xs
xsm
sm
md
lg

สุชาติ" กลัวคุก! โบ้ยใส่ลูกน้องสั่งยิงแก๊สน้ำตาสลายปชช.หน้าสภา!

เผยแพร่:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม

พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.น. (ขวามือ) ยืนยิ้มรับดอกไม้ให้กำลังใจจากกลุ่ม นปช. หลังวันสลายการชุมนุม 7 ต.ค. 51
"สุชาติ เหมือนแก้ว" เผย แผนยิงแก๊สน้ำตาสลายการชุมนุม 7 ตุลาเลือด เป็นคำสั่งและแผนที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้จัดทำไว้ ระบุ หน่วยผู้ใช้แก๊สน้ำตามี 3 หน่วย "นเรศวร- อรินทราช- กองปราบ" แถมบอกหน้าตาเฉยไม่ได้สั่งยิงแก๊สน้ำตา แต่ "ตปพ." เป็นผู้ควบคุมกำลังของหน่วยนั้น ๆ เป็นผู้สั่งการเอง

วันนี้(20 ธ.ค.) พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ได้ให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ตามรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่คณะกรรมการสิทธิฯ สรุปชี้มูลการตรวจสอบข้อเท็จจริงส่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พิจารณา ว่า ในการควบคุมฝูงชนและการปราบจลาจรที่เกิดขึ้นในพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลเป็นไปตามแผนกรกฎ/48 และแผนตุลา 50 แผนการปฏิบัติปกติ กองบัญชาการตำรวจนครบาล จะเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ และมีรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาลเป็นผู้ช่วย หมุนเวียนกัน 12 ชั่วโมงจะมีคำสั่งและแผนการปฏิบัติรายละเอียดปรากฎตามเอกสารที่ผู้ให้ถ้อยคำมอบให้คณะอนุกรรมการฯผู้ให้ถ้อยคำจะกำกับดูแล หน่วยกำลังที่มาปฏิบัติงานจะมี ผบ.ของหน่วยนั้น ๆ มาดูแลอีกชั้นหนึ่ง วันที่ 6ตุลาคม 2551 เวลา 20.00 น. วันที่ 7 ตุลาคม 2551 เวลา 08.00 น.พล.ต.ต.ลิขิต กลิ่นอวล เป็นรอง ผบ.เหตุการณ์ วันที่ 7 ตุลาคม 2551 เวลา 08.00 น. 20.00 น. พล.ต.ต.เอกรัฐ มีปรีชา เป็นรองผบ.เหตุการณ์ ในวันที่ 6 ตุลาคม 2551 เวลาเย็นสายสืบรายงานว่าผู้ชุมนุมได้เคลื่อนย้ายจากทำเนียบรัฐบาลทราบว่าไปที่รัฐสภา มีประมาณ 2,000-3,000 คน

เวลาประมาณ 23.00 น.ได้รับคำสั่งจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้เตรียมเอกสาร คำชี้แจงให้คณะรัฐมนตรีทราบ เมื่อผู้ให้ถ้อยคำและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้เตรียมเอกสาร คำชี้แจงให้คณะรัฐมนตรีทราบ เมื่อผู้ให้ถ้อยคำ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้เตรียมรัฐบาลแห่งใหม่ ที่สนามบินดอนเมือง ไปที่ห้องรับรองพบนายกรัฐมนตรี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอีกหลายท่าน ผู้ให้ถ้อยคำได้รายงานสถานการณ์ให้ทราบ นายกรัฐมนตรีได้รับทราบข้อมูลแล้วจึงให้ผู้ให้ถ้อยคำกลับไปเตรียมพร้อมที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล ระหว่างเดินทางกลับขณะอยู่บันรถ วันที่ 7 ตุลาคม 2551 เวลา 02.00-03.00 น. ผู้ให้ถ้อยคำ พล.ต.ต.อนันต์ ศรีหิรัญ ผบก.น. 1 และพ.ต.อ.สมชายฯ ผกก.สน.ดุสิต ไปส่งเสด็จสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ แล้วกลับไปที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล ทราบว่า ระหว่างที่ไปส่งเสด็จ พล.อ.ชวลิตฯ ได้เดินทางมาประชุมโดยมีผู้บังคับหน่วยของสำนักงานตำรวจแห่งชาติจำนวนมากมาร่วมประชุม สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีให้เปิดทางให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา เข้าประชุมที่รัฐสภา ในระหว่างการประชุมได้หารือว่าจะเลื่อนประชุมได้หรือไม่ และย้ายที่ประชุมได้หรือไม่ ได้ข้อสรุปว่า ต้องรักษารัฐสภาและเปิดถนนให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา เข้าที่ประตูด้านถนนพิชัย มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ 3 กองร้อยเข้าไปรักษารัฐสภา ต่อมาในช่วงเช้าเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการจนสามารถเปิดประตูทางเข้ารัฐสภาที่ถนนพิชัยได้ เมื่อประชุมสภาเสร็จ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาไม่สามารถออกจากรัฐสภาได้เพราะผู้ชุมนุมปิดล้อมรัฐสภาไว้ เวลา 15.00 น. มีการเตรียมการเพื่อเปิดทางที่ประตูรัฐสภา ที่ถนนพิชัย พล.ต.ต.เอกรัฐฯ ได้เจรจาต่อรองกับแกนนำขอเปิดทางเกือบ 1 ชั่วโมง แต่ไม่สามารถตกลงกันได้จึงต้องให้กำลังเปิดทาง ได้รับรายงานว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายราย มีผู้ได้รับบาดเจ็บขาขาดจากการควบคุมฝูงชนด้วย

