถึงผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจแชร์ลูกโซ่ โดยผู้ต้องหาทั้ง 2 ให้การปฏิเสธและขอต่อสู้คดีในชั้นศาล
วันที่ 21 ม.ค.ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พ.อ.ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ เปิดเผยว่า ดีเอสไอได้จับกุมตัว นายสมคิด แต่งตั้ง กรรมการผู้จัดการบริษัท สมคิดธุรกิจ จำกัด และนางสาวอัญชลี คาบเพ็ชร ผู้ต้องหาในคดีร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ซึ่งศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้มีคำสั่งให้ออกหมายจับเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2550 และวันที่ 22 มกราคม 2551 ตามลำดับ ได้ที่บ้านเลขที่ 9 ซอยโกสุมรวมใจ 2 แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ ซึ่งเปิดเป็นบริษัท ไบโอเมท เน็ตเวิร์ค จำกัด โดยคดีนี้ดีเอสไอได้รับสำนวนจาก สภ.แม่ปิง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2550 มีผู้เสียหายกว่า 800 รายมูลค่าความเสียหายหลายสิบล้านบาท
พ.อ.ปิยะวัฒก์ กล่าวอีกว่า บริษัท สมคิดธุรกิจ จำกัด ถือเป็นคดีแชร์ข้าวสารในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในเวลาใกล้เคียงกับคดีของบริษัท โกลเด้นท์ เกท กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ร่วมทุนค้าปลีก จำกัด และบริษัท อีซี่เน็ตเวิร์คมาร์เก๊ตติ้ง จำกัด ซึ่งทั้ง 3 คดีขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นศาลแล้ว โดยมีข้อเท็จจริงและพฤติการณ์การกระทำความผิดที่คล้ายคลึงกัน อาทิ มีการโฆษณาต่อประชาชนว่าประกอบธุรกิจขายข้าวสาร และสมุนไพรคาวตอง และชักชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมลงทุนในลักษณะการขายหุ้นในราคาหุ้นละ 650บาท และสัญญาว่าเมื่อครบกำหนด 25 วัน จะคืนเงินตามราคาหุ้นๆ ละ 650 บาท รวมกับค่าตอบแทนเป็นผลกำไรหุ้นละ 550 บาท รวมเป็นเงินที่ได้รับเมื่อครบ 25 วัน จำนวนหุ้นละ 1,200 บาท เมื่อผู้ลงทุนได้รับผลกำไรในวันที่ 25 แล้วถือว่าการลงทุนเสร็จสิ้น หากประสงค์จะลงทุนเพิ่มจะต้องเริ่มกระบวนการใหม่อีกครั้งในลักษณะเป็นวงรอบ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้พยายามโน้มน้าวให้ผู้ลงทุนหลงเชื่อโดยการให้สิทธิแก่ผู้ลงทุนซื้อข้าวสารซึ่งวางขายอยู่ ณ ที่ทำการของบริษัทฯ ในราคากระสอบละ 800บาท ซึ่งราคาถูกกว่าราคาขายปกติ คือกระสอบละ 850บาท เมื่อซื้อข้าวสารแล้วยังสามารถฝากขายไว้กับบริษัทฯ ได้อีก จากการโฆษณาทำให้มีประชาชนหลงเชื่อและร่วมลงทุนโดยการซื้อหุ้นเป็นจำนวนมาก ต่อมาเมื่อถึงกำหนดที่จะได้รับค่าตอบแทนปรากฏว่าบริษัทฯ ไม่ยอมจ่ายค่าตอบแทนใดๆ ให้แก่ผู้เสียหาย
พ.อ.ปิยะวัฒก์ กล่าวอีกว่า ดีเอสไอได้สรุปสำนวนคดีนายสมคิดส่งให้พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษดำเนินคดีตามกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2551 ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นศาล นอกจากนี้ จะส่งดำเนินคดีฟอกเงิน และคดีล้มละลาย โดยก่อนหน้านี้ได้อายัดทรัพย์สินของนายสมคิดและผู้ร่วมขบวนการไว้ ได้แก่ ที่ดิน บ้านและรถยนต์ แต่มีจำนวนไม่เพียงพอต่อความเสียหายที่ประชาชนร้องเรียนไว้ สำหรับคดีนี้มีโทษจำคุก 5-10 ปี ปรับ 500,000-1,000,000 บาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดีเอสไอได้ตรวจค้นรถยนต์ที่ผู้ต้องหาให้การว่าเป็นรถยนต์ของบุตรสาวพบ สมุดเงินฝากธนาคารไทยพาณิชย์ 2 เล่ม สมุดเงินฝากธนาคารกรุงเทพ 1 เล่ม และบัตรเครดิตของธนาคารกรุงเทพ 1 ใบ ทั้งนี้ บัญชีเงินฝากของผู้ต้องหามีเงินฝากเพียงหลักพันและหลักหมื่นบาทเท่านั้น และยังพบแผ่นพับเชิญชวนให้ประชาชนนำเงินมาร่วมลงทุนในธุรกิจแชร์ข้าวสาร ดีเอสไอจึงนำซิมการ์ดโทรศัพท์ของผู้ต้องหาทั้ง 2 ราย ไปตรวจสอบขยายผลถึงผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจแชร์ลูกโซ่ โดยผู้ต้องหาทั้ง 2 ให้การปฏิเสธและขอต่อสู้คดีในชั้นศาล