ทนายพันธมิตรฯ ร้องศาลแพ่งเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้แกนนำและผู้ชุมนุมออกจาก "ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ" เหตุรัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แล้ว
วันนี้ ( 28 พ.ย.) เมื่อเวลา 15.00 น. ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เดินทางมายื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉินยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวที่ให้ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง,นายสนธิ ลิ้มทองกุล,นายพิภพ ธงไชย,นายสุริยะใส กตะศิลา,นายสมศักดิ์ โกศัยสุข,นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์,นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์,นายอมร อมรรัตนานนท์,นายนรัณยู หรือศรัณยู วงษ์กระจ่าง,นายสำราญ รอดเพชร,นายศิริชัย ไม้งาม,นางมาลีรัตน์ แก้วก่า และนายเทิดภูมิ ใจดี แกนนำและแนวร่วมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จำเลยที่ 1-13 นำกลุ่มผู้ชุมนุมออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานดอนเมืองทันที ตามที่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. โดยนายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ผอ.ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทท่าอากาศยานฯ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องเรื่องละเมิดและขับไล่
โดยคำร้องสรุปว่าหลังจากที่ศาลแพ่งได้มีคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉินให้จำเลยที่ 1 -13 ออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและนำกลุ่มผู้ชุมนุมออกไปด้วยทันที เมื่อวันที่ 26 พ.ย. และมีคำสั่งคุ้มครองให้จำเลยที่ 1 - 13 นำกลุ่มผู้ชุมนุมออกจากท่าอากาศยานดอนเมือง เมื่อวันที่ 27 พ.ย.นั้น ต่อมาคืนวันที่ 27 พ.ย.นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีได้ออกประกาศ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ในพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง และมีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 301/2551 เรื่องตั้งผู้ปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและเจ้าพนักงานในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีรมว.มหาดไทยเป็นผู้กำกับการปฏิบัติ และมอบหมายให้ ผบช.น. ดูแลพื้นที่ท่าอากาศยานดอนเมือง ให้ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 ดูแลพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยให้มีอำนาจบังคับบัญชาสั่งการเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือผู้ปฏิบัติงานมอบหมาย และให้มีอำนาจตาม ป.อาญา เช่นเดียวเจ้าพนักปกครองและเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวมีผลถึงวิธีการคุ้มครองชั่วคราวที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองโจทก์ก่อนมีคำพิพากษาแล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุผลสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนคำพิพากษามาบังคับใช้ในคดีนี้ต่อไป จึงขอให้ศาลแพ่งได้โปรดไต่สวนฉุกเฉินเพื่อมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในคดีนี้โดยพลัน ตาม ป.วิแพ่ง ม.267
ภายหลังนายสุวัตร กล่าวว่า เมื่อมีการประกาศ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ และมอบให้ รมว.มหาดไทย รับผิดชอบ ให้ ตำรวจนครบาลและทหารอากาศ ดูแลสนามบินดอนเมือง ให้ ตำรวจภูธรภาค 1 และทหารเรือ ดูแลสนามบินสุวรรณภูมิแล้ว เป็นเหตุให้คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลแพ่งสิ้นสุดลง เพราะอำนาจของคณะกรรมการดังกล่าวมีมากกว่าคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาล ซึ่งหวังว่าศาลจะมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวทันที เช่นเดียวกับกรณีฟ้องขับไล่พันธมิตรฯออกจากทำเนียบรัฐบาล
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าการที่ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาเป็นกระบวนการยุติธรรมโดยใช้อำนาจทางตุลาการในการบังคับตามคำฟ้องและคำขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ ตาม ป.วิ แพ่ง ส่วนที่นายกรัฐมนตรีอาศัยอำนาจตามความแพ่ง พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 กับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีเหตุร้ายแรงในเขตท้องที่ดอนเมืองและเขาลาดกระบัง กทม. และอำเภอบางพลี และอำเภอบางเสาธง จ.สมุทรปราการนั้นเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารซึ่งกฎหมายทั้ง 2 ฉบับมีเจตนารมที่แตกต่างกันการบังคับให้เป็นไปตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เป็นอำนาจบุคคลที่นายกรัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้ง ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 301/51 ประกอบด้วย มาตรา 11 ของ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และการที่บุคคลซึ่งนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งแต่งตั้งให้เข้าดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินจะดำเนินการอย่างไรก็เป็นไปตามอำนาจฝ่ายบริหารนั้น มิใช่เป็นการบังคับตามคำสั่งศาลที่ให้เป็นการคุ้มครองชั่วคราว ประกอบกับตามคำร้องของจำเลยทั้ง 13 ไม่ปรากฏว่าหลังจากที่ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวแล้ว ข้อเท็จจริงแห่งคดีหรือพฤติการณ์การกระทำของจำเลยทั้ง 13 ตามที่ได้ไต่สวนและอาศัยเป็นหลักในการมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอในวิธีการคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ได้เปลี่ยนแปลงไปดังนั้นแม้จะไต่สวนได้ความตามคำร้องของจำเลยทั้ง 13 ก็ไม่มีเหตุเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ให้ยกคำร้อง