ต่อมามีข่าวรายงานว่า ผู้ชุมนุมจะบุกยึดกองบัญชาการตำรวจนครบาล ในช่วงเย็น เจ้าหน้าที่จากหน่วย ตชด. ได้วางกำลังรักษาพื้นที่ไว้ที่บริเวณกองบัญชาการตำรวจนครบาล ลานพระบรมรูปทรงม้าเมื่อผู้ชุมนุมได้เคลื่อนตัวมาที่หน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล ตามรายงานจึงได้มีการปะทะกันโดยใช้แก๊สน้ำตาอีกครั้งในเวลาประมาณ 19.00 น.ต่อมามีทหารเข้ามาในพื้นที่ ฝ่ายผู้ชุมนุมเข้าใจว่าทหารปฏิวัติแล้วจึงโห่ร้องด้วยความดีใจ แล้วถอยกลับที่ตั้งที่ทำเนียบรัฐบาล แต่เมื่อทราบว่าทหารไม่ได้ปฏิวัติ แกนนำจึงปราศรัยโจมตีทหาร การชุมนุมของพันธมิตรเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2551 ในระหว่างนี้มีการร้องเรียนการชุมนุมโดยตลอด เช่นการปิดถนน ยึดสถานที่ราชการและมีการดำเนินการทางศาล ในการชุมนุมมีการปราศรัยบนเวทีอย่างต่อเนื่องและแกนนำจะประกาศว่าจะทำกิจการรมอะไรให้ผู้ร่วมชุมนุมทราบ สำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่ได้รับนโยบายให้สลายการชุมนุม แต่ทำเพื่อเปิดทางให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา เข้าประชุมในสภา และออกจากรัฐสภาเท่านั้น สำหรับการใช้แก๊สน้ำตาควบคุมฝูงชนในช่วงงเย็นเกิดจากผู้ชุมนนุมต้องการบุกยึดกองบัญชาการตำรวจนครบาลเจ้าหน้าที่จึงจำเป็นต้องใช้

แก๊สน้ำตาสกัดกั้นไม่ให้เข้ามาได้ หน่วยงานที่ปฏิบัติงานในวันดังกล่าวเป็นไปตามคำสั่งและแผนที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้จัดทำไว้ หน่วยผู้ใช้แก๊สน้ำตามี 3 หน่วย คือ นเรศวร อรินทราช กองปราบ และผู้ใช้จะได้รับการฝึกฝนการใช้อาวุธดังกล่าว ผู้ให้ถ้อยคำรับผิดชอบในฐานะผบ.เหตุการณ์ ตลอดเวลา วันที่ 6 ตุลาคม 2551 เวลา 20.00 น.วันที่ 7 ตุลาคม 2551 เวลา 08.00 น. พล.ต.ต.ลิขิต กลิ่นอวล เป็นรองผบ.เหตุการณ์ พล.ต.ต.เอกรัฐ มีปรีชา รองผบ.เหตุการณ์เป็นผู้ช่วยของผู้ให้ถ้อยคำ ในการควบคุมดูแล ตั้งแต่เวลา 08.00-20.00 น. ผู้ให้ถ้อยคำไม่ได้เป็นผู้สั่งยิงแก๊สน้ำตา ทั้งนี้การปฏิบัติแล้วแต่สถานการณ์ในพื้นที่ขณะนั้นโดยมีผู้ควบคุมกำลังของหน่วยนั้น ๆ เป็นผู้สั่งการ ภายหลังการควบคุมการชุมนุมในช่วงเช้าของวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ที่บริเวณสามแยกพิชัยตรงข้ามประตูทางออกของรัฐสภาแล้ว ผู้ควบคุมดูแลกำลังของ ตปพ. เป็นผู้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังและอาวุธระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าควบคุมการชุมนุมอีกครั้งหนึ่งในช่วงเย็นของวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ที่บริเวณรัฐสภา

ปกติแล้วแก๊สน้ำตาไม่น่าจะทำให้เกิดอันตรายกับประชาชนได้ ถ้าเป็นแบบที่ยิงจากปืนจะมีระยะประมาณ 120 หลา วัตถุประสงค์ในการใช้เพื่อเคลียร์บุคคลให้ออกจากพื้นที่เท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำร้ายประชาชนแต่อย่างใด ผู้ให้ถ้อยคำได้รับทราบข้อมูลว่า ผู้ชุมนุมทำระเบิดปิดงปองบาดเจ็บสาหัส ไม่น่าเกิดจากแก๊สน้ำตา ในกรณ๊ที่มีภาพข่าวเจ้าหน้าที่ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาไปที่แนวยางรถยนต์ที่ผู้ชุมนุมวางไว้เป็นกันชนระหว่างผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่นั้น เจ้าหน้าที่เกรงว่าในแนวยางรถยนต์ดังกล่าวอาจมีระเบิดที่ผู้ชุมนุมชุกซ่อนเอาไว้จึงต้องยิงยางรถยนต์โดยตรงเพื่อตรวจสอบ



กำลังโหลดความคิดเห็น