ด้านนายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรฯ กล่าวว่ายอมรับกับคำสั่งศาลแต่
วันนี้ ( 28 พ.ย.) เมื่อเวลา 15.00 น. ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เดินทางมายื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉินยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวที่ให้ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง,นายสนธิ ลิ้มทองกุล,นายพิภพ ธงไชย,นายสุริยะใส กตะศิลา,นายสมศักดิ์ โกศัยสุข,นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์,นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์,นายอมร อมรรัตนานนท์,นายนรัณยู หรือศรัณยู วงษ์กระจ่าง,นายสำราญ รอดเพชร,นายศิริชัย ไม้งาม,นางมาลีรัตน์ แก้วก่า และนายเทิดภูมิ ใจดี แกนนำและแนวร่วมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จำเลยที่ 1-13 นำกลุ่มผู้ชุมนุมออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานดอนเมืองทันที ตามที่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. โดยนายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ผอ.ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทท่าอากาศยานฯ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องเรื่องละเมิดและขับไล่
โดยคำร้องสรุปว่าหลังจากที่ศาลแพ่งได้มีคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉินให้จำเลยที่ 1 -13 ออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและนำกลุ่มผู้ชุมนุมออกไปด้วยทันที เมื่อวันที่ 26 พ.ย. และมีคำสั่งคุ้มครองให้จำเลยที่ 1 - 13 นำกลุ่มผู้ชุมนุมออกจากท่าอากาศยานดอนเมือง เมื่อวันที่ 27 พ.ย.นั้น ต่อมาคืนวันที่ 27 พ.ย.นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีได้ออกประกาศ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ในพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง และมีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 301/2551 เรื่องตั้งผู้ปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและเจ้าพนักงานในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีรมว.มหาดไทยเป็นผู้กำกับการปฏิบัติ และมอบหมายให้ ผบช.น. ดูแลพื้นที่ท่าอากาศยานดอนเมือง ให้ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 ดูแลพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยให้มีอำนาจบังคับบัญชาสั่งการเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือผู้ปฏิบัติงานมอบหมาย และให้มีอำนาจตาม ป.อาญา เช่นเดียวเจ้าพนักปกครองและเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวมีผลถึงวิธีการคุ้มครองชั่วคราวที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองโจทก์ก่อนมีคำพิพากษาแล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุผลสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนคำพิพากษามาบังคับใช้ในคดีนี้ต่อไป จึงขอให้ศาลแพ่งได้โปรดไต่สวนฉุกเฉินเพื่อมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในคดีนี้โดยพลัน ตาม ป.วิแพ่ง ม.267
ภายหลังนายสุวัตร กล่าวว่า เมื่อมีการประกาศ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ และมอบให้ รมว.มหาดไทย รับผิดชอบ ให้ ตำรวจนครบาลและทหารอากาศ ดูแลสนามบินดอนเมือง ให้ ตำรวจภูธรภาค 1 และทหารเรือ ดูแลสนามบินสุวรรณภูมิแล้ว เป็นเหตุให้คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลแพ่งสิ้นสุดลง เพราะอำนาจของคณะกรรมการดังกล่าวมีมากกว่าคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาล ซึ่งหวังว่าศาลจะมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวทันที เช่นเดียวกับกรณีฟ้องขับไล่พันธมิตรฯออกจากทำเนียบรัฐบาล
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าการที่ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาเป็นกระบวนการยุติธรรมโดยใช้อำนาจทางตุลาการในการบังคับตามคำฟ้องและคำขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ ตาม ป.วิ แพ่ง ส่วนที่นายกรัฐมนตรีอาศัยอำนาจตามความแพ่ง พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 กับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีเหตุร้ายแรงในเขตท้องที่ดอนเมืองและเขาลาดกระบัง กทม. และอำเภอบางพลี และอำเภอบางเสาธง จ.สมุทรปราการนั้นเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารซึ่งกฎหมายทั้ง 2 ฉบับมีเจตนารมที่แตกต่างกันการบังคับให้เป็นไปตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เป็นอำนาจบุคคลที่นายกรัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้ง ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 301/51 ประกอบด้วย มาตรา 11 ของ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และการที่บุคคลซึ่งนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งแต่งตั้งให้เข้าดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินจะดำเนินการอย่างไรก็เป็นไปตามอำนาจฝ่ายบริหารนั้น มิใช่เป็นการบังคับตามคำสั่งศาลที่ให้เป็นการคุ้มครองชั่วคราว ประกอบกับตามคำร้องของจำเลยทั้ง 13 ไม่ปรากฏว่าหลังจากที่ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวแล้ว ข้อเท็จจริงแห่งคดีหรือพฤติการณ์การกระทำของจำเลยทั้ง 13 ตามที่ได้ไต่สวนและอาศัยเป็นหลักในการมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอในวิธีการคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ได้เปลี่ยนแปลงไปดังนั้นแม้จะไต่สวนได้ความตามคำร้องของจำเลยทั้ง 13 ก็ไม่มีเหตุเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ให้ยกคำร้อง
ด้านนายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรฯ กล่าวว่ายอมรับกับคำสั่งศาลแต่